เป็นเบาหวานตั้งครรภ์ได้ไหม ?

24 ต.ค. 64  | ศูนย์เบาหวาน ต่อมไร้ท่อ และควบคุมน้ำหนัก
แชร์บทความ      

 

เป็นเบาหวานตั้งครรภ์ได้ไหม ?

ผู้ป่วยเบาหวานที่วางแผนจะมีลูกอาจมีความกังวลว่าจะสามารถมีลูกได้ไหม ลูกจะแข็งแรงสมบูรณ์ดีหรือไม่ และอาจจะยังสงสัยว่าควรเตรียมตัวอย่างไรเพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย การตั้งครรภ์สำหรับคนที่ป่วยเป็นเบาหวานจะไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวล หากมีการวางแผนและเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์อย่างดี ซึ่งจะทำให้คุณแม่สามารถคลอดบุตรที่มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ได้ โรงพยาบาลวิมุตรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับคุณแม่ที่เป็นเบาหวาน ต้องการมีลูกและวิธีเตรียมตัวก่อนการตั้งครรภ์ดังต่อไปนี้

 

เป็นเบาหวาน จะสามารถมีลูกได้ไหม ?

สำหรับคุณผู้หญิงที่มีโรคเบาหวานเป็นโรคประจำตัว และกำลังวางแผนสร้างครอบครัว เพิ่มสมาชิกใหม่ แต่มีความกังวลว่าตัวเองจะสามารถมีลูกได้ไหม ซึ่งคนเป็นเบาหวานสามารถมีลูกได้เช่นเดียวกับคนทั่วไป เพียงแต่ก่อนการตั้งครรภ์ ต้องเตรียมตัว วางแผนสุขภาพให้แข็งแรงและควบคุมระดับน้ำตาลให้ได้ก่อน เพราะการตั้งครรภ์ของผู้ที่เป็นเบาหวานจะมีความเสี่ยงต่อการแท้ง รวมถึงพัฒนาการการเติบโตของเด็กในครรภ์ระยะแรกได้ 

 

เป็นเบาหวานแต่อยากมีลูกต้องเตรียมตัวอย่างไร ?

1. พบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย

เป็นขั้นตอนแรกของการเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์ โดยแพทย์อาจพูดคุยและให้คำแนะนำต่อไปนี้

  • เปลี่ยนยา เป็นยาที่ปลอดภัยสำหรับการตั้งครรภ์
  • รักษาอาการแทรกซ้อน หากผู้ป่วยเบาหวานมีภาวะความดันโลหิตสูง หรือมีสัญญาณปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับหัวใจ ตา เส้นประสาท ไต หรือภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ จากโรคเบาหวาน ควรได้รับการรักษา หรือควบคุมอาการของโรคก่อนการตั้งครรภ์
  • ปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยวางแผนการตั้งครรภ์กับสูตินรีแพทย์เฉพาะทางด้านภาวะครรภ์เสี่ยง, ผู้ให้ความรู้โรคเบาหวาน, นักโภชนาการ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การตั้งครรภ์เป็นไปอย่างปลอดภัยทั้งตัวคุณแม่เองและลูกน้อยในครรภ์

 

2. พยายามควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด จะช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ได้ โดยแพทย์อาจให้ผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) ช่วง 2-3 เดือนก่อนการตั้งครรภ์ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม หากควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีในช่วงสัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ อาจทำให้เกิดภาวะแท้งบุตร และอาจส่งผลกระทบต่อสมอง ไขสันหลัง และหัวใจของทารก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ทารกพิการแต่กำเนิดได้

3. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

ดูแลสุขภาพจากภายในด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้น ผัก ผลไม้ หรือธัญพืช หากมีปัญหาการควบคุมระดับน้ำตาล หรือต้องการลดน้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ ควรปรึกษานักโภชนาการเพื่อวางแผนกำหนดปริมาณและสารอาหารต่างๆ ให้เหมาะสม และควรรับประทานวิตามินที่จำเป็นสำหรับการตั้งครรภ์ให้เพียงพอ โดยเฉพาะกรดโฟลิก (Folic Acid) ซึ่งจำเป็นในการป้องกันความผิดปกติของระบบประสาทของทารกในครรภ์

4. ออกกำลังกาย

เพื่อเตรียมพร้อมร่างกายที่แข็งแรง ว่าที่คุณแม่ควรออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอระดับปานกลางตามแบบที่ชื่นชอบ และสามารถทำได้อย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกวัน เช่น เดิน ว่ายน้ำ ปั่นจักรยานอยู่กับที่ เป็นต้น โดยควรออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที อย่างไรก็ตาม การออกกำลังกายอาจส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดได้ จึงควรวัดระดับน้ำตาลในเลือดทั้งก่อนและหลังออกกำลังกาย รวมถึงควรรับประทานอาหารว่างเล็กน้อยก่อนออกกำลังกาย เพื่อป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป

 

หากตั้งครรภ์โดยไม่มีการเตรียมตัวจะส่งผลอย่างไร ?

  • คุณแม่จะเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังจากเบาหวาน
  • ทารกในครรภ์เสี่ยงพิการ มีน้ำหนักตัวมาก ทำให้คลอดยาก มีปัญหาสุขภาพเกิดขึ้นหลังคลอด โดยเฉพาะปัญหาหัวใจและระบบประสาท หรือมีแนวโน้มเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวานเมื่อโตขึ้น

 

แม้ว่าการป่วยเป็นเบาหวานจะสร้างความกังวลใจและมีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์มากกว่าปกติ แต่ผู้ป่วยเบาหวานก็ยังคงสามารถมีลูกได้ ดังนั้น หากคุณผู้หญิงท่านใดที่ป่วยเป็นเบาหวานและกำลังวางแผนตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนเตรียมตัวรับมือก่อนการตั้งครรภ์อย่างเหมาะสม เพื่อความปลอดภัยทั้งของตนเองและลูกน้อยนะคะ

 

คุณสามารถติดต่อปรึกษาปัญหาสุขภาพ เป็นเบาหวานมีลูกได้ไหม หรือวางแผนมีลูกได้ที่ :

ศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์ ต่อมไร้ท่อ และควบคุมน้ำหนัก ชั้น 9 รพ.วิมุต

เวลาทำการ 07.00 - 19.00 น. โทร 02-079-0070

หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์ได้

ด้วยความปรารถนาดี จากโรงพยาบาลวิมุต อีกระดับของการรักษาด้วยความใส่ใจ

 

ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ


เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
13 วิธีดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในยุค COVID-19

เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานเป็นกลุ่มบุคคลที่ถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงในการติดเชื้อ covid-19 โดยโรคเบาหวานนั้นจะทำให้ติดเชื้อ covid -19 ได้ง่ายกว่าบุคคลทั่วไป และหากติดเชื้อแล้วจะมีผลทำให้เกิดพาวะแทรกซ้อนมากกว่าบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
สายกินต้องระวัง โรคอันตรายจากไขมันที่ต้องรู้ !

สายกินต้องระวัง! อาหารไขมันสูง ของทอดแสนอร่อยที่แฝงไปด้วยโรคไขมันตัวร้าย มาดูความลับทั้งประโยชน์และโทษของไขมัน ที่บั่นทอนสุขภาพคุณจนอาจเป็นโรคร้ายแรงได้มากกว่าที่คิด

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
3 สัญญาณที่บอกว่า คุณกำลังลดน้ำหนักผิดวิธี

เชื่อว่าหลายคนยังมีเป้าหมายในการลดน้ำหนัก แต่ปัญหาที่มักพบ คือ ลดน้ำหนักไม่สำเร็จสักที หรืออาจลดได้แค่ช่วงสั้นๆ แล้วกลับมาน้ำหนักเท่าเดิม ซึ่งสาเหตุอาจมาจากการลดน้ำหนักอย่างผิดวิธี

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
รับมืออย่างไรเมื่อ COVID-19 รบกวนชีวิตผู้ป่วยเบาหวาน

ในสถานการณ์ที่โควิดยังคงระบาด ผู้ป่วยเบาหวานต้องระวังโรคโควิดนี้ให้ดี เพราะติดง่ายกว่าคนอื่นแถมติดแล้วยังรุนแรงเสี่ยงถึงตายจริงไหม? มาฟังคำตอบกับคุณหมอกัน

อ่านเพิ่มเติม