หลายคนคงจะคุ้นเคยและรู้จักกับ “นิ่ว” กันอยู่แล้ว ซึ่งเป็นก้อนหินปูนหรือก้อนผลึกที่ตกตะกอนอยู่ในระบบทางเดินปัสสาวะ โดยเฉพาะ “นิ่วในไต” ที่หากปล่อยทิ้งไว้นานและไม่รักษาจะสะสม และมีขนาดใหญ่ขึ้นจนเกิดการติดเชื้อได้! ซึ่งเพศชายจะมีโอกาสพบมากกว่าเพศหญิง และพบมากในช่วงอายุ 30-40 ปี ใครที่กำลังมีอาการปวดหลัง ปวดท้องบิดรุนแรง หรือติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะบ่อยๆ ลองมาเช็กความเสี่ยงของโรคนิ่วในไตไปพร้อมกันที่บทความนี้!
นิ่วในไตเกิดจากอะไร ทำไมเกิดขึ้นที่ไต?
นิ่วในไต มีสาเหตุหลักมาจากปัสสาวะมีสารบางชนิดมากเกินไป เช่น แคลเซียม ออกซาเลต และกรดยูริก จนเกิดการตกตะกอน ก่อตัวกลายเป็นนิ่วและโตอยู่ในไต ส่วนใหญ่จึงมักพบนิ่วในไต และมีโอกาสไหลลงมาติดอยู่กับท่อไต หรือหากมีขนาดเล็กก็จะสามารถหลุดออกมากับปัสสาวะได้ ซึ่งสาเหตุที่ปัสสาวะของคนเราจะมีสารดังกล่าวสะสมในปริมาณมากผิดปกติ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะปัจจัยเหล่านี้ร่วมด้วย
- กินอาหารที่มีแคลเซียมสูง โซเดียมสูง หรือโปรตีนสูงเป็นประจำ
- ดื่มน้ำน้อยเป็นประจำ
- เกิดจากโรคบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน ต่อมพาราไทรอยด์ผิดปกติ
- รับประทานยาหรืออาหารเสริมบางชนิดมากเกินไป
- กลั้นปัสสาวะบ่อยๆ
- ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะบ่อยๆ
- ภาวะแทรกซ้อนจากการเป็นโรคเกาต์
- พันธุกรรม คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคนิ่วในไต
สัญญาณเตือนนิ่วในไต! อาการเสี่ยงที่ต้องคุณต้องเช็ก!
โรคนิ่วในไตช่วงแรกที่มีการสะสมของแร่ธาตุจะไม่ค่อยแสดงอาการออกมาชัดเจน แต่หากเริ่มมีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะจะส่งผลให้ไตเกิดการอักเสบจนนำไปสู่โรคไตวายเรื้อรังได้! ซึ่งอาการที่เป็นสัญญาณของโรคนิ่วในไตที่สามารถสังเกตได้มี ดังนี้
- มีอาการปวดบริเวณเอวด้านหลังที่เป็นตำแหน่งของไต และอาการปวดไม่สามารถหายได้เองหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง
- มีอาการระคายเคืองเมื่อกำลังปัสสาวะ รู้สึกขัดปัสสาวะกะปริดกะปรอย หรือปวดท้องรุนแรง ซึ่งจะพบอาการเหล่านี้หากนิ่วลงมาอุดตันบริเวณท่อไตกับกระเพาะปัสสาวะ
- มีอาการไข้ร่วมด้วยในกรณีที่เกิดการติดเชื้อแทรกซ้อน
- ปัสสาวะอาจมีสีขุ่นแดง หรือมีเศษก้อนกรวดของนิ่วที่แตกออกมา
- คลื่นไส้ อาเจียน
วิธีการรักษาโรคนิ่วในไต
เนื่องจากโรคนิ่วในไตเป็นการสะสมแร่ธาตุแข็งภายในระบบทางเดินปัสสาวะ จนกว่าจะเกิดเป็นก้อนนิ่วตามมา จึงถือว่าเป็นโรคที่ต้องอาศัยระยะเวลาในการดำเนินโรค วิธีการรักษาจึงเป็นการวินิจฉัยหาระดับอาการของโรคและเลือกใช้วิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน
- รักษาด้วยยา วิธีนี้เหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการปวดเล็กน้อย และมีนิ่วขนาดเล็ก ไม่มีอาการอักเสบรุนแรง
- รักษาด้วยเครื่องสลายนิ่ว เหมาะสำหรับรักษาผู้ป่วยที่มีนิ่วในไต หรือท่อไตขนาดปานกลาง ขนาด 2-3 ซม.
- รักษาด้วยการส่องกล้อง เหมาะกับผู้ป่วยที่มีนิ่วเกิดขึ้นได้ไม่นานมาก โดยเป็นการสอดกล้องเข้าไปตามท่อปัสสาวะเพื่อคีบ ขบ กรอนิ่ว ในกระเพาะปัสสาวะและท่อไต หรือการเจาะผ่านผิวหนังด้านข้างไต เพื่อสอดใส่กล้องเข้าไปทำการสลายนิ่วให้เล็กลงก่อนจะดูดออก
- รักษาด้วยการผ่าตัด เหมาะกับผู้ป่วยที่มีนิ่วขนาดใหญ่และรักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผล เช่น นิ่วเขากวางในไต นิ่วที่ติดแน่นอยู่ในท่อไต มีอาการอักเสบรุนแรงจนต้องรีบผ่าตัดเอานิ่วออกไป
แค่ปรับพฤติกรรม! ป้องกันโรคนิ่วในไตได้
วิธีป้องกันโรคนิ่วในไตให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุดคือ การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดการตกตะกอนของแร่ธาตุ จนกลายเป็นก้อนนิ่ว โดยสามารถทำตามคำแนะนำต่อไปนี้…
- ดื่มน้ำให้มากขึ้น หรือมากกว่าวันละ 2-3 ลิตร
- กินอาหารที่มีประโยชน์และมีสารอาหารครบถ้วนอย่างเป็นสัดส่วน ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดยูริกและสารออกซาเลตสูง เช่น เนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูง อาหารหวานและเค็มมาก
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- ไม่กลั้นปัสสาวะนานๆ เพราะอาจทำให้ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและก่อให้เกิดนิ่วเพิ่มขึ้นได้
- ควรรับประทานอาหารเสริมหรือวิตามินในปริมาณที่เหมาะสม หรือตามแพทย์แนะนำ
ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นว่านิ่วมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน ซึ่งนิ่วในไตในระยะแรกที่ไม่มีความรุนแรงมากสามารถดื่มน้ำให้มากขึ้นเพื่อขับนิ่วออกจากร่างกายผ่านปัสสาวะได้ แต่หากปล่อยไว้ไม่รักษาจก้อนนิ่วอาจเข้าไปอุดตันท่อปัสสาวะ และเกิดการติดเชื้อลุกลามกลายเป็นโรคอันตรายอื่นๆ ได้ อย่างไรก็ตามหากคุณพบอาการผิดปกติและกำลังสงสัยว่าอาจเข้าข่ายโรคนิ่วในไต ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์ระบบทางเดินปัสสาวะ ชั้น 4 โรงพยาบาลวิมุต
เวลาทำการ 08:00 - 20:00 น. โทร. 0-2079-0040
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์
ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ

แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง
เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคฮิต! มนุษย์ออฟฟิศต้องรู้
ฉี่ไม่ออก แสบขัด กลั้นไม่อยู่ อาการแบบนี้ต้องระวังกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะอักเสบ บทความนี้ชวนคุณมาดูอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ พร้อมวิธีดูแลและป้องกันให้ถูกวิธี

มะเร็งต่อมลูกหมาก ตรวจพบเร็ว ก็รักษาให้หายได้
มะเร็งต่อมลูกหมาก โรคร้ายในคุณผู้ชายที่ตรวจพบเร็วสามารถรักษาให้หายได้! มาทำความเข้าใจและเช็กอาการของมะเร็งต่อมลูกหมากกัน พร้อมแพ็กเกจตรวจหาความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมากในราคาพิเศษได้ที่นี่

ขลิบหนังหุ้มปลายเพศชาย ไม่อันตรายและเจ็บปวดอย่างที่คิด
การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย ทำแล้วมีประโยชน์ยังไง ปลอดภัย เจ็บน้อย ไร้เลือดได้จริงไหม และหลังขลิบปลาย ต้องดูแลตัวเองอย่างไร วันนี้คุณหมอผู้เชี่ยวชาญจะมาให้คำตอบทุกข้อสงสัย

โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ หรือ โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ (Erectile Dysfunction)
จะให้กล่าวถึงสาเหตุของภาวะองคชาติไม่แข็งตัว ส่วนใหญ่สาเหตุการเกิดปัญหาเหล่านี้จะแตกต่างกันในแต่ละช่วงอายุ โดยหากเป็นในช่วงวัยรุ่นหรือวัยทำงาน ส่วนใหญ่เกือบจะ 100%

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคฮิต! มนุษย์ออฟฟิศต้องรู้
ฉี่ไม่ออก แสบขัด กลั้นไม่อยู่ อาการแบบนี้ต้องระวังกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะอักเสบ บทความนี้ชวนคุณมาดูอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ พร้อมวิธีดูแลและป้องกันให้ถูกวิธี

มะเร็งต่อมลูกหมาก ตรวจพบเร็ว ก็รักษาให้หายได้
มะเร็งต่อมลูกหมาก โรคร้ายในคุณผู้ชายที่ตรวจพบเร็วสามารถรักษาให้หายได้! มาทำความเข้าใจและเช็กอาการของมะเร็งต่อมลูกหมากกัน พร้อมแพ็กเกจตรวจหาความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมากในราคาพิเศษได้ที่นี่

ขลิบหนังหุ้มปลายเพศชาย ไม่อันตรายและเจ็บปวดอย่างที่คิด
การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย ทำแล้วมีประโยชน์ยังไง ปลอดภัย เจ็บน้อย ไร้เลือดได้จริงไหม และหลังขลิบปลาย ต้องดูแลตัวเองอย่างไร วันนี้คุณหมอผู้เชี่ยวชาญจะมาให้คำตอบทุกข้อสงสัย

โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ หรือ โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ (Erectile Dysfunction)
จะให้กล่าวถึงสาเหตุของภาวะองคชาติไม่แข็งตัว ส่วนใหญ่สาเหตุการเกิดปัญหาเหล่านี้จะแตกต่างกันในแต่ละช่วงอายุ โดยหากเป็นในช่วงวัยรุ่นหรือวัยทำงาน ส่วนใหญ่เกือบจะ 100%

ขลิบหนังหุ้มปลายเพศชาย ไม่อันตรายและเจ็บปวดอย่างที่คิด
การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย ทำแล้วมีประโยชน์ยังไง ปลอดภัย เจ็บน้อย ไร้เลือดได้จริงไหม และหลังขลิบปลาย ต้องดูแลตัวเองอย่างไร วันนี้คุณหมอผู้เชี่ยวชาญจะมาให้คำตอบทุกข้อสงสัย

โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ หรือ โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ (Erectile Dysfunction)
จะให้กล่าวถึงสาเหตุของภาวะองคชาติไม่แข็งตัว ส่วนใหญ่สาเหตุการเกิดปัญหาเหล่านี้จะแตกต่างกันในแต่ละช่วงอายุ โดยหากเป็นในช่วงวัยรุ่นหรือวัยทำงาน ส่วนใหญ่เกือบจะ 100%

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคฮิต! มนุษย์ออฟฟิศต้องรู้
ฉี่ไม่ออก แสบขัด กลั้นไม่อยู่ อาการแบบนี้ต้องระวังกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะอักเสบ บทความนี้ชวนคุณมาดูอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ พร้อมวิธีดูแลและป้องกันให้ถูกวิธี

มะเร็งต่อมลูกหมาก ตรวจพบเร็ว ก็รักษาให้หายได้
มะเร็งต่อมลูกหมาก โรคร้ายในคุณผู้ชายที่ตรวจพบเร็วสามารถรักษาให้หายได้! มาทำความเข้าใจและเช็กอาการของมะเร็งต่อมลูกหมากกัน พร้อมแพ็กเกจตรวจหาความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมากในราคาพิเศษได้ที่นี่