เช็ดตัวลดไข้ เรื่องง่ายๆ ที่น้อยคนจะทำถูกต้อง

22 มิ.ย. 66  | ศูนย์กุมารเวช
แชร์บทความ      

เช็ดตัวลดไข้ เรื่องง่ายๆ ที่น้อยคนจะทำถูกต้อง

การเช็ดตัวลดไข้ เชื่อว่าหลายๆ คนน่าจะเคยทำกันมาบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครองที่ต้องดูแลลูกๆ หรือการดูแลปฐมพยาบาลลดไข้ให้ผู้อื่น นับว่าเป็นเรื่องที่จะเรียกว่าง่ายก็ไม่ใช่ หรือจะยากก็ไม่เชิง เพราะการเช็ดตัวลดไข้ของแต่ละคนก็มีวิธีการที่แตกต่างกัน แต่จะทราบได้อย่างไรว่าที่เราเคยทำเป็นวิธีที่ถูกต้องแล้วหรือยัง? เพื่อช่วยระบายความร้อนออกจากร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพและไข้ลดลงเร็วขึ้น วันนี้เรามาเรียนรู้วิธีการเช็ดตัวลดไข้ที่ถูกต้อง รวมถึงอุปกรณ์ที่ต้องเตรียมพร้อมได้จากบทความนี้

ความสำคัญของการเช็ดตัวลดไข้

การเช็ดตัวลดไข้มีความหมายตรงตัว ด้วยเพราะเป็นวิธีการทำให้ไข้หรือความร้อนในร่างกายลดลงโดยใช้น้ำเป็นตัวช่วยพาความร้อนออกจากร่างกาย การเช็ดตัวลดไข้อย่างถูกวิธีช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และช่วยเพิ่มการระบายความร้อนออกจากร่างกาย ซึ่งหากอุณหภูมิในร่างกายยังคงที่ ไม่ลดลงภายหลังจากเช็ดตัวลดไข้ หรือมีไข้สูงต่อเนื่อง อาจส่งผลให้เกิดอาการชักได้

อุปกรณ์ที่ใช้ในการเช็ดตัวลดไข้มีอะไรบ้าง ?

  1. กะละมังเพื่อใส่น้ำ 
  2. ผ้าสำหรับถูตัวให้เปียก 2 ผืน
  3. ผ้าสำหรับเช็ดตัวให้แห้ง 2 ผืน 
  4. กระเป๋าน้ำร้อนและน้ำแข็ง อย่างละ 1 ใบ 
  5. ปรอทวัดไข้

การเช็ดตัวลดไข้เด็กทารก มีวิธีการดังนี้

  1. ล้างมือให้สะอาดและทำการถอดเสื้อผ้าเด็ก ควรอยู่ในห้องที่ไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป ปิดพัดลมหรือแอร์
  2. ใช้น้ำอุณหภูมิห้องหรืออุ่นเล็กน้อย ห้ามใช้น้ำเย็น 
  3. ใช้ผ้าขนหนูผืนเล็กชุบน้ำและบิดหมาดๆ เช็ดตัวทารก โดยเริ่มจากใบหน้า ซอกคอ และหน้าผาก ตามด้วยแขน ขา หลังและก้นเด็ก แทรกผ้าไว้ตามข้อพับต่างๆ เช่น รักแร้ ซอกคอ โดยให้เช็ดย้อนรูขุมขน หรือเช็ดเข้าหาหัวใจ
  4. ใช้ปรอทวัดไข้ เมื่อไข้ลดลงแล้วจึงเช็ดตัวด้วยผ้าขนหนูที่แห้งอีกครั้ง สวมใส่เสื้อผ้าที่ไม่หนาเกินไปและสบายตัว
  5. เช็กอุณหภูมิด้วยการวัดไข้ทุกๆ 30 นาที หากไข้ยังไม่ลดให้เช็ดตัวซ้ำ พร้อมกับรับประทานยาลดไข้ร่วมด้วย ตามขนาดและเวลาที่เหมาะสม 

การเช็ดตัวลดไข้เด็กโตและผู้ใหญ่ มีวิธีการดังนี้

  1. อยู่ในห้องที่ไม่ร้อน อากาศถ่ายเทได้ดีและควรปิดแอร์ขณะเช็ดตัว
  2. เตรียมน้ำอุณหภูมิห้องและผ้าเช็ดตัว
  3. ถอดเสื้อผ้าออกและใช้ผ้าชุบน้ำบิดหมาดๆ 
  4. เริ่มเช็ดที่บริเวณใบหน้า ซอกคอ และหน้าผากก่อน
  5. เช็ดที่หน้าอก ลำตัว แขน ขา และรักแร้ตามลำดับ โดยให้เช็ดย้อนรูขุมขน หรือเช็ดเข้าหาหัวใจ
  6. ให้ผู้ป่วยนอนตะแคง แล้วเช็ดบริเวณหลังถึงก้นกบ
  7. พักผ้าไว้บริเวณศีรษะ ซอกคอ ซอกรักแร้ และขาหนีบ
  8. นำผ้าขนหนูที่แห้งเช็ดซ้ำอีกที และสวมใส่เสื้อผ้าที่สบายตัว 

คำแนะนำเพิ่มเติม

  • ควรเช็ดตัวลดไข้ประมาณ 10 -20 นาที
  • ทำการวัดไข้หลังจากเช็ดตัวเสร็จ 15 - 30 นาที เพื่อตรวจวัดว่าไข้ลดลงหรือไม่ 
  • หากยังมีอาการไข้สูง หนาวสั่น ควรเช็ดตัวลดไข้ต่อ 

การเช็ดตัวลดไข้นอกจากจะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถลดอุณหภูมิในร่างกายลงได้แล้ว ยังช่วยให้ผู้ป่วยมีความผ่อนคลายมากขึ้น และยังลดความเสี่ยงต่ออาการที่รุนแรงอีกด้วย เพื่อการลดไข้อย่างสมบูรณ์แบบจึงควรให้ความสำคัญกับการดูแลร่างกายในด้านอื่นๆ ควบคู่กันไปด้วย เช่น การดื่มน้ำให้เพียงพอ รับประทานยาลดไข้ในขนาดและปริมาณที่เหมาะสม พักผ่อนให้เพียงพอจนกว่าไข้จะลดลง และต้องคอยหมั่นสังเกตอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ตรวจวัดอุณหภูมิอยู่เสมอเพื่อความปลอดภัย แต่หากมีอาการไข้สูงอย่างต่อเนื่องหรือไข้ไม่ลดลงควรรีบพบแพทย์ทันที   

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์กุมารเวช ชั้น 3  โรงพยาบาลวิมุต 

เวลาทำการ 08.00 - 20.00 น. โทร. 0-2079-0038

หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์

ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ

ผู้เขียน
นพ. ฐากูร วิริยะชัย กุมารแพทย์ผู้ชำนาญการโรคติดเชื้อในเด็ก

เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
ลูกของคุณเสี่ยงมีพฤติกรรมคล้าย-ออทิสติกหรือไม่?

พฤติกรรมคล้ายออทิสติกหรือในสื่อสังคมมักเรียกว่า “ออทิสติกเทียม” เป็นภาวะที่เด็กขาด “การกระตุ้น” ในการสื่อสารสองทางโรคออทิสติก เกิดจากความผิดปกติของสมองเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ในขณะที่อาการออทิสติกเทียมจะเกิดจาก "ขาดการกระตุ้น" เป็นหลัก

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
เตรียมลูกรักให้ Ready เมื่อเปิดเทอมนี้ Covid มาเยือน

ช่วงที่ลูกต้องเรียนออนไลน์คุณพ่อแม่ก็วุ่นวายไปอีกแบบ แต่พอลูกน้อยไปโรงเรียนในสภาวะแบบนี้ความวุ่นวายก็กลับกลายเป็นความกังวล

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
ลูกนอนกรน…อาการที่ไม่ควรมองข้าม เสี่ยงหยุดหายใจขณะหลับ

เสียงนอนกรน เกิดจากช่องทางเดินหายใจส่วนต้นของเราตีบแคบขณะนอนหลับ ทำให้ลมหายใจไหลผ่านได้อย่างลำบาก โดยสาเหตุการนอนกรนในเด็กส่วนใหญ่ เกิดจากขนาดต่อมทอนซิลและ/หรือต่อมอะดีนอยด์ที่โต จนเบียดบังทางเดินหายใจส่วนต้นของเด็ก ซึ่งพบบ่อยในเด็กก่อนวัยเรียนจนถึงอายุประมาณ 8 ปี

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
ส่องสุขภาพเด็กอ้วนที่น่ารัก กับความอันตรายที่แอบแฝง

ในเด็กอ้วนที่ดูน่ารัก อาจกำลังเป็นเด็กที่เสี่ยงกับโรคอ้วนในเด็กได้ ชวนคุณพ่อคุณแม่มาดูอันตรายแฝงที่แอบซ่อนอยู่ในเด็กอ้วน พร้อมแนวทางการรักษากันได้ที่นี่

อ่านเพิ่มเติม