ชิคุนกุนยา เชื้อไวรัสจากยุงลาย แตกต่างจากไข้เลือดออกยังไง?

11 มิ.ย. 67  | ศูนย์อายุรกรรม
แชร์บทความ      

ชิคุนกุนยา

“ชิคุนกุนยา” เชื้อไวรัสจากยุงลาย แตกต่างจากไข้เลือดออกยังไง?

เมื่อหน้าฝนใกล้เข้ามาสิ่งหนึ่งที่เราควรให้ความสำคัญคือ การเฝ้าระวังแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลาย! ที่มักเกิดขึ้นบริเวณรอบๆ บ้านเมื่อฝนตกแล้วมีน้ำขัง เพราะยุงลายเป็นพาหะสำคัญในการติดเชื้อที่ทำให้เป็นโรคถึง 2 ชนิด คือ โรคชิคุนกุนยา และโรคไข้เลือดออก เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อแล้วจะมีอาการคล้ายกัน แต่ก็ยังมีบางอาการที่แตกต่างกันอยู่ โรคไหนมีความรุนแรงมากกว่า ลองมาแยกความแตกต่างของทั้ง 2 โรคนี้ พร้อมทำความเข้าใจโรคชิคุนกุนยาให้มากขึ้นได้ที่นี่ 

โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya) เกิดจากสาเหตุใด?

โรคชิคุนกุนยา หรือโรคไข้ปวดข้อยุงลาย เป็นโรคที่มียุงลายเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสมาสู่คนโดยการกัด ซึ่งแพร่เชื้อโดยยุงลายบ้านและยุงลายสวน และสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย แม้กระทั่งในเด็กเล็กเอง แม้ความรุนแรงของโรคจะไม่ส่งผลอันตรายถึงชีวิต แต่ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดข้อเรื้อรังต่อเนื่องเป็นเดือนหรือเป็นปีก็ได้เช่นกัน 

โรคชิคุนกุนยามีอาการเป็นอย่างไร?

ระยะการฟักตัวของโรคชิคุนกุนยาจะอยู่ที่ 3-12 วัน แต่ที่พบบ่อยจะอยู่ที่ 2-4 วัน และอาการที่เกิดขึ้นในเด็กจะไม่รุนแรงเท่าในผู้ใหญ่ ดังนี้ 

  • มีไข้สูงแบบเฉียบพลัน 
  • มีผื่นแดงตามตัว 
  • ปวดศีรษะและคลื่นไส้ 
  • ตาแดง 
  • รู้สึกปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และปวดตามข้อ 

โรคชิคุนกุนยามีอาการเป็นอย่างไร?

โรคชิคุนกุนยามีอาการแตกต่างจากโรคไข้เลือดออกอย่างไรบ้าง?

แม้อาการโดยรวมของโรคชิคุนกุนยาจะคล้ายกับโรคไข้เลือดออก แต่ยังคงมีบางอาการและระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันซึ่งทำให้สามารถแยกโรคได้ชัดเจน เราจะเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างของทั้ง 2 โรค ดังต่อไปนี้ 


โรคชิคุนกุนยา
 
โรคไข้เลือดออก

ติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา (Chikungunya Virus)

เชื้อไวรัส

ติดเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue Virus)


เมื่อเชื้อฟักตัวครบจะมีอาการไข้สูงอย่างฉับพลัน อาจสูงถึง 40 องศาเซลเซียส ประมาณ 2-4 วัน และไข้จะลดลงอย่างรวดเร็ว ระยะเวลาไข้จะสั้นกว่า

ลักษณะอาการของโรค

เชื้อจะเข้าไปฝังตัวภายในกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุงโดยมีระยะฟักตัวประมาณ 8-12 วัน ผู้ป่วยจะมีไข้สูง มีอาการป่วยรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา

ไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการช็อก

ภาวะช็อก

ผู้ป่วยอาจเกิดอาการช็อกได้

ไม่มีอาการเกล็ดเลือดต่ำ หรือต่ำกว่าจากปกติเล็กน้อย

ภาวะเกร็ดเลือดต่ำ

มีอาการเกล็ดเลือดต่ำอย่างมากจนเลือดออกรุนแรง

ไม่มีอาการเลือดออก

ภาวะเลือดออก

อาจพบจุดเลือดออก เลือดกำเดาไหล หรือเลือดออกตามไรฟันได้

ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิตยกเว้นมีโรคประจำตัว

อันตรายต่อชีวิต

ส่งผลอันตรายถึงชีวิตได้ จากภาวะขาดน้ำรุนแรง หรือ เลือดออกในอวัยวะสำคัญ

Chikungunya IgM PCR for Chikungunya

Lab ที่เกี่ยวข้องในการวินิจฉัย

NS1Ag PCR for Dengue

 

รักษาโรคชิคุนกุนยายังไงได้บ้าง?

โรคชิคุนกุนยารักษายังไงได้บ้าง?

ในปัจจุบันโรคชิคุนกุนยายังไม่มียาที่ใช้รักษาอย่างเฉพาะเจาะจง และยังไม่มีวัคซีนสำหรับป้องกันการติดเชื้อ โดยแพทย์จะให้การรักษาตามอาการ ดังนี้ 

  • การให้น้ำเกลือ 
  • การให้ยาแก้ปวดข้อ 
  • ให้ยาลดไข้ หรือเช็ดตัวลดไข้หากไข้สูงเป็นระยะเวลานาน

นอกจากการรักษาตามอาการแล้วอย่าลืมให้ความสำคัญกับการดูแลตัวเองร่วมด้วย เพื่อช่วยให้อาการของโรคบรรเทาลงได้เร็วขึ้น ดังนี้

  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • นอนหลับพักผ่อนให้เต็มที่
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่
  • รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

ถึงแม้โรคชิคุนกุนยาจะไม่ได้มีอาการรุนแรงเท่ากับโรคไข้เลือดออก แต่การหลีกเลี่ยงการติดเชื้อจากยุงลายยังจำเป็นต้องให้ความสำคัญ เพราะถือว่าเป็นวิธีการป้องกันโรคที่ดีที่สุด โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่พ่อแม่ควรเฝ้าระวังและป้องกันลูกน้อยเพื่อไม่ให้ถูกยุงลายกัด ไม่ว่าจะเป็นการทาโลชั่นหรือสเปรย์ฉีดกันยุง ที่สำคัญต้องทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้หมดไป เพื่อสร้างความปลอดภัยให้ทุกคนในครอบครัวได้ห่างไกลจากพาหะนำโรค 


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่ 
ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 3 โรงพยาบาลวิมุต 
เวลาทำการ 07:00-20:00  น. โทร. 0-2079-0030 
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์

ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ

ผู้เขียน
นพ.กรธัช อชิรรุจิกร อายุรศาสตร์โรคเลือด

แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
นพ.กรธัช
อชิรรุจิกร
อายุรศาสตร์โรคเลือด (Hematologist)

เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ… จำเป็นแค่ไหน ?

วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ จำเป็นต้องฉีดไหม ฉีดแล้วช่วยป้องกันโรคปอดอักเสบได้จริงหรือไหม มาดูคำตอบได้ที่นี่ว่าทำไมผู้สูงอายุถึงควรฉีดวัคซีนนี้กัน

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
6 วัคซีนสำหรับผู้สูงอายุ ที่แนะนำให้ลูกหลานพาไปฉีด

เปิดคำแนะนำการฉีดวัคซีนผู้สูงอายุ วัคซีนอะไรบ้างที่ควรฉีดอัปเดตข้อมูลปี 2566 เพื่อลดอัตราเสี่ยงการเสียชีวิตและบรรเทาอาการหนักให้เบาลง กับ 6 วัคซีนนี้เลยที่เรารวมข้อมูลมาให้แล้ว

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
หายป่วยลองโควิดได้ หายขาดด้วยโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด

โควิดที่ว่าน่ากลัว ยังไม่เท่าลองโควิด มาตรวจเช็กปอดและร่างกายให้เท่าทันโรค กับโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด เพื่อการฟื้นฟูและการดูแลตัวเองได้อย่างรวดเร็ว

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
รวมสารพัดเมนูอาหาร เพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ

รวมสารพัดเมนูอาหารเพื่อผู้สูงอายุ ควรกินอะไรดี ใครนึกไม่ออก เรารวมให้แล้วที่นี่ กับเมนูอาหารและโภชนาการเพื่อผู้สูงอายุ ที่ช่วยดูแลสุขภาพและบำรุงร่างกายให้แข็งแรงอย่างยั่งยืน

อ่านเพิ่มเติม