เมนูผู้ป่วยโรคไต กินอย่างไรให้ปลอดภัยแต่ยังอร่อยได้

20 มิ.ย. 66  | ศูนย์อายุรกรรม
แชร์บทความ      

เมนูผู้ป่วยโรคไต กินอย่างไรให้ปลอดภัยแต่ยังอร่อยได้

ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพการทำงานของไตลดลง มักจะพบว่าเป็นผู้ป่วยโรคไตวาย โรคไตเรื้อรัง หรือโรคไตวายเฉียบพลัน เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้จำเป็นต้องมีการจำกัดและหลีกเลี่ยงอาหารบางชนิด เนื่องจากไตไม่สามารถทำงานได้ปกติ ดังนั้นเพื่อลดภาระการทำงานหนักของไตในการทำหน้าที่ขับของเสียออกจากร่างกาย และให้ได้โภชนาการอาหารที่เพียงพอ รวมถึงลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ผู้ป่วยโรคไตจึงต้องให้ความสำคัญกับการควบคุมอาหารให้อยู่ในหลักโภชนาการที่ถูกต้อง วันนี้เราจึงอยากให้คุณทราบถึงประโยชน์ของการคุมอาหาร พร้อมแนะนำเมนูอาหารผู้ป่วยโรคไตเพื่อเป็นแนวทางการเลือกรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง จะมีเมนูไหนเป็นจานโปรดของคุณบ้างตามไปดูกัน 

ทำไมผู้ป่วยโรคไตจึงต้องคุมอาหาร

การคุมอาหารเป็นหัวใจหลักในการชะลอความเสื่อมของโรคไตวายเรื้อรังได้ดี หากไม่ควบคุมอาหารให้เหมาะสม สุขภาพของผู้ป่วยโรคไตจะเสื่อมเร็วขึ้น เพราะไตต้องทำงานหนักและกำจัดของเสียออกจากร่างกายได้น้อยลงส่งผลให้ผู้ป่วยอาจมีอาการตัวบวม ช็อก หมดสติ และอาจเกิดโรคหรือภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา ส่งผลให้อาการของโรคเข้าสู่ระยะรุนแรงเร็วขึ้น 

ดังนั้น ผู้ป่วยโรคไตควรเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมและมีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยสารอาหารที่ต้องควบคุมการรับประทานเป็นพิเศษ คือ อาหารประเภทโปรตีนและแร่ธาตุต่างๆ เช่น โพแทสเซียม โซเดียม ฟอสฟอรัส เพื่อช่วยให้ไตทำงานไม่หนักเกินไปในการกรองของเสียออกจากร่างกาย

ประโยชน์ของการควบคุมอาหารของผู้ป่วยโรคไต

การใส่ใจเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพของผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวจะเอื้อให้การรักษาโรคต่างๆ มีประสิทธิภาพดีขึ้น อีกทั้งช่วยลดความเสี่ยงต่ออาการที่รุนแรง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคไตที่ต้องควบคุมอาหารตามโภชนาการที่ถูกต้องจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วย ดังนี้

  • ชะลอความเสื่อมของไตให้ช้าลง
  • ป้องกันการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ
  • ลดการค้างของของเสียในเลือดที่นำไปสู่การเสียชีวิต
  • ยืดระยะเวลาการฟอกไตออกไป
  • ป้องกันการขาดสารอาหาร 
  • รักษาภาวะโภชนาการของผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด

แนะนำโภชนาการอาหารผู้ป่วยโรคไต กินแบบไหนได้บ้าง ?

ผู้ป่วยโรคไตจำเป็นต้องมีการควบคุมอาหารเพื่อให้ได้รับสารอาหารที่จำเป็นให้ได้มากที่สุด และเหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย เพื่อการรักษาที่ได้ประสิทธิภาพและผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ดังนี้

  1. เนื้อสัตว์ เนื้อปลา ที่ไม่ติดมัน เนื้อไก่ส่วนสันใน อกไก่ลอกหนังออก สันใน สันนอกหมู ที่ตัดส่วนไขมันออก
  2. ข้าว วุ้นเส้น เส้นเซี่ยงไฮ้ 
  3. ไข่ขาว
  4. ดื่มน้ำเปล่า
  5. ใช้น้ำมันรำข้าวเป็นหลักในการผัด ใช้น้ำมันให้น้อยที่สุดในเมนูทอด น้ำมันอื่นๆ ที่สามารถใช้ได้ ได้แก่ น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันงา น้ำมันมะกอก 
  6. ผักและผลไม้สีอ่อน หรือผลไม้ที่มีโพแทสเซียมต่ำ เช่น ชมพู่ แอปเปิ้ล องุ่น กะหล่ำปลี ผักกาดขาว

แนะนำเมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต อร่อยได้ง่ายๆ ช่วยคุมอาหาร

ตัวอย่างเมนูที่ผู้ป่วยโรคไตกินได้ 

  • ไก่ผัดพริกขิง : ใช้ไก่ในส่วนที่เป็นน่องหลีกเลี่ยงส่วนที่มีพิวรีนสูง ขิงช่วยลดระดับไขมันและคอเลสเตอรอล 
  • มะระจีนผัดไข่ : มะระจีนเป็นผักที่ผู้ป่วยโรคไตกินได้ ไข่ไก่ให้สารอาหารโปรตีนดี 
  • ผัดเปรี้ยวหวานหมู : ใช้หมูไม่ติดมันและใช้ผักที่มีโพแทสเซียมต่ำอย่าง แตงกวา เห็ด กะหล่ำปลี
  • แกงส้มปลา : ใช้น้ำมันรำข้าว ปลา 1 ช้อนโต๊ะ เติมผักที่มีโพแทสเซียมต่ำ เช่น ดอกแค มะละกอดิบ 
  • วุ้นเส้นไก่ : ใช้วุ้นเส้นเป็นการจำกัดโปรตีนให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม และใช้ไก่ 2 ช้อนโต๊ะ น้ำมันรำข้าว ผักกาดขาว  
  • ผัดบวบใส่ไข่ : บวบเป็นผักที่มีโพแทสเซียมต่ำและไข่ไก่ให้โปรตีนดีในปริมาณที่เหมาะสม
  • โจ๊กไข่ขาว : ไข่ขาวให้โปรตีนที่มีกรดอะมิโนครบถ้วน และยังมีโพแทสเซียมและฟอลฟอรัสต่ำ อาจเติมเนื้อปลาลงไปเพื่อเสริมรสชาติและประโยชน์ที่มากขึ้น 

นอกจากการรังสรรค์เมนูให้ได้สารอาหารครบถ้วนและมีประโยชน์ต่อร่างกายผู้ป่วยแล้ว อย่าลืมข้อสำคัญในการปรุงอาหารให้ลดการใช้เครื่องปรุงรสที่มีรสเค็มมากเกินไป และควรปรุงให้อยู่ในระดับพอดีต่อการรับรส

เกร็ดความรู้เพิ่มเติม…

➕ ผู้ป่วยโรคไตไม่ควรบริโภคโซเดียมเกินวันละ 2 กรัม

➕ อาหารเค็มโซเดียมสูงที่ผู้ป่วยโรคไตควรหลีกเลี่ยง มีดังนี้ เครื่องปรุงรสต่างๆ เช่น น้ำปลา เกลือ กะปิ ซีอิ้วขาว ผงชูรส, อาหารแปรรูป แฮม ไส้กรอก, อาหารหมักดอง, อาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง เช่น ไข่แดง หอยนางรม ปลาหมึก, อาหารที่มีส่วนผสมของครีม เนย เนยแข็ง เช่น แซนวิชชีส ไส้กรอกชีส และอาการที่มีโปรแตสเซียมมาก เช่น ถั่วเม็ดแห้ง ลูกเกด ลูกพรุน เป็นต้น

การควบคุมอาหารเป็นหัวใจสำคัญในการชะลอความเสื่อมของไตได้เป็นอย่างดี เพราะช่วยลดการทำงานหนักของไตได้โดยตรง และยืดระยะเวลาการใช้งานของไตออกไปมากขึ้น นอกจากเรื่องอาหารแล้วผู้ป่วยโรคไตยังต้องให้ความสำคัญกับการใส่ใจดูแลเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานหนักของไตให้ดีไปพร้อมๆ กันได้ เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม และพยายามไม่เครียด เพื่อเป็นการชะลอความเสื่อมของไตอย่างสมบูรณ์

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ปรึกษาโรคไต ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 3 โรงพยาบาลวิมุต 

เวลาทำการ 08.00 - 16.00 น. เฉพาะวันเสาร์ เวลาทำการ 08.00 - 20.00 น. โทร. 0-2079-0030 

หรือปรึกษาฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ศูนย์ไตเทียม ชั้น 9 โรงพยาบาลวิมุต 

เวลาทำการ 07.00 - 20.00 น. โทร. 0-2079-0076 

หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์

ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ

ผู้เขียน
พญ.วณิสา กาละศรี อายุรแพทย์ผู้ชำนาญการโรคไต

เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ… จำเป็นแค่ไหน ?

วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ จำเป็นต้องฉีดไหม ฉีดแล้วช่วยป้องกันโรคปอดอักเสบได้จริงหรือไหม มาดูคำตอบได้ที่นี่ว่าทำไมผู้สูงอายุถึงควรฉีดวัคซีนนี้กัน

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
6 วัคซีนสำหรับผู้สูงอายุ ที่แนะนำให้ลูกหลานพาไปฉีด

เปิดคำแนะนำการฉีดวัคซีนผู้สูงอายุ วัคซีนอะไรบ้างที่ควรฉีดอัปเดตข้อมูลปี 2566 เพื่อลดอัตราเสี่ยงการเสียชีวิตและบรรเทาอาการหนักให้เบาลง กับ 6 วัคซีนนี้เลยที่เรารวมข้อมูลมาให้แล้ว

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
หายป่วยลองโควิดได้ หายขาดด้วยโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด

โควิดที่ว่าน่ากลัว ยังไม่เท่าลองโควิด มาตรวจเช็กปอดและร่างกายให้เท่าทันโรค กับโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด เพื่อการฟื้นฟูและการดูแลตัวเองได้อย่างรวดเร็ว

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
รวมสารพัดเมนูอาหาร เพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ

รวมสารพัดเมนูอาหารเพื่อผู้สูงอายุ ควรกินอะไรดี ใครนึกไม่ออก เรารวมให้แล้วที่นี่ กับเมนูอาหารและโภชนาการเพื่อผู้สูงอายุ ที่ช่วยดูแลสุขภาพและบำรุงร่างกายให้แข็งแรงอย่างยั่งยืน

อ่านเพิ่มเติม

แนะนำแพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง