ตอบทุกคำถามโรคพิษสุนัขบ้า โรคติดเชื้ออันตราย ส่งผลร้ายถึงชีวิต
ตอบทุกคำถามโรคพิษสุนัขบ้า โรคติดเชื้ออันตราย ส่งผลร้ายถึงชีวิต
โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคคุ้นหูที่เราได้ยินกันมาอย่างยาวนาน เพราะเป็นโรคติดต่อจากสัตว์ที่สามารถแพร่เชื้อมาสู่คน ด้วยการสัมผัสเชื้อ การถูกสัตว์กัดหรือโดนข่วน โดยเฉพาะจากสุนัขและแมว ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่สามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน อีกทั้งหากเป็นสัตว์ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนด้วยแล้วยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต และเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า วันนี้เรามีคำตอบจากคำถามที่พบบ่อยของโรคพิษสุนัขบ้ามาให้คุณไขข้อสงสัยไปพร้อมกัน
7 ข้อ ตอบทุกเรื่อง ไขทุกข้อสงสัยของโรคพิษสุนัขบ้า
1. Q : โรคพิษสุนัขบ้าติดต่อจากสัตว์มาสู่คนได้ยังไง ?
A : การติดต่อเกิดจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีเชื้อไวรัสเรบีส์ (Rabies virus) ที่พบในน้ำลายของสัตว์ที่ติดเชื้อ เช่น สุนัข แมว วัว ค้างคาว ลิง ซึ่งสามารถติดเชื้อได้จากการถูกสัตว์กัด ข่วน หรือเลียบริเวณแผล นอกจากนี้เชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้ายังสามารถเข้าทางเยื่อเมือกได้เช่นกัน โดยการสัมผัสผ่านทางเยื่อบุตา เยื่อบุจมูกและปาก แม้ว่าเยื่อเมือกจะไม่มีบาดแผลก็ตาม
2. Q : อาการโรคพิษสุนัขบ้าเป็นอย่างไร ?
A: อาการของโรคพิษสุนัขบ้าในระยะเริ่มแรกมีความคล้ายคลึงกับอาการไข้หวัดใหญ่ มีไข้ ปวดหัวและรู้สึกไม่สบายตัวติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน หลังจากนั้นจะเริ่มมีอาการที่รุนแรงขึ้นของระบบประสาทและสมองที่ผิดปกติ เช่น กระวนกระวาย หงุดหงิด ขากรรไกรแข็ง ชักเกร็ง กลัวน้ำ อัมพาต และเสียชีวิตในที่สุด
3. Q : วัคซีนพิษสุนัขบ้าจำเป็นต้องฉีดกี่เข็ม ?
A: การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแบ่งเป็น 2 กรณี คือ ฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคก่อนการถูกสัตว์กัด และฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคหลังถูกสัตว์กัด การฉีดยาพิษสุนัขบ้าทั้ง 2 แบบ มีรายละเอียดแตกต่างกัน ได้แก่
1. ฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าเพื่อป้องกันโรคก่อนถูกสัตว์กัด
แนะนำให้ฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าแบบเข้ากล้ามเนื้อหรือใต้ผิวหนัง จำนวนทั้งหมด 3 เข็ม ได้แก่
เข็มที่ 1 |
ฉีดในวันที่ต้องการฉีด |
เข็มที่ 2 |
หลังจากเข็มแรก 7 วัน |
เข็มที่ 3 |
หลังจากเข็มแรก 21-28 วัน |
2. ฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าหลังถูกสัตว์กัด
- หากคุณถูกสุนัขหรือแมวกัดแล้วยังไม่เคยรับการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้ามาก่อน แนะนำให้ฉีดวัคซีนให้เร็วที่สุดหลังถูกกัด โดยให้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อจำนวน 5 เข็ม หรือฉีดเข้าใต้ผิวหนังจำนวน 4 เข็ม ในระยะเวลา 1 เดือนและพิจารณาการฉีดอิมมูโนโกลบูลิน (Immunoglobulin) ร่วมด้วย
- หากคุณเคยได้รับการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้ามาก่อนแล้วและถูกสัตว์กัด แนะนำให้ฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อหรือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง 2 เข็ม โดยไม่จำเป็นต้องฉีดอิมมูโนโกลบูลิน (Immunoglobulin) ร่วมด้วย
นอกจากนี้ แพทย์จะพิจารณาการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าร่วมกับร่องรอยของบาดแผลร่วมด้วย โดยจะขึ้นอยู่กับลักษณะของบาดแผล ซึ่งมีทั้งหมด 3 ประเภท ดังนี้
- กรณีไม่มีบาดแผล สัมผัสสัตว์ หรือถูกสัตว์เลียโดยที่ผิวหนังไม่มีบาดแผล ไม่ต้องให้วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในผู้สัมผัสเหล่านี้
- กรณีมีบาดแผลถลอก โดยไม่มีเลือดไหล ให้วัคซีนป้องกันโรค ไม่ต้องให้ Rabies Immunoglobulin (RIG)
- กรณีมีบาดแผลที่มีเลือดออกชัดเจน ให้วัคซีนป้องกันโรค ร่วมกับการให้ Rabies Immunoglobulin (RIG)
4. Q : โรคพิษสุนัขบ้าเป็นแล้วหายไหม ?
A: โรคพิษสุนัขบ้าในปัจจุบันยังคงเป็นโรคที่ไม่มียาที่สามารถรักษาให้หายได้ เพราะเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสแบบเฉียบพลัน หากผู้ป่วยที่รับเชื้อแล้วไม่มีการป้องกัน หรือรักษาอย่างทันท่วงทีมักจะเสียชีวิตเกือบ 100%
5. Q : เมื่อโดนสุนัขหรือแมวกัดต้องหาหมอทันทีหรือไม่ ?
A: หากโดนสุนัขหรือแมวกัดจนเกิดบาดแผลและมีเลือดออก ควรล้างบาดแผลให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ทันทีหลังถูกสัตว์กัด เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ หลังจากนั้นให้รีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาการฉีดวัคซีนในภายหลัง
6. Q : ถ้าถูกลูกสุนัขหรือลูกแมวกัดสามารถติดเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้าได้ไหม ?
A: สุนัขและแมวไม่ว่าจะมีอายุเท่าใดก็สามารถแพร่เชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้าได้ ดังนั้นหากถูกลูกสุนัขหรือลูกแมวที่แม้จะมีอายุเพียง 1 เดือนกัด ก็สามารถติดเชื้อได้
7. Q : เมื่อถูกกัดต้องดูแลแผลอย่างไร ?
A: วิธีการดูแลแผลจะแบ่งออกตามระดับความรุนแรงของบาดแผลที่ถูกสุนัขหรือแมวกัด ดังต่อไปนี้
- กรณีถูกสุนัขกัดโดยไม่มีแผลหรือรอยถลอก แต่สัมผัสน้ำลายของสัตว์ ให้ล้างบริเวณที่สัมผัสน้ำลายหรือเลือดของสุนัขให้สะอาด โดยยังไม่ต้องไปพบแพทย์เพื่อฉีดวัคซีน แต่ให้เฝ้าสังเกตอาการก่อนอย่างน้อย 10 วัน
- กรณีถูกกัดหรือข่วนเป็นรอยช้ำและถลอกที่ผิวหนัง ไม่มีเลือดออก หรือเลือดออกซิบๆ ให้ล้างบาดแผลด้วยน้ำสะอาดและสบู่หลายๆ ครั้ง จากนั้นจึงไปพบแพทย์เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า
- กรณีถูกกัดโดยฟันแทงทะลุผ่านผิวหนังแผลเดียว หรือหลายแผลและมีเลือดออก ให้รีบล้างบาดแผลด้วยน้ำและฟอกสบู่หลายๆ ครั้ง เพื่อให้แผลสะอาด จากนั้นทำความสะอาดบาดแผลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น 70% แอลกอฮอล์ โพวิดีน-ไอโอดีน และรีบไปพบแพทย์เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าโดยเร็วที่สุด
ถึงแม้โรคพิษสุนัขบ้าจะยังไม่สามารถรักษาให้หายได้ในปัจจุบัน แต่เราสามารถสร้างเกราะป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน อีกทั้งประสิทธิภาพของวัคซีนในปัจจุบันนี้มีการพัฒนาให้มีความปลอดภัยสูงและลดผลข้างเคียงได้ดีขึ้น ท่านที่สนใจรับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าสามารถเข้าปรึกษาแพทย์และรับวัคซีนอย่างถูกต้องได้ที่โรงพยาบาลวิมุต และควรให้ความสำคัญกับการหลีกเลี่ยง หรืออยู่ใกล้กับสัตว์ที่ไม่รู้จักร่วมด้วย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 3 โรงพยาบาลวิมุต
เวลาทำการ 07.00-20.00 น. โทร. 0-2079-0030
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์
ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ

แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

วิลาศรัศมี

วิลาศรัศมี

วิลาศรัศมี

วิลาศรัศมี

วิลาศรัศมี

วิลาศรัศมี
เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

หายป่วยลองโควิดได้ หายขาดด้วยโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด
โควิดที่ว่าน่ากลัว ยังไม่เท่าลองโควิด มาตรวจเช็กปอดและร่างกายให้เท่าทันโรค กับโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด เพื่อการฟื้นฟูและการดูแลตัวเองได้อย่างรวดเร็ว

รวมสารพัดเมนูอาหาร เพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ
รวมสารพัดเมนูอาหารเพื่อผู้สูงอายุ ควรกินอะไรดี ใครนึกไม่ออก เรารวมให้แล้วที่นี่ กับเมนูอาหารและโภชนาการเพื่อผู้สูงอายุ ที่ช่วยดูแลสุขภาพและบำรุงร่างกายให้แข็งแรงอย่างยั่งยืน

วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ… จำเป็นแค่ไหน ?
วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ จำเป็นต้องฉีดไหม ฉีดแล้วช่วยป้องกันโรคปอดอักเสบได้จริงหรือไหม มาดูคำตอบได้ที่นี่ว่าทำไมผู้สูงอายุถึงควรฉีดวัคซีนนี้กัน

6 วัคซีนสำหรับผู้สูงอายุ ที่แนะนำให้ลูกหลานพาไปฉีด
เปิดคำแนะนำการฉีดวัคซีนผู้สูงอายุ วัคซีนอะไรบ้างที่ควรฉีดอัปเดตข้อมูลปี 2566 เพื่อลดอัตราเสี่ยงการเสียชีวิตและบรรเทาอาการหนักให้เบาลง กับ 6 วัคซีนนี้เลยที่เรารวมข้อมูลมาให้แล้ว

หายป่วยลองโควิดได้ หายขาดด้วยโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด
โควิดที่ว่าน่ากลัว ยังไม่เท่าลองโควิด มาตรวจเช็กปอดและร่างกายให้เท่าทันโรค กับโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด เพื่อการฟื้นฟูและการดูแลตัวเองได้อย่างรวดเร็ว

รวมสารพัดเมนูอาหาร เพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ
รวมสารพัดเมนูอาหารเพื่อผู้สูงอายุ ควรกินอะไรดี ใครนึกไม่ออก เรารวมให้แล้วที่นี่ กับเมนูอาหารและโภชนาการเพื่อผู้สูงอายุ ที่ช่วยดูแลสุขภาพและบำรุงร่างกายให้แข็งแรงอย่างยั่งยืน

วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ… จำเป็นแค่ไหน ?
วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ จำเป็นต้องฉีดไหม ฉีดแล้วช่วยป้องกันโรคปอดอักเสบได้จริงหรือไหม มาดูคำตอบได้ที่นี่ว่าทำไมผู้สูงอายุถึงควรฉีดวัคซีนนี้กัน

6 วัคซีนสำหรับผู้สูงอายุ ที่แนะนำให้ลูกหลานพาไปฉีด
เปิดคำแนะนำการฉีดวัคซีนผู้สูงอายุ วัคซีนอะไรบ้างที่ควรฉีดอัปเดตข้อมูลปี 2566 เพื่อลดอัตราเสี่ยงการเสียชีวิตและบรรเทาอาการหนักให้เบาลง กับ 6 วัคซีนนี้เลยที่เรารวมข้อมูลมาให้แล้ว

วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ… จำเป็นแค่ไหน ?
วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ จำเป็นต้องฉีดไหม ฉีดแล้วช่วยป้องกันโรคปอดอักเสบได้จริงหรือไหม มาดูคำตอบได้ที่นี่ว่าทำไมผู้สูงอายุถึงควรฉีดวัคซีนนี้กัน

6 วัคซีนสำหรับผู้สูงอายุ ที่แนะนำให้ลูกหลานพาไปฉีด
เปิดคำแนะนำการฉีดวัคซีนผู้สูงอายุ วัคซีนอะไรบ้างที่ควรฉีดอัปเดตข้อมูลปี 2566 เพื่อลดอัตราเสี่ยงการเสียชีวิตและบรรเทาอาการหนักให้เบาลง กับ 6 วัคซีนนี้เลยที่เรารวมข้อมูลมาให้แล้ว

หายป่วยลองโควิดได้ หายขาดด้วยโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด
โควิดที่ว่าน่ากลัว ยังไม่เท่าลองโควิด มาตรวจเช็กปอดและร่างกายให้เท่าทันโรค กับโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด เพื่อการฟื้นฟูและการดูแลตัวเองได้อย่างรวดเร็ว

รวมสารพัดเมนูอาหาร เพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ
รวมสารพัดเมนูอาหารเพื่อผู้สูงอายุ ควรกินอะไรดี ใครนึกไม่ออก เรารวมให้แล้วที่นี่ กับเมนูอาหารและโภชนาการเพื่อผู้สูงอายุ ที่ช่วยดูแลสุขภาพและบำรุงร่างกายให้แข็งแรงอย่างยั่งยืน