อาการปวดเข่า เข่าบวม รู้ทันสาเหตุรักษาหายได้
หัวเข่าเป็นข้อต่อที่ใหญ่ที่สุดของร่างกายมีหน้าที่สำคัญในการรับน้ำหนักตัวของเรา และจำเป็นต้องใช้อวัยวะหลายส่วนทำงานไปพร้อมกัน เพื่อให้การเคลื่อนไหวร่างกายเป็นไปอย่างปกติ ทั้งกล้ามเนื้อ ข้อต่อ กระดูกอ่อน เอ็นเส้นกระดูก หมอนรองกระดูก แต่หากไม่ระมัดระวังหรือละเลยการดูแลเข่า หลายคนมักจะพบเจอกับ ‘อาการปวดเข่า’ ได้ง่ายๆ วันนี้เรามาทำความรู้จักสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดเข่าให้มากขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงและยืดระยะเวลาใช้งานเข่าได้นานยิ่งขึ้น
อาการปวดหัวเข่าเกิดจากอะไรได้บ้าง?
อาการปวดเข่าเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ทั้งการใช้ชีวิตประจำวัน น้ำหนักตัว หรืออายุที่มากขึ้น ส่งผลให้อวัยวะภายในเข่าเกิดการสึกหรอ และสาเหตุของอาการปวดมักมาจากปัจจัยเหล่านี้
- ข้ออักเสบในบางชนิด
โรครูมาตอยด์ โรคเกาต์ และโรคข้อเข่าเสื่อม โรคเหล่านี้นอกจากจะมีอาการปวดเข่าแล้วยังมีการอักเสบ เข่าบวมแดง ตามมาอีกด้วย หากปล่อยไว้อาจนำไปสู่อาการรุนแรงได้
- หมอนรองข้อเข่าและเส้นเอ็น
อาการปวดหัวเข่าของหลายคนมาจากการบาดเจ็บของหมอนรองกระดูกข้อเข่าที่อาจเกิดการฉีกขาด เส้นเอ็นเข่าอักเสบ หรือเส้นเอ็นเกิดการพลิก มักเกิดจากการที่ขาบิดผิดรูป หรืออุบัติเหตุ หากไม่รีบรักษาอาจนำไปสู่อาการรุนแรงได้
- อวัยวะส่วนอื่นทำงานผิดปกติ
อย่างที่กล่าวไปว่าอวัยวะภายในเข่ามีอยู่ด้วยกันหลายส่วน ซึ่งการบาดเจ็บของส่วนอื่นๆ ก็สามารถก่อให้เกิดอาการปวดเข่าได้เช่นกัน เช่น ถุงน้ำใต้ข้อพับเข่าอักเสบ เกิดจากการบาดเจ็บบริเวณหมอนรองข้อเข่า หรือเยื่อหุ้มข้อเข่า ทำให้น้ำในข้อเข่ารั่วออกไปบริเวณที่มีการบาดเจ็บหรือฉีกขาด ทำให้เกิดถุงน้ำบริเวณข้อพับเข่าตามมา มีอาการปวดใต้ข้อพับเข่า ยืดหรืองอขาได้ไม่สุด
ลักษณะอาการปวดเข่าชนิดต่างๆ
อาการปวดเข่าที่เกิดขึ้นมาจากหลายสาเหตุ เพราะหากส่วนใดส่วนหนึ่งเกิดการบาดเจ็บหรืออักเสบ ส่งผลให้มีอาการปวดเข่าแตกต่างกันออกไป ดังนี้
- ปวดเข่าด้านหน้า
อาการปวดด้านหน้าข้อเข่า Patellofemoral pain syndromes (PFPS) เกิดจากการใช้หัวเข่าหนักเกินไป จนเกิดการสึกหรอของกระดูกอ่อนรองลูกสะบ้า หรือกระดูกสะบ้าเคลื่อนออกมาจากแนวปกติ มักมีอาการปวดเข่า เสียวเข่า รู้สึกปวดเข่าจี๊ดๆ แปล๊บๆ นอกจากมีอาการเจ็บปวดแล้วอาจเกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรงบริเวณข้อสะโพก หรือเกิดอาการเข่าบวมตามมาได้
- ปวดเข่าด้านใน
เป็นอาการที่มักเกิดจากการเจ็บปวดภายในข้อเข่า เกิดจากการเสียดสีของถุงน้ำบริเวณจุดเกาะเส้นเอ็นกับโครงสร้างอื่นๆ จนเกิดเป็นการอักเสบขึ้น เรียกว่า Bursitis มักเกิดจากพฤติกรรมการใช้งานข้อเข่าหักโหมเกินไป เกิดการกระแทก เสียดสีซ้ำไปมา
- ปวดเข่าด้านนอก
อาการปวดเข่าด้านนอกหรือ Iliotibial band friction syndrome (IT Band Syndrome) มักพบในกลุ่มนักวิ่งทางไกล หรือการออกกำลังกายอย่างไม่เหมาะสม มีอาการปวดบริเวณเหนือเข่าด้านนอกเป็นหลัก โดยทั่วไปอาการมักไม่ส่งผลอันตรายรุนแรงต่อร่างกาย แต่หากอาการปวดเข่าไม่ทุเลาก็ควรพบแพทย์เป็นการดีที่สุด
พฤติกรรมเสี่ยงต่อการปวดเข่า
นอกจากอายุที่เพิ่มมากขึ้นส่งผลให้มีอาการปวดเข่าแล้ว พฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ที่เราทำในชีวิตประจำวันก็เป็นตัวเร่งให้เกิดอาการปวดเข่าได้แม้อายุน้อย ได้แก่
- ใส่รองเท้าส้นสูงเป็นเวลานานๆ
- มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน ทำให้เข่ารับน้ำหนักไว้มากเกินไป
- การใช้งานข้อเข่าที่มากเกินไป เช่น การเล่นกีฬาที่ต้องใช้เข่ารับแรงกระแทก วิ่งทางไกล เดินขึ้นลงบันไดบ่อยๆ
- มีกิจกรรมที่มีการงอเข่ามากๆ เช่น นั่งยองๆ พับเพียบ ขัดสมาธิ
วิธีการรักษา หรือบรรเทาอาการปวดเข่าในเบื้องต้น
อาการปวดเข่าสามารถปรับพฤติกรรมและดูแลรักษาเข่า เพื่อบรรเทาอาการปวดเบื้องต้นได้ ดังนี้
- ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม
- หลีกเลี่ยงการใช้งานข้อเข่ามากเกินไป เช่น กีฬาที่ต้องใช้เข่า วิ่งทางไกล
- หากมีอาการปวดมากควรประคบเย็นหรือทายา
- พักการใช้งานข้อเข่า
- หากเดินไม่ไหว ใช้อุปกรณ์ช่วยพยุง
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องงอพับเข่ามากๆ
- ใส่ปลอกเข่า หรือใช้ผ้าพันเข่าเพื่อช่วยพยุงเข่า
ถึงแม้อาการปวดเข่าจะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ก็เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตไม่น้อย เพราะข้อเข่าเป็นอวัยวะที่ช่วยให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้ จึงจำเป็นต้องดูแลรักษาและให้ความสำคัญกับการปรับพฤติกรรมทำร้ายข้อเข่า เพื่อยืดอายุการใช้งานให้นานยิ่งขึ้น และลดอาการเสื่อมของข้อเข่าไม่ให้เกิดขึ้นเร็วเกินไป หากใครที่กำลังเผชิญอาการปวดเข่า อาการยังไม่ทุเลาลง ที่โรงพยาบาลวิมุต มีทีมแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกและข้อที่พร้อมให้คำปรึกษาและตรวจวินิจฉัย เพื่อรับการรักษาตั้งแต่เริ่มต้น
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์กระดูกและข้อ ชั้น 4 โรงพยาบาลวิมุต
เวลาทำการ 08.00-20.00 น. โทร. 0-2079-0060
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์
ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ
แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง
เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง
ระวังภัยร้ายจาก Work from home syndrome ถามหา
ถึงสถานการณ์จะกลับมาคลี่คลายแล้ว แต่หลายบริษัทยังคงให้ Work From Home อยู่เพื่อความปลอดภัย ซึ่งการทำงานจากบ้านที่ดูเหมือนจะสบายนั้น อาจสร้างปัญหาสุขภาพได้มากกว่าที่คิด
ทำอย่างไร เมื่อข้อไหล่ติด รบกวนชีวิตประจำวัน
ข้อไหล่ติด ปวดไหล่ ขยับไหล่แล้วเจ็บ หรือขยับไหล่ได้น้อยลงจนหลายคนใช้ชีวิตลำบาก วันนี้เรามีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับสาเหตุ อาการและวิธีรักษาข้อไหล่ติดโดยไม่ต้องผ่าตัดมาฝากกัน
ข้อเท้าแพลง รับมืออย่างไร
ข้อเท้าแพลง คือการบาดเจ็บบริเวณข้อเท้า ที่เกิดจากการบิด หมุน หรือพลิกเกินช่วงการเคลื่อนไหวปกติ ทำให้เอ็นบริเวณข้อเท้าเกิดการยืดออกมากจนเกินไป การบาดเจ็บมักเกิดบริเวณข้อเท้าด้านนอก หากรุนแรงมาก อาจส่งผลให้เอ็นเกิดการฉีดขาด มีอาการปวด บวม และสูญเสียความมั่นคงของข้อเท้า
5 ปัจจัยทำ ให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม
คุณเคยไหม ที่รู้สึกปวดเข่า เมื่อต้องขึ้นลงบันได หรือ มีเสียงดังก๊อบแก๊บที่เข่าเวลาเดิน นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคข้อเข่าเสื่อม จริง ๆ แล้ว ปัจจัยที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมมีอยู่มากมาย แต่วันนี้ขอนำเอาปัจจัย 5 ข้อสำคัญๆ ที่มีผลมากที่สุด มาให้ความรู้กันครับ
ระวังภัยร้ายจาก Work from home syndrome ถามหา
ถึงสถานการณ์จะกลับมาคลี่คลายแล้ว แต่หลายบริษัทยังคงให้ Work From Home อยู่เพื่อความปลอดภัย ซึ่งการทำงานจากบ้านที่ดูเหมือนจะสบายนั้น อาจสร้างปัญหาสุขภาพได้มากกว่าที่คิด
ทำอย่างไร เมื่อข้อไหล่ติด รบกวนชีวิตประจำวัน
ข้อไหล่ติด ปวดไหล่ ขยับไหล่แล้วเจ็บ หรือขยับไหล่ได้น้อยลงจนหลายคนใช้ชีวิตลำบาก วันนี้เรามีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับสาเหตุ อาการและวิธีรักษาข้อไหล่ติดโดยไม่ต้องผ่าตัดมาฝากกัน
ข้อเท้าแพลง รับมืออย่างไร
ข้อเท้าแพลง คือการบาดเจ็บบริเวณข้อเท้า ที่เกิดจากการบิด หมุน หรือพลิกเกินช่วงการเคลื่อนไหวปกติ ทำให้เอ็นบริเวณข้อเท้าเกิดการยืดออกมากจนเกินไป การบาดเจ็บมักเกิดบริเวณข้อเท้าด้านนอก หากรุนแรงมาก อาจส่งผลให้เอ็นเกิดการฉีดขาด มีอาการปวด บวม และสูญเสียความมั่นคงของข้อเท้า
5 ปัจจัยทำ ให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม
คุณเคยไหม ที่รู้สึกปวดเข่า เมื่อต้องขึ้นลงบันได หรือ มีเสียงดังก๊อบแก๊บที่เข่าเวลาเดิน นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคข้อเข่าเสื่อม จริง ๆ แล้ว ปัจจัยที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมมีอยู่มากมาย แต่วันนี้ขอนำเอาปัจจัย 5 ข้อสำคัญๆ ที่มีผลมากที่สุด มาให้ความรู้กันครับ
ข้อเท้าแพลง รับมืออย่างไร
ข้อเท้าแพลง คือการบาดเจ็บบริเวณข้อเท้า ที่เกิดจากการบิด หมุน หรือพลิกเกินช่วงการเคลื่อนไหวปกติ ทำให้เอ็นบริเวณข้อเท้าเกิดการยืดออกมากจนเกินไป การบาดเจ็บมักเกิดบริเวณข้อเท้าด้านนอก หากรุนแรงมาก อาจส่งผลให้เอ็นเกิดการฉีดขาด มีอาการปวด บวม และสูญเสียความมั่นคงของข้อเท้า
5 ปัจจัยทำ ให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม
คุณเคยไหม ที่รู้สึกปวดเข่า เมื่อต้องขึ้นลงบันได หรือ มีเสียงดังก๊อบแก๊บที่เข่าเวลาเดิน นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคข้อเข่าเสื่อม จริง ๆ แล้ว ปัจจัยที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมมีอยู่มากมาย แต่วันนี้ขอนำเอาปัจจัย 5 ข้อสำคัญๆ ที่มีผลมากที่สุด มาให้ความรู้กันครับ
ระวังภัยร้ายจาก Work from home syndrome ถามหา
ถึงสถานการณ์จะกลับมาคลี่คลายแล้ว แต่หลายบริษัทยังคงให้ Work From Home อยู่เพื่อความปลอดภัย ซึ่งการทำงานจากบ้านที่ดูเหมือนจะสบายนั้น อาจสร้างปัญหาสุขภาพได้มากกว่าที่คิด
ทำอย่างไร เมื่อข้อไหล่ติด รบกวนชีวิตประจำวัน
ข้อไหล่ติด ปวดไหล่ ขยับไหล่แล้วเจ็บ หรือขยับไหล่ได้น้อยลงจนหลายคนใช้ชีวิตลำบาก วันนี้เรามีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับสาเหตุ อาการและวิธีรักษาข้อไหล่ติดโดยไม่ต้องผ่าตัดมาฝากกัน