หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อันตรายแค่ไหน?

10 เม.ย. 66  | ศูนย์กระดูกและข้อ
แชร์บทความ      

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อันตรายแค่ไหน?

หลายคนเมื่อเข้าสู่วัยทำงานแล้วคงจะเคยพบกับอาการปวดหลัง ปวดคอ บ่า ไหล่ กันมาบ้างใช่ไหม? ซึ่งบางครั้งเราก็เลือกที่จะแก้ปัญหาง่ายๆ เพียงแค่กินยาแก้ปวดแล้วก็หายไปชั่วคราว จนหลายครั้งอาการปวดเหล่านี้รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของเรา แต่จะสามารถแยกได้อย่างไรว่าอาการปวดแบบไหนคือการปวดกล้ามเนื้อปกติ และปวดระดับไหนถึงจะเรียกว่าหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทจะมีวิธีการรักษาได้หรือไม่? มาหาคำตอบไปพร้อมกัน 

สาเหตุของอาการของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเป็นโรคที่เกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน แต่ส่วนใหญ่เกิดจาก

  • อายุที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ความเสื่อมของร่างกายตามมาเช่นกัน 
  • ชอบทำกิจกรรมโลดโผนเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ 
  • พนักงานออฟฟิศที่นั่งท่าเดิมนานๆ ทำให้กระดูกบางส่วนต้องรับน้ำหนักมากเป็นเวลานาน 

พฤติกรรมเหล่านี้สามารถส่งผลให้เกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้ทั้งหมด

ปกติแล้วหมอนรองกระดูกจะอยู่ระหว่างข้อต่อแต่ละข้อของกระดูก มีหน้าที่ช่วยรับน้ำหนักและแรงที่ส่งผ่านมาจากกระดูกสันหลังชิ้นบน ช่วยทำให้เกิดการเคลื่อนไหวได้ และเมื่อมีการแตกหักของหมอนรองกระดูกสันหลัง ทำให้ชิ้นส่วนด้านในเคลื่อนออกมาทับเส้นประสาทไขสันหลัง ซึ่งสามารถเกิดได้ทุกส่วนของกระดูกสันหลัง ตั้งแต่ส่วนคอจนถึงส่วนของสะโพก โดยมีอาการปวด ชา อ่อนแรงตามมา

 

อาการที่สามารถสังเกตได้

หากคุณกำลังสงสัยว่าตัวเองมีอาการเข้าข่ายโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทหรือไม่ สามารถสังเกตได้ ดังนี้ 

  1. ปวดบริเวณเอว มีอาการปวดๆ หายๆ 
  2. ปวดสะโพกร้าวลงขา
  3. เดินนาน มักเป็นตะคริว 
  4. มีปัญหาการควบคุมการขับถ่าย 
  5. ขาชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง 
  6. ปวดหลังลงสะโพก

 

พฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

  1. การยกของหนักในท่าทางที่ไม่ถูกต้องบ่อยๆ  
  2. น้ำหนักตัวที่มากเกินไป 
  3. นั่งหรือยืนนานๆ อยู่ท่าเดียว 
  4. อุบัติเหตุและได้รับบาดเจ็บบริเวณกระดูกสันหลัง 
  5. อายุที่มากขึ้น ทำให้อวัยวะส่วนอื่นๆ ในร่างกายเสื่อมถอยตามไปด้วย 

ระดับความรุนแรงของอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

ระดับความรุนแรงในแต่ละระยะจะแตกต่างกันตามอาการ 

  • ระยะแรกเริ่ม มีอาการปวดหลังเป็นๆ หายๆ จนปวดบ่อยขึ้นเรื่อยๆ 
  • ระยะกลาง หมอนรองระดูกเริ่มเคลื่อนกดเบียดกับเส้นประสาท เกิดอาการปวดร้าว ปวดสะโพกร้าวลงขา หรือปวดคอร้าวลงแขน 
  • ระยะรุนแรง มีอาการปวดมากขึ้นและอาการชาร่วมด้วย อ่อนแรง เส้นประสาทอักเสบและเสี่ยงที่จะพิการได้

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของกระดูกสันหลัง พบมากในคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป จึงไม่ควรออกแรงกับกิจกรรมในชีวิตประจำวันมากเกินไป หากออกแรงมากและเคลื่อนไหวเร็ว อาจทำให้กระดูกสันหลังทับเส้นประสาทแบบเฉียบพลันได้ แต่โรคนี้ยังสามารถรักษาได้ในหลายวิธี สำหรับผู้ที่มีอาการปวดหลัง สงสัยและกังวล ให้ลองสังเกตอาการเบื้องต้นของตนเองก่อน ถ้าปวดเรื้อรังมานานเกิน 1 เดือน แนะนำให้พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันทีเพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด

เรียบเรียงโดย นพ. ปฐมฉัฐ พิสิฐวัฒนาภรณ์ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่ 
ศูนย์กระดูกและข้อ ชั้น 4  โรงพยาบาลวิมุต

เวลา 08.00-20.00 น. โทร 02-079-0060

หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์

ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ


แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
นพ.ปฐมฉัฐ
พิสิฐวัฒนาภรณ์
ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านออร์โธปิดิกส์

เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
ข้อเท้าแพลง รับมืออย่างไร

ข้อเท้าแพลง คือการบาดเจ็บบริเวณข้อเท้า ที่เกิดจากการบิด หมุน หรือพลิกเกินช่วงการเคลื่อนไหวปกติ ทำให้เอ็นบริเวณข้อเท้าเกิดการยืดออกมากจนเกินไป การบาดเจ็บมักเกิดบริเวณข้อเท้าด้านนอก หากรุนแรงมาก อาจส่งผลให้เอ็นเกิดการฉีดขาด มีอาการปวด บวม และสูญเสียความมั่นคงของข้อเท้า

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
5 ปัจจัยทำ ให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม

คุณเคยไหม ที่รู้สึกปวดเข่า เมื่อต้องขึ้นลงบันได หรือ มีเสียงดังก๊อบแก๊บที่เข่าเวลาเดิน นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคข้อเข่าเสื่อม จริง ๆ แล้ว ปัจจัยที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมมีอยู่มากมาย แต่วันนี้ขอนำเอาปัจจัย 5 ข้อสำคัญๆ ที่มีผลมากที่สุด มาให้ความรู้กันครับ

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
ระวังภัยร้ายจาก Work from home syndrome ถามหา

ถึงสถานการณ์จะกลับมาคลี่คลายแล้ว แต่หลายบริษัทยังคงให้ Work From Home อยู่เพื่อความปลอดภัย ซึ่งการทำงานจากบ้านที่ดูเหมือนจะสบายนั้น อาจสร้างปัญหาสุขภาพได้มากกว่าที่คิด

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
ทำอย่างไร เมื่อข้อไหล่ติด รบกวนชีวิตประจำวัน

ข้อไหล่ติด ปวดไหล่ ขยับไหล่แล้วเจ็บ หรือขยับไหล่ได้น้อยลงจนหลายคนใช้ชีวิตลำบาก วันนี้เรามีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับสาเหตุ อาการและวิธีรักษาข้อไหล่ติดโดยไม่ต้องผ่าตัดมาฝากกัน

อ่านเพิ่มเติม

แนะนำแพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง