หยุดหายใจขณะหลับ ภาวะอันตรายที่อาจเสี่ยงถึงชีวิต

13 มิ.ย. 67  | ศูนย์อายุรกรรม
แชร์บทความ      

หยุดหายใจขณะหลับอันตรายที่อาจเสี่ยงถึงชีวิต

หยุดหายใจขณะหลับ ภาวะอันตรายที่อาจเสี่ยงถึงชีวิต

ปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจหรืออาการหายใจผิดปกติ เป็นภาวะอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะ “ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ” ซึ่งเป็นอาการที่มักจะถูกละเลยไป เพราะหลายคนคิดว่าเป็นภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้เป็นครั้งคราวขณะนอนหลับ ไม่น่าอันตราย แต่จริงๆ แล้วภาวะหยุดหายใจขณะหลับสามารถส่งผลกระทบที่ร้ายแรงต่อสุขภาพถึงขั้นเสียชีวิตได้ และยังส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมากอีกด้วย วันนี้เรามาทำความเข้าใจและหาแนวทางรักษาไปพร้อมกัน

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คืออะไร? อันตรายไหม?

ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ (Obstructive Sleep Apnea: OSA) เป็นความผิดปกติอย่างหนึ่งของการหายใจที่เกิดขึ้นขณะนอนหลับ หรือเกิดการหยุดหายใจเป็นพักๆ ตลอดทั้งคืน เมื่อเกิดอาการระบบทางเดินหายใจส่วนต้นจะแคบลง ทำให้เกิดการสะสมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดและระดับของก๊าซออกซิเจนในเลือดลดลง ทำให้เกิดความผิดปกติในการทำงานของอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ ปอด และสมอง ก่อให้เกิดความเสี่ยงตามมา เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ รวมทั้งเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตได้

หยุดหายใจขณะหลับ สาเหตุเกิดจากอะไร?

หยุดหายใจขณะหลับ สาเหตุเกิดจากอะไร?

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เกิดจาก 3 สาเหตุหลักๆ ดังนี้ 

  1. ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น Obstructive sleep apnea (OSA) เป็นการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนต้น เช่น จมูก ช่องคอ ผนังคอหอย ที่ทำให้บริเวณดังกล่าวแคบลง โดยมักจะพบมากขึ้นตามอายุที่มากขึ้น ผู้ชายมากกว่าผู้หญิง หรือกลุ่มคนที่น้ำหนักตัวมาก 
  2. ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดสมองส่วนกลาง Central sleep apnea (CSA) เป็นความผิดปกติจากสมองส่วนกลางที่ไม่ส่งสัญญาณไปยังกล้ามเนื้อควบคุมการหายใจให้เหมาะสม 
  3. ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดซับซ้อน Complex sleep apnea syndrome เป็นความผิดปกติที่ผสมทั้งภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น (OSA) และภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดสมองส่วนกลาง (CSA) ทำให้หยุดหายใจขณะหลับโดยอัตโนมัติ

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับมีอาการอย่างไร

อย่างที่กล่าวไปว่าเมื่อเกิดการหยุดหายใจระหว่างนอนหลับ จะทำให้ะระดับก๊าซออกซิเจนในเลือดลดลง ร่างกายจึงถูกปลุก หรือกระตุ้นให้ตื่นขึ้น ทำให้การหลับของเราถูกรบกวนและต้องตื่นขึ้นมาเพื่อหายใจใหม่  ซึ่งสามารถสังเกตอาการได้ดังนี้

  • สะดุ้งตื่นตอนกลางคืน หรือมีอาการคล้ายๆ กำลังสำลักน้ำลายตนเอง 
  • บางคนอาจมีอาการหายใจอย่างแรงเหมือนขาดอากาศ
  • เมื่อตื่นเช้ามาจะพบอาการนอนไม่อิ่ม อ่อนเพลีย 
  • ตื่นเช้าขึ้นมาด้วยอาการคอแห้งผาก ปากแห้ง 
  • อาการนอนกรนเสียงดังมากๆ 
  • ง่วงนอนระหว่างวัน 
  • อารมณ์หงุดหงิดง่าย

แนวทางการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

การรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับในปัจจุบันมีให้เลือกหลายวิธี ซึ่งแพทย์จะเลือกรักษาตามอาการและความรุนแรงของผู้ป่วยในแต่ละบุคคล ดังนี้

  1. รักษาด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ภายใน 4 ชั่วโมงก่อนนอน  ควบคุมน้ำหนัก หรือปรับเปลี่ยนท่าการนอน เป็นต้น
  2. ใช้อุปกรณ์ทางทันตกรรมสวมบริเวณช่องปากขณะนอนหลับ ทำให้ทางเดินหายใจบริเวณคอหอยมีพื้นที่กว้างมากขึ้น สามารถลดอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้
  3. รักษาโดยใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (CPAP) หรือเครื่องเป่าลมในทางเดินหายใจส่วนบน 
  4. การรักษาโดยการผ่าตัด จะเป็นการผ่าตัดเปลี่ยนโครงสร้างและเอาเนื้อเยื่อบริเวณช่องคอที่มีปริมาณมากออก เพื่อทำให้ช่องหายใจกว้างขึ้น 

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เป็นความผิดปกติอย่างหนึ่งของการหายใจที่เกิดขึ้นระหว่างนอนหลับ โดยมีอาการกรนเสียงดัง รวมถึงอาจทำให้เกิดโรคอื่นๆ ที่มีความรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ แนะนำให้รีบตรวจวินิจฉัยเพื่อค้นหาความผิดปกติของร่างกายขณะนอนหลับที่โรงพยาบาลวิมุต กับแพ็กเกจตรวจสุขภาพการนอนหลับในผู้ใหญ่ วิเคราะห์การทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกายระหว่างนอนหลับอย่างละเอียด เพื่อรับการรักษาอย่างทันท่วงทีหากร่างกายกำลังเสี่ยงต่อการเกิดโรคอันตราย สามารถรับคำปรึกษาและรับการตรวจได้ตลอดระยะเวลาทำการ 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 3 โรงพยาบาลวิมุต 
เวลาทำการ 07:00-20:00  น. โทร. 0-2079-0030 
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์

ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ

ผู้เขียน
พญ.เพชรรัตน์ แสงทอง

แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
รศ.นพ.ธีระศักดิ์
แก้วอมตวงศ์
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคระบบการหายใจและเวชบำบัดวิกฤต

เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ… จำเป็นแค่ไหน ?

วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ จำเป็นต้องฉีดไหม ฉีดแล้วช่วยป้องกันโรคปอดอักเสบได้จริงหรือไหม มาดูคำตอบได้ที่นี่ว่าทำไมผู้สูงอายุถึงควรฉีดวัคซีนนี้กัน

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
6 วัคซีนสำหรับผู้สูงอายุ ที่แนะนำให้ลูกหลานพาไปฉีด

เปิดคำแนะนำการฉีดวัคซีนผู้สูงอายุ วัคซีนอะไรบ้างที่ควรฉีดอัปเดตข้อมูลปี 2566 เพื่อลดอัตราเสี่ยงการเสียชีวิตและบรรเทาอาการหนักให้เบาลง กับ 6 วัคซีนนี้เลยที่เรารวมข้อมูลมาให้แล้ว

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
หายป่วยลองโควิดได้ หายขาดด้วยโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด

โควิดที่ว่าน่ากลัว ยังไม่เท่าลองโควิด มาตรวจเช็กปอดและร่างกายให้เท่าทันโรค กับโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด เพื่อการฟื้นฟูและการดูแลตัวเองได้อย่างรวดเร็ว

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
รวมสารพัดเมนูอาหาร เพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ

รวมสารพัดเมนูอาหารเพื่อผู้สูงอายุ ควรกินอะไรดี ใครนึกไม่ออก เรารวมให้แล้วที่นี่ กับเมนูอาหารและโภชนาการเพื่อผู้สูงอายุ ที่ช่วยดูแลสุขภาพและบำรุงร่างกายให้แข็งแรงอย่างยั่งยืน

อ่านเพิ่มเติม

แนะนำแพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง