มะเร็งต่อมน้ำเหลืองปล่อยไว้นานลุกลามได้!
หากคุณรู้สึกไม่สบายตัวแล้วคลำพบก้อนที่บริเวณต่างๆ ของร่างกาย เช่น คอ รักแร้ ขาหนีบ อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เพราะเป็นอีกหนึ่งโรคใกล้ตัวที่ควรระวัง และยังเป็นหนึ่งในมะเร็งที่สามารถลุกลามได้อีกด้วย อีกทั้งอธิบดีกรมการแพทย์ยังให้ข้อมูลถึงโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองว่าจัดอยู่ในอันดับที่ 8 จาก 10 อันดับมะเร็งที่พบบ่อย โดยพบในเพศชายเป็นอันดับที่ 5 และพบในเพศหญิงอันดับที่ 9 อีกทั้งในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 4,300 ราย และมีผู้เสียชีวิตประมาณ 1,300 ราย หรือคิดเป็น 4 คนต่อวัน รู้อย่างนี้แล้วเราควรทำความรู้จักโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองไว้ เพื่อให้เราสามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคในอนาคต!
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองเกิดจากสาเหตุใดบ้าง?
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma) เป็นโรคมะเร็งร้ายแรงอีกชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นกับเนื้อเยื่อต่อมน้ำเหลือง ซึ่งระบบน้ำเหลืองเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกัน มีหน้าที่นำสารอาหารและผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ช่วยต่อสู้กับเชื้อโรคและการติดเชื้อ เมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาวเกิดการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนขึ้นโดยไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้ต่อมน้ำเหลืองโตขึ้นจนเกิดเป็นก้อนเนื้องอก และกดเบียดเซลล์ปกติจนไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เบื้องต้นพบว่ามีปัจจัยเสี่ยง ดังนี้
- ปัจจัยทางเคมี สารเคมีบางชนิดที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง เช่น สารเคมีปราบศัตรูพืช ยาฉีดกันยุง น้ำยาทาเล็บ น้ำยาย้อมผม เป็นต้น
- ปัจจัยทางภูมิคุ้มกัน ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำหรือภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น โรคเอดส์ การปลูกถ่ายอวัยวะ โรคไขข้ออักเสบ เป็นต้น
- ปัจจัยทางพันธุกรรม คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากขึ้น
- ปัจจัยจากไวรัส การติดเชื้อไวรัส เช่น ไวรัส HIV เชื้อไวรัส Epstein-Barr และเชื้อ Helicobacter pylori เป็นต้น
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองเกิดที่ตำแหน่งไหนได้บ้าง?
ระบบน้ำเหลืองมีอยู่ทั่วร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น คอ รักแร้ ข้อพับแขน ข้อพับขา ช่องอก หรือช่องท้อง อีกทั้งเซลล์น้ำเหลืองก็ยังอยู่ตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกายอีกด้วย ดังนั้น มะเร็งต่อมน้ำเหลืองจึงสามาถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของร่างกาย
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองมีกี่ประเภท?
อาการของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองจะมีลักษณะเป็นก้อนโตที่ต่อมน้ำเหลือง โดยจะมีความแตกต่างกันไปตามความผิดปกติของเซลล์มะเร็ง ซึ่งสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้
- มะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน (Hodgkin’s Lymphoma: HL) มักพบในวัยหนุ่มสาวและผู้สูงอายุ มีลักษณะเป็นก้อนโตที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอและช่องทรวงอก และเซลล์มะเร็งจะมีลักษณะเฉพาะตัวคือ จะพบ Reed-Sternberg Cell เป็นการกระจายตัวแทรกอยู่ระหว่างเซลล์อักเสบอื่นๆ
- มะเร็งต่อมน้ำเหลืองนอนฮอดจ์กิน (Non-Hodgkin’s Lymphoma: NHL) มะเร็งประเภทนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกวัยและพบมากในประเทศไทย โดยสามารถแบ่งตามการเจริญเติบโตได้อีก คือ
- ชนิดค่อยเป็นค่อยไป (Indolent NHL) มีอัตราการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งค่อนข้างช้า ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด
- ชนิดรุนแรง (Aggressive NHL) มีอัตราการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเร็ว ถ้าได้รับการรักษาเร็วมีโอกาสหายขาดได้ แต่ถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอาจเสียชีวิตภายใน 6 เดือน ถึง 2 ปี
ระยะของอาการมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่
- ระยะที่ 1 พบมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเพียงตำแหน่งเดียว เช่น บริเวณลำคอ หรือบริเวณรักแร้ด้านใดด้านหนึ่ง
- ระยะที่ 2 พบมะเร็งต่อมน้ำเหลืองตั้งแต่ 2 ตำแหน่งขึ้นไป แต่จะต้องอยู่ด้านเดียวกันของกระบังลม อาจเป็น บริเวณคอด้านซ้าย 2 ก้อน, คอด้านขวา 2 ก้อน, หรือบริเวณรักแร้ซ้าย 2 ก้อน เป็นต้น
- ระยะที่ 3 พบมะเร็งต่อมน้ำเหลืองทั้งส่วนบนและส่วนล่างของกระบังลม เช่น มีต่อมน้ำเหลืองโตที่รักแร้ร่วมกับที่ขาหนีบ
- ระยะที่ 4 ในระยะนี้โรคจะแพร่กระจายหรือลุกลามออกนอกระบบน้ำเหลืองไปยังเนื้อเยื่ออวัยวะอื่น เช่น ตับ ปอด สมอง ไขกระดูก
วิธีการรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมีกี่แบบ เหมาะกับระยะใดบ้าง
ปัจจุบันมีหลายวิธีที่สามารถใช้ในการรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ซึ่งแพทย์จะเลือกแนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับชนิดเซลล์มะเร็งต่อมน้ำเหลืองและสภาพร่างกายของผู้ป่วย เพื่อให้สามารถรักษาโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยสามารถใช้เพียงวิธีเดียวหรือใช้หลายวิธีร่วมกันได้ ดังนี้
- การเฝ้าระวังและติดตามโรค มักใช้ในมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดค่อยเป็นค่อยไป หรือในผู้ป่วยที่มีอาการไม่มาก ซึ่งระหว่างการเฝ้าติดตามโรคจะมีการตรวจเลือด หรือตรวจทางรังสีเป็นระยะๆ
- การใช้ยาเคมีบำบัด จะทำลายเซลล์มะเร็งโดยไปรบกวนการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง ทั้งนี้ชนิดของยาเคมีบำบัดนั้นจะขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง อาจใช้วิธีนี้ร่วมกับการรักษาด้วยแอนติบอดี
- การรักษาด้วยการฉายรังสี เป็นวิธีการทำลายเซลล์มะเร็งโดยตรง ซึ่งแพทย์จะเลือกใช้วิธีนี้เมื่อผู้ป่วยมีมะเร็งกระจายหลายจุดและไม่สามารถควบคุมได้ด้วยเคมีบำบัด ทั้งนี้แพทย์รังสีจะมีการกำหนดปริมาณรังสีและการแบ่งฉายรังสีตามความเหมาะสม โดยปกติจะฉายรังสี 17-25 ครั้ง
- การรักษาด้วยแอนติบอดี โดยการให้ยาแอนติบอดีที่เป็นโปรตีนสังเคราะห์เลียนแบบ เข้าไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายเพื่อมากำจัดเซลล์มะเร็ง
- การรักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด เป็นการทำลายเซลล์มะเร็งให้หมดไปแล้วแทนที่ด้วยเซลล์ที่ปกติ อาจเก็บจากเซลล์ไขกระดูกหรือเม็ดเลือดเพื่อลดโอกาสการเป็นซ้ำ
อย่างไรก็ตามโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเป็นโรคที่ตอบสนองต่อการรักษาได้ดี แม้ว่าผู้ป่วยจะเป็นระยะที่ 4 ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้มากเมื่อเทียบกับโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ ดังนั้น หากคลำพบก้อนในบริเวณต่างๆ เช่น คอ รักแร้ ขาหนีบ หรือในช่องท้อง ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาโดยเร็ว
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 3 โรงพยาบาลวิมุต
เวลาทำการ 07:00 - 20:00 น. โทร. 0-2079-0030
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์
ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ
แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

อชิรรุจิกร

อชิรรุจิกร

อชิรรุจิกร

อชิรรุจิกร

อชิรรุจิกร

อชิรรุจิกร
เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

หายป่วยลองโควิดได้ หายขาดด้วยโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด
โควิดที่ว่าน่ากลัว ยังไม่เท่าลองโควิด มาตรวจเช็กปอดและร่างกายให้เท่าทันโรค กับโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด เพื่อการฟื้นฟูและการดูแลตัวเองได้อย่างรวดเร็ว

รวมสารพัดเมนูอาหาร เพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ
รวมสารพัดเมนูอาหารเพื่อผู้สูงอายุ ควรกินอะไรดี ใครนึกไม่ออก เรารวมให้แล้วที่นี่ กับเมนูอาหารและโภชนาการเพื่อผู้สูงอายุ ที่ช่วยดูแลสุขภาพและบำรุงร่างกายให้แข็งแรงอย่างยั่งยืน

วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ… จำเป็นแค่ไหน ?
วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ จำเป็นต้องฉีดไหม ฉีดแล้วช่วยป้องกันโรคปอดอักเสบได้จริงหรือไหม มาดูคำตอบได้ที่นี่ว่าทำไมผู้สูงอายุถึงควรฉีดวัคซีนนี้กัน

6 วัคซีนสำหรับผู้สูงอายุ ที่แนะนำให้ลูกหลานพาไปฉีด
เปิดคำแนะนำการฉีดวัคซีนผู้สูงอายุ วัคซีนอะไรบ้างที่ควรฉีดอัปเดตข้อมูลปี 2566 เพื่อลดอัตราเสี่ยงการเสียชีวิตและบรรเทาอาการหนักให้เบาลง กับ 6 วัคซีนนี้เลยที่เรารวมข้อมูลมาให้แล้ว

หายป่วยลองโควิดได้ หายขาดด้วยโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด
โควิดที่ว่าน่ากลัว ยังไม่เท่าลองโควิด มาตรวจเช็กปอดและร่างกายให้เท่าทันโรค กับโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด เพื่อการฟื้นฟูและการดูแลตัวเองได้อย่างรวดเร็ว

รวมสารพัดเมนูอาหาร เพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ
รวมสารพัดเมนูอาหารเพื่อผู้สูงอายุ ควรกินอะไรดี ใครนึกไม่ออก เรารวมให้แล้วที่นี่ กับเมนูอาหารและโภชนาการเพื่อผู้สูงอายุ ที่ช่วยดูแลสุขภาพและบำรุงร่างกายให้แข็งแรงอย่างยั่งยืน

วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ… จำเป็นแค่ไหน ?
วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ จำเป็นต้องฉีดไหม ฉีดแล้วช่วยป้องกันโรคปอดอักเสบได้จริงหรือไหม มาดูคำตอบได้ที่นี่ว่าทำไมผู้สูงอายุถึงควรฉีดวัคซีนนี้กัน

6 วัคซีนสำหรับผู้สูงอายุ ที่แนะนำให้ลูกหลานพาไปฉีด
เปิดคำแนะนำการฉีดวัคซีนผู้สูงอายุ วัคซีนอะไรบ้างที่ควรฉีดอัปเดตข้อมูลปี 2566 เพื่อลดอัตราเสี่ยงการเสียชีวิตและบรรเทาอาการหนักให้เบาลง กับ 6 วัคซีนนี้เลยที่เรารวมข้อมูลมาให้แล้ว

วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ… จำเป็นแค่ไหน ?
วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ จำเป็นต้องฉีดไหม ฉีดแล้วช่วยป้องกันโรคปอดอักเสบได้จริงหรือไหม มาดูคำตอบได้ที่นี่ว่าทำไมผู้สูงอายุถึงควรฉีดวัคซีนนี้กัน

6 วัคซีนสำหรับผู้สูงอายุ ที่แนะนำให้ลูกหลานพาไปฉีด
เปิดคำแนะนำการฉีดวัคซีนผู้สูงอายุ วัคซีนอะไรบ้างที่ควรฉีดอัปเดตข้อมูลปี 2566 เพื่อลดอัตราเสี่ยงการเสียชีวิตและบรรเทาอาการหนักให้เบาลง กับ 6 วัคซีนนี้เลยที่เรารวมข้อมูลมาให้แล้ว

หายป่วยลองโควิดได้ หายขาดด้วยโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด
โควิดที่ว่าน่ากลัว ยังไม่เท่าลองโควิด มาตรวจเช็กปอดและร่างกายให้เท่าทันโรค กับโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด เพื่อการฟื้นฟูและการดูแลตัวเองได้อย่างรวดเร็ว

รวมสารพัดเมนูอาหาร เพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ
รวมสารพัดเมนูอาหารเพื่อผู้สูงอายุ ควรกินอะไรดี ใครนึกไม่ออก เรารวมให้แล้วที่นี่ กับเมนูอาหารและโภชนาการเพื่อผู้สูงอายุ ที่ช่วยดูแลสุขภาพและบำรุงร่างกายให้แข็งแรงอย่างยั่งยืน