ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ทางออกของอาการปวดเข่าเรื้อรัง

15 พ.ค. 67  | ศูนย์กระดูกและข้อ
แชร์บทความ      

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ทางออกของอาการปวดเข่าเรื้อรัง

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (Knee replacement surgery) เป็นหนึ่งทางเลือกที่ช่วยรักษาอาการข้อเข่าเสื่อมให้กลับมาใช้งานได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด และยังช่วยเหลือผู้ป่วยให้หายจากอาการปวดเข่าที่เป็นมานานได้อย่างดี โดยเฉพาะในผู้สูงอายุหลายคนที่ต้องพบเจอกับปัญหาข้อเข่าเสื่อมจนส่งผลต่อการลุกนั่ง เดินเหินหรือเคลื่อนไหวลำบาก หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รีบทำการรักษา ข้อเข่าเสื่อมก็จะยิ่งมีอาการเสื่อมสภาพต่อไปและมีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนบั่นทอนคุณภาพชีวิตหรืออาจทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ หากคุณกำลังมองหาทางออกในการแก้ไขปัญหาข้อเข่าเสื่อมและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น เรามาดูไปพร้อมกันว่าการรักษาข้อเข่าเสื่อมมีวิธีการผ่าตัดอย่างไรบ้าง 

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (Knee replacement surgery)

เป็นวิธีการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมที่เกิดจากภาวะกระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลายจนส่งผลต่อการใช้ชีวิต และใส่โลหะสังเคราะห์เข้ามาทดแทน จากนั้นยึดด้วยซีเมนต์สำหรับกระดูกโดยมีโพลีเอทีลีนเป็นส่วนรองรับน้ำหนัก โดยโลหะที่นำมาใช้จะเป็นโลหะผสม ซึ่งมีส่วนประกอบสำคัญคือ “โคบอลต์โครเมียม” ทั้งนี้ข้อเข่าเทียมจะสามารถใช้งานอยู่ในเกณฑ์ที่ดีได้ประมาณ 15-20 ปี จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยแก้ปัญหาอาการเจ็บปวดข้อเข่า และทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

อาการปวดเข่าเรื้อรัง

วิธีการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม มีกี่แบบ?

วิธีการ หรือเทคนิคในการผ่าตัดข้อเข่าเทียมในปัจจุบันมีหลายแบบ โดยปกติแล้วแพทย์จะเลือกวิธีการผ่าตัดตามรอยโรค

ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ ดังนี้ 

  • ชนิดเปลี่ยนข้อเข่าทั้งหมด (Total Knee Replacement) เป็นการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าทุกส่วน เหมาะกับข้อเข่าที่เสียหายและมีรอยโรคอยู่ทั้งข้อเข่าส่วนครึ่งด้านนอกและครึ่งด้านใน
  • ชนิดเปลี่ยนเพียงด้านเดียวของผิวข้อ (Unicompartmental Knee Replacement) เป็นการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าครึ่งเข่า โดยแบ่งเป็นครึ่งข้อทางด้านนอกและครึ่งข้อทางด้านใน ซึ่งการผ่าตัดข้อเข่าเทียมเฉพาะส่วนจะเก็บผิวข้อเข่าส่วนที่ดีไว้จะมีขนาดแผลผ่าตัดที่เล็กกว่า อาการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อน้อยกว่า และได้รับความเจ็บปวดหลังผ่าตัดน้อยกว่า อีกทั้งสามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่าการผ่าตัดเปลี่ยนทั้งข้อ

เมื่อไรที่ควรเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม?

ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมที่ต้องรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดข้อเข่าเทียม ต้องเข้ารับการวินิจฉัยสภาพความเสียหายของข้อเข่าจากแพทย์ก่อน รวมถึงต้องคำนึงถึงปัจจัยเหล่านี้ร่วมด้วย 

  • ปวดเข่ามากจนทำให้ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ เช่น ปวดมากเวลาเดิน หรือขึ้นลงบันได
  • มีการอักเสบบวมแดงของเข่า โดยมีอาการบ่อยและเรื้อรัง
  • มีการผิดรูปของเข่า เช่น เข่าโค้งออก หรือเกเข้าใน ฯลฯ
  • ขยับเข่าติดขัดลำบาก งอ หรือเหยียดเข่าลำบาก
  • ใช้การรักษาแบบอื่นแล้วไม่ตอบสนองต่ออาการ เช่น เปลี่ยนวิธีการใช้งานเข่า ควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อ หรือการฉีดยาเข้าข้อเข่า 

วิธีการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม มีกี่แบบ?

วิธีดูแลตัวเองหลังผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม

เนื่องจากอุปกรณ์ข้อเข่าเทียมที่ใช้แทนที่ข้อเข่านั้นจะมีการสึกหรอไปตามกาลเวลา โดยทั่วไปประมาณ 85% ใช้งานได้มากกว่า 15-20 ปี มี 15% อาจต้องมีการผ่าตัดซ้ำอีกครั้ง ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่จะส่งผลต่อข้อเข่า ดังนี้ 

  • หลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาที่ต้องกระโดดแรงๆ มีแรงปะทะที่ส่งผลต่อเข่า หรือทำกิจกรรมที่มีแรงกระแทกต่อข้อเข่ามากๆ 
  • หลีกเลี่ยงการยกของหนัก ที่ทำให้เข่าต้องใช้แรงกดมากเกินไป 
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ เช่น ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน

นี่คือข้อมูลของการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมที่เรารวบรวมมาฝากให้คนที่สนใจและกำลังหาข้อมูลได้ทราบกัน อีกทั้งในปัจจุบันมีเทคโนโลยีการแพทย์ที่ทันสมัย ทำให้การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพมากขึ้น หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังเผชิญปัญหาข้อเข่าเสื่อม สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและพิจารณาการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ที่ศูนย์กระดูกและข้อโรงพยาบาลวิมุต เราพร้อมให้การดูแลรักษา ฟื้นฟู และตรวจวินิจฉัยเพื่อวางแผนการรักษาอย่างถูกต้องและแม่นยำ ช่วยให้ผู้ป่วยกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์กระดูกและข้อ ชั้น 4 โรงพยาบาลวิมุต 
เวลาทำการ 08:00 - 20:00  น. โทร. 0-2079-0060 
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์

 

ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ

ผู้เขียน
นพ. สมยศ ปิยะวรคุณ แพทย์ผู้ชำนาญการ ข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม

แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
นพ.สมยศ
ปิยะวรคุณ
ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านข้อเข่าและสะโพก

เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
ข้อเท้าแพลง รับมืออย่างไร

ข้อเท้าแพลง คือการบาดเจ็บบริเวณข้อเท้า ที่เกิดจากการบิด หมุน หรือพลิกเกินช่วงการเคลื่อนไหวปกติ ทำให้เอ็นบริเวณข้อเท้าเกิดการยืดออกมากจนเกินไป การบาดเจ็บมักเกิดบริเวณข้อเท้าด้านนอก หากรุนแรงมาก อาจส่งผลให้เอ็นเกิดการฉีดขาด มีอาการปวด บวม และสูญเสียความมั่นคงของข้อเท้า

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
5 ปัจจัยทำ ให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม

คุณเคยไหม ที่รู้สึกปวดเข่า เมื่อต้องขึ้นลงบันได หรือ มีเสียงดังก๊อบแก๊บที่เข่าเวลาเดิน นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคข้อเข่าเสื่อม จริง ๆ แล้ว ปัจจัยที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมมีอยู่มากมาย แต่วันนี้ขอนำเอาปัจจัย 5 ข้อสำคัญๆ ที่มีผลมากที่สุด มาให้ความรู้กันครับ

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
ระวังภัยร้ายจาก Work from home syndrome ถามหา

ถึงสถานการณ์จะกลับมาคลี่คลายแล้ว แต่หลายบริษัทยังคงให้ Work From Home อยู่เพื่อความปลอดภัย ซึ่งการทำงานจากบ้านที่ดูเหมือนจะสบายนั้น อาจสร้างปัญหาสุขภาพได้มากกว่าที่คิด

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
ทำอย่างไร เมื่อข้อไหล่ติด รบกวนชีวิตประจำวัน

ข้อไหล่ติด ปวดไหล่ ขยับไหล่แล้วเจ็บ หรือขยับไหล่ได้น้อยลงจนหลายคนใช้ชีวิตลำบาก วันนี้เรามีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับสาเหตุ อาการและวิธีรักษาข้อไหล่ติดโดยไม่ต้องผ่าตัดมาฝากกัน

อ่านเพิ่มเติม