อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ระวัง! ‘หลอดลมอักเสบ’ ภาวะอันตรายที่เกิดได้ทุกวัย

19 มิ.ย. 68  | ศูนย์สุขภาพปอด
แชร์บทความ      

“หลอดลมอักเสบ” เป็นหนึ่งในโรคทางระบบทางเดินหายใจที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจส่งผลให้มีอาการไอและมีเสมหะจำนวนมากจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยได้ บทความนี้จะพาไปรู้จักโรคหลอดลมอักเสบเกิดจากอะไร มีอาการอย่างไรบ้าง เพื่อรับมือและป้องกันอย่างถูกวิธี

รู้จัก โรคหลอดลมอักเสบคืออะไร ?

โรคหลอดลมอักเสบ (Bronchitis) คือโรคที่เกิดจากภาวะอักเสบของเยื่อบุหลอดลมในระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง ทำให้ต่อมเมือก (mucous gland) โตขึ้น และหลั่งเมือกออกมามากกว่าปกติ กระทั่งเกิดเป็นการอุดตัน ส่งผลให้ช่องทางเดินหลอดลมตีบแคบ เกิดอาการไอ หายใจลำบากและมีเสมหะ ซึ่งโรคหลอดลมอักเสบสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงวัย โดยเฉพาะในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอหรือสัมผัสกับสารก่อระคายเคืองบ่อยๆ และมักพบได้บ่อยในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว 

หลอดลมอักเสบ มีอาการอย่างไร ?

โรคหลอดลมอักเสบสามารถแสดงอาการได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงและระยะเวลาของโรค ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเล็กน้อยและสามารถหายได้เองภายในไม่กี่วัน ในขณะที่บางรายอาจมีอาการรุนแรงและกินเวลายาวนาน โดยทั่วไปมีอาการสำคัญที่พบได้บ่อย ดังนี้

  • ไอแห้ง หรือไอมีเสมหะ ซึ่งอาจมีสีใส ขาว เหลือง หรือเขียว
  • หายใจมีเสียงหวีด หรือรู้สึกแน่นหน้าอก
  • มีไข้ต่ำๆ หรือรู้สึกหนาวสั่น
  • เจ็บคอ หรือเสียงแหบ
  • อ่อนเพลีย หรือรู้สึกไม่สบายตัว
  • หายใจลำบาก โดยเฉพาะเมื่อออกแรง

⚠️ หากอาการเหล่านี้ดำเนินต่อเนื่องเป็นเวลานานหรือมีอาการรุนแรง

ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสมโดยทันที

 

สาเหตุสำคัญของโรคหลอดลมอักเสบ

โรคหลอดลมอักเสบสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อหรือการสัมผัสสารระคายเคืองต่าง ๆ สาเหตุหลักที่พบได้บ่อยมีดังนี้

  • การติดเชื้อไวรัส เป็นสาเหตุหลักของโรคหลอดลมอักเสบ โดยเฉพาะไวรัสที่ทำให้เกิดไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ เช่น ไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus)
  • การติดเชื้อแบคทีเรีย แม้จะพบได้น้อยกว่า แต่การติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิดก็สามารถทำให้เกิดโรคหลอดลมอักเสบได้
  • สารระคายเคืองทางเดินหายใจ เช่น ควันบุหรี่ มลพิษทางอากาศ ฝุ่นละออง และสารเคมี ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้เกิดการอักเสบของหลอดลม
  • โรคหอบหืด ที่หลอดลมอักเสบมักถูกกระตุ้นจากสารก่อภูมิแพ้

โรคหลอดลมอักเสบมีกี่ชนิด

โรคหลอดลมอักเสบ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่

  1. หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (Acute Bronchitis) มักมีสาเหตุหลักจากการติดเชื้อไวรัส ส่งผลให้หลอดลมเกิดการบวม อักเสบ อาการมักปรากฏภายในไม่กี่วัน และใช้เวลาประมาณ 1-3 สัปดาห์ กว่าจะหายขาด
  2. หลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic Bronchitis) มักเกิดจากการได้รับสารที่ก่อให้เกิดการระคาย เช่น ควันบุหรี่ ฝุ่นละออง หรือมลพิษทางอากาศเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้มีอาการไอเรื้อรังกว่า 3 เดือน จนถึง 1 ปี หรือนานกว่านั้น

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดลมอักเสบ

การเกิดโรคหลอดลมอักเสบอาจมีปัจจัยเสี่ยงหลายประการ ซึ่งบางปัจจัยอาจเกิดจากการใช้ชีวิต หรือสภาพแวดล้อม ในขณะที่บางปัจจัยอาจเกิดจากโรคประจำตัว ดังนี้

  • การสูบบุหรี่ หรือได้รับควันบุหรี่มือสอง การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับต้นๆ ที่ทำให้เกิดการอักเสบของหลอดลม
  • ภาวะภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว มีโอกาสเกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
  • การสัมผัสกับมลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่น ควันเสียจากยานพาหนะ และสารเคมีจากโรงงานอุตสาหกรรม
  • โรคประจำตัวเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหืด หรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
  • การเปลี่ยนแปลงของอากาศ โดยเฉพาะช่วงที่อากาศเย็นลง ก็เป็นปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้อาการของโรคแย่ลงได้

การวินิจฉัยโรคหลอดลมอักเสบ

การวินิจฉัยโรคหลอดลมอักเสบทำได้โดยการซักประวัติทางการแพทย์และตรวจร่างกายอย่างละเอียด โดยแพทย์จะพิจารณาจากอาการของผู้ป่วยและอาจใช้วิธีการตรวจเพิ่มเติมเพื่อให้แน่ใจว่าอาการไม่ได้เกิดจากโรคอื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายกัน เช่น โรคปอดอักเสบหรือโรคหอบ หืด ซึ่งการตรวจวินิจฉัยได้แก่

  • การตรวจร่างกาย โดยแพทย์จะฟังเสียงปอดเพื่อตรวจสอบเสียงผิดปกติ เช่น เสียงหวีด หรือเสียงครืดคราดที่อาจบ่งบอกถึงการอักเสบของหลอดลม
  • การเอกซเรย์ปอด ใช้ในกรณีที่แพทย์สงสัยว่าอาการอาจเกิดจากโรคอื่น เช่น ปอดอักเสบ หรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
  • การตรวจเสมหะ แพทย์อาจนำเสมหะไปตรวจหาเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส เพื่อช่วยแยกโรคว่าเกิดจากการติดเชื้อชนิดใด
  • การทดสอบสมรรถภาพปอด (Pulmonary Function Test) เป็นการตรวจการทำงานของปอดโดยใช้เครื่องสไปโรมิเตอร์ (Spirometer) เพื่อตรวจสอบว่ามีภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรังร่วมด้วยหรือไม่

วิธีรักษาโรคหลอดลมอักเสบ

การรักษาโรคหลอดลมอักเสบขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรค กรณีหลอดลมอักเสบเฉียบพลันที่เกิดจากไวรัส อาการมักจะหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์ แต่หากมีอาการแทรกซ้อนที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แพทย์อาจมีแนวทางบรรเทาอาการให้ดีขึ้น ดังนี้

  • ยาปฏิชีวนะ หากแพทย์วินิจฉัยว่าเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย อาจมีการจ่ายยาปฏิชีวนะเพื่อช่วยกำจัดเชื้อ
  • ยาแก้ไอหรือยาขยายหลอดลม หากมีอาการไอมาก แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาแก้ไอ หรือในกรณีที่หายใจลำบากอาจต้องใช้ยาขยายหลอดลม
  • พักผ่อนให้เพียงพอ การพักผ่อนจะช่วยให้ร่างกายสามารถฟื้นตัวจากการติดเชื้อและลดอาการอ่อนเพลียได้
  • ดื่มน้ำมากๆ เพราะน้ำช่วยทำให้เสมหะอ่อนตัวและขับเชื้อออกจากร่างกายได้ง่ายขึ้น โดยควรดื่มน้ำอุ่นเพื่อช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองในลำคอ
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่อุณภูมิต่ำ เช่น ห้องแอร์ หรือที่ที่มีอากาศเย็นมากเกินไป

การป้องกันโรคหลอดลมอักเสบเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนควรให้ความใส่ใจ โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว ผู้ที่สูบบุหรี่ และผู้ที่ได้รับควันบุหรี่มือสอง การดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น รวมถึงหมั่นสังเกตอาการของตนเอง และเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ จะช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่

ศูนย์สุขภาพปอด ชั้น 7 โรงพยาบาลวิมุต

เวลาทำการ 08.00 - 20.00 น. โทร. 02-079-0315

หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์

ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ

ผู้เขียน
นพ.ตุลธร วงศ์เมธานุเคราะห์

แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
นพ.ตุลธร
วงศ์เมธานุเคราะห์
อายุรศาสตร์
โรคระบบการหายใจและเวชบำบัดวิกฤตระบบการหายใจ

เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
EVALI ปอดอักเสบรุนแรงจากบุหรี่ไฟฟ้า

EVALI คือ ปอดอักเสบรุนแรง ที่เกิดจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ที่หลายๆคนมักเข้าใจว่าบุหรี่ไฟฟ้ามักจะอันตรายน้อยกว่าบุหรี่มวนแต่แท้จริงแล้วควันไอละอองจากบุหรี่ไฟฟ้ามีฝุ่นขนาดเล็ก 1.0 และ PM2.5

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
หายใจไม่ออก อาจไม่ใช่แค่หวัด! รู้จักภาวะน้ำท่วมปอด…ก่อนสายเกินไป

ชวนมารู้จักภาวะน้ำท่วมปอด ภาวะอันตรายที่อาจส่งผลร้ายถึงชีวิต พร้อมเข้าใจถึงสาเหตุว่าเกิดจากอะไร อาการสำคัญ กลุ่มเสี่ยง ตลอดจนแนวทางการรักษาที่ควรรู้

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
ปอดเป็นฝ้า จุด ก้อนที่ปอด! บอกโรคอะไร อันตรายไหม ?

อย่าเพิ่งตกใจหากตรวจสุขภาพแล้วภาพเอ็กซเรย์ปอดของคุณเป็นฝ้า มีจุดหรือก้อนที่ปอด ชวนคุณมาทำความเข้าใจปอดเป็นฝ้า-จุด-ก้อน สามารถเป็นโรคอะไรได้บ้าง ?

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
รู้ทัน! โรคปอด มีอะไรบ้าง? พร้อมเช็กลิสต์อาการและสาเหตุได้ที่นี่ - โรงพยาบาลวิมุต

เพราะปอดเป็นอวัยวะสำคัญ หากเกิดปัญหาอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ มารู้ให้ทันโรคปอดมีอะไรบ้าง สาเหตุและอาการเบื้องต้นเป็นอย่างไร เรารวมมาให้แล้ว

อ่านเพิ่มเติม