ทำความเข้าใจโรคเอดส์กับเชื้อ HIV ตอบทุกคำถามที่คุณอยากรู้

12 ธ.ค. 66  | ศูนย์อายุรกรรม
แชร์บทความ      

ทำความเข้าใจโรคเอดส์กับเชื้อ HIV ตอบทุกคำถามที่คุณอยากรู้

โรคเอดส์ในภาพจำของใครหลายๆ คนยังคงคิดว่าเป็นโรคที่น่ากลัว ผู้ป่วยโรคเอดส์ไม่น่าเข้าใกล้เพราะจะมีตุ่ม หนอง เกิดขึ้นตามตัว แม้ในปัจจุบันวงการแพทย์ได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ มีเทคโนโลยีทางการแพทย์ใหม่ๆ ที่ถูกนำมาใช้เพื่อการรักษาที่ดีขึ้นกว่าเดิม แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าบางคนยังมีความเข้าใจผิดหรือคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับโรคนี้อยู่ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่คนทั่วไปเกี่ยวกับเชื้อเอชไอวี และโรคเอดส์ รวมถึงตระหนักว่าเชื้อ HIV และโรคเอดส์ยังคงมีอยู่ แต่คุณยังมีโอกาสที่จะป้องกันและต่อสู้กับมันเพื่อผ่านไปได้ วันนี้เราเตรียมคำตอบสำหรับทุกคำถามที่คุณสงสัยมาให้แล้วในบทความนี้ 

โรคเอดส์ในปัจจุบันยังคงเป็นปัญหาใหญ่ของสาธารณสุข จากข้อมูลปี 2565 มีผู้ติดเชื้อที่ยังมีชีวิตทั้งสิ้น 560,000 คน และมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 9,200 คน โดยผู้ป่วยรายใหม่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกัน เพื่อสร้างความตระหนักรู้และความปลอดภัยจากโรคเอดส์ มาทำความรู้จักโรคนี้ให้มากขึ้น! 

ไขทุกข้อสงสัย โรคเอดส์ (Acquired Immunodeficiency Syndrome: AIDS) กับการติดเชื้อเอชไอวี (HIV)

Q : โรคเอดส์เกิดจากสาเหตุใด แตกต่างจากการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) อย่างไร? 

A :  โรคเอดส์เป็นกลุ่มอาการของการติดเชื้อเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายบกพร่อง ซึ่งร่างกายถูกเชื้อเอชไอวี (HIV) เข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาวที่มีหน้าที่กำจัดเชื้อโรค จนระบบภูมิคุ้มกันไม่สามารถต้านทานเชื้อโรคได้

Q : โรคเอดส์มีกี่ระยะ สังเกตได้ยังไงบ้าง? 

A :  แบ่งเป็น 4 ระยะ ในระยะแรก 1-2 ยังไม่นับว่าเข้าข่ายเป็นโรคเอดส์แต่เป็นระยะติดเชื้อเอชไอวี HIV เท่านั้น 

  • ระยะเฉียบพลัน ระยะรับเชื้อเข้ามาใหม่บางรายอาจไม่มีอาการใดๆ แต่บางรายอาจมีอาการเป็นไข้ ปวดเมื่อยตามตัว เจ็บคอ ถ่ายเหลว และเป็นผื่น ซึ่งอาการเหล่านี้จะหายไปเอง
  • ระยะแฝง เป็นระยะที่ผู้ติดเชื้อไม่มีอาการผิดปกติใดๆ แต่สามารถแพร่เชื้อได้ 
  • ระยะมีอาการ เป็นระยะที่ร่างกายเริ่มแสดงอาการผิดปกติ เช่น มีตุ่มหนองขึ้นตามร่างกาย น้ำหนักลด มีฝ้าขาวในปาก และมีไข้เรื้อรังนานเกิน 2 สัปดาห์ 
  • ระยะโรคเอดส์ ระยะสุดท้ายภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกทำลายลงไปมาก อาจเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา เช่น การติดเชื้อราขึ้นในสมอง เชื้อราในปอด หรือวัณโรค เป็นต้น

Q : การติดเชื้อเอชไอวี (HIV) เท่ากับโรคเอดส์จริงหรือไม่?

A : โรคเอดส์เป็นระยะสุดท้ายของการติดเชื้อ HIV เนื่องจากการติดเชื้อ HIV ในระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ยังไม่ใช่โรคเอดส์ นอกจากร่างกายจะมีเชื้อเอชไอวี อยู่เป็นเวลานาน 8-10 ปี จนเข้าสู่ระยะที่ 3 ภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่องจนไม่สามารถต้านเชื้อไวรัสได้จนกลายเป็นโรคเอดส์นั่นเอง 

Q : เชื้อเอชไอวีติดต่อกันง่ายไหม? ติดกันได้จากทางไหนบ้าง? 

