13 วิธีดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในยุค COVID-19

03 พ.ค. 64  | ศูนย์เบาหวาน ต่อมไร้ท่อ และควบคุมน้ำหนัก
แชร์บทความ      

 

เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานเป็นกลุ่มบุคคลที่ถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงในการติดเชื้อ covid-19 โดยโรคเบาหวานนั้นจะทำให้ติดเชื้อ covid -19 ได้ง่ายกว่าบุคคลทั่วไป
และหากติดเชื้อแล้วจะมีผลทำให้เกิดพาวะแทรกซ้อนมากกว่าบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน
วันนี้เราจึงมี Tip 13 วิธีง่าย ๆ ที่จะช่วยดูแลผู้ป่วยเบาหวานในยุค COVID-19 ดังนี้ 

1.ห้ามหยุดรับประทานยาหรือหยุดฉีดยาอินซูลิน เนื่องจากภาวะเจ็บป่วยเนื่องจากอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น 
2.ดื่มน้ำสะอาดทุกครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง ปริมาณครั้งละครึ่งถึงหนึ่งแก้ว
3.ตรวจระดับน้ำตาลปลายนิ้วอย่างน้อยวันละ 4 ครั้ง ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 หากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่าหรือเท่ากับ 240 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
ให้ตรวจสารคีโตนในเลือดหรือปัสสาวะด้วย
4.รับประทานอาหารตามปกติ ถ้ารับประทานไม่ได้ให้พยายามรับประทานอาหารอ่อน เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก น้ำข้าวผสมเกลือเล็กน้อย ขนมปัง เป็นต้น 

 

 

5.ควรมีญาติใกล้ชิดคอยดูแล ถ้ามีอาการผิดปกติเช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง รับประทานอาหารไม่ได้ ควรรีบมาพบแพทย์ 
6.พักผ่อนให้เพียงพอ และงดการออกกำลังกายเมื่อเจ็บป่วย 
7.ถ้าหากมีอาการผิดปกติเหล่านี้ให้ไปพบแพทย์โดยเร็ว เช่น 
• ไข้ติดต่อกันเกิน 2 วัน 
• อาเจียน หรือ ท้องเสีย นานเกิน 6 ชั่วโมง 
• ตรวจพบคีโตนในเลือดหรือปัสสาวะระดับปานกลางขึ้นไป 
• ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่าหรือเท่ากับ 240 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร นานเกิน 24 ชั่วโมง 
• มีอาการของเลือดเป็นกรด เช่น หายใจหอบ ริมฝีปากแห้ง ได้กลิ่นผลไม้ ให้รีบมาพบแพทย์ 
8.เตรียมยาที่ใช้ประจำ ตรวจสอบปริมาณ วันหมดอายุของยาที่ใช้ประจำ จัดเตรียมยาให้ใช้ได้เพียงพออย่างน้อย 3 เดือน เตรียมรายละเอียดเกี่ยวกับโรคประจำตัว ผลเลือด เบอร์ติดต่อญาติใกล้ชิด ให้พร้อมเพื่อการติดต่อได้สะดวก 
9.ช่วงที่มีอาการไข้ให้ใช้ปรอทวัดไข้ที่บ้านอย่างน้อย เช้าเย็น และจดบันทึกไว้ 
10.ล้างมือด้วยสบู่อย่างน้อย 20 วินาที ก่อน - หลัง รับประทานอาหาร หลังใช้ห้องน้ำ หรือ ไอ จาม ถ้าไม่สามารถล้างมือได้ให้ใช้ แอลกอฮอล์ 70%
เพื่อทำความสะอาด 

 

 

11.ปิดปากและจมูกโดยใช้ทิชชู่เมื่อ ไอ จามหรือใช้ข้อพับแชนในการปิดปาก และหลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณ ปาก จมูก 
12.ทำความสะอาดวัตถุหรือบริเวณที่ถูกสัมผัสบ่อย ๆ 
13.หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในที่สถานที่แออัดหรือคนหมู่มาก หากมีความจำเป็นให้ใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง

ด้วยความปรารถนาดีจาก แผนกเบาหวานและต่อมไร้ท่อ โรงพยาบาลวิมุต พหลโยธิน

ปรับปรุงจาก INFORMATION ON CORONA-VIRUS DISEASE 2019 (COVID-19) OUTBREAK AND GUIDANCE FOR PEOPLE WITH DIABETES, International Diabetes Federation European Region, 6 March 2020 
 

 

ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ

ผู้เขียน
นพ.ชาญวัฒน์ ชวนตันติกมล

เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
เป็นเบาหวานตั้งครรภ์ได้ไหม ?

เพราะการสร้างครอบครัวคือหนึ่งในความฝันของผู้หญิงหลายๆ คน แต่สำหรับคนที่เป็นเบาหวานคงกังวลไม่น้อยว่าจะมีลูกได้ไหม ปลอดภัยหรือเปล่า เรามาฟังคำตอบกันที่นี่

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
สายกินต้องระวัง โรคอันตรายจากไขมันที่ต้องรู้ !

สายกินต้องระวัง! อาหารไขมันสูง ของทอดแสนอร่อยที่แฝงไปด้วยโรคไขมันตัวร้าย มาดูความลับทั้งประโยชน์และโทษของไขมัน ที่บั่นทอนสุขภาพคุณจนอาจเป็นโรคร้ายแรงได้มากกว่าที่คิด

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
3 สัญญาณที่บอกว่า คุณกำลังลดน้ำหนักผิดวิธี

เชื่อว่าหลายคนยังมีเป้าหมายในการลดน้ำหนัก แต่ปัญหาที่มักพบ คือ ลดน้ำหนักไม่สำเร็จสักที หรืออาจลดได้แค่ช่วงสั้นๆ แล้วกลับมาน้ำหนักเท่าเดิม ซึ่งสาเหตุอาจมาจากการลดน้ำหนักอย่างผิดวิธี

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
รับมืออย่างไรเมื่อ COVID-19 รบกวนชีวิตผู้ป่วยเบาหวาน

ในสถานการณ์ที่โควิดยังคงระบาด ผู้ป่วยเบาหวานต้องระวังโรคโควิดนี้ให้ดี เพราะติดง่ายกว่าคนอื่นแถมติดแล้วยังรุนแรงเสี่ยงถึงตายจริงไหม? มาฟังคำตอบกับคุณหมอกัน

อ่านเพิ่มเติม