ตอบคำถาม ‘โรคสุกใส’ ตุ่มใสที่ขึ้นตามตัว

26 พ.ย. 67  | ศูนย์อายุรกรรม
แชร์บทความ      

หากพูดถึงโรคสุกใสที่ทุกคนคุ้นชื่อ หลายคนคงนึกภาพตัวเองตอนเด็กที่เคยเป็นโรคนี้ได้อย่างแน่นอน เพราะเป็นอาการที่ผิวหนังของเรามีผื่นตุ่มหนองขึ้นตามร่างกาย อาจมีไข้เล็กน้อย ทำให้ไม่สบายจนออกไปทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันไม่ได้เป็นเวลานาน ซึ่งนอกจากเด็กที่สามารถเป็นได้ง่ายแล้ว ผู้ใหญ่ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันสุกใสมาก่อนก็มีโอกาสเป็นได้เช่นกัน เพื่อให้รู้เท่าทันและสามารถลดโอกาสเกิดสุกใสได้ มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ให้มากขึ้นผ่านชุดคำถามที่หลายคนสงสัยและคำตอบที่เคลียร์ให้ชัด มีอะไรบ้างมาดูไปพร้อมกัน

รวมคำถามน่าสงสัย? ทำความเข้าใจโรคสุกใสให้ถูกต้อง!

1. Q : สุกใสคืออะไร เกิดจากการติดเชื้อชนิดไหน?

A : โรคสุกใส (Chickenpox) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Varicella Zoster พบได้บ่อยในเด็กตั้งแต่ 1- 12 ขวบ รวมทั้งผู้ใหญ่ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนสุกใสก็สามารถเป็นได้เช่นกัน สามารถติดต่อกันได้โดยการสัมผัสละอองน้ำมูก น้ำลาย สารคัดหลั่งจากบาดแผล หรือติดต่อผ่านทางสิ่งของเครื่องใช้ที่ไปสัมผัสกับเชื้อโรค 

2. Q : อาการสุกใสเป็นอย่างไร ?

A : หากมีการติดเชื้อโรคสุกใสแล้วจะมีอาการไข้ต่ำๆ ปวดเมื่อยตามร่ากาย ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร และรู้สึกอ่อนเพลีย หลังจากนั้นจะเริ่มมีผื่นตุ่มน้ำใสๆ ขึ้นตามมา และกระจายไปทั่วร่างกาย ต่อจากนั้นผื่นจะแห้งตกสะเก็ดและแผลจะค่อยๆ ลอกจางหายไปกลับเป็นปกติ 

3. Q : สุกใสมีระยะฟักตัวกี่วัน และมีระยะแพร่เชื้อกี่วัน?

A : เมื่อได้รับการสัมผัสเชื้อแล้วอีสุกสีใสจะมีระยะฟักตัวประมาณ 10-21 วัน โดยเฉลี่ยอยูที่ 14-16 วัน สำหรับระยะเวลาการแพร่เชื้อจะอยู่ในช่วง 1-2 วันก่อนผื่นขึ้น จนกระทั่งผื่นตกสะเก็ดหมด

4. Q : โรคสุกใสมีวิธีรักษาอย่างไร?

A : โรคสุกใส หรืออีสุกอีใสหากไม่มีความรุนแรงมากหรือไม่มีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ สามารถหายเองได้ ซึ่งอาจจะมีไข้เพียงไม่กี่วัน ส่วนตุ่มจะตกสะเก็ดและค่อยๆ หายใน 1-3 สัปดาห์ โดยส่วนใหญ่จะเน้นวิธีการรักษาตามอาการ เช่น ปวดหัว มีไข้ ให้เช็ดตัวลดไข้ และอาจให้ยาลดไข้ในกลุ่มพาราเซตามอล ควรพักผ่อนและดื่มน้ำให้เพียงพอ และควรให้ผู้ป่วยตัดเล็บรักษาความสะอาดอยู่เสมอเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากการเกาผื่นตามผิวหนัง 

5. Q : อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อเป็นสุกใส?

A :  ภาวะแทรกซ้อนจากโรคสุกใสที่พบได้บ่อยและรุนแรง คือ ติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง การติดเชื้อในกระแสเลือด ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ปอดอักเสบ สมองอักเสบ ส่วนใหญ่มักพบในทารกแรกเกิด ผู้ใหญ่ หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง

6. Q : โรคสุกใสต้องเป็นทุกคนไหม?

A : โรคสุกใสไม่จำเป็นต้องเป็นทุกคนก็ได้ เพราะในปัจจุบันมีการพัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกันโรคสุกใสอย่างมีประสิทธิภาพ ถึงแม้วัคซีนสามารถป้องกันโรคได้ผลกว่าร้อยละ 94-99 แต่ผู้ที่ฉีดแล้วยังมีโอกาสเป็นโรคได้แต่อาการจะไม่รุนแรงมาก 

7. Q : ผู้ที่ไม่สามารถรับวัคซีนป้องกันสุกใส?

A : เนื่องจากเป็นวัคซีนที่ผลิตจากไวรัสที่ยังมีชีวิต จึงห้ามใช้กับบุคคลเหล่านี้ ได้แก่ มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยกำลังมีการติดเชื้ออื่นๆ ผู้หญิงตั้งครรภ์ หรือประสงค์จะตั้งครรภ์ภายใน 3 เดือนข้างหน้า

8. Q : วิธีป้องกันโรคสุกใสทำได้อย่างไรบ้าง?

A :  เนื่องจากโรคสุกใสเกิดจากการติดเชื้อ และวิธีการในการป้องกันสามารถทำได้ ดังนี้ 

  1. ฉีดวัคซีนสุกใสที่สามารถใช้ได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ที่ไม่เคยเป็นโรคนี้มาก่อน ซึ่งสามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคและลดความรุนแรงได้ 88 - 98%
  2. หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยสุกใส โดยปราศจากการใส่ถุงมือและหน้ากาก N95 แและผู้ใหญ่ที่ไม่มีภูมิก็เป็นได้เช่นกัน

เด็กและผู้ใหญ่ที่ยังไม่เคยติดเชื้อไวรัสสุกใสมีโอกาสที่จะติดเชื้อไวรัสและเกิดโรคนี้ได้ การฉีดวัคซีนชนิดนี้ ทั้ง 2 โดส จะช่วยป้องกันการเกิดโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 88 - 98% ที่โรงพยาบาลวิมุตพร้อมให้คำปรึกษาในการฉีดวัคซีนป้องกันสุกใส หรือโรคอีกสุกอีใสอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยแพทย์ผู้ชำนาญการโรค
ติดต่อมากประสบการณ์ สามารถเข้ารับบริการได้ในระยะเวลาทำการ 

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 3 โรงพยาบาลวิมุต 
เวลาทำการ 07:00 - 20:00 น. โทร. 0-2079-0030 
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์ 

ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ

ผู้เขียน
นพ.ประวัฒน์ จันทฤทธิ์ แพทย์ผู้ชำนาญการโรคติดเชื้อ

แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
นพ.ประวัฒน์
จันทฤทธิ์
อายุรแพทย์
แพทย์ผู้ชำนาญการโรคติดเชื้อ

เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ… จำเป็นแค่ไหน ?

วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ จำเป็นต้องฉีดไหม ฉีดแล้วช่วยป้องกันโรคปอดอักเสบได้จริงหรือไหม มาดูคำตอบได้ที่นี่ว่าทำไมผู้สูงอายุถึงควรฉีดวัคซีนนี้กัน

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
6 วัคซีนสำหรับผู้สูงอายุ ที่แนะนำให้ลูกหลานพาไปฉีด

เปิดคำแนะนำการฉีดวัคซีนผู้สูงอายุ วัคซีนอะไรบ้างที่ควรฉีดอัปเดตข้อมูลปี 2566 เพื่อลดอัตราเสี่ยงการเสียชีวิตและบรรเทาอาการหนักให้เบาลง กับ 6 วัคซีนนี้เลยที่เรารวมข้อมูลมาให้แล้ว

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
หายป่วยลองโควิดได้ หายขาดด้วยโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด

โควิดที่ว่าน่ากลัว ยังไม่เท่าลองโควิด มาตรวจเช็กปอดและร่างกายให้เท่าทันโรค กับโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด เพื่อการฟื้นฟูและการดูแลตัวเองได้อย่างรวดเร็ว

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
รวมสารพัดเมนูอาหาร เพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ

รวมสารพัดเมนูอาหารเพื่อผู้สูงอายุ ควรกินอะไรดี ใครนึกไม่ออก เรารวมให้แล้วที่นี่ กับเมนูอาหารและโภชนาการเพื่อผู้สูงอายุ ที่ช่วยดูแลสุขภาพและบำรุงร่างกายให้แข็งแรงอย่างยั่งยืน

อ่านเพิ่มเติม

แนะนำแพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง