นอนกรนไม่ใช่เรื่องเล็ก! ส่งผลเสียและอันตรายกว่าที่คิด

28 ส.ค. 67  | ศูนย์หู คอ จมูก
แชร์บทความ      

นอนกรน

นอนกรนไม่ใช่เรื่องเล็ก! ส่งผลเสียและอันตรายกว่าที่คิด

ปัญหาการนอนกรนหลายคนอาจเข้าใจว่าสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไปในทุกเพศทุกวัย แต่จริงๆ แล้วอาการนอนกรนเป็นสภาวะของการนอนที่ไม่ปกติและมีผลเสียต่อร่างกายอย่างมาก หากคุณเป็นคนหนึ่งที่นอนกรนและต้องการแก้ไขปัญหานี้ให้หมดไป มาทำความเข้าใจถึงสาเหตุและผลกระทบจากการนอนกรน พร้อมทั้งหาแนวทางในการรักษาให้ถูกต้องเหมาะสมที่บทความนี้!

อาการนอนกรนเกิดจากสาเหตุใด? 

“นอนกรน” เกิดจากระบบทางเดินหายใจส่วนบนตีบแคบลง โดยเมื่อนอนหลับกล้ามเนื้อในช่องปากและลำคอส่วนบนจะผ่อนคลายและหย่อนลงมาปิดกั้นทางเดินหายใจ ทำให้ลมหายใจไม่สามารถผ่านไปยังหลอดลมและปอดได้อย่างสะดวก เมื่อทางเดินหายใจส่วนบนถูกปิดกั้นให้เล็กลงจึงทำให้เกิดเป็นเสียงกรนนั่นเอง โดยมักจะเกิดขึ้นในช่วงที่ร่างกายเข้าสู่การหลับลึก และจะมีเสียงดังมากขึ้นเมื่ออยู่ในท่านอนหงาย

อาการนอนกรน

ปัจจัยเสี่ยงใดบ้างที่ทำให้เกิดอาการนอนกรน?

อาการนอนกรนเกิดจากหลายปัจจัยที่ทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนแคบลง หรืออุดตันในขณะนอนหลับ ดังนี้ 

  • ผู้ที่มีน้ำหนักมากมักจะมีทางเดินหายใจส่วนบนแคบ เนื่องจากไขมันที่สะสมบริเวณคอและช่วงอก ทำให้เกิดอาการนอนกรนได้ง่ายกว่าคนที่น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ 
  • ผู้ที่มีอาการภูมิแพ้ทางเดินหายใจ เกิดอาการบวมของเนื้อเยื่อในจมูกและลำคอ 
  • ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่เป็นประจำ 
  • ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน หรือผู้ชายที่มีอายุมาก 
  • มีอาการต่อมทอนซิลโตขวางทางเดินหายใจ 
  • ความเหนื่อยล้าที่สะสมในแต่ละวัน 
  • ท่านอน การนอนหงายทำให้ลิ้นตกไปด้านหลังของลำคอ ทำให้ทางเดินหายใจแคบลง 
  • การรับประทานยาที่ทำให้เกิดอาการง่วง เช่น ยาแก้แพ้ ยาคลายเครียด หรือยานอนหลับ 

อาการนอนกรนส่งผลกระทบต่อร่างกายอย่างไร?

อาการนอนกรนนอกจากจะส่งเสียงดังรบกวนคนข้างๆ แล้ว ยังมีอาการนอนกรนที่รุนแรงที่ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อร่างกายเท่านั้น แต่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนี้ 

  • ตื่นนอนแล้วรู้สึกไม่สดชื่น หรือรู้สึกนอนได้ไม่เต็มอิ่มเท่าที่ควร 
  • รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีสมาธิ 
  • เสี่ยงต่อภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เพราะทางเดินหายใจส่วนบนถูกอุดกั้นหรือตีบแคบลง ทำให้ลมหายใจติดขัดหายใจไม่สะดวก 
  • รู้สึกคอแห้ง ปวดหัวเมื่อตื่นนอนตอนเช้า 
  • เสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ เนื่องจากร่างกายต้องพยายามหายใจในขณะหลับ ส่งผลให้หัวใจทำงานหนักขึ้น 
  • ประสิทธิภาพการเผาผลาญในร่างกายลดลง เพราะการนอนกรนทำให้ร่างกายนอนหลับได้ไม่เต็มอิ่ม ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบเผาผลาญโดยตรง 
  • อารมณ์และสุขภาพจิต การนอนหลับส่งผลต่อสมองและระบบประสาท ในการสร้างเซลล์ประสาทใหม่และซ่อมแซมเซลล์ที่สึกหรอ ทำให้ขาดสมาธิและอารมณ์แปรปรวน

วิธีแก้ไขอาการนอนกรน

อยากเลิกนอนกรนต้องทำอย่างไร?

วิธีแก้ไขอาการนอนกรนมีหลายแนวทาง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของอาการในแต่ละบุคคล ดังนี้ 

  1. ผู้ป่วยที่มีอาการนอนกรนธรรมดา แพทย์จะแนะนำให้ลองปรับพฤติกรรมเพื่อให้การนอนหลับดีขึ้นก่อน เช่น ปรับท่านอน ลดน้ำหนัก หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และยานอนหลับ เป็นต้น 
  2. ผู้ที่มีอาการนอนกรนรุนแรง หรือมีภาวะหยุดหายใจร่วมด้วย แนวทางการรักษาในระดับอาการนอนกรนที่รุนแรงนี้จะมีการใช้เครื่องช่วยหายใจแรงดันบวก (CPAP) ไปจนถึงการผ่าตัดเพื่อเพิ่มขนาดของทางเดินหายใจส่วนบนให้กว้างขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยได้มีคุณภาพการนอนที่ดีขึ้นได้ 

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังเผชิญปัญหาการนอนกรนจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต แนะนำให้เข้ารับการตรวจสุขภาพการนอนหลับ (Sleep Test) ที่โรงพยาบาลวิมุต เพื่อค้นหาแนวทางการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมในแต่ละบุคคล โดยวิเคราะห์การทำงานของระบบต่างๆ ระหว่างนอนหลับอย่างละเอียด เช่น ระบบการหายใจ ระดับออกซิเจนในเลือด การทำงานของคลื่นไฟฟ้าสมอง คลื่นไฟฟ้าหัวใจ และกล้ามเนื้อ เพื่อจัดการกับปัญหาสุขภาพการนอนให้ดีขึ้น 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์หู คอ จมูก ชั้น 5 โรงพยาบาลวิมุต 
เวลาทำการ 08:00 - 20:00 น. โทร. 0-2079-0050 
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์  

ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ

ผู้เขียน
พญ.เพชรรัตน์ แสงทอง แพทย์ผู้ชำนาญการโสต ศอ นาสิก

เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
เวียนหัว บ้านหมุน เหมือนจะอาเจียน ใช่อาการหินปูนในหูเคลื่อนหรือไม่

โรคหินปูนในหูเคลื่อน อีกหนึ่งสาเหตุยอดฮิตของผู้ที่มักมีอาการวิงเวียนศีรษะ บ้านหมุน เสียการทรงตัว เช็กพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคพร้อมวิธีดูแลเมื่อเกิดอาการที่ถูกต้องได้ที่นี่

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
เปลี่ยนท่านอนให้ถูกต้อง ลดปัญหาสุขภาพ หลับสบาย

การนอนท่านอนที่ถูกต้องช่วยเสริมการนอนหลับให้ดีขึ้น ช่วยลดความเจ็บปวดของร่างกายและทำให้หลับลึก หลับสบาย เพิ่มประสิทธิภาพการพักผ่อนอย่างเต็มที่ เช็กท่านอนที่เหมาะสมพร้อมกันที่นี่

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
ภูมิแพ้อากาศ คันจมูก คันตา จามบ่อย มีวิธีรักษายังไงบ้าง?

ตรวจเช็กอาการภูมิแพ้อากาศต่างจากหวัดยังไง คุณกำลังมีอาการภูมิแพ้อากาศหรือไม่? สิ่งเร้าที่กระตุ้นให้เกิดอาการมีอะไรบ้าง มาหาคำตอบไปพร้อมกันได้ที่นี่

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
บ้านหมุน เวียนหัว คลื่นไส้ พะอืดพะอม วิธีแก้ได้อย่างไร?

บ้านหมุน หรืออาการเวียนหัว คลื่นไส้ พะอืดพะอม ทรงตัวไม่อยู่ มีสาเหตุการเกิดได้หลายปัจจัย แต่จะมีวิธีการดูแลหรือแก้ให้รู้สึกดีขึ้นได้อย่างไรบ้าง เรามีคำตอบ

อ่านเพิ่มเติม

แนะนำแพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง