ลูกนอนกรน…อาการที่ไม่ควรมองข้าม เสี่ยงหยุดหายใจขณะหลับ

16 ส.ค. 64  | ศูนย์กุมารเวช
แชร์บทความ      

นอนกรนของลูก…เกิดจากสาเหตุใด

เสียงนอนกรน เกิดจากช่องทางเดินหายใจส่วนต้นของเราตีบแคบขณะนอนหลับ ทำให้ลมหายใจไหลผ่านได้อย่างลำบาก โดยสาเหตุการนอนกรนในเด็กส่วนใหญ่ เกิดจากขนาดต่อมทอนซิลและ/หรือต่อมอะดีนอยด์ที่โต จนเบียดบังทางเดินหายใจส่วนต้นของเด็ก ซึ่งพบบ่อยในเด็กก่อนวัยเรียนจนถึงอายุประมาณ 8 ปี และอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น ภาวะอ้วน เด็กที่มีโครงรูปหน้าผิดปกติ โรคภูมิแพ้จมูก โรคพิการทางสมองและกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือโรคทางพันธุกรรม เป็นต้น

ทำไมอาการนอนกรน…ถึงไม่ควรมองข้าม

อาการนอนกรนส่วนใหญ่ไม่เป็นอันตราย ถ้ามีลักษณะเกิดอาการนานๆครั้ง ไม่สม่ำเสมอ หรือเป็นเฉพาะเวลามีอาการหวัดคัดจมูก และไม่รบกวนต่อคุณภาพการนอน ส่วนอาการนอนกรนที่อันตราย เกิดจากการอุดกั้นทางเดินหายใจอย่างสมบูรณ์ ทำให้เกิดภาวะพร่องออกซิเจนและภาวะคาร์บอนไดออกไซด์คั่งในเลือดในขณะหลับ ซึ่งมีผลทำให้คุณภาพของการนอนหลับลดลง ซึ่งเรียกภาวะนี้ว่า ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (Obstructive sleep apnea, OSA)

อาการนอนกรนอย่างไรที่ เป็นสัญญาณอันตราย ของการอุดกั้นทางเดินหายใจอย่างสมบูรณ์

  1. กรนเสียงดังและกรนเป็นประจำมากกว่า 3 คืนต่อสัปดาห์
  2. นอนหลับในท่าทางที่ผิดปกติ นอนกระสับกระส่าย หรือมีเหงื่อออกมากขณะหลับ
  3. สังเกตเห็น เสียงหายใจเงียบขาดช่วงเหมือนหยุดหายใจเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ตามด้วยเสียงกรน หายใจลึกเฮือก หรือสะดุ้งตื่นระหว่างกลางคืน
  4. มีปัญหาในการเรียนและพฤติกรรม เช่น สมาธิสั้น อารมณ์หงุดหงิดง่าย โมโหง่าย ซนผิดปกติ หรือ ง่วงหลับขณะเรียน เป็นต้น
  5. ปลุกตื่นยาก หรือหลังตื่นนอนแล้ว ไม่สดชื่นเหมือนนอนไม่พอ อยากนอนหลับต่อ
  6. ปวดศีรษะในระหว่างวัน หรือปวดศีรษะหลังตื่นนอน
  7. ปัสสาวะรดที่นอน ทั้งที่เคยกลั้นได้มาก่อน

หากลูกมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น ส่งผลเสียอย่างไร

ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้น ทำให้ช่วงระยะเวลาการนอนของลูกไม่เพียงพอและไม่มีคุณภาพ จนสามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้หลายระบบ ได้แก่

  1. ส่งผลต่อพฤติกรรมและการเรียน เช่น ซนมากผิดปกติ จนเข้าข่ายโรคสมาธิสั้น หรือมีพฤติกรรมก้าวร้าว และมีความผิดปกติเกี่ยวกับเรื่องทักษะการใช้ความคิด ความจำลดลง และความฉลาด ได้
  2. ส่งผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ ความดันโลหิตสูง หัวใจห้องซ้ายหนาตัวขึ้น และหากอาการรุนแรงจะทำให้ความดันเลือดในปอดสูง หัวใจห้องขวาทำงานผิดปกติ และหัวใจวายได้
  3. ส่งผลต่อการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ ได้แก่ การเจริญเติบโตน้อยกว่าปกติ หรือภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน และอาจจะพบภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน เป็นต้น

การวินิจฉัยภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น

ผู้ปกครองควรนำบุตรหลานมาพบแพทย์ เมื่อมีอาการนอนกรนเสียงดังอย่างมากเป็นประจำ โดยเฉพาะถ้ามีอาการร่วมอื่นๆที่เป็นสัญญานอันตราย แพทย์จะทำการซักประวัติและตรวจร่างกาย หลังจากนั้นจะถ่ายภาพรังสีเพื่อดูขนาดต่อมทอนซิลและอะดีนอยด์ เพื่อประเมินว่าโตอุดกั้นทางเดินหายใจมากน้อยเพียงใด หากพบอาการที่สงสัยภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น แพทย์จะทำการวินิจฉัยยืนยันด้วยการตรวจการนอนหลับ (sleep test หรือ polysomnography)

จะรักษาอาการนอนกรน และภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น อย่างไร

กรณีนอนกรนที่เกิดจากต่อมทอนซิลและอะดีนอยด์โต การรักษาขึ้นกับว่าผู้ป่วยมี ภาวะหยุดหายใจร่วมด้วยหรือไม่ หากไม่มีหรือมีเพียงเล็กน้อย จะรักษาด้วยใช้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก และ/หรือการใช้ยาป้องกันภูมิแพ้แบบกิน แต่ถ้ามีภาวะหยุดหายใจรุนแรงระดับปานกลางถึงรุนแรงมาก รักษาโดยการตัดต่อมทอนซิลและ/หรืออะดีนอยด์ออก ในกรณีผู้ป่วยนอนกรนและหยุดหายใจจากสาเหตุอื่น รักษาโดยการใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่อง(continuous positive airway pressure, CPAP) ครอบหน้าผู้ป่วยขณะหลับ เพื่อช่วยเปิดขยายทางเดินหายใจส่วนต้น นอกจากนี้ยังมีการรักษาที่สำคัญอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การดูแลสุขลักษณะที่ดีของการนอน การควบคุมน้ำหนัก หรือหลีกเลี่ยงสารกระตุ้นที่ก่อให้เกิดภาวะภูมิแพ้จมูก เป็นต้น

พญ.สุธิดา ชินธเนศ
กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ

 

 

 

ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ

 


แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
พญ.สุธิดา
ชินธเนศ
กุมารแพทย์
แพทย์ผู้ชำนาญการโรคระบบการหายใจในเด็ก

เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
ลูกของคุณเสี่ยงมีพฤติกรรมคล้าย-ออทิสติกหรือไม่?

พฤติกรรมคล้ายออทิสติกหรือในสื่อสังคมมักเรียกว่า “ออทิสติกเทียม” เป็นภาวะที่เด็กขาด “การกระตุ้น” ในการสื่อสารสองทางโรคออทิสติก เกิดจากความผิดปกติของสมองเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ในขณะที่อาการออทิสติกเทียมจะเกิดจาก "ขาดการกระตุ้น" เป็นหลัก

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
เตรียมลูกรักให้ Ready เมื่อเปิดเทอมนี้ Covid มาเยือน

ช่วงที่ลูกต้องเรียนออนไลน์คุณพ่อแม่ก็วุ่นวายไปอีกแบบ แต่พอลูกน้อยไปโรงเรียนในสภาวะแบบนี้ความวุ่นวายก็กลับกลายเป็นความกังวล

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
ส่องสุขภาพเด็กอ้วนที่น่ารัก กับความอันตรายที่แอบแฝง

ในเด็กอ้วนที่ดูน่ารัก อาจกำลังเป็นเด็กที่เสี่ยงกับโรคอ้วนในเด็กได้ ชวนคุณพ่อคุณแม่มาดูอันตรายแฝงที่แอบซ่อนอยู่ในเด็กอ้วน พร้อมแนวทางการรักษากันได้ที่นี่

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
ทวงคืนคุณภาพชีวิตเจ้าตัวเล็ก How to ดูแลสุขภาพเด็กยุค New Normal

เพราะ COVID-19 ที่ระบาดมานานนับปี ลูกๆ ของเราสูญเสียโอกาสในการใช้ชีวิตไปมาก ทั้งจากการไม่ได้ไปเรียนหนังสือแบบครบวงจรที่โรงเรียน ได้เจอเด็กๆ รุ่นเดียวกันน้อย ขาดการเรียนรู้จากโลกภายนอกแทบจะสิ้นเชิง ไม่นับรวมการต้องมาคอยใส่หน้ากากอนามัยและระมัดระวังอะไรที่มากเกินวัย

อ่านเพิ่มเติม

แนะนำแพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง