รู้จักโรคแพ้ภูมิตัวเอง SLE อันตรายภายในจากภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเอง

15 ก.พ. 67  | ศูนย์อายุรกรรม
แชร์บทความ      

รู้จักโรคแพ้ภูมิตัวเอง SLE อันตรายภายในจากภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเอง

โดยปกติแล้วร่างกายของคนเราจะมีระบบภูมิคุ้มกันไว้คอยปกป้อง โดยทำหน้าที่ทำลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมไม่ให้เข้ามาสู่ร่างกายได้ แต่รู้หรือไม่ว่าภูมิคุ้มกันก็สามารถหันกลับมาทำลายตัวเองได้เช่นกัน นั่นก็คือโรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) หรือที่เรามักจะคุ้นหูกันในชื่อ “โรคพุ่มพวง” ซึ่งอาการของโรคนี้จะแสดงความผิดปกติในร่างกายหลายระบบร่วมกัน และไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดขึ้นที่อวัยวะใด ผู้ป่วยจึงต้องหมั่นสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายของตนเองอยู่เสมอ 

มาทำความรู้จักโรคภูมิแพ้ตัวเองให้มากขึ้นว่าเกิดจากอะไร อาการแพ้ภูมิตัวเองที่สังเกตได้มีอะไรบ้าง ภาวะแทรกซ้อน รวมถึงแนวทางการรักษาและป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากโรคนี้ไปพร้อมๆ กัน 

โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) คือโรคอะไร?

โรคภูมิแพ้ตัวเอง Systemic Lupus Erythematosus (SLE) หรือโรคลูปัส คนไทยเรียกกันว่า “โรคพุ่มพวง” เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ซึ่งเกิดขึ้นจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ภูมิคุ้มกันทำลายเนื้อเยื่อในร่างกายของตัวเองแทนที่จะทำหน้าที่ทำลายสิ่งแปลกปลอมภายนอกร่างกาย จนเกิดการอักเสบและทำให้มีความผิดปกติกับอวัยวะต่างๆ ได้ทั่วร่างกาย เช่น ผิวหนังอักเสบ ผื่นแดงตามผิวหนัง ข้ออักเสบ 

โรคแพ้ภูมิตัวเองเกิดจากอะไร?

ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่มีหลายปัจจัยร่วมกันที่ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง ดังนี้

  • พันธุกรรม หากมีญาติหรือพ่อแม่ที่เป็น โรค SLE เราก็อาจจะมีความเสี่ยงในการเป็นโรค SLE มากกว่าคนทั่วไป
  • ปัจจัยทางสภาวะแวดล้อม เช่น แสงแดด (รังสีอัลตราไวโอเลต) ความเครียดสะสม 
  • ฮอร์โมนเพศหญิง การตั้งครรภ์ การติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อโรคอื่นๆ และการใช้ยา หรือสารเคมีบางชนิด

อาการแพ้ภูมิตัวเองเป็นแบบไหน?

ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ตัวเอง SLE จะมีระดับความรุนแรงของอาการที่แตกต่างกัน อาการของโรคจะเป็นๆ หายๆ มีการกำเริบและสงบเป็นระยะ ซึ่งอาการทั่วไปที่พบได้บ่อยมี ดังนี้ 

  1. มีผื่นขึ้นบริเวณผิวหนังที่ได้รับแสงแดด โดยเฉพาะบริเวณจมูกและแก้ม
  2. มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามร่างกาย
  3. ผมร่วงมากขึ้น
  4. มีอาการอักเสบ ปวด บวมตามข้อ
  5. ไวต่อแสงแดด 
  6. ข้อติด แข็ง ฝืด 
  7. หายใจลำบาก
  8. ตาแห้ง ปากแห้ง 

ภาวะแทรกซ้อนที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิต

นอกจากอาการแพ้ภูมิตัวเองแบบทั่วไปที่สามารถสังเกตได้แล้ว โรคแพ้ภูมิตัวเองยังสามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนในอวัยวะอื่นๆ ได้ ซึ่งเป็นอันตรายและเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ดังนี้ 

  • หัวใจและสมอง เช่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หรือความจำเสื่อม 
  • ระบบเลือด เช่น ภาวะโลหิตจาง การติดเชื้อในกระแสเลือด 
  • ไต เกิดอาการไตอักเสบ มีปัสสาวะมีเลือดปนหรือมีฟองมากผิดปกติ
  • ปอด เยื่อบุรอบปอดอักเสบ 

วิธีการรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเอง SLE ทำได้อย่างไร?

โรคภูมิแพ้ตัวเอง SLE เป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมให้อาการสงบได้ ซึ่งวิธีการรักษาจะแบ่งตามระดับอาการ ดังนี้ 

  • อาการไม่รุนแรงมาก แพทย์จะให้ยาเพื่อช่วยบรรเทาตามอาการ
  • อาการรุนแรง เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในอวัยวะอื่นๆ จำเป็นต้องใช้ยากดภูมิต้านทานเพื่อช่วยควบคุมโรคให้สงบ

ปกป้องตัวเองให้ปลอดภัยจากโรคแพ้ภูมิตัวเอง 

เนื่องจากโรคภูมิแพ้ตัวเองเป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด วิธีการป้องกันจึงเป็นการดูแลสุขภาพร่างกายโดยรวมให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ดังนี้ 

  • ลดความเครียด
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และหลากหลาย 
  • หลีกเลี่ยงแสงแดด
  • ป้องกันการติดเชื้อ 
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • ไม่สูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์
  • หลีกเลี่ยง หรือลดการสัมผัสสารเคมี 

แม้โรคแพ้ภูมิตัวเอง SLE จะยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็สามารถรักษาเพื่อบรรเทาอาการของโรคให้สงบลงได้ ด้วยการติดตามอาการอย่างต่อเนื่องและรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด รวมถึงปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวันร่วมด้วย ซึ่งไม่เพียงช่วยลดความเสี่ยงของโรคร่วมหรือภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้แล้ว ยังช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้อีกด้วย 

 

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์

ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 3 โรงพยาบาลวิมุต 

เวลาทำการ 07:00 - 20:00 น. โทร. 0-2079-0030  

หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์

ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ


เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ… จำเป็นแค่ไหน ?

วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ จำเป็นต้องฉีดไหม ฉีดแล้วช่วยป้องกันโรคปอดอักเสบได้จริงหรือไหม มาดูคำตอบได้ที่นี่ว่าทำไมผู้สูงอายุถึงควรฉีดวัคซีนนี้กัน

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
6 วัคซีนสำหรับผู้สูงอายุ ที่แนะนำให้ลูกหลานพาไปฉีด

เปิดคำแนะนำการฉีดวัคซีนผู้สูงอายุ วัคซีนอะไรบ้างที่ควรฉีดอัปเดตข้อมูลปี 2566 เพื่อลดอัตราเสี่ยงการเสียชีวิตและบรรเทาอาการหนักให้เบาลง กับ 6 วัคซีนนี้เลยที่เรารวมข้อมูลมาให้แล้ว

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
หายป่วยลองโควิดได้ หายขาดด้วยโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด

โควิดที่ว่าน่ากลัว ยังไม่เท่าลองโควิด มาตรวจเช็กปอดและร่างกายให้เท่าทันโรค กับโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด เพื่อการฟื้นฟูและการดูแลตัวเองได้อย่างรวดเร็ว

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
รวมสารพัดเมนูอาหาร เพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ

รวมสารพัดเมนูอาหารเพื่อผู้สูงอายุ ควรกินอะไรดี ใครนึกไม่ออก เรารวมให้แล้วที่นี่ กับเมนูอาหารและโภชนาการเพื่อผู้สูงอายุ ที่ช่วยดูแลสุขภาพและบำรุงร่างกายให้แข็งแรงอย่างยั่งยืน

อ่านเพิ่มเติม