โรคมะเร็งปอดนับว่าเป็นภัยร้ายที่คนไทยควรตระหนัก และให้ความสำคัญในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้อย่างจริงจัง เพราะเป็นหนึ่งใน 5 อันดับโรคมะเร็งที่คร่าชีวิตของคนไทยไปจำนวนมาก ซึ่งพบมากเป็นอันดับ 1 ในเพศชาย และอันดับ 2 ในเพศหญิง อีกทั้งยังเป็นมะเร็งที่มีอัตราการตายมากที่สุดจากทั่วโลก วันนี้เราจึงอยากชวนคุณมาทำความรู้จักมะเร็งชนิดนี้ให้มากขึ้น เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ในอนาคต
ถึงแม้ปัจจุบันมะเร็งปอดจะเป็นโรคที่มีการวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ แต่ก็ยังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 1 เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเข้ามาพบแพทย์เมื่อเซลล์มะเร็งลุกลามเข้าสู่ระยะแพร่กระจายแล้ว ทำให้การรักษาได้ผลลัพธ์ไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้นการป้องกันไว้ก่อนย่อมดีกว่าการรักษาเสมอ วันนี้เราจึงได้รวบรวมเรื่องที่คุณควรทราบพร้อมตอบคำถามที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคมะเร็งปอดมาไว้ที่นี่ เพื่อคลายข้อสงสัยให้ปลอดภัยจากโรคร้ายนี้ไปพร้อมกัน!
1. Q : โรคมะเร็งปอดเกิดจากอะไร?
A : มะเร็งปอดเกิดจากการแบ่งตัวของเซลล์แบบผิดปกติภายในปอดอย่างรวดเร็วและไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้เกิดเป็นกลุ่มก้อนของเซลล์ที่ผิดปกติ ซึ่งกลายพันธุ์เป็นก้อนเนื้อร้ายและไปขัดขวางการทำงานของระบบต่างๆ ภายในร่างกาย โดยเซลล์มะเร็งปอดสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
- มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (small cell lung cancer) พบได้ประมาณ 10-15% สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตสูง มักพบในผู้ที่มีประวัติการสูบบุหรี่หนักเป็นเวลานาน
- มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (non-small cell lung cancer) พบได้ประมาณ 85-90% แพร่กระจายช้ากว่าชนิดเซลล์เล็กและสามารถรักษาให้หายได้หากตรวจพบในระยะแรกๆ
2. Q : อาการแรกเริ่มของโรคมะเร็งปอดเป็นอย่างไร
A : อาการแรกเริ่มของโรคมะเร็งปอดส่วนใหญ่จะไม่มีอาการผิดปกติใดๆ แต่อาการมักจะเพิ่มขึ้นเมื่อก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่ หรือแพร่ไปตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกายแล้ว ซึ่งอาการต้องสงสัยที่อาจเป็นสัญญาณของโรคมะเร็งปอด สามารถสังเกตได้ดังนี้
- ไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด
- หายใจลำบาก
- เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร
- เสียงแหบ
- เจ็บหรือแน่นหน้าอก
- น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
- คลำได้ก้อน หรือต่อมน้ำเหลืองที่คอโต
|
3. Q : โรคมะเร็งปอดมีกี่ระยะ?
A : ระยะของโรคมะเร็งปอดถูกกำหนดจากตำแหน่งของเซลล์มะเร็งและระดับการแพร่กระจาย แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้
- ระยะที่ 1 เป็นระยะที่เซลล์มะเร็งยังไม่เกิดการลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ ผู้ป่วยมักไม่มีอาการผิดปกติใดๆ
