นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ รีบเช็กอาการเสี่ยง เลี่ยงการผ่าตัดได้

31 ส.ค. 66  | ศูนย์ระบบทางเดินปัสสาวะ
แชร์บทความ      

นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ รีบเช็กอาการเสี่ยง เลี่ยงการผ่าตัดได้

โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ อาจเป็นโรคแจ้งเกิดที่ทำให้หลายคนรู้จักกับคำว่า นิ่ว เป็นครั้งแรก เพราะนิ่วในปัสสาวะนับว่าเป็นโรคแรกๆ ที่คนให้ความสนใจและพูดถึงกันเป็นวงกว้าง ส่วนใหญ่มักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง เนื่องจากระบบทางเดินปัสสาวะของผู้ชายมีขนาดยาวและคดเคี้ยวกว่า ตะกอนนิ่วจึงมีโอกาสตกค้างได้มากกว่า และพบในผู้ใหญ่ได้มากกว่าเด็ก เพราะเด็กมีปริมาณสารยับยั้งการเกิดนิ่วและขับแคลเซียมในปัสสาวะต่ำกว่าผู้ใหญ่นั่นเอง ซึ่งอาการของโรคส่งผลต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก และเป็นอันตรายจนอาจถึงแก่ชีวิตได้เช่นกัน หากละเลยการดูแลรักษาร่างกายอย่างถูกต้อง วันนี้เรามาเรียนรู้อาการและแนวทางการรักษาโรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะให้มากขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดโรคให้มากที่สุดกัน 

อาการของโรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (Bladder Stone)

นิ่วในกระเพาะปัสสาวะนั้นมีหลากหลายอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของนิ่วและตำแหน่งที่นิ่วไปอุดกั้นอยู่ด้วย แต่อาการที่สามารถสังเกตได้มี ดังนี้ 

  1. ปวดท้องน้อย ในผู้ชายอาจมีอาการปวดในท่อปัสสาวะ หรือบริเวณอวัยวะเพศ
  2. ปัสสาวะลำบาก แสบขัด สะดุด ออกเป็นหยดๆ หรือปัสสาวะไม่ออก
  3. ปัสสาวะบ่อย
  4. ปัสสาวะมีเลือดปน
  5. ปัสสาวะขุ่น มีตะกอน หรือมีเศษนิ่วปนออกมา

อาการแทรกซ้อนอื่นๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น อาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด และเบื่ออาหาร และหากมีอาการอุดกั้นเป็นเวลานานอาจเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องจะทำให้เกิดภาวะไตวายได้ 

แนวทางและวิธีการรักษาโรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

การรักษานิ่วในกระเพาะปัสสาวะมีหลายวิธี ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการ รวมถึงชนิดของนิ่ว ตำแหน่งและขนาด โดยแพทย์จะเลือกใช้วิธีที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละบุคคล เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษา ดังนี้ 

  1. นิ่วขนาดเล็กมีโอกาสหลุดเองได้ แพทย์อาจแนะนำให้ดื่มน้ำมากขึ้นเพื่อช่วยเพิ่มโอกาสหลุด แต่การรอให้นิ่วหลุดเองก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น ในกรณีที่นิ่วไปอุดบริเวณท่อปัสสาวะอาจทำให้ปัสสาวะไม่ออก หรือมีอาการปวดรุนแรง
  2. รักษาด้วยการรับประทานยาสลายนิ่ว เพราะนิ่วบางชนิดที่มีขนาดเล็ก เช่น นิ่วกรดยูริก (Uric acid stones) สามารถสลายตัวได้ง่าย หรือสามารถหลุดออกมาเองได้ 
  3. การขบนิ่ว (Cystolitholapaxy) เป็นการรักษาโดยวิธีส่องกล้องผ่านท่อปัสสาวะ และใช้เครื่องมือขบนิ่วให้แตกเป็นเศษเล็กๆ แล้วล้างออกมา บางกรณีอาจใช้เลเซอร์ (Laser) หรืออัลตราซาวด์ (Ultrasound) ช่วยในการสลายนิ่วให้เป็นเศษเล็กๆ 
  4. การผ่าตัดนิ่วแบบเปิดแผลทางหน้าท้อง ใช้ในกรณีที่นิ่วมีขนาดใหญ่มากๆ หรือมีจำนวนมาก

