ฮอร์โมนไม่สมดุล ทำร่างกายพังได้จริงหรือ?

14 ม.ค. 68  | ศูนย์เบาหวาน ต่อมไร้ท่อ และควบคุมน้ำหนัก
แชร์บทความ      

ฮอร์โมนไม่สมดุล ทำร่างกายพังได้จริงหรือ

รู้หรือไม่? "ฮอร์โมน" สารเคมีเล็กๆ ที่ร่างกายสร้างขึ้นจากต่อมไร้ท่อ ต่างมีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพมากกว่าที่คุณคิด! ตั้งแต่ช่วยในการเจริญเติบโต ควบคุมอารมณ์ ความรู้สึก การเผาผลาญ การนอนหลับ ไปจนถึงระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกาย ล้วนแล้วแต่ควบคุมโดยฮอร์โมน ซึ่งเมื่อใดที่ฮอร์โมนในร่างกายเกิดความไม่สมดุล อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างที่คุณคาดไม่ถึง!

ทำความรู้จัก "ฮอร์โมน" สารเคมีที่มีอิทธิพลต่อชีวิต

ฮอร์โมน (Hormones) คือ สารเคมีที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อควบคุมการทำงานของอวัยวะและระบบต่างๆ ในร่างกาย เปรียบเสมือน "ผู้ส่งสาร" ที่ช่วยให้ร่างกายทำงานได้อย่างประสานกัน โดยฮอร์โมนที่โดดเด่นและมีสำคัญต่อร่างกาย ยกตัวอย่างเช่น 

  • เอสโตรเจน (Estrogen): เป็นฮอร์โมนเพศที่ควบคุมลักษณะทางเพศของผู้หญิง เช่น หน้าอก สะโพก ประจำเดือน การตั้งครรภ์
  • โปรเจสเตอโรน (Progesterone): อีกหนึ่งฮอร์โมนเพศสำคัญของผู้หญิงในการควบคุมรอบเดือน และการตั้งครรภ์
  • เทสโทสเตอโรน (Testosterone): ฮอร์โมนเพศที่ควบคุมลักษณะทางเพศของผู้ชาย เช่น กล้ามเนื้อ หนวดเครา เสียง และความต้องการทางเพศ
  • ไทรอกซิน (T4) และไตรไอโอโดไทโรนีน (T3): ควบคุมระบบเผาผลาญ การเจริญเติบโต และพัฒนาการของร่างกาย
  • คอร์ติซอล (Cortisol): ฮอร์โมนความเครียด ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต และการตอบสนองต่อความเครียด
  • อะดรีนาลีน (Adrenaline): ฮอร์โมนที่หลั่งออกมา เมื่อร่างกายเผชิญกับสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น ตกใจ กลัว
  • อินซูลิน (Insulin): ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
  • ฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth hormone): กระตุ้นการเจริญเติบโต และพัฒนาการของร่างกาย

ภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล คืออะไร?

ภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล (Hormone Imbalance) เป็นภาวะหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อระดับฮอร์โมนในร่างกายสูง หรือต่ำกว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดจากหลายปัจจัย เช่น พันธุกรรม อายุ โรคประจำตัว ความเครียด การใช้ยา หรือพฤติกรรมการใช้ชีวิตซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องระวัง เพราะสามารถส่งผลต่อสุขภาพร่างกายได้ในทุกมิติที่คุณอาจไม่คาดคิดได้

สัญญาณเตือนภัย... ฮอร์โมนไม่สมดุลอาการเป็นอย่างไร ?

สัญญาณเตือนภัย... ฮอร์โมนไม่สมดุลอาการเป็นอย่างไร

อาการของฮอร์โมนไม่สมดุลนั้นจะแตกต่างกันไปตามช่วงอายุและเพศ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ในผู้ชายและผู้หญิง จะมีอาการแตกต่างกัน ดังนี้

อาการของฮอร์โมนไม่สมดุลในผู้หญิง

  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ เช่น มาน้อย มามาก มาไม่สม่ำเสมอ ปวดประจำเดือนรุนแรง
  • มีบุตรยาก
  • เป็นสิว โดยเฉพาะสิวฮอร์โมนที่มักขึ้นบริเวณคางและแนวกราม
  • ผิวแห้ง ผมร่วง เล็บเปราะ
  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย วิตกกังวล ซึมเศร้า
  • น้ำหนักขึ้น โดยเฉพาะไขมันสะสมบริเวณหน้าท้อง
  • ช่องคลอดแห้ง 
  • ร้อนวูบวาบ เหงื่อออกตอนกลางคืน

อาการของฮอร์โมนไม่สมดุลในผู้ชาย

  • สมรรถภาพทางเพศลดลง
  • กล้ามเนื้อลีบ
  • เหนื่อยง่าย
  • อารมณ์แปรปรวน
  • นอนไม่หลับ
  • น้ำหนักขึ้น
  • เต้านมโต

ฮอร์โมนไม่สมดุลปล่อยไว้... อันตรายกว่าที่คิด!