- ระยะที่ 2 ก้อนมะเร็งเริ่มมีขนาดใหญ่ หรือเริ่มมีการแพร่กระจายเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอด
- ระยะที่ 3 ในระยะนี้จะพบว่าก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่มากขึ้นและเริ่มกระจายตัวไปสู่ต่อมน้ำเหลืองกลางทรวงอก
- ระยะที่ 4 เป็นระยะแพร่กระจาย ผู้ป่วยประมาณ 60-70% จะมาพบแพทย์ในระยะนี้ ซึ่งเซลล์มะเร็งได้กระจายตัวไปสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกายแล้ว เช่น สมอง กระดูก หรือตับ เป็นต้น
4. Q : โรคมะเร็งปอดรักษาหายไหม รักษาอย่างไร?
A : โรคมะเร็งปอดในระยะที่ 1-3 (ระยะต้น) สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการเข้ารับการผ่าตัดนำเนื้อร้ายออกไป และอาจมีการรักษาเสริมด้วยเคมีบำบัด การฉายรังสี ใช้ยากระตุ้นภูมิคุ้มกัน หรือยามุ่งเป้า แต่ถึงแม้จะพบในระยะที่ 4 ก็สามารถประคับประคองอาการของผู้ป่วยให้อยู่ในสภาพใกล้เคียงปกติและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ โดยการรักษาในระยะนี้จะใช้ยาเป็นหลัก เช่น ยากระตุ้นภูมิคุ้มกัน ยามุ่งเป้า ยาเคมีบำบัด หรืออาจมีการใช้ยาหลายชนิดร่วมกันขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
5. Q : ผู้ป่วยมะเร็งปอดอยู่ได้นานแค่ไหน?
A : ในระยะ 10 ปี ที่ผ่านมาเทคโนโลยีทางการแพทย์ได้พัฒนาก้าวหน้าไปมาก ทำให้มีกระบวนการรักษาที่ดีขึ้นทั้งการผ่าตัด การฉายรังสีที่มีประสิทธิภาพสูง และยาแบบมุ่งเป้าทำลายเซลล์มะเร็ง ผู้ป่วยมะเร็งปอดถึงแม้จะตรวจพบในระยะที่ 4 แต่ยังสามารถประคับประคองอาการได้นานเหมือนกับการรักษาโรคเรื้อรังอื่นๆ และสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ใกล้เคียงปกติได้
6. Q : ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อเป็นมะเร็งปอด?
A : วิธีการดูแลตัวเองของผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเมื่อเข้าสู่ขั้นตอนการรักษาแล้วจะต้องเตรียมร่างกายให้พร้อมเข้ารับการทำเคมีบำบัด การผ่าตัด หรือการฉายรังสี เพื่อให้ร่างกายสามารถต้านทานผลข้างเคียงและตอบสนองต่อการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ แนวทางการดูแลตัวเองสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดสามารถปฏิบัติได้ ดังต่อไปนี้
- ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยไม่งดโปรตีนเพื่อให้ร่างกายได้รับพลังงานและสารอาหารที่เพียงพอครบถ้วน
- รับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษา ทำความเข้าใจโรคและผลข้างเคียงจากการรักษาที่อาจเกิดขึ้น
- หลีกเลี่ยงการรับควันบุหรี่จากผู้อื่นและงดการสูบบุหรี่
- ดูแลและสังเกตอาการผิดปกติของตัวเองที่อาจเกิดขึ้นจากผลข้างเคียง เช่น อาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้
- เมื่อเริ่มมีอาการดีขึ้นจากผลข้างเคียง แนะนำให้ออกกำลังกายแบบพอเหมาะ หรือเดินประมาณ 15-30 นาที เพื่อส่งเสริมการทำงานของปอดและหัวใจให้ดีขึ้น
- พบแพทย์ประจำตัวตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำและการเกิดเซลล์มะเร็งที่อวัยวะอื่น
7. Q : อาการมะเร็งปอดกับวัณโรค ต่างกันอย่างไร?