A : เชื้อไวรัส HIV สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทางบาดแผล หรือผ่านเนื้อเยื่ออ่อน เช่น การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่สวมถุงยางอนามัย การสัมผัสเลือดและน้ำเหลืองของผู้ติดเชื้อ HIV ผ่านวิธีการต่างๆ เช่น การใช้เข็มฉีดยาเดียวกัน การใช้กรรไกรตัดเล็บ มีดโกนหนวดอันเดียวกัน และอีกกรณีที่สามารถติดต่อได้โดยไม่มีการสัมผัสโดยตรงคือ การติดต่อจากแม่สู่ลูกขณะคลอดบุตรและการรับเลือดบริจาคจากผู้ติดเชื้อเอชไอวี

Q : ผู้ติดเชื้อเอชไอวีจะมีอาการอย่างไร? 

A : ผู้ติดเชื้อเอชไอวีในระยะแรก จะมีอาการคล้ายเป็นไข้ อ่อนเพลีย ร่างกายมีอุณหภูมิสูง มีผื่นขึ้น มีอาการท้องเสียติดต่อกันหลายวัน หรือมีอาการต่อมน้ำเหลืองโตบริเวณขาหนีบหรือรักแร้ และเมื่ออาการเข้าสู่ภาวะเอดส์แล้วร่างกายจะอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หน้ามืดบ่อย ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ร่างกายอ่อนแอลงจนอาจเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาได้ 

Q : ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV จะมีอายุยืนยาวเท่าคนปกติหรือไม่? 

A : ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์มีการพัฒนาไปมาก ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV สามารถมีอายุยืนยาวหากเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้องจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รับประทานยาต้านไวรัสอย่างสม่ำเสมอ และเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการรับเชื้อเพิ่ม

ในปัจจุบันมียาต้านไวรัสเอชไอวีที่มีประสิทธิภาพ หากผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ได้รับการตรวจวินิจฉัยและเข้ารับการรักษาอย่างรวดเร็วจะสามารถมีสุขภาพที่แข็งแรง ลดการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น และหยุดการดำเนินโรคเข้าสู่ระยะเอดส์ได้ ดังนั้นผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) จะสามารถใช้ชีวิตตามปกติและยืนยาวไม่ต่างจากคนทั่วไป

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่ 

ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 4  โรงพยาบาลวิมุต 

เวลา 08.00-20.00 น. หรือ โทร. 0-2079-0040 

หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์

 


 

ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ

ผู้เขียน
นพ.ประวัฒน์ จันทฤทธิ์ อายุรแพทย์ผู้ชำนาญการโรคติดเชื้อ

เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ… จำเป็นแค่ไหน ?

วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ จำเป็นต้องฉีดไหม ฉีดแล้วช่วยป้องกันโรคปอดอักเสบได้จริงหรือไหม มาดูคำตอบได้ที่นี่ว่าทำไมผู้สูงอายุถึงควรฉีดวัคซีนนี้กัน

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
6 วัคซีนสำหรับผู้สูงอายุ ที่แนะนำให้ลูกหลานพาไปฉีด

เปิดคำแนะนำการฉีดวัคซีนผู้สูงอายุ วัคซีนอะไรบ้างที่ควรฉีดอัปเดตข้อมูลปี 2566 เพื่อลดอัตราเสี่ยงการเสียชีวิตและบรรเทาอาการหนักให้เบาลง กับ 6 วัคซีนนี้เลยที่เรารวมข้อมูลมาให้แล้ว

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
หายป่วยลองโควิดได้ หายขาดด้วยโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด

โควิดที่ว่าน่ากลัว ยังไม่เท่าลองโควิด มาตรวจเช็กปอดและร่างกายให้เท่าทันโรค กับโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด เพื่อการฟื้นฟูและการดูแลตัวเองได้อย่างรวดเร็ว

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
รวมสารพัดเมนูอาหาร เพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ

รวมสารพัดเมนูอาหารเพื่อผู้สูงอายุ ควรกินอะไรดี ใครนึกไม่ออก เรารวมให้แล้วที่นี่ กับเมนูอาหารและโภชนาการเพื่อผู้สูงอายุ ที่ช่วยดูแลสุขภาพและบำรุงร่างกายให้แข็งแรงอย่างยั่งยืน

อ่านเพิ่มเติม