หากปล่อยให้ฮอร์โมนไม่สมดุล โดยไม่ทำการรักษาเป็นเวลานาน อาจนำไปสู่โรคต่างๆ ได้ เช่น

  • เบาหวาน
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคอ้วน
  • ภาวะซึมเศร้า
  • โรคไทรอยด์
  • โรคกระดูกพรุน
  • มะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นต้น

ตรวจวิเคราะห์สมดุลฮอร์โมน... เพื่อสุขภาพที่ดีกับแพ็กเกจโปรแกรม Full Endocrine Check-Up

ตรวจวิเคราะห์สมดุลฮอร์โมน... เพื่อสุขภาพที่ดีกับแพ็กเกจโปรแกรม Full Endocrine Check-Up

ที่โรงพยาบาลวิมุตเราได้ออกแบบโปรแกรมการตรวจวิเคราะห์สมดุลฮอร์โมน ที่ช่วยให้แพทย์วินิจฉัยและรักษาภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลได้อย่างตรงจุด ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นฮอร์โมนเพศ ฮอร์โมนไทรอยด์ ฮอร์โมนคอร์ติซอล ฯลฯ ที่จะช่วยให้คุณลดความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ ได้ ที่ดูแลโดยทีมแพทย์เฉพาะทางด้านต่อมไร้ท่อและฮอร์โมน ที่พร้อมจะคอยให้คำปรึกษาและวางแผนการรักษา ร่วมกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำและเชื่อถือได้

อย่ารอให้สายเกินแก้! หากคุณมีอาการที่บ่งบอกถึงภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจ  และรักษา และที่โรงพยาบาลวิมุต... เราพร้อมดูแลสุขภาพ คืนสมดุลให้ฮอร์โมนและสุขภาพให้กับคุณได้อีกครั้ง

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์เบาหวาน ต่อมไร้ท่อ และควบคุมน้ำหนัก ชั้น 9 โรงพยาบาลวิมุต 
เวลาทำการ 07:00 - 19:00  น. โทร. 0-2079-0070 
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์

ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ

ผู้เขียน
นพ. ชาญวัฒน์ ชวนตันติกมล แพทย์ผู้ชำนาญการโรคเบาหวานและต่อมไร้ท่อ

แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
นพ.ชาญวัฒน์
ชวนตันติกมล
อายุรแพทย์
แพทย์ผู้ชำนาญการโรคเบาหวานและต่อมไร้ท่อ

เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
13 วิธีดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในยุค COVID-19

เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานเป็นกลุ่มบุคคลที่ถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงในการติดเชื้อ covid-19 โดยโรคเบาหวานนั้นจะทำให้ติดเชื้อ covid -19 ได้ง่ายกว่าบุคคลทั่วไป และหากติดเชื้อแล้วจะมีผลทำให้เกิดพาวะแทรกซ้อนมากกว่าบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
เป็นเบาหวานตั้งครรภ์ได้ไหม ?

เพราะการสร้างครอบครัวคือหนึ่งในความฝันของผู้หญิงหลายๆ คน แต่สำหรับคนที่เป็นเบาหวานคงกังวลไม่น้อยว่าจะมีลูกได้ไหม ปลอดภัยหรือเปล่า เรามาฟังคำตอบกันที่นี่

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
สายกินต้องระวัง โรคอันตรายจากไขมันที่ต้องรู้ !

สายกินต้องระวัง! อาหารไขมันสูง ของทอดแสนอร่อยที่แฝงไปด้วยโรคไขมันตัวร้าย มาดูความลับทั้งประโยชน์และโทษของไขมัน ที่บั่นทอนสุขภาพคุณจนอาจเป็นโรคร้ายแรงได้มากกว่าที่คิด

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
3 สัญญาณที่บอกว่า คุณกำลังลดน้ำหนักผิดวิธี

เชื่อว่าหลายคนยังมีเป้าหมายในการลดน้ำหนัก แต่ปัญหาที่มักพบ คือ ลดน้ำหนักไม่สำเร็จสักที หรืออาจลดได้แค่ช่วงสั้นๆ แล้วกลับมาน้ำหนักเท่าเดิม ซึ่งสาเหตุอาจมาจากการลดน้ำหนักอย่างผิดวิธี

อ่านเพิ่มเติม