A : อีกหนึ่งคำถามที่หลายคนสงสัย เพราะโรคมะเร็งปอดและวัณโรคมีอาการเบื้องต้นคล้ายกัน ทั้งอาการไอเป็นเลือด ไอเรื้อรัง เบื่ออาหาร แต่ทั้ง 2 โรคยังมีความแตกต่างกันในด้านอื่นๆ อีก ดังนี้
มะเร็งปอด (Lung Cancer) |
วัณโรค (Tuberculosis) |
เกิดจากการแบ่งเซลล์ที่ผิดปกติอย่างรวดเร็ว จนพัฒนากลายเป็นก้อนเนื้อร้ายมะเร็ง |
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียไมโครแบคทีเรียทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium Tuberculosis) รับเชื้อผ่านการไอ จาม หรือพูดคุยกัน รวมถึงบาดแผลต่างๆ |
ไม่สามารถติดต่อกันได้ |
เป็นโรคติดต่อ |
8. Q : ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งปอดหรือไม่?
A : เนื่องจากมีการศึกษาพบว่า 20% ของผู้ป่วยมะเร็งปอดไม่มีประวัติการสูบบุหรี่มาก่อน จากข้อมูลนี้จึงบอกได้ว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ก็มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอดได้เช่นเดียวกันเพราะได้รับควันบุหรี่มือสอง และยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ร่วมด้วย ทั้งการได้รับสารพิษ, รังสี, ฝุ่น, ไอระเหย, และโลหะต่างๆ เป็นเวลานาน รวมถึงปัจจัยด้านพันธุกรรม เช่น ยีนกลายพันธุ์ ชนิด EGFR, ALK และอื่นๆ รวมถึงโรคทางพันธุกรรมบางชนิดก็สามารถเพิ่มโอกาสการเป็นมะเร็งปอดได้ แม้จะไม่สูบบุหรี่ก็ตาม
9. Q : อาหารที่ผู้ป่วยมะเร็งปอดควรกินและไม่ควรกินมีอะไรบ้าง?
A : เพราะผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดควรดูแลรักษาร่างกายเพื่อให้พร้อมเข้ารับการรักษาอยู่เสมอ จึงต้องให้ความสำคัญเรื่องอาหารเป็นพิเศษ ซึ่งอาหารที่ผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดควรรับประทานและควรหลีกเลี่ยงมีดังนี้
|
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง |
|
|
*หมายเหตุ : หากผู้ป่วยกำลังได้รับเคมีบำบัด แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานเฉพาะอาหารที่ปรุงสุกสะอาด และงดผัก ผลไม้สด
ถึงแม้หลายคนจะมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรคมะเร็งปอดอยู่บ้างแล้ว แต่เชื่อว่ายังคงมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนอยู่ไม่มากก็น้อย และนี่เป็นคำตอบจากคำถามที่พบบ่อยในเรื่องของโรคมะเร็งปอด เพื่อให้ทุกคนได้คลายข้อสงสัย มีความรู้เท่าทัน ตัดวงจรการลุกลามของโรคและสามารถเข้ารับการรักษาได้ตั้งแต่ระยะต้นๆ อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่จะช่วยรักษาผู้ป่วยและเสริมภูมิคุ้มกันร่างกายให้ห่างไกลจากมะเร็งปอด คือการดูแลสุขภาพตนเองอยู่เสมอ ด้วยการออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีความหลากหลาย รวมถึงหยุดสูบบุหรี่ทั้งเพื่อตัวคุณเองและคนรอบข้าง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 3 โรงพยาบาลวิมุต
เวลาทำการ 07:00-20:00 น. โทร. 0-2079-0030
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์
ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ
แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

