“รูมาตอยด์” อาการปวดตามข้อที่ไม่ควรละเลย
ข้ออักเสบรูมาตอยด์ อีกหนึ่งโรคที่ส่งสัญญาณเตือนด้วยอาการปวดตามข้อต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งอาการอาจลุกลามและเพิ่มความรุนแรงอย่างต่อเนื่องหากผู้ป่วยไม่เข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง แต่ในทางตรงกันข้ามหากผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างถูกต้องตั้งแต่ระยะแรกก่อนที่ข้อจะถูกทำลาย จะสามารถบรรเทาโรคและป้องกันไม่ให้เกิดความพิการในอนาคตได้ การสังเกตอาการในระยะแรกจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยจะมีสัญญาณอย่างไรบ้างไปติดตามพร้อมกัน
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis)
เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังที่จัดเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคแพ้ภูมิตนเองที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังของเยื่อหุ้มข้อ ส่งผลทำให้เกิดการทำลายข้อตามมา ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของโรครูมาตอยด์ที่แน่ชัด แต่จากการศึกษามาอย่างต่อเนื่องทั้งการศึกษาในทางคลินิกและทางห้องปฏิบัติการ พบว่า ปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม เช่น การสูบบุหรี่ การติดเชื้อในช่องปาก การติดเชื้อในลำไส้ มีบทบาทที่จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคและแสดงอาการเริ่มต้นด้วยการมีข้ออักเสบ
สัญญาณหรืออาการเตือนจากโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
สัญญาณของอาการที่คุณสามารถตั้งข้อสังเกตได้ว่ากำลังเสี่ยงต่อการเกิดโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์มี ดังนี้
- ข้ออักเสบเรื้องรัง ปวด บวม นานกว่า 6 สัปดาห์ โดยเฉพาะบริเวณข้อนิ้วมือและข้อมือ ซึ่งมักจะเป็นสองข้างเท่าๆกัน
- มีอาการข้อฝืด ตึง ขยับนิ้วลำบากหลังตื่นนอนตอนเช้า
- มีการอักเสบรุนแรงของข้อเล็กๆ โดยเฉพาะข้อนิ้วมือ ข้อนิ้วเท้า และมีอาการปวดร่วมด้วย ซึ่งเป็นอาการปวดที่เกิดขึ้นมาเองโดยไม่ได้มาจากการใช้งานข้อหนักๆ เมื่อมีการใช้งานข้อที่มีอาการอักเสบ จะมีอาการปวดข้อมากขึ้น
- อาการจะชัดเจนเมื่อไม่ได้ขยับข้อมาระยะหนึ่ง โดยจะมีอาการปวดในช่วงกลางคืนและมีอาการข้อตึงมากในตอนเช้า โดยจะปวดเป็นเวลานานแม้รับประทานยาแก้ปวดแล้วอาการอาจดีขึ้นแต่ยังไม่หายขาด
- อาจมีน้ำหนักตัวลดลงและมีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย เบื่ออาหารร่วมด้วย
- ผู้ป่วยบางรายอาจจะไม่มีอาการปวดข้อเลย แต่อาจจะมาด้วยอาการเยื่อบุตาขาวอักเสบเรื้อรัง มีพังผืดในปอด ซึ่งกลุ่มอาการเหล่านี้พบได้น้อยมาก ประมาณ 5-10%
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์มีวิธีการรักษาอย่างไร ?
ในปัจจุบันโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถรักษาให้สงบได้ กล่าวคือทำให้ผู้ป่วยหายจากอาการปวดบวมข้อได้ โดยแพทย์จะให้ยาเพื่อหวังผลที่จะหยุดยั้งกระบวนการอักเสบ หยุดยั้งการทำลายข้อเพื่อที่จะให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติมากที่สุด
การรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ จะเน้นการรักษาโดยการใช้ยาเป็นหลัก แบ่งออกเป็น
- การให้ยาเพื่อลดอาการปวด โดยการให้ยาต้านการอักเสบ เช่น ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDS) หรือ สเตียรอยด์ (corticosteroid) เพื่อทำให้อาการปวดทุเลาลง ทำให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างไม่ลำบากมากนักในช่วงแรก
- การรักษาเฉพาะ คือ การให้ยาต้านรูมาติกที่ปรับเปลี่ยนการดำเนินโรค (Disease Modifying Anti-rheumatic Drugs, DMARDs) เรียกง่ายๆให้เข้าใจว่า ยาปรับภูมิคุ้มกันหรือยาต้านรูมาตอยด์ ซึ่งเป็นยาชนิดเดียวกับยากดภูมิคุ้มกัน แต่ระดับการกดภูมิจะน้อยกว่ากลุ่มยารักษาโรคมะเร็ง โดยจะแบ่งออกเป็น
- Conventional DMARDs เป็นยาที่ทำหน้าที่ชะลอการทำงานของเซลล์อักเสบในร่างกาย โดยเฉพาะกลุ่มเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีบทบาทในการกระตุ้นการสร้างสารอักเสบ แต่ยากลุ่มนี้เป็นยาที่ออกฤทธิ์ช้า ใช้เวลาหลายเดือน
- Biologic DMARDs (ยาชีววัตถุ), Targeted Synthetic DMARDs (ยาสังเคราะห์มุ่งเป้า) คือยากลุ่มใหม่ๆที่ถูกพัฒนาเพิ่มขึ้นมาเพื่อให้จับกับสารอักเสบที่เซลล์อักเสบสร้างขึ้นมาโดยตรง ทำให้เกิดประสิทธิภาพเร็วขึ้น เห็นผลการรักษาภายในหลักสัปดาห์ โดยผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงก็จะได้ประโยชน์จากการใช้ยาในกลุ่มนี้
อย่างไรก็ตาม ยาในกลุ่มนี้มีผลข้างเคียงพอสมควรต่อตับ เม็ดเลือด และอาจจะเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อได้ จึงแนะนำให้สั่งยาโดยอายุรแพทย์โรคข้อเท่านั้น
มาดูแลสุขภาพกระดูกและข้อพร้อมสุขภาพร่างกายที่ดีให้ครบองค์รวมได้แล้ววันนี้
โรงพยาบาลวิมุตเราออกแบบโปรแกรมตรวจสุขภาพองค์รวมสำหรับผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปี ที่ครอบคลุมทุกความเสี่ยงของโรคในช่วงอายุนี้ รวมถึงการตรวจมวลกระดูก ค้นหาสัญญาณโรคต่างๆ เช่น โรคกระดูกพรุน โรคไขข้ออักเสบ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตกับโปรโมชันราคาพิเศษ !
ปัจจุบันโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ยังไม่สามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรค สิ่งสำคัญคือการหมั่นสังเกตอาการในระยะแรกเริ่ม เพราะหากเริ่มรักษาได้อย่างรวดเร็วก็จะสามารถป้องกันภาวะทุพพลภาพที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้ในอนาคต หากมีอาการปวดตามข้อนิ้วมือ ข้อมือทื่สงสัยว่าไม่ใช่อาการปวดธรรมดาและอาจจะเป็นข้ออักเสบรูมาตอยด์ ไม่ควรนิ่งนอนใจ แนะนำให้รีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง ก่อนอาการจะลุกลามจนยากต่อการรักษาในอนาคต
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์อายุรกรรม แผนกโรคข้อและรูมาติสซั่ม ชั้น 3 โรงพยาบาลวิมุต
เวลาทำการ 08:00 - 20:00 น. โทร. 0-2079-0030
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์
ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ
แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง
ธนาเดชสุนทร
ธนาเดชสุนทร
ธนาเดชสุนทร
ธนาเดชสุนทร
ธนาเดชสุนทร
ธนาเดชสุนทร
เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง
หายป่วยลองโควิดได้ หายขาดด้วยโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด
โควิดที่ว่าน่ากลัว ยังไม่เท่าลองโควิด มาตรวจเช็กปอดและร่างกายให้เท่าทันโรค กับโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด เพื่อการฟื้นฟูและการดูแลตัวเองได้อย่างรวดเร็ว
รวมสารพัดเมนูอาหาร เพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ
รวมสารพัดเมนูอาหารเพื่อผู้สูงอายุ ควรกินอะไรดี ใครนึกไม่ออก เรารวมให้แล้วที่นี่ กับเมนูอาหารและโภชนาการเพื่อผู้สูงอายุ ที่ช่วยดูแลสุขภาพและบำรุงร่างกายให้แข็งแรงอย่างยั่งยืน
วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ… จำเป็นแค่ไหน ?
วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ จำเป็นต้องฉีดไหม ฉีดแล้วช่วยป้องกันโรคปอดอักเสบได้จริงหรือไหม มาดูคำตอบได้ที่นี่ว่าทำไมผู้สูงอายุถึงควรฉีดวัคซีนนี้กัน
6 วัคซีนสำหรับผู้สูงอายุ ที่แนะนำให้ลูกหลานพาไปฉีด
เปิดคำแนะนำการฉีดวัคซีนผู้สูงอายุ วัคซีนอะไรบ้างที่ควรฉีดอัปเดตข้อมูลปี 2566 เพื่อลดอัตราเสี่ยงการเสียชีวิตและบรรเทาอาการหนักให้เบาลง กับ 6 วัคซีนนี้เลยที่เรารวมข้อมูลมาให้แล้ว
หายป่วยลองโควิดได้ หายขาดด้วยโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด
โควิดที่ว่าน่ากลัว ยังไม่เท่าลองโควิด มาตรวจเช็กปอดและร่างกายให้เท่าทันโรค กับโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด เพื่อการฟื้นฟูและการดูแลตัวเองได้อย่างรวดเร็ว
รวมสารพัดเมนูอาหาร เพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ
รวมสารพัดเมนูอาหารเพื่อผู้สูงอายุ ควรกินอะไรดี ใครนึกไม่ออก เรารวมให้แล้วที่นี่ กับเมนูอาหารและโภชนาการเพื่อผู้สูงอายุ ที่ช่วยดูแลสุขภาพและบำรุงร่างกายให้แข็งแรงอย่างยั่งยืน
วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ… จำเป็นแค่ไหน ?
วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ จำเป็นต้องฉีดไหม ฉีดแล้วช่วยป้องกันโรคปอดอักเสบได้จริงหรือไหม มาดูคำตอบได้ที่นี่ว่าทำไมผู้สูงอายุถึงควรฉีดวัคซีนนี้กัน
6 วัคซีนสำหรับผู้สูงอายุ ที่แนะนำให้ลูกหลานพาไปฉีด
เปิดคำแนะนำการฉีดวัคซีนผู้สูงอายุ วัคซีนอะไรบ้างที่ควรฉีดอัปเดตข้อมูลปี 2566 เพื่อลดอัตราเสี่ยงการเสียชีวิตและบรรเทาอาการหนักให้เบาลง กับ 6 วัคซีนนี้เลยที่เรารวมข้อมูลมาให้แล้ว
วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ… จำเป็นแค่ไหน ?
วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ จำเป็นต้องฉีดไหม ฉีดแล้วช่วยป้องกันโรคปอดอักเสบได้จริงหรือไหม มาดูคำตอบได้ที่นี่ว่าทำไมผู้สูงอายุถึงควรฉีดวัคซีนนี้กัน
6 วัคซีนสำหรับผู้สูงอายุ ที่แนะนำให้ลูกหลานพาไปฉีด
เปิดคำแนะนำการฉีดวัคซีนผู้สูงอายุ วัคซีนอะไรบ้างที่ควรฉีดอัปเดตข้อมูลปี 2566 เพื่อลดอัตราเสี่ยงการเสียชีวิตและบรรเทาอาการหนักให้เบาลง กับ 6 วัคซีนนี้เลยที่เรารวมข้อมูลมาให้แล้ว
หายป่วยลองโควิดได้ หายขาดด้วยโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด
โควิดที่ว่าน่ากลัว ยังไม่เท่าลองโควิด มาตรวจเช็กปอดและร่างกายให้เท่าทันโรค กับโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด เพื่อการฟื้นฟูและการดูแลตัวเองได้อย่างรวดเร็ว
รวมสารพัดเมนูอาหาร เพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ
รวมสารพัดเมนูอาหารเพื่อผู้สูงอายุ ควรกินอะไรดี ใครนึกไม่ออก เรารวมให้แล้วที่นี่ กับเมนูอาหารและโภชนาการเพื่อผู้สูงอายุ ที่ช่วยดูแลสุขภาพและบำรุงร่างกายให้แข็งแรงอย่างยั่งยืน