รวมวิธีการฟอกไต ประตูแห่งการรักษาเพื่อคนมีปัญหาโรคไต
เพราะไตมีหน้าที่ในการขับสารพิษและของเสีย สร้างฮอร์โมน ควบคุมสมดุลความดันโลหิต น้ำ เกลือแร่และกรด-ด่างของร่างกาย แต่เมื่ออายุมากขึ้นร่วมกับพฤติกรรมการใช้ชีวิต อาจทำให้ไตเกิดภาวะเสื่อมสภาพก่อนวัยอันควรและไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น “การฟอกไต” จึงเข้ามามีบทบาทในการรักษาไตเพื่อคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับไตโดยเฉพาะ
สำหรับใครที่กำลังหาข้อมูลว่าการฟอกไตคืออะไร มีวิธีฟอกไตกี่วิธี ใครบ้างที่ควรต้องฟอกไต ฟอกไตเจ็บหรือไม่ ใช้เวลาทำนานแค่ไหน ศูนย์ไตเทียมจากโรงพยาบาลวิมุตนำข้อมูลเกี่ยวกับการฟอกไตมาฝากในบทความนี้ ฟอกไตเจ็บหรือไม่ ใช้เวลาทำนานแค่ไหน ในบทความนี้ศูนย์ไตเทียมจากโรงพยาบาลวิมุตจะนำข้อมูลเหล่านี้มาฝากกัน
การฟอกไตคืออะไร ? แล้วใครบ้างที่ควรต้องเข้ารับการฟอกไต
การฟอกไต (Hemodialysis) คือกระบวนการทางการแพทย์ที่ใช้เครื่องกรองเลือด หรือเครื่องฟอกไตทำหน้าที่แทนไตที่ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ หรือไตไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในการล้างสารพิษและน้ำเสียที่สะสมในร่างกายให้ออกจากร่างกาย รวมถึงการรักษาสมดุลของของเหลว เกลือแร่และความเป็นกรด-ด่างในร่างกาย ซึ่งผู้ที่ควรเข้ารับการฟอกไตมักจะเป็นผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับไต ดังนี้
- ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง หรือไตวาย
- ผู้ป่วยที่ไตเสื่อมจากการบาดเจ็บ หรือโรคพยาธิสภาพ
- ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางไตในโรคร่วม เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หรือโรคที่มีผลกระทบต่อไต
- ผู้ป่วยที่ต้องฟอกไตชั่วคราวจากการติดเชื้อ การขาดสารน้ำจำเป็นต่อร่างกาย มีภาวะอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ หรือได้รับยาที่มีผลต่อการทำงานของไต รวมถึงภาวะไตวายเฉียบพลันซึ่งจำเป็นต้องฟอกไตรักษา
วิธีการฟอกไตมีกี่วิธี ?
สำหรับการฟอกไต ฟอกเลือด หรือล้างไต ต่างใช้เป็นคำเรียกที่เกี่ยวข้องกับวิธีการรักษาไตด้วยการฟอกไตทั้งหมด ซึ่งในปัจจุบันมีวิธีการฟอกไตด้วยกันอยู่ 3 วิธี ดังต่อไปนี้
1. การฟอกไตทางหลอดเลือด (Hemodialysis)
การฟอกไตทางหลอดเลือด คือ การฟอกไตที่จะใช้เครื่องไตเทียมต่อเข้ากับเส้นเลือดดำ โดยใช้หลักการการแลกเปลี่ยนของเสีย เกลือแร่และน้ำส่วนเกินในเลือดกับน้ำยาฟอกเลือดผ่านเครื่องไตเทียมที่จำลองการกรองเลือดให้เหมือนการกรองของเสียผ่านไต โดยมีขั้นตอน ดังนี้
- เตรียมเส้นเลือด ก่อนจะทำการฟอกไตด้วยเครื่องไตเทียมผู้ป่วยจะต้องทำการตัดต่อเส้นเลือดก่อนด้วยการทำ AV fistula ซึ่งเป็นการนำเส้นเลือดดำต่อกับเส้นเลือดแดงบริเวณแขน หรือ AV graft ที่เป็นการต่อเส้นเลือดดำกับเส้นเลือดแดงของผู้ป่วยโดยการใช้เส้นเลือดเทียม เพื่อทำให้เส้นเลือดดำมีขนาดใหญ่ขึ้นพร้อมรองรับเข็มฟอกเลือดขนาดใหญ่ที่เจาะเข้าหลอดเลือดดำและทำให้มีแรงดันมากพอที่จะทำให้เลือดไหลเวียนเข้าสู่เครื่องไตเทียมได้
- กำจัดของเสียด้วยเครื่องไตเทียม ในการฟอกไตด้วยเครื่องไตเทียม ผู้ป่วยจะถูกเจาะเส้นเลือด 2 เส้น โดยเส้นแรกจะดูดเลือดจากตัวผู้ป่วยออกไปผ่านตัวกรองของเครื่องฟอกไต ซึ่งจะมีน้ำยาที่ช่วยกำจัดน้ำส่วนเกิน ของเสียสะสมและช่วยปรับสมดุลของเกลือแร่ จากนั้นเลือดที่ผ่านการกรองแล้วจะไหลออกไปสู่เส้นเข็มอีกเส้นที่เจาะไว้ กลับเข้าสู่ร่างกาย
ซึ่งวิธีการฟอกไต หรือการฟอกเลือดทางหลอดเลือด (Hemodialysis) จะใช้เวลา 3-4 ชั่วโมงต่อครั้ง และจะต้องทำอย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์
2. การฟอกไตทางช่องท้อง (Peritoneal Dialysis)
สำหรับวิธีการฟอกไตทางช่องท้อง หรือที่หลายๆ คนมักเรียกว่าล้างไต เป็นวิธีที่ใช้กับผู้ป่วยที่ไตไม่สามารถทำงานได้อีกต่อไป โดยการฟอกไตผ่านช่องท้องนี้จะมีทั้งแบบเปลี่ยนน้ำยาด้วยตัวเองและแบบใช้เครื่องอัตโนมัติ (APD) โดยก่อนการฟอกไตทางช่องท้อง แพทย์จะทำการผ่าตัดใส่สายสำหรับการฟอกไตเข้าไปในช่องท้อง ผ่านผิวบริเวณหน้าท้อง และหลังจากการผ่าตัดใส่สายดังกล่าว 1-2 สัปดาห์ จึงจะเริ่มทำการฟอกไตผ่านช่องท้องได้ ซึ่งหลักการและขั้นตอนการฟอกไตผ่านทางช่องท้องจะมีด้วยกัน 3 ขั้นตอน
- เติมน้ำยาเข้าสู่ช่องท้อง กระบวนการแรกผู้ป่วยจะต้องเติมน้ำยาล้างไต หรือน้ำเกลือสูตรพิเศษสำหรับฟอกไตเข้าสู่ช่องท้องผ่านสายท่อที่ผ่าตัดบริเวณหน้าท้อง โดยขั้นตอนนี้จะใช้เวลาประมาณ 15 นาที
- ให้น้ำยาได้ทำงาน หลังจากเติมน้ำยาล้างไตเข้าสู่ช่องท้องเรียบร้อย ให้ทิ้งน้ำยาไว้ 4-6 ชั่วโมง เพื่อให้น้ำยาปรับสมดุลของของเหลวและเกลือแร่ รวมถึงดูดของเสียและน้ำส่วนเกินออกมา
- ปล่อยน้ำยาออก เมื่อครบระยะเวลาที่กำหนดผู้ป่วยต้องทำการปล่อยน้ำยาที่ได้มีการดูดของเสียและน้ำส่วนเกินออกมา โดยจะใช้เวลาประมาณ 15 นาที
การฟอกไตผ่านช่องท้อง หรือล้างไตนี้ผู้ป่วยจำเป็นจะต้องทำทุกวัน วันละ 4-6 ครั้ง ตามคำแนะนำของแพทย์ที่ดูแล
3. การฟอกไตแบบประสิทธิภาพสูง (Hemodiafiltration (Online HDF))
สำหรับการฟอกไตชนิดประสิทธิภาพสูง Online HDF หรือที่คนทั่วไปชอบเรียกติดปากกันว่าฟอกไตออนไลน์ เป็นการฟอกไตโดยใช้เครื่องไตเทียมซึ่งมีหลักการฟอกเลือดคล้ายกันกับการฟอกไตทางหลอดเลือด (Hemodialysis) เพียงแต่การฟอกไตออนไลน์จะใช้น้ำอัลตราเพียว (Ultra Pure Water) หรือน้ำบริสุทธิ์คุณภาพสูง ซึ่งจะให้ผลลัพธ์และประสิทธิภาพในการดักจับของเสียทุกขนาดได้ดีกว่า โดยเฉพาะโปรตีนขนาดกลางและเล็กที่เครื่องฟอกไตแบบ Hemodialysis ไม่สามารถทำได้ อีกทั้งในระยะกลางและระยะยาวจะช่วยลดการสะสมของฟอสเฟสได้ดีกว่าอีกด้วย โดยขั้นตอนการทำจะคล้ายกันกับการฟอกเลือดทางหลอดเลือดแบบ Hemodialysis ดังนี้
- เตรียมเส้นเลือด เพื่อรองรับเข็มฟอกเลือดขนาดใหญ่ จะมีการทำให้เส้นเลือดดำมีขนาดใหญ่ขึ้นและมีแรงดันมากพอที่จะทำให้เลือดไหลเวียนเข้าสู่เครื่องไตเทียมได้
- กำจัดของเสียด้วยเครื่องไตเทียม ผู้ป่วยจะถูกเจาะเส้นเลือด 2 เส้น โดยเส้นแรกจะดูดเลือดออกเพื่อไปผ่านตัวกรองของเครื่องฟอกไต ซึ่งจะมีน้ำอัลตราเพียวที่ช่วยกำจัดน้ำส่วนเกิน กำจัดของเสียและช่วยปรับสมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย และเมื่อเลือดผ่านการกรองจากตัวเครื่องเรียบร้อย ก็จะไหลออกไปเข้าสู่เส้นเข็มอีกเส้นที่เจาะไว้ เพื่อนำเลือดสะอาดกลับเข้าสู่ร่างกาย
ซึ่งการฟอกไตออนไลน์นี้จะใช้เวลา 3-4 ชั่วโมงต่อครั้ง และจะต้องทำอย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์เช่นเดียวกับการฟอกเลือดทางหลอดเลือดแบบ Hemodialysis แต่ข้อดีของการฟอกไตแบบประสิทธิภาพสูง Online HDF หรือฟอกไตออนไลน์นั้นนอกจากจะให้ผลลัพธ์ค่าแลปที่ดีขึ้นและลดความเสี่ยงโรคแทรกซ้อนในระยะยาวได้แล้ว ผู้ป่วยที่ฟอกไตด้วยวิธีนี้จะรู้สึกว่าอาการคันตามผิวหนังลดน้อยลง เจริญอาหารมากขึ้น รวมถึงผิวพรรณดูขาวใสมากขึ้นอีกด้วย
ศูนย์ไตเทียม (Hemodialysis Center) โรงพยาบาลวิมุต เราใส่ใจทุกบริการทั้งการวินิจฉัย รักษาและการฟอกไตอย่างครบวงจร

ที่ศูนย์ไตเทียมของเรา นอกจากดูแลรักษาทุกโรคเกี่ยวกับสุขภาพของไตโดยแพทย์อายุรกรรมโรคไตแล้ว ที่นี่เรายังเป็นศูนย์ฟอกไตที่พร้อมดูแลผู้ป่วยที่ต้องได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม สำหรับผู้ป่วยโรคไต ไตวายเรื้อรัง หรือไตวายเฉียบพลัน ด้วยวิธีการฟอกไตทางหลอดเลือด (Hemodialysis) และการฟอกไตแบบประสิทธิภาพสูง (Hemodiafiltration (Online HDF)) ซึ่งดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางสาขาโรคไต ร่วมกับพยาบาลวิชาชีพและผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง พร้อมเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย ให้ทุกการรักษาแม่นยำ ด้วยบรรยากาศที่เป็นกันเอง ภายใต้สภาพแวดล้อมที่สะดวกสบาย
ทั้งหมดนี้คือข้อมูลเกี่ยวกับการฟอกไต และวิธีการฟอกไตในแบบต่างๆ ที่ได้นำมาฝากเป็นข้อมูลให้กับทุกคน ซึ่งการฟอกไตเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้ผู้มีปัญหาสุขภาพไตได้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขและยาวนานมากขึ้น ทั้งนี้ทุกวิธีการฟอกไตก็ไม่เจ็บอย่างที่คิด อีกทั้งยังมีคุณหมอเฉพาะทางและพยาบาลวิชาชีพผู้ชำนาญการคอยดูแลและให้คำปรึกษาอยู่ตลอดอีกด้วย ให้คุณอุ่นใจ คลายกังวลได้ตลอดการรักษา
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์ไตเทียม ชั้น 9 โรงพยาบาลวิมุต
เวลาทำการ 06.00-20.00 น. โทร. 0-2079-0076
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์
ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ
แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศรีสวัสดิ์

ตีรณธนากุล

ศรีสวัสดิ์

ตีรณธนากุล

ศรีสวัสดิ์

ตีรณธนากุล

ศรีสวัสดิ์

ตีรณธนากุล
เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

เมนูผู้ป่วยโรคไต กินอย่างไรให้ปลอดภัยแต่ยังอร่อยได้
โภชนาการอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต แนะนำอาหารเมนูอร่อยโรคไตกินได้ ช่วยคุมอาหารได้ดี และมีประโยชน์ต่อการรักษาโรค ชะลอความเสื่อมของไต

เช็กลิสต์ 7 อาการ “โรคไต” โรคที่ไม่ได้เกิดแค่กินเค็ม !
ชวนคุณสังเกตอาการโรคไต และสาเหตุเกิดจากอะไร ติดกินเค็ม ดื่มน้ำน้อย ปวดปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อยๆ มือ-เท้าบวมง่าย กดแล้วบุ๋ม ปวดหลังล่างเป็นประจำต้องระวัง เสี่ยงเป็นโรคไต!

เมนูผู้ป่วยโรคไต กินอย่างไรให้ปลอดภัยแต่ยังอร่อยได้
โภชนาการอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต แนะนำอาหารเมนูอร่อยโรคไตกินได้ ช่วยคุมอาหารได้ดี และมีประโยชน์ต่อการรักษาโรค ชะลอความเสื่อมของไต

เช็กลิสต์ 7 อาการ “โรคไต” โรคที่ไม่ได้เกิดแค่กินเค็ม !
ชวนคุณสังเกตอาการโรคไต และสาเหตุเกิดจากอะไร ติดกินเค็ม ดื่มน้ำน้อย ปวดปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อยๆ มือ-เท้าบวมง่าย กดแล้วบุ๋ม ปวดหลังล่างเป็นประจำต้องระวัง เสี่ยงเป็นโรคไต!

เมนูผู้ป่วยโรคไต กินอย่างไรให้ปลอดภัยแต่ยังอร่อยได้
โภชนาการอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต แนะนำอาหารเมนูอร่อยโรคไตกินได้ ช่วยคุมอาหารได้ดี และมีประโยชน์ต่อการรักษาโรค ชะลอความเสื่อมของไต

เช็กลิสต์ 7 อาการ “โรคไต” โรคที่ไม่ได้เกิดแค่กินเค็ม !
ชวนคุณสังเกตอาการโรคไต และสาเหตุเกิดจากอะไร ติดกินเค็ม ดื่มน้ำน้อย ปวดปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อยๆ มือ-เท้าบวมง่าย กดแล้วบุ๋ม ปวดหลังล่างเป็นประจำต้องระวัง เสี่ยงเป็นโรคไต!

เมนูผู้ป่วยโรคไต กินอย่างไรให้ปลอดภัยแต่ยังอร่อยได้
โภชนาการอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต แนะนำอาหารเมนูอร่อยโรคไตกินได้ ช่วยคุมอาหารได้ดี และมีประโยชน์ต่อการรักษาโรค ชะลอความเสื่อมของไต

เช็กลิสต์ 7 อาการ “โรคไต” โรคที่ไม่ได้เกิดแค่กินเค็ม !
ชวนคุณสังเกตอาการโรคไต และสาเหตุเกิดจากอะไร ติดกินเค็ม ดื่มน้ำน้อย ปวดปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อยๆ มือ-เท้าบวมง่าย กดแล้วบุ๋ม ปวดหลังล่างเป็นประจำต้องระวัง เสี่ยงเป็นโรคไต!