ตอบทุกเรื่อง"ขูดหินปูน" จำเป็นต้องทำไหม? หลังขูดหินปูนดูแลอย่างไร
เรื่องน่ารู้ของการ “ขูดหินปูน” จำเป็นต้องทำหรือไม่ หลังขูดดูแลตัวเองอย่างไร
เคยสงสัยไหมว่านอกจากการหมั่นตรวจสุขภาพช่องปากและฟันทุกๆ 6 เดือนแล้ว ทำไมทันตแพทย์หรือหมอฟันถึงแนะนำให้เราดูแลสุขภาพช่องปากด้วยการขูดหินปูนเป็นประจำ การขูดหินปูนสามารถช่วยอะไรได้ มีหินปูนแล้วไม่ขูดหินปูนจะเป็นอะไรไหม ขูดหินปูนเจ็บไหม หรือหลังขูดหินปูนต้องดูแลอย่างไร วันนี้เราได้รวบรวมคำตอบเกี่ยวกับข้อสงสัยในการขูดหินปูนมาฝากกันแล้วที่นี่
ทำไมต้องขูดหินปูน ขูดหินปูนแล้วช่วยอะไร ?
คราบหินปูน หรือมีอีกชื่อที่เรียกว่าหินน้ำลาย เกิดจากคราบฟันที่สะสมบนผิวฟันเป็นเวลานานจนเกิดการแข็งตัว และมีแบคทีเรียหลายชนิดอาศัยซ่อนตัวอยู่ตามซอกฟัน ซึ่งจะใช้น้ำตาลจากอาหารที่เราทานช่วยในการเจริญเติบโต หลายคนมักทำความสะอาดได้ไม่ดีโดยเฉพาะซอกฟัน ซึ่งในช่วงที่แบคทีเรียนี้เติบโตมันจะปล่อยกรดออกมาทำลายเคลือบฟัน อันเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดฟันผุและในระหว่างนั้นตัวมันเองก็สร้างสารที่กระตุ้นให้เกิดภาวะเหงือกอักเสบ มีเลือดออกตามไรฟัน และลุลามจนทำลายกระดูกรอบๆ รากฟัน อีกทั้งยังทำให้เกิดกลิ่นปากอีกด้วย
ถ้าปล่อยเอาไว้ไม่ขูดออกจะเป็นอะไรไหม ?
เมื่อเกิดคราบหินปูนแล้วการแปรงฟันธรรมดาจะไม่สามารถขจัดคราบหินปูนออกไปได้ และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพช่องปากและฟัน เช่น ฟันผุ มีกลิ่นปาก เหงือกบวมเป็นหนอง เหงือกอักเสบ โรคปริทันต์ในช่องปาก ฟันโยก หรือในบางรายอาจรุนแรงอาจะส่งผลถึงภาวะโรคหัวใจได้ เพราะสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบจะสามารถเข้าสู่กระแสเลือด กระตุ้นให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวหัวใจได้นั่นเอง นอกจากโรคหัวใจแล้วเหงือกอักเสบยังส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด และทำให้ภาวะโรคเบาหวานแย่ลงได้อีกด้วย ดังนั้น เพื่อสุขภาพช่องปากและฟัน รวมถึงความมั่นใจในการพูดคุยและสร้างรอยยิ้ม ทุกคนควรไปขูดหินปูน ตรวจฟัน ทุกๆ 6 เดือน หรืออย่างน้อยที่สุดปีละ 1 ครั้ง เป็นประจำทุกปี
ขั้นตอนการขูดหินปูนเป็นอย่างไร เจ็บไหม ?
- แจ้งความประสงค์ขอขูดหินปูน และซักประวัติเกี่ยวกับโรคประจำตัว เพราะผู้ที่ป่วยเป็นโรคประจำตัวบางชนิด ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง หรือผู้ที่รับประทานยาละลายลิ่มเลือด หรือมีภาวะเลือดหยุดยาก อาจมีความเสี่ยงในการขูดหินปูนในกรณีที่มีหินปูนมาก ซึ่งทันตแพทย์จะพิจารณาเป็นรายกรณีอีกครั้ง
- ทันตแพทย์จะตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน เพื่อตรวจว่ามีปัญหาสุขภาพฟันและเหงือกหรือไม่ หากมีปัญหาเหงือกอักเสบรุนแรง เป็นโรคปริทันต์อักเสบ จำเป็นต้องรับการรักษาโรคเหงือกไปพร้อมๆ กับการขูดหินปูนโดยแพทย์เฉพาะทางโรคเหงือก
- ทำการขูดหินปูน เมื่อตรวจแล้วพบว่ามีคราบหินปูน ทันตแพทย์จะใช้เครื่องมือทันตกรรม และอุปกรณ์ขูดหินปูนด้วยคลื่นความถี่สูง (Ultrasonic Scaler) ทำการกำจัดคราบหินปูนออก ซึ่งระหว่างนี้อาจจะรู้สึกเสียวฟันได้แต่ไม่ต้องตกใจ เพราะนี่เป็นอาการปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้อาจมีเลือดออกระหว่างการชูดหินปูน เนื่องมาจากเหงือกที่อักเสบจากการมีหินปูนนั่นเอง ซึ่งเลือดจะหยุดได้ภายในระยะเวลาไม่กี่นาทีหลังบ้วนน้ำ
- ขัดทำความสะอาด หลังจากขูดหินปูนเรียบร้อย ทันตแพทย์จะใช้หัวขัดยางควบคู่กับผงขัดฟันโดยเฉพาะ ที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ เพื่อทำความสะอาดและกำจัดคราบสีจากอาหารที่ยังคงตกค้างอยู่ที่ผิวฟัน
- บ้วนปาก สำหรับขั้นตอนสุดท้าย ทันตแพทย์จะให้เราลุกขึ้นมาบ้วนปากเพื่อเอาเศษคราบหินปูนที่อาจหลงเหลืออยู่และผงขัดออกไปกับน้ำและเพื่อเป็นการทำความสะอาดครั้งสุดท้าย เพียงเท่านี้ก็เสร็จสิ้นขั้นตอนในการขูดหินปูน
- x-ray ตรวจฟันผุ ทันตแพทย์อาจแนะนำให้ x-ray ตรวจฟันผุด้านประชิด หรือบริเวณซอกฟัน ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าและไม่มีอาการใดๆ หากเป็นระยะเริ่มต้น โดยทั่วไปแนะนำให้ตรวจทุกๆ 1 ปี หากไม่พบฟันผุต่อเนื่องกัน 2-3 ปี อาจเว้นเป็นการตรวจปีเว้นปีได้ หากปล่อยฟันผุไว้จนเป็นโพรงใหญ่จนเห็นได้ด้วยตานั่นอาจจะเป็นฟันผุที่ลึกจนอาจจะต้องรักษารากฟันแล้วก็ได้
หลังขูดหินปูนต้องปฏิบัติตัว หรือดูแลตัวเองอย่างไร ?
- หลังขูดหินปูนสามารถกินข้าว ดื่มน้ำได้ตามปกติทันที
- ควรหลีกเลี่ยงชา กาแฟ น้ำอัดลม อาหารที่มีสีสันจัดจ้าน เพราะสีของอาหารอาจติดผิวฟันเกิดเป็นคราบสีจากอาหารได้อีก หากต้องการรับประทาน ควรดื่มน้ำตามทุกครั้ง
- หลังขูดหินปูนอาจมีอาการเสียวฟันได้ประมาณ 1 สัปดาห์ ซึ่งเป็นอาการปกติ การดูแลอาการนี้ควรแปรงฟันด้วยยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์หรือยาสีฟันลดอาการเสียวฟัน ก็จะช่วยให้อาการเสียวฟันดีขึ้นได้ แต่หากมีอาการมากกว่า 1 สัปดาห์ เป็นต้นไป ควรปรึกษาทันตแพทย์
- สังเกตอาการเหงือกบวม เหงือกอักเสบ อาการเหล่านี้เกิดขึ้นได้น้อย แต่สามารถเกิดขึ้นได้ โดยหลังจากขูดหินปูนแล้วหากพบว่าเหงือกบวมมากขึ้น อักเสบหรือมีหนองให้รีบไปพบทันตแพทย์ทันที
- ควรแปรงฟันให้ถูกวิธี ร่วมกับการใช้ไหมขัดฟัน เพื่อความสะอาดที่หมดจดและลดโอกาสการเกิดคราบหินปูนสะสมได้ดีขึ้น
การดูแลสุขภาพช่องปากและฟันด้วยการตรวจสุขภาพและเข้ารับการขูดหินปูนเป็นประจำ จะช่วยให้คุณมีสุขภาพปากและฟันที่ดียิ่งขึ้น ลดปัญหาฟันเหลือง ปากมีกลิ่น ปัญหาสุขภาพเหงือกและป้องกันฟันผุได้อีกด้วย เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้คุณพูดคุยและเผยรอยยิ้มได้อย่างมั่นใจมากขึ้นได้แล้ว
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์ทันตกรรม ชั้น 5 โรงพยาบาลวิมุต
เวลาทำการ 09.00-20.00 น. โทร. 0-2079-00626
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์
ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ

แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

วีระโสภณ

วีระโสภณ

วีระโสภณ

วีระโสภณ

วีระโสภณ

วีระโสภณ
เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

รากฟันเทียม คืออะไร? อยู่ได้กี่ปีเหมาะกับใครบ้าง
สิ่งที่คุณควรรู้ ก่อนผ่าตัดใส่รากฟันเทียม คืออะไร มีกี่ประเภท เหมาะกับใคร อายุการใช้งานได้นานแค่ไหน และดีต่อสุขภาพช่องปากระยะยาวอย่างไร หาคำตอบไปพร้อมกันที่นี่

รากฟันเทียม คืออะไร? อยู่ได้กี่ปีเหมาะกับใครบ้าง
สิ่งที่คุณควรรู้ ก่อนผ่าตัดใส่รากฟันเทียม คืออะไร มีกี่ประเภท เหมาะกับใคร อายุการใช้งานได้นานแค่ไหน และดีต่อสุขภาพช่องปากระยะยาวอย่างไร หาคำตอบไปพร้อมกันที่นี่

รากฟันเทียม คืออะไร? อยู่ได้กี่ปีเหมาะกับใครบ้าง
สิ่งที่คุณควรรู้ ก่อนผ่าตัดใส่รากฟันเทียม คืออะไร มีกี่ประเภท เหมาะกับใคร อายุการใช้งานได้นานแค่ไหน และดีต่อสุขภาพช่องปากระยะยาวอย่างไร หาคำตอบไปพร้อมกันที่นี่

รากฟันเทียม คืออะไร? อยู่ได้กี่ปีเหมาะกับใครบ้าง
สิ่งที่คุณควรรู้ ก่อนผ่าตัดใส่รากฟันเทียม คืออะไร มีกี่ประเภท เหมาะกับใคร อายุการใช้งานได้นานแค่ไหน และดีต่อสุขภาพช่องปากระยะยาวอย่างไร หาคำตอบไปพร้อมกันที่นี่

รากฟันเทียม คืออะไร? อยู่ได้กี่ปีเหมาะกับใครบ้าง
สิ่งที่คุณควรรู้ ก่อนผ่าตัดใส่รากฟันเทียม คืออะไร มีกี่ประเภท เหมาะกับใคร อายุการใช้งานได้นานแค่ไหน และดีต่อสุขภาพช่องปากระยะยาวอย่างไร หาคำตอบไปพร้อมกันที่นี่

รากฟันเทียม คืออะไร? อยู่ได้กี่ปีเหมาะกับใครบ้าง
สิ่งที่คุณควรรู้ ก่อนผ่าตัดใส่รากฟันเทียม คืออะไร มีกี่ประเภท เหมาะกับใคร อายุการใช้งานได้นานแค่ไหน และดีต่อสุขภาพช่องปากระยะยาวอย่างไร หาคำตอบไปพร้อมกันที่นี่