โรคมือ เท้า ปาก ตุ่มแดงใส แผลในปาก โรคติดต่อที่ป้องกันได้

23 ส.ค. 65  | ศูนย์กุมารเวช
แชร์บทความ      

โรคมือเท้าปาก เป็นโรคที่พบได้บ่อยในเด็กเล็กโดยเฉพาะช่วงหน้าฝน เพราะเป็นช่วงที่เชื้อโรคสามารถแพร่กระจายได้ง่ายและรวดเร็ว โดยสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อไวรัส 2 ชนิด คือ ไวรัสค็อกซากี (Coxsackie Virus) และสายพันธุ์เอนเทอโรไวรัส 71 (Enterovirus 71) 

อาการของโรคมือเท้าปาก

สำหรับเด็ก หรือผู้ใหญ่ที่เป็นโรคมือ เท้า ปากนั้น มักจะมีอาการแสดงที่พบได้ ดังนี้

  • ผู้ป่วยมักมีอาการไข้ ในบางคนอาจมีไข้สูง
  • มีผื่นเป็นลักษณะตุ่มน้ำใสหรือตุ่มสีแดงขึ้นบริเวณลำตัว ฝ่ามือหรือฝ่าเท้า
  • มีแผลในปาก บางครั้งอาจมีผื่นขึ้นบริเวณอื่นด้วย เช่น เข่า ศอก  หรือ ก้น เด็กอาจจะกินได้น้อยลงเนื่องจากเจ็บแผลในปาก

ส่วนมากอาการมักไม่รุนแรง และหายได้เอง โดยไข้ มักหายใน 2-3 วัน และผื่นมักหายใน 7-10 วัน

แต่ในบางครั้งอาจเกิดการติดเชื้อที่รุนแรงและอันตรายมากกว่า คือการเกิดสมองอักเสบ หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งพบว่าเพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิตมากขึ้น และมักพบในสายพันธ์ุเอนเทอโรไวรัส 71 (Enterovirus 71) แต่อาการรุนแรงเหล่านี้ก็ยังพอมีสัญญาณเตือนโดยสังเกตได้จากการที่มีไข้สูง ไม่ลดลงใน 48 ชั่วโมง ซึม ดูอ่อนเพลียมาก มีกล้ามเนื้อกระตุกเป็นบางครั้ง ซึ่งผู้ป่วยที่มีอาการเหล่านี้ควรได้รับการประเมินอย่างรวดเร็ว

การติดต่อของโรคมือ เท้า ปาก

โรคมือ เท้า ปาก สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้โดยผ่านระบบทางเดินอาหารและทางเดินหายใจจากการสัมผัสโดยตรง และสัมผัสทางอ้อมได้แก่

  • น้ำมูก น้ำลาย หรือ อุจจาระของผู้ป่วย
  • ของเล่น ผ้าอ้อม ผ้าเช็ดตัว
  • ลูกบิดประตู
  • น้ำ-อาหาร

ดังนั้นจึงสังเกตได้ว่า โรคมือเท้าปากมักระบาดใน โรงเรียนชั้นเด็กเล็ก อนุบาล หรือ Nursery ที่มีเด็กเล็กมากกว่าเด็กโตเนื่องจากยังเป็นวัยที่ยังไม่สามารถดูแลสุขลักษณะของตัวเองได้ดีนั่นเอง

การวินิจฉัยโรคมือ เท้า ปาก

การตรวจหาโรค มือ เท้า ปากสามารถวินิจฉัยได้จากอาการและลักษณะผื่นได้ โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยผลทางห้องปฏิบัติการ ยกเว้นในกรณีที่อาการไม่ชัดเจน หรือต้องการแยกจากโรคอื่นๆที่อาการอาจใกล้เคียงกัน สามารถตรวจเชื้อได้จากการป้ายโพรงจมูก หรือส่งตรวจเชื้อในอุจจาระ

การดูแลรักษามือ เท้า ปาก

การรักษาโรคมือ เท้า ปากนี้ ไม่มียารักษาโดยเฉพาะ จะเป็นการดูแลรักษาตามอาการ เนื่องจากโดยทั่วไปร่างกายสามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้เอง จึงต้องรักษาตามอาการและให้ร่างกายได้ทำการรักษาตัวเอง โดยมักจะใช้เวลาประมาณ 5-10 วัน ด้วยวิธีการดูแลโรคมือ เท้า ปาก ดังนี้

  • หากมีไข้ให้รับประทานยาลดไข้ 
  • ในเด็กเล็กที่มีแผลในปากให้ทายาแก้เจ็บแผลในปาก 
  • ในบางกรณีที่ผู้ป่วยกินน้ำและอาหารได้น้อยมาก อาจต้องพิจารณาให้สารน้ำทางหลอดเลือด เป็นต้น

แต่ในขณะเดียวกันโรคมือ เท้า ปากก็สามารถพบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ ซึ่งจะที่มีสัญญาณของโรคที่รุนแรง เช่น ไข้สูง ไข้ไม่ลดลงใน 48 ชั่วโมง ซึม ดูอ่อนเพลียมาก ตาลอย มีกล้ามเนื้อกระตุก ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการประเมินอย่างรวดเร็ว และรับไว้รักษาในโรงพยาบาลเพื่อประเมินอาการอย่างใกล้ชิด 

การป้องกันโรค มือ เท้า ปาก

  • โดยทั่วไปเชื้อไวรัสตายง่ายในที่แห้งและร้อน การต้มและนึ่งอุปกรณ์ หรือสิ่งของ เครื่องใช้สามารถฆ่าเชื้อนี้ได้ 
  • การล้างมือด้วยแอลกอฮอล์ล้างมือ ไม่สามารถฆ่าเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรล้างมือด้วยสบู่และน้ำจะดีที่สุด 
  • ในกรณีที่มีเด็กป่วยเป็นโรคมือ เท้า ปาก ผู้ปกครองควรให้เด็กอยู่บ้านและงดการออกไปเล่นกับเด็กคนอื่น เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดที่สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ 
  • อีกหนึ่งทางเลือกเสริมเพื่อป้องกันการติดต่อและลดความรุนแรงของโรคมือ เท้า ปาก แนะนำให้ป้องกันเชื้อด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคมือ เท้า ปาก

โรคมือ เท้า ปาก จากเชื้อเอนเทอโรไวรัสป้องกันและบรรเทาได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคมือเท้าปาก

ในปัจจุบัน มีวัคซีนป้องกันโรคมือเท้าปาก ที่ได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยา (อย.) ในประเทศไทยแล้วนั่นคือ EntroVac ซึ่งเป็นวัคซีนที่พัฒนามาจากเชื้อตาย โดยต้องฉีดให้ครบ 2 เข็ม ซึ่งจะสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อของสายพันธุ์เอนเทอโรไวรัส 71 ที่รุนแรงได้ถึง 97% รวมถึงช่วยลดความรุนแรงเมื่อติดเชื้อได้ 100%
วัคซีนพร้อมแล้ววันนี้… ในราคาโปรโมชันพิเศษ สนใจเข้ารับวัคซีนโรค มือ เท้า ปาก คลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่

ข้อควรรู้ก่อนรับ วัคซีน EntroVac
1. อายุที่รับวัคซีนได้ คือ 6 เดือน - 5 ปี
2. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 2 เข็ม โดยเว้นระยะห่างระหว่างเข็ม 1 เดือน
3. วัคซีนชนิดนี้ป้องกัน- ลดความรุนแรงของโรคมือเท้าปาก ที่เกิดจาก Enterovirus เท่านั้น ไม่สามารถป้องกันโรค มือ เท้า ปาก ที่เกิดจากไวรัสชนิดอื่นๆได้
4. หลังฉีดวัคซีนป้องกันโรคมือ เท้า ปาก อาจมีผลข้างเคียงบวม แดงบริเวณที่ฉีดได้ และอาจมีไข้เล็กน้อย
5. มีการศึกษาในประเทศไทยในช่วงปี 2000-2017 พบว่าโรคมือเท้าปากในประเทศไทยเกิดจากเชื้อ Enterovirus ประมาณ 70% และ Coxsackie Virus ประมาณ 30 % แต่อย่างไรก็ตาม ข้อมูลการระบาดอาจเปลี่ยนแปลงไปได้ในแต่ละปี

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 

ศูนย์กุมารเวช ชั้น 3 โรงพยาบาลวิมุต 

ให้บริการ 24 ชั่วโมง โทร 0-2079-0038

หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์ได้

 

ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ

 

ผู้เขียน
นพ.ฐากูร วิริยะชัย กุมารแพทย์ แพทย์ผู้ชำนาญการโรคติดเชื้อในเด็ก

เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
ลูกของคุณเสี่ยงมีพฤติกรรมคล้าย-ออทิสติกหรือไม่?

พฤติกรรมคล้ายออทิสติกหรือในสื่อสังคมมักเรียกว่า “ออทิสติกเทียม” เป็นภาวะที่เด็กขาด “การกระตุ้น” ในการสื่อสารสองทางโรคออทิสติก เกิดจากความผิดปกติของสมองเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ในขณะที่อาการออทิสติกเทียมจะเกิดจาก "ขาดการกระตุ้น" เป็นหลัก

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
เตรียมลูกรักให้ Ready เมื่อเปิดเทอมนี้ Covid มาเยือน

ช่วงที่ลูกต้องเรียนออนไลน์คุณพ่อแม่ก็วุ่นวายไปอีกแบบ แต่พอลูกน้อยไปโรงเรียนในสภาวะแบบนี้ความวุ่นวายก็กลับกลายเป็นความกังวล

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
ลูกนอนกรน…อาการที่ไม่ควรมองข้าม เสี่ยงหยุดหายใจขณะหลับ

เสียงนอนกรน เกิดจากช่องทางเดินหายใจส่วนต้นของเราตีบแคบขณะนอนหลับ ทำให้ลมหายใจไหลผ่านได้อย่างลำบาก โดยสาเหตุการนอนกรนในเด็กส่วนใหญ่ เกิดจากขนาดต่อมทอนซิลและ/หรือต่อมอะดีนอยด์ที่โต จนเบียดบังทางเดินหายใจส่วนต้นของเด็ก ซึ่งพบบ่อยในเด็กก่อนวัยเรียนจนถึงอายุประมาณ 8 ปี

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
ส่องสุขภาพเด็กอ้วนที่น่ารัก กับความอันตรายที่แอบแฝง

ในเด็กอ้วนที่ดูน่ารัก อาจกำลังเป็นเด็กที่เสี่ยงกับโรคอ้วนในเด็กได้ ชวนคุณพ่อคุณแม่มาดูอันตรายแฝงที่แอบซ่อนอยู่ในเด็กอ้วน พร้อมแนวทางการรักษากันได้ที่นี่

อ่านเพิ่มเติม