ฉีดเข่า! ทางเลือกรักษาเข่าเสื่อมให้ดีขึ้นได้! โดยไม่ต้องผ่าตัด
ฉีดเข่า! ทางเลือกรักษาเข่าเสื่อมให้ดีขึ้นได้! โดยไม่ต้องผ่าตัด
โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ และสร้างความเจ็บปวดทรมานให้แก่ผู้ป่วยเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากมาย แต่ปัจจุบันมีวิธีรักษาเข่าเสื่อมหลากหลายวิธีด้วยกัน ตั้งแต่การปรับพฤติกรรมเสี่ยงในการใช้ชีวิตประจำวันไปจนถึงผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม รวมถึงการฉีดสารไฮยาลูรอนิค (Hyaluronic acid) ที่บริเวณข้อเข่าโดยตรง เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมสามารถใช้บรรเทาอาการปวดเข่า ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีการที่ได้รับความนิยมในการรักษาข้อเข่าเสื่อมโดยไม่ต้องผ่าตัด
มาเช็กกันว่าวิธีรักษาข้อเข่าเสื่อมมีกี่วิธี พร้อมทำความรู้จักทางเลือกการฟื้นฟูอาการข้อเข่าเสื่อมอย่างการฉีดสารไฮยาลูรอนิคได้ในบทความนี้
วิธีการรักษาเข่าเสื่อมทำได้อย่างไรบ้าง? มีกี่วิธี?
ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมจำเป็นต้องเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อประเมินประวัติการเจ็บป่วยและวินิจฉัยอาการอย่างละเอียด พร้อมทั้งหาสาเหตุอาการปวดเข่า และวางแผนหาแนวทางการรักษาอย่างถูกต้องก่อนเสมอ โดยวิธีการรักษาข้อเข่าเสื่อมในปัจจุบันสามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งจะแบ่งตามระดับความรุนแรงของอาการ ดังนี้
- การปรับพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน วิธีการนี้สามารถใช้ในผู้ที่มีภาวะข้อเสื่อมในระดับเล็กน้อย หรือยังสามารถใช้งานข้อเข่าทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างปกติ แต่เมื่อใช้งานมากอาจมีอาการปวด จึงต้องหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อข้อเข่า เช่น การนั่งพับเพียบ คุกเข่า ขัดสมาธิ ขึ้นลงบันไดชันๆ แบกหรือยกของหนัก แม้กระทั่งการมีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐานก็สามารถส่งผลกระทบต่อข้อเข่าได้โดยตรง หากไม่หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อข้อเข่าในระยะยาวได้
- ใช้ยาบรรเทาอาการปวดและลดการอักเสบในข้อเข่า วิธีการนี้สามารถนำมาใช้กับอาการข้อเข่าเสื่อมในระดับปานกลาง ซึ่งข้อเข่าเริ่มเกิดความเสียหาย มีอาการปวดบ่อยขึ้น และเริ่มทำงานหรือทำกิจกรรมหนักๆ ไม่ได้ ซึ่งตัวยาที่สามารถใช้ได้ ได้แก่ ยาแก้ปวดพาราเซตามอล ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ และยาพยุง หรือยาลดความเสื่อม ด้วยวิธีการรับประทาน การฉีด หรือการทา
- การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เป็นการผ่าตัดนำเอาผิวข้อเข่าที่เสื่อมออกไปแล้วแทนด้วยข้อเข่าเทียม โดยวิธีการผ่าตัดรักษานี้จะใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง มีอาการปวดข้อเข่าเรื้อรังเป็นเวลานาน จนต้องใช้ยาแก้ปวดอยู่เป็นประจำ ซึ่งมีโอกาสที่โรคจะพัฒนาและลุกลามจนทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถเดิน หรือเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างปกติ เช่น อาการเข่าโก่งงอผิดรูป ข้อเข่าหลวม หรือข้อเข่างอไม่ได้ งอไม่สุด
วิธีการฉีดเข่าเสื่อม ช่วยรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมได้อย่างไร?
หนึ่งทางเลือกของการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมที่ไม่ต้องผ่าตัด ด้วยการฉีดไฮยาลูรอนิค (Hyaluronic Acid) เข้าสู่ข้อเข่าโดยตรง ซึ่งสามารถบรรเทาอาการปวดเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะโดยปกติแล้วข้อเข่าคนเราจะมีน้ำไขข้อคอยหล่อลื่นระหว่างกระดูกผิวข้อ ช่วยลดการเสียดสี หรือลดแรงกระแทกระหว่างข้อเข่าเมื่อทำกิจกรรมต่างๆ แต่น้ำหล่อเลี้ยงนี้จะแห้งหายไปเมื่อมีอายุมากขึ้น ซึ่งสารไฮยาลูรอนิคนี้เป็นสารที่ผลิตเลียนแบบน้ำที่ใช้ในการหล่อเลี้ยงภายในข้อเข่าตามธรรมชาติ เสมือนการเพิ่มความยืดหยุ่น ลดอาการปวด ฝืด หรือตึงที่ข้อ ลดการอักเสบ ทั้งยังช่วยกระตุ้นให้เยื่อหุ้มข้อกลับมาสร้างน้ำหล่อเลี้ยงได้ตามปกติอีกด้วย
อาการข้อเข่าเสื่อมที่เหมาะกับการฉีดไฮยาลูรอนิคมีอะไรบ้าง
การฉีดข้อเข่าเสื่อมเป็นทางเลือกที่ไม่ได้เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมทุกคนเสมอไป มาเช็กอาการของผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมที่สามารถเข้ารับการฉีดเข่าได้ ดังต่อไปนี้
- ผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมในระยะเริ่มต้นถึงปานกลาง ซึ่งรักษาด้วยยาแล้วไม่หาย แต่ยังไม่อยู่ในระยะรุนแรงถึงขั้นต้องผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
- ผู้สูงอายุที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อม น้ำในข้อลดน้อยลงจนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันทั้งการเดิน หรือการลุกนั่ง
- ผู้ป่วยที่ทำกายภาพแล้วแต่อาการข้อเข่าเสื่อมยังไม่ดีขึ้น
ซึ่งการรักษาจำเป็นต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทุกขั้นตอน รวมถึงการกำหนดความถี่ในการฉีดเข่าเสื่อมในผู้ป่วยแต่ละคนด้วย ซึ่งในปัจจุบันการฉีดเพียง 1 เข็มแค่ครั้งเดียว โดยผลของการรักษาจะอยู่ได้นาน 6-12 เดือน
อย่างไรก็ตาม ข้อเข่าเป็นอวัยวะหนึ่งที่มีความเสื่อมและสึกหรอลงเรื่อยๆ ทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออายุมากขึ้นจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันอีกด้วย การฉีดสารไฮยาลูรอนิคเพื่อรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมจึงเป็นทางเลือกที่ดีทางหนึ่งในการประคับประคองอาการและชะลอไม่ให้ข้อเข่าเสื่อมเร็วโดยไม่ต้องผ่าตัด ที่โรงพยาบาลวิมุตรองรับทางเลือกใหม่ด้วยแพ็กเกจฉีดเข่าเสื่อม Cartizol active (Collagen Coating) สามารถติดต่อรับคำปรึกษาจากแพทย์และตรวจวินิจฉัยโรคได้ที่ศูนย์กระดูกและข้อได้ตลอดระยะเวลาทำการ เพื่อลดความเสี่ยงในการผ่าตัดและช่วยให้ผู้ป่วยกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์กระดูกและข้อ ชั้น 4 โรงพยาบาลวิมุต
เวลาทำการ 08:00 - 20:00 น. โทร. 0-2079-0060
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์
ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ
แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

พิสิฐวัฒนาภรณ์

ปิยะวรคุณ

พิสิฐวัฒนาภรณ์

ปิยะวรคุณ

พิสิฐวัฒนาภรณ์

ปิยะวรคุณ

พิสิฐวัฒนาภรณ์

ปิยะวรคุณ
เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

ระวังภัยร้ายจาก Work from home syndrome ถามหา
ถึงสถานการณ์จะกลับมาคลี่คลายแล้ว แต่หลายบริษัทยังคงให้ Work From Home อยู่เพื่อความปลอดภัย ซึ่งการทำงานจากบ้านที่ดูเหมือนจะสบายนั้น อาจสร้างปัญหาสุขภาพได้มากกว่าที่คิด

ทำอย่างไร เมื่อข้อไหล่ติด รบกวนชีวิตประจำวัน
ข้อไหล่ติด ปวดไหล่ ขยับไหล่แล้วเจ็บ หรือขยับไหล่ได้น้อยลงจนหลายคนใช้ชีวิตลำบาก วันนี้เรามีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับสาเหตุ อาการและวิธีรักษาข้อไหล่ติดโดยไม่ต้องผ่าตัดมาฝากกัน

ข้อเท้าแพลง รับมืออย่างไร
ข้อเท้าแพลง คือการบาดเจ็บบริเวณข้อเท้า ที่เกิดจากการบิด หมุน หรือพลิกเกินช่วงการเคลื่อนไหวปกติ ทำให้เอ็นบริเวณข้อเท้าเกิดการยืดออกมากจนเกินไป การบาดเจ็บมักเกิดบริเวณข้อเท้าด้านนอก หากรุนแรงมาก อาจส่งผลให้เอ็นเกิดการฉีดขาด มีอาการปวด บวม และสูญเสียความมั่นคงของข้อเท้า

5 ปัจจัยทำ ให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม
คุณเคยไหม ที่รู้สึกปวดเข่า เมื่อต้องขึ้นลงบันได หรือ มีเสียงดังก๊อบแก๊บที่เข่าเวลาเดิน นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคข้อเข่าเสื่อม จริง ๆ แล้ว ปัจจัยที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมมีอยู่มากมาย แต่วันนี้ขอนำเอาปัจจัย 5 ข้อสำคัญๆ ที่มีผลมากที่สุด มาให้ความรู้กันครับ

ระวังภัยร้ายจาก Work from home syndrome ถามหา
ถึงสถานการณ์จะกลับมาคลี่คลายแล้ว แต่หลายบริษัทยังคงให้ Work From Home อยู่เพื่อความปลอดภัย ซึ่งการทำงานจากบ้านที่ดูเหมือนจะสบายนั้น อาจสร้างปัญหาสุขภาพได้มากกว่าที่คิด

ทำอย่างไร เมื่อข้อไหล่ติด รบกวนชีวิตประจำวัน
ข้อไหล่ติด ปวดไหล่ ขยับไหล่แล้วเจ็บ หรือขยับไหล่ได้น้อยลงจนหลายคนใช้ชีวิตลำบาก วันนี้เรามีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับสาเหตุ อาการและวิธีรักษาข้อไหล่ติดโดยไม่ต้องผ่าตัดมาฝากกัน

ข้อเท้าแพลง รับมืออย่างไร
ข้อเท้าแพลง คือการบาดเจ็บบริเวณข้อเท้า ที่เกิดจากการบิด หมุน หรือพลิกเกินช่วงการเคลื่อนไหวปกติ ทำให้เอ็นบริเวณข้อเท้าเกิดการยืดออกมากจนเกินไป การบาดเจ็บมักเกิดบริเวณข้อเท้าด้านนอก หากรุนแรงมาก อาจส่งผลให้เอ็นเกิดการฉีดขาด มีอาการปวด บวม และสูญเสียความมั่นคงของข้อเท้า

5 ปัจจัยทำ ให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม
คุณเคยไหม ที่รู้สึกปวดเข่า เมื่อต้องขึ้นลงบันได หรือ มีเสียงดังก๊อบแก๊บที่เข่าเวลาเดิน นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคข้อเข่าเสื่อม จริง ๆ แล้ว ปัจจัยที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมมีอยู่มากมาย แต่วันนี้ขอนำเอาปัจจัย 5 ข้อสำคัญๆ ที่มีผลมากที่สุด มาให้ความรู้กันครับ

ข้อเท้าแพลง รับมืออย่างไร
ข้อเท้าแพลง คือการบาดเจ็บบริเวณข้อเท้า ที่เกิดจากการบิด หมุน หรือพลิกเกินช่วงการเคลื่อนไหวปกติ ทำให้เอ็นบริเวณข้อเท้าเกิดการยืดออกมากจนเกินไป การบาดเจ็บมักเกิดบริเวณข้อเท้าด้านนอก หากรุนแรงมาก อาจส่งผลให้เอ็นเกิดการฉีดขาด มีอาการปวด บวม และสูญเสียความมั่นคงของข้อเท้า

5 ปัจจัยทำ ให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม
คุณเคยไหม ที่รู้สึกปวดเข่า เมื่อต้องขึ้นลงบันได หรือ มีเสียงดังก๊อบแก๊บที่เข่าเวลาเดิน นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคข้อเข่าเสื่อม จริง ๆ แล้ว ปัจจัยที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมมีอยู่มากมาย แต่วันนี้ขอนำเอาปัจจัย 5 ข้อสำคัญๆ ที่มีผลมากที่สุด มาให้ความรู้กันครับ

ระวังภัยร้ายจาก Work from home syndrome ถามหา
ถึงสถานการณ์จะกลับมาคลี่คลายแล้ว แต่หลายบริษัทยังคงให้ Work From Home อยู่เพื่อความปลอดภัย ซึ่งการทำงานจากบ้านที่ดูเหมือนจะสบายนั้น อาจสร้างปัญหาสุขภาพได้มากกว่าที่คิด

ทำอย่างไร เมื่อข้อไหล่ติด รบกวนชีวิตประจำวัน
ข้อไหล่ติด ปวดไหล่ ขยับไหล่แล้วเจ็บ หรือขยับไหล่ได้น้อยลงจนหลายคนใช้ชีวิตลำบาก วันนี้เรามีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับสาเหตุ อาการและวิธีรักษาข้อไหล่ติดโดยไม่ต้องผ่าตัดมาฝากกัน