กระดูกสันหลังยุบ ภาวะที่ผู้สูงวัยและคนเป็นโรคกระดูกพรุนต้องระวัง !
กระดูกสันหลังยุบ ภาวะที่ผู้สูงวัยและคนเป็นโรคกระดูกพรุนต้องระวัง !
กระดูกสันหลังยุบ เป็นภาวะที่หลายคนอาจไม่คุ้นหูกันมากนัก แต่เชื่อหรือไม่ว่ามีผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยที่ทรมานและใช้ชีวิตได้ลำบากจากภาวะกระดูกสันหลังยุบนี้ ด้วยเพราะทำให้ผู้ที่เป็นมีอาการปวดหลัง และปวดมากขึ้นเมื่อต้องขยับหรือเคลื่อนไหวร่างกาย รวมไปถึงผู้สูงอายุบางคนอาจกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียงได้ เพื่อให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุสามารถดำเนินต่อไปได้ตามวัย เราชวนคุณมาทำความเข้าใจสาเหตุต้นตอและอาการของภาวะกระดูกสันหลังยุบ พร้อมแนวทางการรักษากัน
ภาวะกระดูกสันหลังยุบ ภาวะที่ผู้สูงวัยต้องระวัง
ภาวะกระดูกสันหลังยุบ (Vertebral Compression Fracture) เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะกระดูกพรุน ซึ่งเกิดจากความหนาแน่นของมวลกระดูกนั้นลดน้อยลง กระดูกบางมากขึ้นและทำให้เกิดรอยร้าว เมื่อนานวันเข้ารอยร้าวที่สะสมภายในโครงสร้างของกระดูกสันหลังก็จะมีการยุบตัว ทรุดหรือแตก ซึ่งเป็นภาวะที่ค่อนข้างอันตรายและทำให้การใช้ชีวิตลำบากมากขึ้น เนื่องจากอาการปวดหลังจากกระดูกที่ยุบจะหนักขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าจะรับประทานยาแก้ปวดแล้วก็ไม่สามารถช่วยลดอาการปวดได้
ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจบั่นทอนคุณภาพชีวิตและการใช้ชีวิตประจำวันลงได้ โดยสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เกิดภาวะกระดูกสันหลังยุบมีดังนี้
- โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) กระดูกพรุนเป็นภาวะที่กระดูกมีความหนาแน่นลดลงและมีความเปราะบางมากขึ้น ทำให้เสี่ยงต่อการแตกหักได้ง่าย ผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุนอาจเกิดกระดูกสันหลังยุบได้เพียงแค่มีการเคลื่อนไหว หรือแรงกดเล็กน้อย เช่น การยกของ การก้มตัว หรือแม้กระทั่งการไอ หรือจามอย่างแรง
- อุบัติเหตุและการบาดเจ็บ (Trauma) อุบัติเหตุสามารถทำให้ผู้สูงวัย หรือคนทั่วไปเกิดภาวะนี้ได้ ทั้งจากอุบัติเหตุรถยนต์ นั่งรถตกหลุม การตกจากที่สูง ลื่นล้มก้นกระแทก นั่งกระแทกลงบนเก้าอี้ หรือการกระแทกที่รุนแรง สามารถทำให้กระดูกสันหลังยุบได้ โดยเฉพาะในผู้ที่กระดูกไม่แข็งแรง
อาการของภาวะกระดูกสันหลังยุบ
- ปวดหลังเฉียบพลัน: อาการปวดหลังเฉียบพลันและรุนแรงเป็นอาการหลักที่พบได้ในภาวะกระดูกสันหลังยุบ
- อาการปวดเรื้อรังและปวดมากขึ้นเมื่อขยับตัว: อาการปวดมักเป็นนานและปวดมากขึ้นเมื่อเคลื่อนไหว หรือยืนเป็นเวลานาน
- ขาชาและอ่อนแรง: บางราย (ซึ่งเป็นส่วนน้อย) กระดูกที่ยุบอาจทับเส้นประสาท หรือไขสันหลัง ซึ่งจะทำให้มีอาการขาชา อ่อนแรง รวมถึงมีปัญหาในการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระได้
- หลังค่อม: การยุบตัวของกระดูกหลายข้ออาจทำให้เกิดการโค้งงอของกระดูกสันหลัง ซึ่งทำให้หลังค่อมมากขึ้น
- ความสูงลดลง: นอกจากหลังที่ดูค่อมแล้ว เมื่อกระดูกสันหลังยุบ จะทำให้ความสูงลดลงด้วย
- ท้องอืดแน่นและหายใจลำบาก: เนื่องจากการยุบ หรือทรุดตัวของกระดูกทำให้ปริมาตรในช่องท้องและทรวงอกลดลง ทำให้รู้สึกท้องอืด เหมือนอาหารไม่ย่อยและหายใจลำบากขึ้นได้
การตรวจวินิจฉัยภาวะกระดูกสันหลังยุบ
เบื้องต้นแพทย์จะสอบถามประวัติการเจ็บป่วยและลักษณะอาการ พร้อมกับตรวจร่างกายเพื่อประเมินความเจ็บปวดและความผิดปกติของกระดูกสันหลังร่วมกับใช้เครื่องมือทางการแพทย์และผลแลปในการวินิจฉัย
- การถ่ายภาพรังสี (X-ray): เพื่อดูการยุบตัวของกระดูกสันหลัง
- การถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI): เพื่อดูรายละเอียดของกระดูกและเนื้อเยื่อรอบๆ และช่วยในการวินิจฉัยภาวะกระดูกพรุนและการบาดเจ็บอื่นๆ
- การตรวจความหนาแน่นของกระดูก (Bone Density Test): เพราะสาเหตุหลักของภาวะนี้มาจากโรคกระดูกพรุน แพทย์จึงมักตรวจความแข็งแรงของกระดูก เพื่อประเมินภาวะกระดูกพรุนร่วมด้วย
แนวทางและวิธีการรักษาภาวะกระดูกสันหลังยุบ
หลังจากที่แพทย์วินิจฉัยและประเมินอาการของภาวะกระดูกสันหลังยุบหรือทรุดแล้ว จะเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะกับลักษณะอาการและสุขภาพของผู้ป่วยในแต่ละราย ดังนี้
1. รักษาด้วยยา เป็นวิธีการรักษาเพื่อบรรเทาอาการปวดและเสริมโครงสร้างมวลกระดูกให้แข็งแรงขึ้น
- ยาแก้ปวด: เพื่อบรรเทาอาการปวด
- ยารักษาโรคกระดูกพรุนและยาที่ช่วยเสริมสร้างกระดูก: เช่น Bisphosphonates, Calcitonin, วิตามินดี รวมถึงแคลเซียม
2. ใส่เสื้อเกราะพยุงหลัง (Back Brace) วิธีนี้จะช่วยลดแรงกดทับที่กระดูกสันหลัง พร้อมกับช่วยพยุงหลังไม่ให้โค้งงอ จึงช่วยบรรเทาอาการปวดได้
3. กายภาพบำบัด การทำกายภาพบำบัดจะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อรอบกระดูกสันหลัง และปรับปรุงท่าทางในการเคลื่อนไหว
4. การผ่าตัด การรักษาภาวะกระดูกสันหลังยุบหรือทรุดด้วยการผ่าตัด เป็นอีกหนึ่งทางเลือกการรักษาที่แพทย์เลือกใช้เมื่อใช้วิธีข้างต้นแล้วไม่ดีขึ้นใน 3-4 สัปดาห์ หรือในบางรายที่มีอาการชาจากกระดูกยุบทับเส้นประสาทหรือไขสันหลัง จึงจะแนะนำให้เข้ารับการผ่าตัด ดังนี้
- ฉีดซีเมนต์ (Vertebroplasty): การฉีดซีเมนต์ทางการแพทย์เข้าไปในกระดูกสันหลัง เป็นการรักษาเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงที่เห็นผลเร็วและใช้เวลาพักฟื้นไม่นาน โดยแพทย์จะวางยาสลบก่อน แล้วให้ผู้ป่วยนอนคว่ำหน้า จากนั้นจะกรีดผิวหนังเล็กๆ บริเวณสันหลังเพื่อให้เข็มเข้าไปได้ และจัดตำแหน่ง มุมองศาของเข็มด้วยเครื่องถ่ายภาพเอกซเรย์ เมื่อได้มุมที่เหมาะสมแพทย์จะทำการฉีดซีเมนต์เข้าไปบริเวณกระดูกสันหลังที่ยุบ ซึ่งซีเมนต์ที่ฉีดเข้าไปจะช่วยสมานกระดูกที่ยุบตัว และทำให้ผู้ป่วยเจ็บปวดน้อยลงจนดีขึ้นได้
- ใช้บอลลูน (Kyphoplasty): การใช้บอลลูนในการรักษากระดูกหลังยุบเป็นวิธีการรักษาที่คล้ายคลึงกับการรักษาด้วยซีเมนต์ เพียงแต่ต่างกันตรงที่จะมีการนำบอลลูนใส่เข้าไปเพื่อคืนรูปกระดูกสันหลังก่อน จากนั้นจึงฉีดซีเมนต์เพื่อคงรูปของกระดูกเอาไว้นั่นเอง
กระดูกสันหลังยุบถือเป็นภาวะที่สร้างความทรมานและส่งผลต่อการใช้ชีวิตไม่น้อย การระมัดระวังตนเอง สังเกตอาการ และเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ พร้อมกับดูแลตัวเองด้วยการรับประทานอาหารที่ช่วยบำรุงกระดูก ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ เลี่ยงกิจกรรมที่อาจทำให้เกิดความเสี่ยงและตรวจสุขภาพประจำปีอยู่ตลอด ก็สามารถลดโอกาสเสี่ยงอีกทั้งช่วยให้อาการปวดหลังนั้นบรรเทาลง มีคุณภาพชีวิตที่ดี รวมถึงลดความเสี่ยงของการบาดเจ็บในอนาคตได้
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
กระดูกและข้อ ชั้น 4 โรงพยาบาลวิมุต
เวลาทำการ 08:00 - 20:00 น. โทร. 0-2079-0060
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์
ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ

แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง
เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

ระวังภัยร้ายจาก Work from home syndrome ถามหา
ถึงสถานการณ์จะกลับมาคลี่คลายแล้ว แต่หลายบริษัทยังคงให้ Work From Home อยู่เพื่อความปลอดภัย ซึ่งการทำงานจากบ้านที่ดูเหมือนจะสบายนั้น อาจสร้างปัญหาสุขภาพได้มากกว่าที่คิด

ทำอย่างไร เมื่อข้อไหล่ติด รบกวนชีวิตประจำวัน
ข้อไหล่ติด ปวดไหล่ ขยับไหล่แล้วเจ็บ หรือขยับไหล่ได้น้อยลงจนหลายคนใช้ชีวิตลำบาก วันนี้เรามีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับสาเหตุ อาการและวิธีรักษาข้อไหล่ติดโดยไม่ต้องผ่าตัดมาฝากกัน

ข้อเท้าแพลง รับมืออย่างไร
ข้อเท้าแพลง คือการบาดเจ็บบริเวณข้อเท้า ที่เกิดจากการบิด หมุน หรือพลิกเกินช่วงการเคลื่อนไหวปกติ ทำให้เอ็นบริเวณข้อเท้าเกิดการยืดออกมากจนเกินไป การบาดเจ็บมักเกิดบริเวณข้อเท้าด้านนอก หากรุนแรงมาก อาจส่งผลให้เอ็นเกิดการฉีดขาด มีอาการปวด บวม และสูญเสียความมั่นคงของข้อเท้า

5 ปัจจัยทำ ให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม
คุณเคยไหม ที่รู้สึกปวดเข่า เมื่อต้องขึ้นลงบันได หรือ มีเสียงดังก๊อบแก๊บที่เข่าเวลาเดิน นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคข้อเข่าเสื่อม จริง ๆ แล้ว ปัจจัยที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมมีอยู่มากมาย แต่วันนี้ขอนำเอาปัจจัย 5 ข้อสำคัญๆ ที่มีผลมากที่สุด มาให้ความรู้กันครับ

ระวังภัยร้ายจาก Work from home syndrome ถามหา
ถึงสถานการณ์จะกลับมาคลี่คลายแล้ว แต่หลายบริษัทยังคงให้ Work From Home อยู่เพื่อความปลอดภัย ซึ่งการทำงานจากบ้านที่ดูเหมือนจะสบายนั้น อาจสร้างปัญหาสุขภาพได้มากกว่าที่คิด

ทำอย่างไร เมื่อข้อไหล่ติด รบกวนชีวิตประจำวัน
ข้อไหล่ติด ปวดไหล่ ขยับไหล่แล้วเจ็บ หรือขยับไหล่ได้น้อยลงจนหลายคนใช้ชีวิตลำบาก วันนี้เรามีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับสาเหตุ อาการและวิธีรักษาข้อไหล่ติดโดยไม่ต้องผ่าตัดมาฝากกัน

ข้อเท้าแพลง รับมืออย่างไร
ข้อเท้าแพลง คือการบาดเจ็บบริเวณข้อเท้า ที่เกิดจากการบิด หมุน หรือพลิกเกินช่วงการเคลื่อนไหวปกติ ทำให้เอ็นบริเวณข้อเท้าเกิดการยืดออกมากจนเกินไป การบาดเจ็บมักเกิดบริเวณข้อเท้าด้านนอก หากรุนแรงมาก อาจส่งผลให้เอ็นเกิดการฉีดขาด มีอาการปวด บวม และสูญเสียความมั่นคงของข้อเท้า

5 ปัจจัยทำ ให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม
คุณเคยไหม ที่รู้สึกปวดเข่า เมื่อต้องขึ้นลงบันได หรือ มีเสียงดังก๊อบแก๊บที่เข่าเวลาเดิน นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคข้อเข่าเสื่อม จริง ๆ แล้ว ปัจจัยที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมมีอยู่มากมาย แต่วันนี้ขอนำเอาปัจจัย 5 ข้อสำคัญๆ ที่มีผลมากที่สุด มาให้ความรู้กันครับ

ข้อเท้าแพลง รับมืออย่างไร
ข้อเท้าแพลง คือการบาดเจ็บบริเวณข้อเท้า ที่เกิดจากการบิด หมุน หรือพลิกเกินช่วงการเคลื่อนไหวปกติ ทำให้เอ็นบริเวณข้อเท้าเกิดการยืดออกมากจนเกินไป การบาดเจ็บมักเกิดบริเวณข้อเท้าด้านนอก หากรุนแรงมาก อาจส่งผลให้เอ็นเกิดการฉีดขาด มีอาการปวด บวม และสูญเสียความมั่นคงของข้อเท้า

5 ปัจจัยทำ ให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม
คุณเคยไหม ที่รู้สึกปวดเข่า เมื่อต้องขึ้นลงบันได หรือ มีเสียงดังก๊อบแก๊บที่เข่าเวลาเดิน นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคข้อเข่าเสื่อม จริง ๆ แล้ว ปัจจัยที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมมีอยู่มากมาย แต่วันนี้ขอนำเอาปัจจัย 5 ข้อสำคัญๆ ที่มีผลมากที่สุด มาให้ความรู้กันครับ

ระวังภัยร้ายจาก Work from home syndrome ถามหา
ถึงสถานการณ์จะกลับมาคลี่คลายแล้ว แต่หลายบริษัทยังคงให้ Work From Home อยู่เพื่อความปลอดภัย ซึ่งการทำงานจากบ้านที่ดูเหมือนจะสบายนั้น อาจสร้างปัญหาสุขภาพได้มากกว่าที่คิด

ทำอย่างไร เมื่อข้อไหล่ติด รบกวนชีวิตประจำวัน
ข้อไหล่ติด ปวดไหล่ ขยับไหล่แล้วเจ็บ หรือขยับไหล่ได้น้อยลงจนหลายคนใช้ชีวิตลำบาก วันนี้เรามีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับสาเหตุ อาการและวิธีรักษาข้อไหล่ติดโดยไม่ต้องผ่าตัดมาฝากกัน