วงศ์เมธานุเคราะห์

แก้วอมตวงศ์

วงศ์เมธานุเคราะห์

แก้วอมตวงศ์

วงศ์เมธานุเคราะห์

แก้วอมตวงศ์

วงศ์เมธานุเคราะห์

แก้วอมตวงศ์
เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

หายป่วยลองโควิดได้ หายขาดด้วยโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด
โควิดที่ว่าน่ากลัว ยังไม่เท่าลองโควิด มาตรวจเช็กปอดและร่างกายให้เท่าทันโรค กับโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด เพื่อการฟื้นฟูและการดูแลตัวเองได้อย่างรวดเร็ว

รวมสารพัดเมนูอาหาร เพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ
รวมสารพัดเมนูอาหารเพื่อผู้สูงอายุ ควรกินอะไรดี ใครนึกไม่ออก เรารวมให้แล้วที่นี่ กับเมนูอาหารและโภชนาการเพื่อผู้สูงอายุ ที่ช่วยดูแลสุขภาพและบำรุงร่างกายให้แข็งแรงอย่างยั่งยืน

วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ… จำเป็นแค่ไหน ?
วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ จำเป็นต้องฉีดไหม ฉีดแล้วช่วยป้องกันโรคปอดอักเสบได้จริงหรือไหม มาดูคำตอบได้ที่นี่ว่าทำไมผู้สูงอายุถึงควรฉีดวัคซีนนี้กัน

6 วัคซีนสำหรับผู้สูงอายุ ที่แนะนำให้ลูกหลานพาไปฉีด
เปิดคำแนะนำการฉีดวัคซีนผู้สูงอายุ วัคซีนอะไรบ้างที่ควรฉีดอัปเดตข้อมูลปี 2566 เพื่อลดอัตราเสี่ยงการเสียชีวิตและบรรเทาอาการหนักให้เบาลง กับ 6 วัคซีนนี้เลยที่เรารวมข้อมูลมาให้แล้ว

หายป่วยลองโควิดได้ หายขาดด้วยโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด
โควิดที่ว่าน่ากลัว ยังไม่เท่าลองโควิด มาตรวจเช็กปอดและร่างกายให้เท่าทันโรค กับโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด เพื่อการฟื้นฟูและการดูแลตัวเองได้อย่างรวดเร็ว

รวมสารพัดเมนูอาหาร เพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ
รวมสารพัดเมนูอาหารเพื่อผู้สูงอายุ ควรกินอะไรดี ใครนึกไม่ออก เรารวมให้แล้วที่นี่ กับเมนูอาหารและโภชนาการเพื่อผู้สูงอายุ ที่ช่วยดูแลสุขภาพและบำรุงร่างกายให้แข็งแรงอย่างยั่งยืน

วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ… จำเป็นแค่ไหน ?
วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ จำเป็นต้องฉีดไหม ฉีดแล้วช่วยป้องกันโรคปอดอักเสบได้จริงหรือไหม มาดูคำตอบได้ที่นี่ว่าทำไมผู้สูงอายุถึงควรฉีดวัคซีนนี้กัน

6 วัคซีนสำหรับผู้สูงอายุ ที่แนะนำให้ลูกหลานพาไปฉีด
เปิดคำแนะนำการฉีดวัคซีนผู้สูงอายุ วัคซีนอะไรบ้างที่ควรฉีดอัปเดตข้อมูลปี 2566 เพื่อลดอัตราเสี่ยงการเสียชีวิตและบรรเทาอาการหนักให้เบาลง กับ 6 วัคซีนนี้เลยที่เรารวมข้อมูลมาให้แล้ว

วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ… จำเป็นแค่ไหน ?
วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ จำเป็นต้องฉีดไหม ฉีดแล้วช่วยป้องกันโรคปอดอักเสบได้จริงหรือไหม มาดูคำตอบได้ที่นี่ว่าทำไมผู้สูงอายุถึงควรฉีดวัคซีนนี้กัน

6 วัคซีนสำหรับผู้สูงอายุ ที่แนะนำให้ลูกหลานพาไปฉีด
เปิดคำแนะนำการฉีดวัคซีนผู้สูงอายุ วัคซีนอะไรบ้างที่ควรฉีดอัปเดตข้อมูลปี 2566 เพื่อลดอัตราเสี่ยงการเสียชีวิตและบรรเทาอาการหนักให้เบาลง กับ 6 วัคซีนนี้เลยที่เรารวมข้อมูลมาให้แล้ว

หายป่วยลองโควิดได้ หายขาดด้วยโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด
โควิดที่ว่าน่ากลัว ยังไม่เท่าลองโควิด มาตรวจเช็กปอดและร่างกายให้เท่าทันโรค กับโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด เพื่อการฟื้นฟูและการดูแลตัวเองได้อย่างรวดเร็ว

รวมสารพัดเมนูอาหาร เพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ
รวมสารพัดเมนูอาหารเพื่อผู้สูงอายุ ควรกินอะไรดี ใครนึกไม่ออก เรารวมให้แล้วที่นี่ กับเมนูอาหารและโภชนาการเพื่อผู้สูงอายุ ที่ช่วยดูแลสุขภาพและบำรุงร่างกายให้แข็งแรงอย่างยั่งยืน