รู้ทันภาวะเกล็ดเลือดต่ำ เลือดไหลไม่หยุด อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม
รู้ทันภาวะเกล็ดเลือดต่ำ เลือดไหลไม่หยุด อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม
“ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ” (Thrombocytopenia) เป็นกลุ่มอาการที่ไม่นับว่าเป็นโรค แต่เป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากโรคบางชนิดในร่างกาย หากแพทย์ระบุว่ามีภาวะเกล็ดเลือดต่ำนั้นแสดงว่าเป็นสัญญาณสำคัญที่คุณต้องหันกลับมาใส่ใจดูแลร่างกายให้มากขึ้นเป็นพิเศษ ยิ่งหากเคยมีจ้ำเลือดเป็นจุดๆ ตามร่างกาย หรือเลือดออกตามไรฟันบ่อยๆ แล้ว ยิ่งต้องทำความรู้จักกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำนี้ให้มากยิ่งขึ้น
เกล็ดเลือด (Platelet) คืออะไร?
“เกล็ดเลือด” คือ เซลล์หรือแผ่นเซลล์บางๆ ที่มีรูปร่างไม่แน่นอน ซึ่งเป็นหนึ่งในส่วนประกอบของเม็ดเลือดที่สร้างจากไขกระดูกและจะไหลเวียนอยู่ในกระแสเลือด โดยมีอายุประมาณ 10 วัน ก่อนจะถูกส่งไปทำลายที่ม้ามและตับ
เกล็ดเลือดสำคัญอย่างไร ทำหน้าที่อะไรบ้าง?
เกล็ดเลือดเป็นกลไลหนึ่งในเซลล์เม็ดเลือดทำหน้าที่ห้ามเลือด ป้องกันไม่ให้เลือดออกมากเกินไปในกรณีที่มีบาดแผล หรือภาวะเลือดออก โดยเกล็ดเลือดมีกระบวนการทำงาน ดังนี้
- เยื่อบุผิวหลอดเลือดจะหลั่งสารมากระตุ้นเกล็ดเลือด
- เกล็ดเลือดจำนวนมากมารวมตัวเกาะกลุ่มกันบริเวณที่มีแผล
- จากนั้นจะกระตุ้นให้เกิดการแข็งตัวของเลือด เกิดเป็นลิ่มเลือดอุดบริเวณบาดแผล ทำให้เลือดหยุดไหลได้
ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ เกิดจากอะไร?
โดยปกติเกล็ดเลือดของเราจะถูกสร้างจากเซลล์ต้นกำเนิดที่อยู่ภายในไขกระดูก ซึ่งระดับเกล็ดเลือดที่ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติจะอยู่ที่ จำนวน 150,000– 450,000 ตัวต่อปริมาณเลือด 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตร ถ้าต่ำกว่านี้จะถือว่าคุณมีค่าระดับเกล็ดเลือดต่ำกว่าปกติ ซึ่งสาเหตุมาจาก 3 ปัจจัยหลัก ดังนี้
- การผลิตเกล็ดเลือดลดลง มักเกิดจากความผิดปกติของไขกระดูก เช่น โรคเลือดจาง โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือโรคไขกระดูกฝ่อ เป็นต้น
- เกล็ดเลือดถูกทำลายมากกว่าปกติ เช่น เกล็ดเลือดถูกภูมิคุ้มกันทำลายเมื่อร่างกายติดเชื้อ หรือได้รับวัคซีน, โรคความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน หรือเกล็ดเลือดถูกใช้ไปมากเพื่อช่วยหยุดเลือดจากการที่ร่างกายมีเลือดออกมากและติดเชื้อรุนแรง
- มีภาวะโรคตับ ส่งผลให้ม้ามโตและทำให้ม้ามกักเก็บเกล็ดเลือดไว้มากเกินไป เมื่อทำการตรวจเลือดจึงพบว่า เกล็ดเลือดหมุนเวียนในร่างกายลดลง หรือเกล็ดเลือดต่ำนั่นเอง
ภาวะเกล็ดเลือดต่ำมีอาการเป็นอย่างไร?
ในระยะเริ่มต้นมักจะไม่พบอาการที่แสดงออกอย่างชัดเจน แต่หากตรวจวัดค่าเกล็ดเลือดแล้วมีระดับเกล็ดเลือดที่น้อยกว่า 30,000 เซลล์/ไมโครลิตร ร่างกายจะมีอาการ ดังนี้
- มีจ้ำเลือดตามร่างกาย โดยที่ยังไม่ได้รับการกระทบกระแทกจากสิ่งใด
- เลือดออกตามไรฟัน
- เลือดกำเดาไหล
- มีประจำเดือนมากกว่าปกติ
- ปัสสาวะ หรืออุจจาระเป็นเลือด
ภาวะเกล็ดเลือดต่ำอันตรายมากไหม?
อาจกล่าวได้ว่าสิ่งที่เป็นอันตรายที่สุดหากเกิดภาวะ “เกล็ดเลือดต่ำ” คือภาวะแทรกซ้อน หรือภาวะที่มีเลือดออกจากอวัยวะสำคัญของร่างกาย เช่น มีเลือดออกในสมอง หรือในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้น หากพบอาการที่บ่งชี้ได้ว่ากำลังอยู่ในภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ควรพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด
ภาวะเกล็ดเลือดต่ำที่ควรพบแพทย์ทันที!
หากร่างกายมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำจนเกิดอาการเหล่านี้ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาได้ จึงไม่ควรนิ่งนอนใจและรีบมาพบแพทย์ทันที
- เลือดออกช่องปาก หรือเหงือก
- เลือดกำเดาไหล
- อาเจียนเป็นเลือด
- เลือดออกจากช่องคลอด
- ปวดศีรษะตลอดเวลา
- ตาพร่ามัว
- ปวดท้อง
ถึงแม้คุณจะพบว่าร่างกายมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำเล็กน้อย ไม่รุนแรงจนถึงขั้นมีอาการเลือดออกไม่หยุด แต่ก็ไม่ควรละเลย แนะนำให้เข้ารับการตรวจสุขภาพเพื่อตรวจหาความเสี่ยงกับแพทย์เฉพาะทางโดยตรง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีและสามารถรับมือกับอาการที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 3 โรงพยาบาลวิมุต
เวลาทำการ 07:00 - 20:00 น. โทร. 0-2079-0030
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์
ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ

แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

อชิรรุจิกร

อชิรรุจิกร

อชิรรุจิกร

อชิรรุจิกร

อชิรรุจิกร

อชิรรุจิกร
เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

หายป่วยลองโควิดได้ หายขาดด้วยโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด
โควิดที่ว่าน่ากลัว ยังไม่เท่าลองโควิด มาตรวจเช็กปอดและร่างกายให้เท่าทันโรค กับโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด เพื่อการฟื้นฟูและการดูแลตัวเองได้อย่างรวดเร็ว

รวมสารพัดเมนูอาหาร เพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ
รวมสารพัดเมนูอาหารเพื่อผู้สูงอายุ ควรกินอะไรดี ใครนึกไม่ออก เรารวมให้แล้วที่นี่ กับเมนูอาหารและโภชนาการเพื่อผู้สูงอายุ ที่ช่วยดูแลสุขภาพและบำรุงร่างกายให้แข็งแรงอย่างยั่งยืน

วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ… จำเป็นแค่ไหน ?
วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ จำเป็นต้องฉีดไหม ฉีดแล้วช่วยป้องกันโรคปอดอักเสบได้จริงหรือไหม มาดูคำตอบได้ที่นี่ว่าทำไมผู้สูงอายุถึงควรฉีดวัคซีนนี้กัน

6 วัคซีนสำหรับผู้สูงอายุ ที่แนะนำให้ลูกหลานพาไปฉีด
เปิดคำแนะนำการฉีดวัคซีนผู้สูงอายุ วัคซีนอะไรบ้างที่ควรฉีดอัปเดตข้อมูลปี 2566 เพื่อลดอัตราเสี่ยงการเสียชีวิตและบรรเทาอาการหนักให้เบาลง กับ 6 วัคซีนนี้เลยที่เรารวมข้อมูลมาให้แล้ว

หายป่วยลองโควิดได้ หายขาดด้วยโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด
โควิดที่ว่าน่ากลัว ยังไม่เท่าลองโควิด มาตรวจเช็กปอดและร่างกายให้เท่าทันโรค กับโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด เพื่อการฟื้นฟูและการดูแลตัวเองได้อย่างรวดเร็ว

รวมสารพัดเมนูอาหาร เพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ
รวมสารพัดเมนูอาหารเพื่อผู้สูงอายุ ควรกินอะไรดี ใครนึกไม่ออก เรารวมให้แล้วที่นี่ กับเมนูอาหารและโภชนาการเพื่อผู้สูงอายุ ที่ช่วยดูแลสุขภาพและบำรุงร่างกายให้แข็งแรงอย่างยั่งยืน

วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ… จำเป็นแค่ไหน ?
วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ จำเป็นต้องฉีดไหม ฉีดแล้วช่วยป้องกันโรคปอดอักเสบได้จริงหรือไหม มาดูคำตอบได้ที่นี่ว่าทำไมผู้สูงอายุถึงควรฉีดวัคซีนนี้กัน

6 วัคซีนสำหรับผู้สูงอายุ ที่แนะนำให้ลูกหลานพาไปฉีด
เปิดคำแนะนำการฉีดวัคซีนผู้สูงอายุ วัคซีนอะไรบ้างที่ควรฉีดอัปเดตข้อมูลปี 2566 เพื่อลดอัตราเสี่ยงการเสียชีวิตและบรรเทาอาการหนักให้เบาลง กับ 6 วัคซีนนี้เลยที่เรารวมข้อมูลมาให้แล้ว

วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ… จำเป็นแค่ไหน ?
วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ จำเป็นต้องฉีดไหม ฉีดแล้วช่วยป้องกันโรคปอดอักเสบได้จริงหรือไหม มาดูคำตอบได้ที่นี่ว่าทำไมผู้สูงอายุถึงควรฉีดวัคซีนนี้กัน

6 วัคซีนสำหรับผู้สูงอายุ ที่แนะนำให้ลูกหลานพาไปฉีด
เปิดคำแนะนำการฉีดวัคซีนผู้สูงอายุ วัคซีนอะไรบ้างที่ควรฉีดอัปเดตข้อมูลปี 2566 เพื่อลดอัตราเสี่ยงการเสียชีวิตและบรรเทาอาการหนักให้เบาลง กับ 6 วัคซีนนี้เลยที่เรารวมข้อมูลมาให้แล้ว

หายป่วยลองโควิดได้ หายขาดด้วยโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด
โควิดที่ว่าน่ากลัว ยังไม่เท่าลองโควิด มาตรวจเช็กปอดและร่างกายให้เท่าทันโรค กับโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด เพื่อการฟื้นฟูและการดูแลตัวเองได้อย่างรวดเร็ว

รวมสารพัดเมนูอาหาร เพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ
รวมสารพัดเมนูอาหารเพื่อผู้สูงอายุ ควรกินอะไรดี ใครนึกไม่ออก เรารวมให้แล้วที่นี่ กับเมนูอาหารและโภชนาการเพื่อผู้สูงอายุ ที่ช่วยดูแลสุขภาพและบำรุงร่างกายให้แข็งแรงอย่างยั่งยืน