ดนตรีบำบัด (Music Therapy) ช่วยฟื้นฟูร่างกาย และสุขภาพใจ

21 ธ.ค. 66  | ศูนย์สุขภาพใจ ปรึกษาจิตแพทย์
แชร์บทความ      

ดนตรีบำบัดคืออะไร? 
      ดนตรีบำบัด หรือ Music Therapy เป็นศาสตร์การบำบัดที่มุ่งเน้นดูแลสุขภาพด้วยเสียงดนตรีโดยนักดนตรีบำบัดวิชาชีพที่จบการศึกษาเฉพาะทางด้านดนตรีบำบัดในการให้บริการ นักดนตรีบำบัดจะประเมินและออกแบบกิจกรรมดนตรีที่มีคุณลักษณะเฉพาะตามเป้าหมายการรักษา ความต้องการ และความแตกต่างของแต่ละคนบนพื้นฐานของงานวิจัย ประโยชน์ของกิจกรรมดนตรีบำบัดที่ผู้รับบริการจะได้รับจะคลอบคลุมด้านร่างกาย จิตใจ ทักษะทางสังคมและการสื่อสาร สติปัญญา และจิตวิญญาณ 
      ในการทำงาน นักดนตรีบำบัดจะใช้หลัก Patient and Family Center care หรือ ผู้ป่วยและครอบครัวเป็นศูนย์กลางของการดูแล ควบคู่ไปกับการทำงานประสานกันกับสหสาขาวิชาชีพ เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้รับบริการ

ใครสามารถรับบริการดนตรีบำบัด และ ดนตรีบำบัดสามารถช่วยอย่างไรได้บ้าง?
ทุกคนสามารถเข้าถึงประโยชน์บริการดนตรีบำบัดได้หมด โดยไม่จำกัดอายุ เพศ ระดับการศึกษา ระดับความสามารถ หรือแม้กระทั้งประสบการณ์ทางดนตรี เนื่องจากดนตรีเป็นสิ่งที่แฝงอยู่ในชีวิตตั้งแต่เกิด เพื่อให้เห็นภาพการทำงานและกลไกของดนตรีบำบัดอย่างคร่าวๆ จะขอยกตัวอย่างตามกลุ่มอาการและโรค ดังนี้ 
ผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมและผู้สูงอายุ  
การใช้เพลงที่คุ้นเคยจะช่วยช่วยให้ผู้ป่วยนึกถึงความทรงจำในอดีตและนำมาเป็นสื่อในการจัดเตรียมกิจกรรมต่างๆ เพื่อคงระดับความสามารถในด้านความจำ การเคลื่อนไหว และการสื่อสารของผู้ป่วย

ผู้ป่วยระยะท้าย
เสียงเพลงมักมากับเรื่องราวบางอย่าง และเพลงบางเพลงผูกพันธ์กับชีวิต โดยเฉพาะในยามที่หนทางการรักษาเต็มไปด้วยข้อจำกัด และผลการรักษาอาจไม่ขาดหายที่เราต้องการ เสียงดนตรีเป็นอีกทางเลือกที่ช่วยเรียกคืนเรื่องราวที่ดีบางอย่างในอดีต ทำให้เราสัมผัสถึงความสุขและความผ่อนคลายอีกครั้ง และที่สำคัญ เพลงบางเพลงอาจเป็นตัวแทนของเราที่จะให้บุคคลที่ยังดำเนินชีวิตต่อได้ระลึกถึง  

ผู้ป่วยใน ในแผนกต่างๆ    
เพลงที่ชอบ การได้เลือกเพลง ช่วยเปิดโอกาสให้เราได้ควบคุม ช่วยทำให้บรรยากาศในการพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลดีขึ้น คลายความเบื่อ ความเหงา ความโศกเศร้าท่ามกลางข้อจำกัดที่เกิดขึ้นจากการดูแล หากเราจำเป็นต้องรักษาในโรงพยาบาลเป็นระยะเวลานาน การได้ฟังเพลง เลือกเพลง หรือฝึกเล่นเครื่องดนตรีง่ายๆ ยังช่วยให้เราปรับตัวเข้ากับการใช้ชีวิตในโรงพยาบาลได้อีกด้วย 

ทางด้านสุขภาพใจ  
“ดนตรีคือ Safe Zone” หลายคนอาจเคยได้ยินคำนี้มาก่อน เสียงเพลงไม่เคยตัดสินเรา แต่เป็นเหมือนสิ่งที่สะท้อนและเข้าใจความรู้สึกของเราโดยเฉพาะเวลาที่เราไม่สามารถหาคำไหนๆ มาอธิบาย หรือตามหาใครสักคนที่เข้าใจความรู้สึกของเราได้ ดนตรีไม่ตัดสินความรู้สึกและความคิดเราว่าถูกหรือผิด แต่ดนตรีกลับเข้าใจและสะท้อนมันออกมาได้อย่างนุ่มนวล กิจกรรมดนตรีที่ใช้ในการดูแลสุขภาพจิต ไม่ใช่เพียงแค่การฟังเท่านั้น แต่รวมไปถึงการเล่นดนตรีอย่างอิสระ การแต่งเพลง เพื่อระบายความรู้สึก และการฝึกเล่นเครื่องดนตรีบางอย่างเพื่อสร้างคุณค่าในตนเอง 

พัฒนาการเด็ก และ/หรือผู้ที่มีความต้องการพิเศษ    
“ดนตรีกับเด็กเป็นของคู่กัน” หลายๆ คนอาจจำได้ ตอนสมัยอนุบาล มีเพลงต่างๆ มากมายที่ช่วยทำให้เราได้เรียนรู้ จดจำเนื้อหาต่างๆ ได้ อีกทั้ง ชั่วโมงดนตรีมักจะเป็นชั่วโมงที่สนุกสุดๆ ได้ทดลอง ได้ค้นหาวิธีการเล่นเครื่องดนตรีต่างๆ ได้เข้าสังคมและอยู่กับเพื่อนๆ กิจกรรมดนตรีบำบัดที่ใช้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กและ/หรือผู้ที่มีความต้องการพิเศษ มีลักษณะที่ยืดหยุ่นและจะปรับเปลี่ยนให้เท่าทันกับการแสดงออกและความสนใจ อีกทั้งกิจกรรมดนตรี ยังส่งเสริมให้เด็กและผู้ที่มีความต้องการพิเศษได้รับประสบการณ์และใช้ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่พร้อมได้รับความสนุกสนานไปด้วยในตัว 


ขั้นตอนในการใช้ดนตรีบำบัดโดยนักดนตรีบำบัด

  1. นักดนตรีบำบัด ประเมินความเหมาะสมของการรับบำบัดและเป้าหมายการรับดนตรีบำบัด โดยประเมินโรคประจำตัว ประวัติการรักษา การตอบสนองทางร่างกายและอารมณ์ การสื่อสาร ประสบการณ์ดนตรีไม่ว่าจะเป็น ความชอบทางดนตรีในการฟังหรือเล่น และการตอบสนองต่อดนตรี เพื่อออกแบบกิจกรรมดนตรีที่มีคุณลักษณะเฉพาะความต้องการของผู้เข้ารับบริการ
  2. ระหว่างการบำบัด ผู้รับบริการดนตรีบำบัดสามารถร่วมประสบการณ์ดนตรีที่มีความหลากหลายตามความความเหมาะสมของการบำบัด หรือความชอบของผู้รับบริการได้ เช่น
    • การฟังเพลงบรรเลงหรือเพลงร้อง 
    • การพูดคุยเรื่องดนตรีด้านต่างๆ เช่นเป็นความชอบเพลง เรื่องเพลงในแต่ละช่วงอายุ หรือการสะท้อนความรู้สึกหรือความคิดจากเสียงเพลงหรือเนื้อเพลง
    • การเปล่งเสียง และร้องเพลง
    • การเล่นดนตรี กับเครื่องดนตรีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเคาะ หรือเครื่องทำนอง
    • การแต่งเพลง
    • การเคลื่อนไหวร่างกายกับเสียงเพลง
  3. หลังเสร็จการบำบัด นักดนตรีบำบัดประเมินประสิทธิภาพการบำบัดว่าช่วยตามเป้าหมายของผู้รับบริการหรือไม่
     

เล่นดนตรีไม่เป็น สามารถเข้าร่วมได้ไหม?
ผู้รับบริการไม่ต้องมีพื้นฐานดนตรี ไม่ต้องเล่นดนตรีเป็น ผู้รับบริการสามารถเป็นใครก็ได้ที่ชอบฟังเพลง ดนตรี หรือมีความสนใจในการบำบัดด้วยประสบการณ์ดนตรีในฐานะผู้ฟังหรือผู้เล่นก็ได้ 

 


 

ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ

ผู้เขียน
คุณพริมา สิทธิอำนวย นักดนตรีบำบัดประจำโรงพยาบาลวิมุต

เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
“ตระหนักแต่ไม่ตระหนก” 2 ข้อควรรู้ สู้ทั้งฝุ่นทั้ง COVID แบบจิตไม่ตก

ในภาวะที่ฝุ่น PM 2.5 กลับมาเข้าขั้นวิกฤตอีกครั้ง กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อมรายงานผลการตรวจวัดฝุ่นละออง PM 2.5 แล้วพบว่าเกินค่ามาตรฐานถึง 70 พื้นที่ทั่วทั้งกรุงเทพมหานคร

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
เช็กอาการ…แบบนี้ใช่ซึมเศร้าไหม กับแบบทดสอบภาวะซึมเศร้า 9 ข้อ

หากคุณมีอาการเครียด นอนไม่หลับ เศร้า ซึม เบื่อหน่าย ร้องไห้บ่อย หรืออยากฆ่าตัวตาย มาเช็กสุขภาพจิตเบื้องต้นว่าเป็นซึมเศร้าไหม ด้วยแบบทดสอบภาวะซึมเศร้า 9 ข้อนี้กัน

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
วิธีสร้างภูมิคุ้มกันทางใจ เหตุคนไทยเครียดซึมเศร้า ยังไม่ติดโควิดแต่สุขภาพจิตใกล้โคม่า

แต่ไหนแต่ไรมาปัญหาสุขภาพจิตก็ถือเป็นภัยที่คุกคามชีวิตของคนทั่วโลกอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้ผู้คนเกิดความเครียดเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ในญี่ปุ่นมียอดการฆ่าตัวตายสูงถึง 17,000 ราย หลังจากเผชิญกับโรคไปได้แค่ 4 เดือน ในขณะที่ประเทศไทยก็มีอัตราการฆ่าตัวตายที่เพิ่มขึ้นถึง 22% และการระบาดระลอกใหม่นี้เอง จะเห็นได้ว่าผู้คนยิ่งมีความวิตกกังวลเพราะจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันยังไม่มีท่าทีที่จะลดลง แต่ในขณะเดียวกันเราก็ยังต้องใช้ชีวิตประจำวัน ต้องออกจากบ้านไปทำงาน มีการพบเจอผู้คน ท่ามกลางความหวาดระแวงว่าจะติดเชื้อหรือไม่

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
เข้าถึงโลกของผู้สูงอายุด้วยหัวใจ สร้างสุขภาพจิตอย่างไรให้เวิร์ก

ทำไมคนแก่ขี้งอนบ่อย น้อยใจเก่ง อารมณ์แปรปรวนบ่อยๆ ? มาทำความเข้าใจโลกของผู้สูงอายุให้มากขึ้น กับปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุที่คนในครอบครัวต้องใส่ใจเป็นพิเศษ

อ่านเพิ่มเติม