อาการนิ้วล็อก (Trigger Finger) หากปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน หรือกลับมาเป็นซ้ำบ่อยๆ อาจนำไปสู่ภาวะเอ็นอักเสบเรื้อรัง จนไม่สามารถเหยียดนิ้วให้ตรงได้ นำไปสู่ปัญหาด้านกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อในที่สุด แพทย์อาจพิจารณาการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด เพราะถือเป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุดและเห็นผลเร็วที่สุดสำหรับการรักษาอาการนิ้วล็อกระยะที่ 4 หรือภาวะปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ
ผ่าตัดรักษานิ้วล็อก แก้ปัญหารักษาปลอกหุ้มเอ็นอักเสบอย่างตรงจุด
การผ่าตัดนิ้วล็อก เป็นการผ่าตัดเล็กบริเวณปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่หนาให้เปิดกว้างขึ้น เพื่อให้เส้นเอ็นเคลื่อนผ่านได้โดยไม่ติดขัดเวลาเหยียดนิ้วมือจากการใช้งาน ซึ่งการผ่าตัดนั้นใช้เวลาไม่นาน เพียง 15 -20 นาที โดยมีขั้นตอนทั้งก่อน-หลัง และขณะผ่าตัดที่คนไข้ควรปฏิบัติตาม ดังนี้
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดนิ้วล็อก
การเตรียมตัวให้พร้อมก่อนการผ่าตัด เป็นขั้นตอนเพื่อลดความเสี่ยงจากโรคแทรกซ้อน และทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้รวดเร็วยิ่งขึ้นหลังผ่าตัด โดยมีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้
- พักผ่อนให้เพียงพอก่อนวันผ่าตัด เพราะถึงแม้จะเป็นการผ่าตัดเล็ก แต่เพื่อลดความเสี่ยงไม่ให้เกิดอาการแทรกซ้อน การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอเพื่อเตรียมร่างกายให้พร้อมจึงเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูจากแผลผ่าตัดได้เร็วยิ่งขึ้น และลดอาการติดเชื้ออีกด้วย
- เตรียมสภาพร่างกายให้พร้อม เช่น ไม่สักหรือเจาะร่างกายบริเวณที่ต้องผ่าตัดล่วงหน้า 30 วัน
การฏิบัติตัวระหว่างเข้ารับการผ่าตัด
- แพทย์จะทำการฉีดยาเฉพาะจุดให้ในบริเวณที่ต้องผ่าตัด ควรให้ความร่วมมือด้วยการไม่ขยับมือข้างที่ผ่าตัด หรือดึงมือหนีแพทย์
- ขณะผ่าตัดอาจเกิดความรู้สึกตึงจากอุปกรณ์พัน รัดห้ามเลือด ถือเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้ในขณะผ่าตัด
- ในระหว่างผ่าตัดหากเกิดความรู้สึกเจ็บปวดมากจนไม่สามารถทนได้ ให้รีบแจ้งแพทย์โดยทันทีเพื่อเพิ่มยาชาบริเวณที่ทำการผ่าตัด
คำแนะนำการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดนิ้วล็อก
หลังการผ่าตัดแพทย์จะทำการพันแผลด้วยผ้าพันยางยืดเพื่อการระบายอากาศที่ดี และยังช่วยช่วยให้แผลแห้งเร็ว ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ พร้อมข้อปฏิบัติที่ควรทำตามเพื่อให้แผลหายไวขึ้น ดังนี้
- ระวังไม่ให้แผลเปียกน้ำ เพื่อไม่ให้เกิดการอักเสบและติดเชื้อ
- สังเกตปลายนิ้วมือบ่อยๆ หากมีอาการเขียว บวม หรือรู้สึกชา ซึ่งถือเป็นอาการปกติ ให้คลายผ้าพันแผลแล้วพันใหม่ให้หลวมกว่าเดิมเพื่อลดการระคายเคือง
- สังเกตแผลผ่าตัด หากมีเลือดซึมออกมามาก หรือมีเลือดซึมตลอดเวลา ต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กทันที
- ทำแผลอย่างสม่ำเสมอ และรับประทานยาตามแพทย์สั่ง เพื่อให้แผลผ่าตัดหายไวขึ้นและป้องกันไม่ให้แผลติดเชื้อ
- พบแพทย์ตามนัดเพื่อตรวจอาการและตัดไหมตามกำหนด
นิ้วล็อก (Trigger Finger) ภัยใกล้ตัวคนทำงานที่ควรรีบรักษา
นิ้วล็อก (Trigger Finger) หรืออาการอักเสบของเยื่อหุ้มเส้นเอ็นบริเวณโคนนิ้ว คืออาการใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม เพราะสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในกลุ่มคนทำงานที่ต้องเหยียดเกร็งนิ้วมือซ้ำๆ เป็นเวลานาน เช่น นักกีฬาที่ต้องใช้มือในการจับอุปกรณ์ให้แน่น พนักงานออฟฟิศที่ต้องใช้มือในการพิมพ์คีย์บอร์ดหรือขยับเมาส์ตลอดเวลา รวมถึงคนที่มีโรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน โรคไต และโรครูมาตอยด์ ก็จัดเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงที่อาจเกิดปัญหานิ้วล็อก
สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหานิ้วล็อกในระยะเริ่มต้น การบรรเทารักษาอาการด้วยตัวเองที่ดีที่สุด สามารถเริ่มต้นได้จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น การพักนิ้วจากการทำงาน ไม่หิ้วของหนักเกิน และการไม่หักหรือดีดนิ้ว ก็สามารถป้องกันการเกิดนิ้วล็อกได้เช่นกัน
แพ็คเกจผ่าตัดนิ้วล็อก แก้ปัญหาเพื่อรักษาอย่างตรงจุด
สำหรับผู้ที่ดูแลอาการนิ้วล็อกด้วยตนเองโดยพยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วแต่ยังไม่ดีขึ้น การมาโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษานั้นไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว ที่โรงพยาบาลวิมุตเรามี แพ็คเกจผ่าตัดนิ้วล็อก ให้เลือกรับบริการที่ทั้งรวดเร็ว ประหยัดเวลา ประหยัดค่าใช้จ่ายและปลอดภัย โดยไม่ต้องนอนโรงพยาบาล
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์กระดูกและข้อ ชั้น 4 โรงพยาบาลวิมุต
เวลาทำการ 08.00 - 20.00 น. โทร. 0-2079-0060
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์
ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ

แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

พิสิฐวัฒนาภรณ์

พิสิฐวัฒนาภรณ์

พิสิฐวัฒนาภรณ์

พิสิฐวัฒนาภรณ์

พิสิฐวัฒนาภรณ์

พิสิฐวัฒนาภรณ์
เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

ระวังภัยร้ายจาก Work from home syndrome ถามหา
ถึงสถานการณ์จะกลับมาคลี่คลายแล้ว แต่หลายบริษัทยังคงให้ Work From Home อยู่เพื่อความปลอดภัย ซึ่งการทำงานจากบ้านที่ดูเหมือนจะสบายนั้น อาจสร้างปัญหาสุขภาพได้มากกว่าที่คิด

ทำอย่างไร เมื่อข้อไหล่ติด รบกวนชีวิตประจำวัน
ข้อไหล่ติด ปวดไหล่ ขยับไหล่แล้วเจ็บ หรือขยับไหล่ได้น้อยลงจนหลายคนใช้ชีวิตลำบาก วันนี้เรามีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับสาเหตุ อาการและวิธีรักษาข้อไหล่ติดโดยไม่ต้องผ่าตัดมาฝากกัน

ข้อเท้าแพลง รับมืออย่างไร
ข้อเท้าแพลง คือการบาดเจ็บบริเวณข้อเท้า ที่เกิดจากการบิด หมุน หรือพลิกเกินช่วงการเคลื่อนไหวปกติ ทำให้เอ็นบริเวณข้อเท้าเกิดการยืดออกมากจนเกินไป การบาดเจ็บมักเกิดบริเวณข้อเท้าด้านนอก หากรุนแรงมาก อาจส่งผลให้เอ็นเกิดการฉีดขาด มีอาการปวด บวม และสูญเสียความมั่นคงของข้อเท้า

5 ปัจจัยทำ ให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม
คุณเคยไหม ที่รู้สึกปวดเข่า เมื่อต้องขึ้นลงบันได หรือ มีเสียงดังก๊อบแก๊บที่เข่าเวลาเดิน นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคข้อเข่าเสื่อม จริง ๆ แล้ว ปัจจัยที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมมีอยู่มากมาย แต่วันนี้ขอนำเอาปัจจัย 5 ข้อสำคัญๆ ที่มีผลมากที่สุด มาให้ความรู้กันครับ

ระวังภัยร้ายจาก Work from home syndrome ถามหา
ถึงสถานการณ์จะกลับมาคลี่คลายแล้ว แต่หลายบริษัทยังคงให้ Work From Home อยู่เพื่อความปลอดภัย ซึ่งการทำงานจากบ้านที่ดูเหมือนจะสบายนั้น อาจสร้างปัญหาสุขภาพได้มากกว่าที่คิด

ทำอย่างไร เมื่อข้อไหล่ติด รบกวนชีวิตประจำวัน
ข้อไหล่ติด ปวดไหล่ ขยับไหล่แล้วเจ็บ หรือขยับไหล่ได้น้อยลงจนหลายคนใช้ชีวิตลำบาก วันนี้เรามีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับสาเหตุ อาการและวิธีรักษาข้อไหล่ติดโดยไม่ต้องผ่าตัดมาฝากกัน

ข้อเท้าแพลง รับมืออย่างไร
ข้อเท้าแพลง คือการบาดเจ็บบริเวณข้อเท้า ที่เกิดจากการบิด หมุน หรือพลิกเกินช่วงการเคลื่อนไหวปกติ ทำให้เอ็นบริเวณข้อเท้าเกิดการยืดออกมากจนเกินไป การบาดเจ็บมักเกิดบริเวณข้อเท้าด้านนอก หากรุนแรงมาก อาจส่งผลให้เอ็นเกิดการฉีดขาด มีอาการปวด บวม และสูญเสียความมั่นคงของข้อเท้า

5 ปัจจัยทำ ให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม
คุณเคยไหม ที่รู้สึกปวดเข่า เมื่อต้องขึ้นลงบันได หรือ มีเสียงดังก๊อบแก๊บที่เข่าเวลาเดิน นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคข้อเข่าเสื่อม จริง ๆ แล้ว ปัจจัยที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมมีอยู่มากมาย แต่วันนี้ขอนำเอาปัจจัย 5 ข้อสำคัญๆ ที่มีผลมากที่สุด มาให้ความรู้กันครับ

ข้อเท้าแพลง รับมืออย่างไร
ข้อเท้าแพลง คือการบาดเจ็บบริเวณข้อเท้า ที่เกิดจากการบิด หมุน หรือพลิกเกินช่วงการเคลื่อนไหวปกติ ทำให้เอ็นบริเวณข้อเท้าเกิดการยืดออกมากจนเกินไป การบาดเจ็บมักเกิดบริเวณข้อเท้าด้านนอก หากรุนแรงมาก อาจส่งผลให้เอ็นเกิดการฉีดขาด มีอาการปวด บวม และสูญเสียความมั่นคงของข้อเท้า

5 ปัจจัยทำ ให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม
คุณเคยไหม ที่รู้สึกปวดเข่า เมื่อต้องขึ้นลงบันได หรือ มีเสียงดังก๊อบแก๊บที่เข่าเวลาเดิน นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคข้อเข่าเสื่อม จริง ๆ แล้ว ปัจจัยที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมมีอยู่มากมาย แต่วันนี้ขอนำเอาปัจจัย 5 ข้อสำคัญๆ ที่มีผลมากที่สุด มาให้ความรู้กันครับ

ระวังภัยร้ายจาก Work from home syndrome ถามหา
ถึงสถานการณ์จะกลับมาคลี่คลายแล้ว แต่หลายบริษัทยังคงให้ Work From Home อยู่เพื่อความปลอดภัย ซึ่งการทำงานจากบ้านที่ดูเหมือนจะสบายนั้น อาจสร้างปัญหาสุขภาพได้มากกว่าที่คิด

ทำอย่างไร เมื่อข้อไหล่ติด รบกวนชีวิตประจำวัน
ข้อไหล่ติด ปวดไหล่ ขยับไหล่แล้วเจ็บ หรือขยับไหล่ได้น้อยลงจนหลายคนใช้ชีวิตลำบาก วันนี้เรามีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับสาเหตุ อาการและวิธีรักษาข้อไหล่ติดโดยไม่ต้องผ่าตัดมาฝากกัน