การส่องกล้องทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (Endoscopic retrograde cholangiopancreatography: ERCP)
- เป็นการส่องกล้องตรวจและรักษาโรคระบบทางเดินน้ำดีและตับอ่อน โดยใช้กล้องผ่านทางปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหารเข้าไปยังบริเวณลำไส้เล็กส่วนต้น ซึ่งบริเวณที่มีหูรูดที่เป็นรูเปิดของท่อน้ำดี โดยการใส่ขดลวดเข้าไปในหูรูดของทางเดินน้ำดีร่วมกับการใช้สารทึบรังสีในการถ่ายภาพรังสีของท่อน้ำดี และท่อตับอ่อน รวมทั้งสามารถใช้ในการรักษาโรคของท่อน้ำดีและท่อตับอ่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใช้ในการรักษาภาวะดีซ่านเนื่องจากการอุดตันของท่อน้ำดี
- เพื่อทำการรักษาโรคของท่อน้ำดี เช่น ภาวะนิ่วในท่อน้ำดี โดยสามารถเอานิ่วออกจากท่อน้ำดี การใส่ท่อระบายน้ำดีในผู้ป่วย มะเร็งท่อน้ำดีหรือท่อน้ำดีตีบ รวมทั้งรักษาภาวะท่อน้ำดีติดเชื้อ เป็นต้น
- เพื่อรักษาโรคของตับอ่อน เช่น การเอานิ่วออกจากท่อตับอ่อน หรือ เพื่อวางท่อระบายเหนือรอยต่อส่วนที่รั่วของท่อตับอ่อน (Pancreatic Fistula)
ขั้นตอนการตรวจ
- งดน้ำงดอาหาร 6-8 ชั่วโมง ก่อนการทดสอบ
- คุณอาจได้รับคำแนะนำให้ปรับขนาดยาหรือหยุดใช้ยาเฉพาะก่อนการตรวจ เช่น ยาที่มีผลต้านการแข็งตัวของเลือด หากคุณเป็นโรคเบาหวาน จะมีการปรับขนาดยาในตอนเช้าของคุณ (ยาเม็ดหรืออินซูลิน)
- ยาส่วนใหญ่ เช่น ยารักษาความดันโลหิต สามารถรับประทานต่อไปได้ตามปกติ
- การให้ยาระงับปวด ร่วมกับ การใช้ยาดมสลบ เพื่อระงับปวด
- ผู้ป่วยทุกรายจำเป็นต้องเข้าพักในโรงพยาบาลต่อหลังจากทำหัตถการอย่างน้อย 24 ชั่วโมง หรือขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะแทรกซ้อนทั่วไป ความรู้สึกไม่สบายที่พบบ่อยที่สุดหลังการตรวจ คือ ความรู้สึกท้องอืด อันเป็นผลมาจากอากาศที่เข้าไประหว่างการตรวจ มีอาการเจ็บคอเล็กน้อย
ภาวะแทรกซ้อนเฉพาะ
- ตับอ่อนอักเสบ (การอักเสบของตับอ่อน) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยที่สุด ซึ่งเกิดขึ้นในประมาณ 3-5 % ของผู้ที่ได้รับ ERCP เมื่อเกิดขึ้น มักจะไม่รุนแรง ทำให้เกิดอาการปวดท้องและคลื่นไส้ ซึ่งจะหายไปเองหลังจากอยู่ในโรงพยาบาล 2-3 วัน ตับอ่อนอักเสบไม่บ่อยนักอาจรุนแรงกว่านี้
- ลำไส้เล็กส่วนต้นทะลุ โอกาสเกิดความเสียง 1% ภาวะเลือดออกในลำไส้เล็กส่วนต้น เนื่องจากมีการตัดบริเวณหูรูดท่อน้ำดี
- ภาวะเลือดออกอาจเกิดขึ้นทันที หรือเกิดขึ้นหลัง 24 ชั่วโมงหลังส่องกล้อง ผู้ป่วยที่รับประทานยาในกลุ่มละลายลิ่มเลือดจะเพิ่มภาวะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดออกในลำไส้เล็กส่วนต้น โอกาสเกิดภาวะเลือดออกในลำไส้เล็กส่วนต้นประมาณ 2.5 -5%
- ติดเชื้อในท่อน้ำดีหลังส่องกล้อง ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดท้อง มีไข้ ส่วนใหญ่จะสามารถเกิดภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ 5 -10% โดยปกติจะมีการให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อก่อนทำการส่องกล้อง เพื่อลดการติดเชื้อในท่อน้ำดี
อาการที่ควรต้องพบแพทย์
คุณมีอาการใด ๆ ต่อไปนี้ แจ้งให้แพทย์ทราบทันที:
●ปวดท้องอย่างรุนแรง
● ท้องอืดมาก
● อาเจียน
● มีไข้หรือหนาวสั่น
● อุจจาระสีดำหรือมีเลือดปน
●กลืนลำบากหรือเจ็บคออย่างรุนแรง
บทความเรียบเรียงโดย
แพทย์หญิงณัชพร นพเคราะห์
อายุรแพทย์ผู้ชำนาญการระบบทางเดินอาหารและตับ
ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ
แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง
เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง
แนะนำแพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง
โปรแกรมการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านกล้อง (2 วัน 1 คืน)
รายละเอียด
179,000 บาท
โปรแกรมการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านกล้อง (2 วัน 1 คืน)
รายละเอียด