สะโพกเสื่อม อาการเป็นแบบไหน ใครเสี่ยงบ้าง?

19 ก.ย. 67  | ศูนย์กระดูกและข้อ
แชร์บทความ      

สะโพกเสื่อม

สะโพกเสื่อม อาการเป็นแบบไหน ใครเสี่ยงบ้าง?

รู้หรือไม่ว่าอาการสะโพกเสื่อมไม่ต้องรอให้อายุมากก็สามารถเป็นได้! เพราะร่างกายของคนเราถูกใช้งานทุกวัน เมื่อเวลาผ่านไปอาจทำให้เกิดความเสื่อมถอยของกระดูกข้อสะโพก ซึ่งส่งผลต่อการเคลื่อนไหวและการใช้ชีวิตประจำวัน ยิ่งหากละเลยการดูแลร่างกายเท่ากับเป็นการเพิ่มความเจ็บปวดและเสี่ยงต่อกระดูกข้อสะโพกเสื่อมได้! มาดูไปพร้อมกันว่าอาการปวดแบบไหนบ้างที่บ่งบอกว่าคุณอาจเข้าข่าย ‘สะโพกเสื่อม’ 

สาเหตุการเกิดโรคข้อสะโพกเสื่อม (Hip Osteoarthritis)

ข้อสะโพกเป็นข้อต่อระหว่างกระดูกเชิงกรานและกระดูกต้นขา ทำหน้าที่งอและเหยียดในขณะที่เราเคลื่อนไหวตามอริยาบถต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ทำให้ข้อสะโพกต้องรับน้ำหนักของร่างกายเมื่อมีการเคลื่อนไหว จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กระดูกข้อสะโพกเกิดความเสื่อม หรือทรุดตัวลง นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคข้อสะโพกเสื่อมอยู่หลายข้อด้วยกัน ดังนี้ 

  • อายุที่เพิ่มมากขึ้นส่งผลต่อการเสื่อมของข้อกระดูก 
  • พันธุกรรมจากครอบครัวที่เคยมีประวัติเป็นโรคข้อสะโพกเสื่อม สะโพกผิดปกติตั้งแต่กำเนิด 
  • โรคข้ออักเสบต่างๆ เช่น โรครูมาตอยด์ 
  • ผู้ป่วยที่มีอาการติดเชื้อบริเวณสะโพกมาก่อน 
  • ได้รับการบาดเจ็บบริเวณข้อสะโพกจากอุบัติเหตุ 
  • มีการใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน 
  • มีพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ 

อาการปวดสะโพก

อาการปวดสะโพกแบบไหน ? เข้าข่ายโรคสะโพกเสื่อม

โรคข้อสะโพกเสื่อมเป็นภาวะที่มีการสึกกร่อนบริเวณข้อสะโพก ซึ่งอาการที่จะนำมาก่อนคือปวดสะโพก และมีอาการปวดตามบริเวณต่างๆ ตามมาดังนี้ 

  1. ปวดสะโพก มีอาการปวดสะโพกบริเวณขาหนีบ ทำให้รู้สึกเคลื่อนไหวลำบากและติดขัดเมื่อต้องขยับตัว หรือเมื่อขยับสะโพกแล้วมีเสียงดังตามมา 
  2. ปวดต้นขา มักจะเป็นอาการปวดที่ตำแหน่งด้านหน้าต้นขา หรือด้านข้างของต้นขา ส่วนใหญ่เกิดจากการที่กล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นอักเสบ การปวดต้นขาอาจมีสาเหตุมาจากปัญหาในข้อสะโพกหรือข้อเข่าได้เช่นกัน จึงจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจประเมินจากแพทย์โดยเร็ว 
  3. ปวดบริเวณสะโพกด้านหลัง อาจมีสาเหตุจากสะโพกหรือหลังส่วนล่างนี้ได้

วิธีการรักษากระดูกสะโพกเสื่อมทำอย่างไร ?

การรักษาโรคข้อสะโพกเสื่อมสามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงในแต่ละบุคคล โดยแนวทางการรักษาหลักๆ สามารถทำได้ ดังนี้ 

  • การรักษาโดยไม่ผ่าตัด เป็นการปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เพื่อลดการเคลื่อนไหวและหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เพิ่มแรงกดดันให้สะโพก อาจมีการกายภาพบำบัดบริหารกล้ามเนื้อให้มีความแข็งแรง หรือรับประทานยาแก้ปวดร่วมกันได้ 
  • การรักษาด้วยการผ่าตัด ในกรณีที่คนไข้มีความเสื่อมของกระดูกมาก มีอาการเจ็บปวดรุนแรง แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดสะโพกเทียมด้วย
  • การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกทั้งหมด (Total Hip Arthroplasty) เป็นการผ่าตัดทั้งหัวกระดูกต้นขาและเบ้าสะโพก เพื่อเอาส่วนที่เสื่อมสภาพออกและแทนที่ด้วยกระดูกข้อเทียม 

รักษาอาการปวดสะโพก ปวดต้นขา หรือสะโพกเสื่อม

หากคุณกำลังเผชิญกับอาการปวดสะโพก ปวดต้นขา หรือสะโพกเสื่อม อย่าปล่อยให้อาการปวดเหล่านี้สร้างความทรมานให้ร่างกายจนไม่สามารถใช้ชีวิตประวันได้อย่างปกติ แนะนำให้รีบพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป 

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์กระดูกและข้อ ชั้น 4 โรงพยาบาลวิมุต 
เวลาทำการ 08:00 - 20:00 น. โทร. 0-2079-0060 
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์ 

ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ

ผู้เขียน
นพ.สมยศ ปิยะวรคุณ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ แพทย์ผู้ชำนาญการ ข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม

แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
นพ.สมยศ
ปิยะวรคุณ
ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านข้อเข่าและสะโพก

เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
ข้อเท้าแพลง รับมืออย่างไร

ข้อเท้าแพลง คือการบาดเจ็บบริเวณข้อเท้า ที่เกิดจากการบิด หมุน หรือพลิกเกินช่วงการเคลื่อนไหวปกติ ทำให้เอ็นบริเวณข้อเท้าเกิดการยืดออกมากจนเกินไป การบาดเจ็บมักเกิดบริเวณข้อเท้าด้านนอก หากรุนแรงมาก อาจส่งผลให้เอ็นเกิดการฉีดขาด มีอาการปวด บวม และสูญเสียความมั่นคงของข้อเท้า

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
5 ปัจจัยทำ ให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม

คุณเคยไหม ที่รู้สึกปวดเข่า เมื่อต้องขึ้นลงบันได หรือ มีเสียงดังก๊อบแก๊บที่เข่าเวลาเดิน นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคข้อเข่าเสื่อม จริง ๆ แล้ว ปัจจัยที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมมีอยู่มากมาย แต่วันนี้ขอนำเอาปัจจัย 5 ข้อสำคัญๆ ที่มีผลมากที่สุด มาให้ความรู้กันครับ

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
ระวังภัยร้ายจาก Work from home syndrome ถามหา

ถึงสถานการณ์จะกลับมาคลี่คลายแล้ว แต่หลายบริษัทยังคงให้ Work From Home อยู่เพื่อความปลอดภัย ซึ่งการทำงานจากบ้านที่ดูเหมือนจะสบายนั้น อาจสร้างปัญหาสุขภาพได้มากกว่าที่คิด

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
ทำอย่างไร เมื่อข้อไหล่ติด รบกวนชีวิตประจำวัน

ข้อไหล่ติด ปวดไหล่ ขยับไหล่แล้วเจ็บ หรือขยับไหล่ได้น้อยลงจนหลายคนใช้ชีวิตลำบาก วันนี้เรามีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับสาเหตุ อาการและวิธีรักษาข้อไหล่ติดโดยไม่ต้องผ่าตัดมาฝากกัน

อ่านเพิ่มเติม

แนะนำแพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง