ข้อเท้าแพลง รับมืออย่างไร

03 พ.ค. 64  | ศูนย์กระดูกและข้อ
แชร์บทความ      

 

ข้อเท้าแพลง คือการบาดเจ็บบริเวณข้อเท้าที่เกิดจากการบิด หมุน หรือพลิกเกินช่วงการเคลื่อนไหวปกติ ทำให้เอ็นบริเวณข้อเท้าเกิดการยืดออกมากจนเกินไป
การบาดเจ็บมักเกิดบริเวณข้อเท้าด้านนอก หากรุนแรงมาก อาจส่งผลให้เอ็นเกิดการฉีดขาด มีอาการปวด บวม และสูญเสียความมั่นคงของข้อเท้า

ข้อเท้าแพลงแบ่งออกเป็น 3 ระดับ
ระดับที่ 1 : ระดับไม่รุนแรง คือ เอ็นข้อเท้าถูกยืดออก เส้นเอ็นไม่ฉีกขาด หรืออาจมีการฉีดขาดเพียงเล็กน้อย มีอาการ ปวด บวม น้อย
ระดับที่ 2 : ระดับปานกลาง คือ เอ็นข้อเท้ามีการฉีกขาดบางส่วน มีอาการปวด บวม เฉพาะที่และอาจมีเลือดคั่งบริเวณที่บาดเจ็บ ข้อเท้าเริ่มขาดความมั่นคง
ระดับที่ 3 : ระดับรุนแรง คือ มีการฉีดขาดข้อเอ็นข้อเท้าทั้งเส้น ทำให้มีอาการปวด บวมมาก ข้อเท้า ขยับตัวได้มาก และ ไม่มีความมั่นคง

หากเกิดข้อเท้าแพลงและมีอาการบาดเจ็บเกิดขึ้น ควรพบแพทย์และนักกายภาพบำบัดเพื่อรักษาได้อย่างตรงจุดและถูกวิธี หากมีบาดเจ็บระดับที่ 2 และ 3
ควรพบแพทย์และนักกายภาพบำบัดทันที

วิธีการรักษาและดูแลตัวเองเบื้องต้น
• ประคบเย็นทันทีหลังจากข้อเท้าแพลง ประคบครั้งละ 15-20 นาที ทุก ๆ 4 ชั่วโมง
• ลดอาการปวด และไม่ให้อาการบวมเพิ่มขึ้น
• ยกขาสูงกว่าระดับหัวใจร่วมกับการพันผ้ายืด เพื่อไม่ให้อาการบวมเพิ่มขึ้น
• งดลงน้ำหนักข้อเท้าข้างที่ได้รับบาดเจ็บ เพื่อป้องกันไม่ให้บาดเจ็บเพิ่มขึ้น

วิธีการรักษาโดยนักกายภาพบำบัด
• Ultrasound ลดอาการอักเลบของข้อเท้า ลดอาการปวดและบวมจากเนื้อเยื่อรอบ ๆ ข้อเท้า
• Immobilization ลดการเคลื่อนไหวของข้อเท้า ป้องกันการบาดเจ็บเพิ่มและลดอาการบวม
• Pumping Exercise ลดอาการบวมบริเวณข้อเท้า รักษาช่วงการเคลื่อนไหว กันข้อเท้าติด
• Rehabilitation and proprioceptive exercise ฟื้นฟูและฝึกความมั่นคงของข้อเท้า

การรับรู้ของข้อต่อ หลังจากไม่มีอาการปวดและบวมแล้ว เพื่อไม่ให้เกิดข้อเท้าแพลงซ้ำอีก

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โรงพยาบาลวิมุต พหลโยธิน แผนกกระดูกและข้อ ชั้น 4
500 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
โทร.02-079-0000

 

ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ


เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
5 ปัจจัยทำ ให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม

คุณเคยไหม ที่รู้สึกปวดเข่า เมื่อต้องขึ้นลงบันได หรือ มีเสียงดังก๊อบแก๊บที่เข่าเวลาเดิน นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคข้อเข่าเสื่อม จริง ๆ แล้ว ปัจจัยที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมมีอยู่มากมาย แต่วันนี้ขอนำเอาปัจจัย 5 ข้อสำคัญๆ ที่มีผลมากที่สุด มาให้ความรู้กันครับ

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
ระวังภัยร้ายจาก Work from home syndrome ถามหา

ถึงสถานการณ์จะกลับมาคลี่คลายแล้ว แต่หลายบริษัทยังคงให้ Work From Home อยู่เพื่อความปลอดภัย ซึ่งการทำงานจากบ้านที่ดูเหมือนจะสบายนั้น อาจสร้างปัญหาสุขภาพได้มากกว่าที่คิด

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
ทำอย่างไร เมื่อข้อไหล่ติด รบกวนชีวิตประจำวัน

ข้อไหล่ติด ปวดไหล่ ขยับไหล่แล้วเจ็บ หรือขยับไหล่ได้น้อยลงจนหลายคนใช้ชีวิตลำบาก วันนี้เรามีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับสาเหตุ อาการและวิธีรักษาข้อไหล่ติดโดยไม่ต้องผ่าตัดมาฝากกัน

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
โรคกระดูกพรุน เสี่ยงได้ทุกวัยไม่ใช่เพียงแค่ผู้สูงอายุ

โรคกระดูกพรุน โรคที่ไม่ใช่เพียงคนมีอายุเท่านั้นที่สามารถเป็นได้ มาทำความรู้จักโรคกระดูกพรุนเกิดจากอะไร ควรดูแลตัวเองอย่างไรและควรตรวจมวลกระดูกเมื่อไหร่ เรามีคำตอบให้

อ่านเพิ่มเติม

แนะนำแพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง