รู้จัก Ice Bathing ตัวช่วยเร่งฟื้นฟู ลดปวดกล้ามเนื้อ - โรงพยาบาลวิมุต
นาทีนี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก "Ice Bathing" หรือ "การแช่น้ำแข็ง" เทรนด์สุขภาพสุดฮิตที่เหล่านักกีฬา หรือแม้กระทั่งคนรักสุขภาพต่างหันมาให้ความสนใจ ด้วยสรรพคุณที่ว่ากันว่าช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อ ลดอาการปวดเมื่อย เพิ่มความสดชื่น กระปรี้กระเปร่า สำหรับใครที่กำลังสนใจ Ice Bathing หรือกำลังหาคำตอบว่าการแช่น้ำแข็งนั้นจริงๆ แล้วมีประโยชน์อย่างไร มีวิธีการทำอย่างไรและมีข้อควรระวังอะไรบ้าง ? บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับ Ice Bathing แบบเจาะลึกพร้อมแนะนำวิธีการแช่ที่ถูกต้อง ปลอดภัยและได้ประโยชน์สูงสุดกัน
Ice Bathing คืออะไร ?
Ice Bathing คือ การแช่ตัวในน้ำเย็นจัดที่มีอุณหภูมิประมาณ 10-15 องศาเซลเซียส เป็นเวลาสั้นๆ โดยทั่วไปมักจะแช่กันที่ประมาณ 5-15 นาที ซึ่งความเย็นระดับนี้จะกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการตอบสนองต่างๆ เพื่อฟื้นฟูการไหลเวียนโลหิต ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ซึ่งจริงๆ แล้วการใช้ความเย็นในการบำบัดรักษา (Cold Therapy) นั้นมีประวัติมาอย่างยาวนานตั้งแต่ในสมัยโรมันโบราณ จนถึงปัจจุบัน Ice Bathing ได้กลายเป็นวิธีฟื้นฟูร่างกายที่ได้รับความนิยมอย่างมากหลังออกกำลังกายและดูแลสุขภาพองค์รวมนั่นเอง
โดยหลักการของการบำบัดด้วยความเย็น อย่าง Ice Bathing นั้นคือ เมื่อร่างกายสัมผัสกับความเย็นจัดหลอดเลือดจะหดตัว ทำให้การไหลเวียนโลหิตช้าลง ซึ่งช่วยลดการอักเสบและอาการบวม นอกจากนี้ ความเย็นยังกระตุ้นระบบประสาท ทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนต่างๆ เช่น นอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine) และเอ็นดอร์ฟิน (Endorphins) ซึ่งมีส่วนช่วยในการลดความเจ็บปวด เพิ่มความตื่นตัวและทำให้รู้สึกสดชื่น
วิธีการทำ Ice Bathing หรือการแช่น้ำแข็งที่ถูกต้องและปลอดภัย
- เตรียมอุปกรณ์ อ่างอาบน้ำ น้ำแข็ง และเทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิน้ำ
- เติมน้ำเย็นลงในอ่าง ค่อยๆ เติมน้ำแข็งลงไปจนได้อุณหภูมิที่ต้องการ (ประมาณ 10-15 องศาเซลเซียส)
- ค่อยๆ หย่อนตัวลงในอ่าง เริ่มจากปลายเท้า ขา ลำตัว จนถึงระดับหน้าอก (ไม่ควรแช่ถึงคอ)
- จับเวลา เริ่มต้นที่ 1-2 นาที แล้วค่อยๆ เพิ่มระยะเวลาขึ้นในครั้งต่อๆ ไป *ไม่ควรแช่นานเกิน 15 นาที
- ขึ้นจากอ่าง เช็ดตัวให้แห้ง สวมเสื้อผ้าที่อบอุ่น และอาจจิบเครื่องดื่มอุ่นๆ เพื่อปรับอุณหภูมิร่างกาย
การทำ Ice Bathing หรือการแช่น้ำแข็งช่วยอะไร หรือมีประโยชน์อย่างไรบ้าง ?
- ฟื้นฟูกล้ามเนื้อ ลดอาการปวดเมื่อยหลังออกกำลังกาย
- ลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ ข้อต่อและเนื้อเยื่อต่างๆ
- เพิ่มการเผาผลาญพลังงานและแคลอรี่ได้
- ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย นอนหลับได้สนิทขึ้น
- กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟิน ทำให้รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่าและลดความเครียด
Ice Bathing เหมาะกับใคร มีข้อควรระวังอะไรบ้างและใครบ้างที่ไม่ควรทำ ?
แม้ Ice Bathing จะมีประโยชน์ที่น่าสนใจมากมาย แต่การทำ Ice Bathing ก็ยังเหมาะกับกลุ่มคนบางกลุ่ม ดังนี้
- ผู้ที่ต้องการฟื้นฟูกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกาย
- ผู้ที่ต้องการบรรเทาความเครียด กระตุ้นให้ร่างกายสดชื่น กระปรี้กระเปร่า
- ผู้ที่ต้องการเพิ่มความตื่นตัวและสมาธิ
แม้จะไม่ใช่ทุกคนที่เหมาะกับการแช่น้ำแข็ง เพราะด้วยหลักการทำงานด้วยการใช้ความเย็นในการบำบัด จึงมีข้อควรระวังและไม่ควรทำในกลุ่มคนเหล่านี้
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคหอบหืด ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทำ Ice Bathing อย่างเคร่งครัด
- ผู้ที่มีภาวะโรคเลือด หรือโรคของหลอดเลือดส่วนปลาย
- ผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อ หรือ มีไข้
- ผู้ที่มีภาวะไวต่อความเย็น (cold sensitivity)
- สตรีมีครรภ์
- ผู้ที่มีบาดแผลเปิด
- ผู้ที่อยู่ในอาการมึนเมา หรือไม่สามารถควบคุมตัวเองได้
- ไม่ควรแช่น้ำแข็งคนเดียว ควรมีเพื่อนหรือคนในครอบครัวอยู่ด้วยเพื่อความปลอดภัย
- ไม่ควรแช่น้ำเย็นจัดทันทีหลังออกกำลังกายอย่างหนัก ควรรอให้ร่างกายเย็นลงก่อน
- เริ่มต้นด้วยระยะเวลาสั้นๆ เพียง 1-2 นาที แล้วค่อยๆ เพิ่มระยะเวลาขึ้นเมื่อร่างกายเริ่มปรับตัวได้ สูงสุดไม่ควรเกิน 15 นาที
- ฟังเสียงร่างกายตัวเองอยู่เสมอ หากรู้สึกไม่สบาย หนาวสั่น หายใจลำบาก เจ็บ ชา หรือมีอาการผิดปกติอื่นๆ ให้รีบขึ้นจากน้ำทันทีและปรึกษาแพทย์หากจำเป็น
- ห้ามฝืน หากรู้สึกร่างกายไม่ไหว รู้สึกหนาวจนทนไม่ไหว ให้รีบขึ้นจากน้ำทันที
- ผิวหนังถูกทำลายจากความเย็นจัด (Cold Burn) หากแช่น้ำเย็นจัดหรือนานเกินไป อาจทำให้เกิดอาการชา แดง บวม รู้สึกแสบร้อน หรือเป็นแผลพุพอง คล้ายกับแผลไฟไหม้
- ภาวะตัวเย็นเกิน (Hypothermia) หากแช่นานเกินไป หรืออุณหภูมิน้ำเย็นเกินไปจนอุณหภูมิร่างกายลดต่ำกว่า 35 องศาเซลเซียส ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ อาการที่พบได้ เช่น หนาวสั่น พูดไม่ชัด สับสน ง่วงซึม หายใจช้า หัวใจเต้นช้า
- หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความเย็นจัดอาจกระตุ้นให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยเฉพาะในผู้ที่มีโรคหัวใจอยู่เดิม
- ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลง การแช่น้ำเย็นอาจทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้นหรือต่ำลงอย่างฉับพลัน
- กล้ามเนื้อหดเกร็ง ความเย็นอาจทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็งและอาจทำให้เป็นตะคริวได้
- อาการช็อกจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว อาจทำให้หน้ามืด หมดสติ
- ผิวหนังระคายเคือง หรือปฏิกิริยาการแพ้ความเย็น (Cold Urticaria) เป็นผลข้างเคียงที่พบได้น้อยแต่อาจเกิดขึ้นได้ในบางคน โดยจะมีอาการผื่นคัน บวมแดง หลังจากสัมผัสกับความเย็น
- การติดเชื้อ ในกรณีที่น้ำไม่สะอาด หรือมีบาดแผลเปิด
- เพิ่มความเสี่ยงของภาวะเรอนอตฟีโนมินอล (Raynaud's phenomenon) ที่ทำให้มีอาการผิวหนังซีดขาว หรืออาจกลายเป็นสีม่วง หรือไร้ความรู้สึก เนื่องจากหลอดเลือดหดตัวมากเกินไป มักเกิดขึ้นได้ง่ายที่นิ้วมือและนิ้วเท้า
- อาจกระตุ้นให้เกิดอาการกำเริบในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบบางชนิด เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
จากเทรนด์ฮิตติดกระแส "Ice Bathing" ที่เราได้เจาะลึกกันไป จะเห็นได้ว่าการแช่น้ำแข็งนั้นมีประโยชน์มากมาย ทั้งช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อ ลดปวดเมื่อย เติมความสดชื่น และอาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจให้กับคนที่รักสุขภาพและต้องการหาวิธีการดูแลร่างกายที่ต่างออกไป ทั้งนี้ ก่อนการทำ Ice Bathing ควรศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด และอย่าลืมปรึกษาแพทย์หากคุณมีโรคประจำตัวหรือข้อสงสัยใดๆ เพื่อให้การแช่น้ำแข็งครั้งนี้เป็นประสบการณ์ที่มอบผลลัพธ์เพื่อสุขภาพที่ดีให้คุณได้อย่างปลอดภัย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ชั้น 10 โรงพยาบาลวิมุต
เวลาทำการ 08:00 - 20:00 น. โทร. 0-2079-0024
ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ
แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

เมฆินทรพันธุ์

เมฆินทรพันธุ์

เมฆินทรพันธุ์

เมฆินทรพันธุ์

เมฆินทรพันธุ์

เมฆินทรพันธุ์
เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

9 ท่าบริหารแก้ออฟฟิศซินโดรม ลดอาการปวดคอ บ่า ไหล่
รักษาออฟฟิศซินโดรม ปวดคอ บ่า ไหล่เบื้องต้นด้วยตัวเองแบบไม่ง้อหมอนวดให้เสี่ยง กับ 9 ท่าบริหารแก้ออฟฟิศซินโดรมทำเองได้ที่บ้าน ปลอดภัย จากแพทย์เฉพาะทางศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู

บอกลาอาการออฟฟิศซินโดรมให้ดีขึ้นได้ด้วย 7 วิธีนี้
ปวดบ่า คอ ไหล่ จากอาการออฟฟิศซินโดรม สามารถดีขึ้นได้ด้วยทางเลือกการรักษาออฟฟิศซินโดรม 7 วิธีนี้ที่ผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์การฟื้นฟูแนะนำ

ได้เวลา Back to Office พร้อม 7 วิธีเลี่ยงอาการ Office Syndrome
ได้เวลา Back to Office พร้อม 7 วิธีเลี่ยงอาการ Office Syndrome เพราะพฤติกรรมต่างๆ ในการทำงาน อาจทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายในระยะยาวได้

มารู้จัก “การฟื้นฟูทางระบบประสาทและสมอง (Neuro-Rehabilitation)” กันเถอะ...
การฟื้นฟูทางระบบประสาทและสมองคือกระบวนการกระตุ้นร่างกายและสมอง โดยผ่านการฝึกกิจกรรมและการเคลื่อนไหวร่างกายในรูปแบบต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสั่งการควบคุมการเคลื่อนไหว ความคิด ความจำและการสื่อสาร

9 ท่าบริหารแก้ออฟฟิศซินโดรม ลดอาการปวดคอ บ่า ไหล่
รักษาออฟฟิศซินโดรม ปวดคอ บ่า ไหล่เบื้องต้นด้วยตัวเองแบบไม่ง้อหมอนวดให้เสี่ยง กับ 9 ท่าบริหารแก้ออฟฟิศซินโดรมทำเองได้ที่บ้าน ปลอดภัย จากแพทย์เฉพาะทางศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู

บอกลาอาการออฟฟิศซินโดรมให้ดีขึ้นได้ด้วย 7 วิธีนี้
ปวดบ่า คอ ไหล่ จากอาการออฟฟิศซินโดรม สามารถดีขึ้นได้ด้วยทางเลือกการรักษาออฟฟิศซินโดรม 7 วิธีนี้ที่ผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์การฟื้นฟูแนะนำ

ได้เวลา Back to Office พร้อม 7 วิธีเลี่ยงอาการ Office Syndrome
ได้เวลา Back to Office พร้อม 7 วิธีเลี่ยงอาการ Office Syndrome เพราะพฤติกรรมต่างๆ ในการทำงาน อาจทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายในระยะยาวได้

มารู้จัก “การฟื้นฟูทางระบบประสาทและสมอง (Neuro-Rehabilitation)” กันเถอะ...
การฟื้นฟูทางระบบประสาทและสมองคือกระบวนการกระตุ้นร่างกายและสมอง โดยผ่านการฝึกกิจกรรมและการเคลื่อนไหวร่างกายในรูปแบบต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสั่งการควบคุมการเคลื่อนไหว ความคิด ความจำและการสื่อสาร

ได้เวลา Back to Office พร้อม 7 วิธีเลี่ยงอาการ Office Syndrome
ได้เวลา Back to Office พร้อม 7 วิธีเลี่ยงอาการ Office Syndrome เพราะพฤติกรรมต่างๆ ในการทำงาน อาจทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายในระยะยาวได้

มารู้จัก “การฟื้นฟูทางระบบประสาทและสมอง (Neuro-Rehabilitation)” กันเถอะ...
การฟื้นฟูทางระบบประสาทและสมองคือกระบวนการกระตุ้นร่างกายและสมอง โดยผ่านการฝึกกิจกรรมและการเคลื่อนไหวร่างกายในรูปแบบต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสั่งการควบคุมการเคลื่อนไหว ความคิด ความจำและการสื่อสาร

9 ท่าบริหารแก้ออฟฟิศซินโดรม ลดอาการปวดคอ บ่า ไหล่
รักษาออฟฟิศซินโดรม ปวดคอ บ่า ไหล่เบื้องต้นด้วยตัวเองแบบไม่ง้อหมอนวดให้เสี่ยง กับ 9 ท่าบริหารแก้ออฟฟิศซินโดรมทำเองได้ที่บ้าน ปลอดภัย จากแพทย์เฉพาะทางศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู

บอกลาอาการออฟฟิศซินโดรมให้ดีขึ้นได้ด้วย 7 วิธีนี้
ปวดบ่า คอ ไหล่ จากอาการออฟฟิศซินโดรม สามารถดีขึ้นได้ด้วยทางเลือกการรักษาออฟฟิศซินโดรม 7 วิธีนี้ที่ผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์การฟื้นฟูแนะนำ