การดูแลร่างกายและป้องกันให้ห่างไกลโรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

วิธีการดูแลรักษาร่างกายจึงเป็นวิธีการป้องกันโรคที่ดีที่สุด เพราะการดูแลที่ต้นเหตุอย่างแท้จริงจะสามารถลดโอกาสเกิดโรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะได้มากยิ่งขึ้น 

  1. ค้นหาภาวะที่เป็นสาเหตุของโรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ เช่น ภาวะต่อมลูกหมากโต ท่อปัสสาวะตีบ หรือกระเพาะปัสสาวะทำงานผิดปกติ เป็นต้น 
  2. ดื่มน้ำมากๆ อย่างน้อยวันละ 2 ลิตร หรือประมาณ 8 แก้ว ต่อวัน
  3. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ส่งผลให้เกิดนิ่ว เช่น อาหารที่มีโซเดียม หรือกรดยูริกสูง
  4. หลีกเลี่ยงการกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานๆ 
  5. ควรติดตามอาการหลังการรักษาเป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้อีกแม้ว่าจะรักษาเอานิ่วออกไปหมดแล้วก็ตาม 

ถึงแม้โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะจะสามารถรักษาให้หายได้ แต่ก็มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้อีกเช่นกัน อีกทั้งไม่ใช่โรคไกลตัวแต่อย่างใด ทุกคนสามารถเป็นโรคนี้ได้ทุกเพศทุกวัย ดังนั้นการดูแลรักษาร่างกายอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นแนวทางการหลีกเลี่ยงการเกิดโรคได้ดีที่สุด เพียงปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้นก็ห่างไกลจากโรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะได้แล้ว 

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่ 

ศูนย์ระบบทางเดินปัสสาวะ ชั้น 4 โรงพยาบาลวิมุต 

เวลาทำการ 08.00-20.00 น. โทร. 0-2079-0040 

หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์

 


 

ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ

ผู้เขียน
นพ. วิชญะ ปริพัฒนานนท์

เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
ขลิบหนังหุ้มปลายเพศชาย ไม่อันตรายและเจ็บปวดอย่างที่คิด

การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย ทำแล้วมีประโยชน์ยังไง ปลอดภัย เจ็บน้อย ไร้เลือดได้จริงไหม และหลังขลิบปลาย ต้องดูแลตัวเองอย่างไร วันนี้คุณหมอผู้เชี่ยวชาญจะมาให้คำตอบทุกข้อสงสัย

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ หรือ โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ (Erectile Dysfunction)

จะให้กล่าวถึงสาเหตุของภาวะองคชาติไม่แข็งตัว ส่วนใหญ่สาเหตุการเกิดปัญหาเหล่านี้จะแตกต่างกันในแต่ละช่วงอายุ โดยหากเป็นในช่วงวัยรุ่นหรือวัยทำงาน ส่วนใหญ่เกือบจะ 100%

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคฮิต! มนุษย์ออฟฟิศต้องรู้

ฉี่ไม่ออก แสบขัด กลั้นไม่อยู่ อาการแบบนี้ต้องระวังกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะอักเสบ บทความนี้ชวนคุณมาดูอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ พร้อมวิธีดูแลและป้องกันให้ถูกวิธี

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
มะเร็งต่อมลูกหมาก ตรวจพบเร็ว ก็รักษาให้หายได้

มะเร็งต่อมลูกหมาก โรคร้ายในคุณผู้ชายที่ตรวจพบเร็วสามารถรักษาให้หายได้! มาทำความเข้าใจและเช็กอาการของมะเร็งต่อมลูกหมากกัน พร้อมแพ็กเกจตรวจหาความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมากในราคาพิเศษได้ที่นี่

อ่านเพิ่มเติม

แนะนำแพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง