โรคกระดูกพรุน เสี่ยงได้ทุกวัยไม่ใช่เพียงแค่ผู้สูงอายุ

11 ม.ค. 66  | ศูนย์กระดูกและข้อ
แชร์บทความ      

โรคกระดูกพรุน เสี่ยงได้ทุกวัยไม่ใช่เพียงแค่ผู้สูงอายุ

อายุที่เพิ่มขึ้นสวนทางกับความแข็งแรงของกระดูกที่เริ่มเสื่อมและลดลง จากการสูญเสียแคลเซียมที่สะสมไว้ภายในกระดูกอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีอาการใดๆ ปรากฏออกมาให้เห็นได้ แต่ความเปราะบางเหล่านี้เองที่ส่งผลให้ผู้เป็นโรคกระดูกพรุนมีความเสี่ยงกระดูกแตกหักได้ง่ายแม้เป็นอุบัติเหตุเล็กๆ ก่อนลุกลามเป็นปัญหาใหญ่ สิ่งสำคัญคือการเรียนรู้ เตรียมพร้อมป้องกันและรับมือโรคกระดูกพรุนไว้ตั้งแต่วันนี้

ที่มาน่ารู้… โรคกระดูกพรุนเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ

ร่างกายของเราจะเริ่มสร้างและสะสมมวลกระดูกตั้งแต่วัยเยาว์จนถึงอายุประมาณ 35 ปี หลังจากนั้นร่างกายจะเริ่มมีการสลายกระดูกมากกว่าการสะสมอย่างช้าๆ หากไม่ได้รับการเสริมแคลเซียมอย่างเพียงพอ ร่างกายจะเสียสมดุลของมวลกระดูกไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้กระดูกเปราะบางจนไม่สามารถรับน้ำหนักหรือแรงกระแทกต่างๆ ได้ และกลายเป็น ‘โรคกระดูกพรุน’ ในที่สุด โดยปกติภาวะกระดูกพรุนเกิดขึ้นหลังอายุ 50 ปี และมีความหนาแน่นของเนื้อกระดูกน้อยลงร้อยละ 1-3 ต่อปี ซึ่งมีโอกาสพบได้ในเพศหญิงมากกว่าชายและสูงกว่าถึง 4 เท่า เนื่องจากกระดูกที่มีขนาดเล็กกว่า และการสูญเสียฮอร์โมนเอสโตรเจนในวัยหลังหมดประจำเดือน ฉะนั้น โรคกระดูกพรุนจึงสามารถพบได้ในหลายช่วงวัยไม่ใช่เพียงแค่ในผู้สูงอายุเท่านั้น

อาการของโรคกระดูกพรุน

ระยะแรก : ผู้ประสบกับภาวะกระดูกพรุนในระยะเริ่มต้นมักไม่รู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงภายในร่างกาย และไม่มีอาการแสดงความเจ็บป่วยให้เห็น 
ระยะสอง : ในรายที่กระดูกเริ่มมีความโปร่งบางมากจนเข้าสู่กระดูกพรุนระยะรุนแรง จะพบว่าผู้ป่วยมักมีอาการปวดหลัง หลังค่อม มีส่วนสูงลดลง (มากกว่า 3 เซนติเมตร) และรู้สึกปวดกระดูกหลังจากยกของหนัก 
ระยะรุนแรง : เมื่อได้รับแรงกระแทกเพียงเล็กน้อยก็สามารถทำให้กระดูกบางส่วนแตกหักได้ โดยเฉพาะข้อสะโพก หากเกิดการแตกหัก โรคกระดูกพรุนจึงเป็นภาวะที่มีความอันตรายสูง เพราะอาจส่งผลให้ผู้ป่วยพิการหรือเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิต

กลุ่มเสี่ยงและปัจจัยที่เอื้อให้เกิดโรคกระดูกพรุน

  • เพศ หากเทียบสัดส่วนจะพบว่าในเพศหญิงมีขนาดกระดูกเล็กกว่าเพศชาย จึงมีโอกาสกระดูกพรุนเร็วมากกว่า โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในวัยหมดประจำเดือน ร่างกายจะเสียมวลกระดูกไปอย่างรวดเร็วมากขึ้นถึงร้อยละ 10 ภายใน 5 ปีแรก รวมถึงหลังการผ่าตัดรังไข่ก่อนอายุ 45 ปี ก็เป็นเหตุให้ฮอร์โมนเพศลดลงอย่างรวดเร็ว และเพิ่มโอกาสเสี่ยงที่กระดูกจะหักมากกว่าร้อยละ 40 เสียอีก 
  • กรรมพันธุ์ มีส่วนสำคัญในการกำหนดว่าแต่ละคนมีมวลกระดูกมากน้อยต่างกันไป หากพบว่าคนในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นโรคกระดูกพรุนและมีกระดูกหัก ในรุ่นถัดมาก็มีโอกาสประสบกับโรคกระดูกพรุนแล้วกระดูกหักเช่นกัน แถมหากเป็นผู้ที่เคยกระดูกหักและมีภาวะของโรคกระดูกพรุนมาก่อนแล้ว จะมีโอกาสเกิดกระดูกหักซ้ำสูงถึง 2.5 เท่า และสูงขึ้นอีกในกลุ่มคนเอเชีย 
  • บุหรี่และแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสารนิโคตินในบุหรี่เป็นสารมีพิษทำลายเซลล์สร้างมวลกระดูก 
  • ยาโรคประจำตัวบางชนิด หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยเฉพาะยาที่ออกฤทธิ์รบกวนการสร้างมวลกระดูก เช่น กลุ่มยาสเตียรอยด์ 
  • อาหารที่มีโซเดียมสูง หรืออาหารที่มีเกลือเป็นส่วนประกอบมากกว่า 1 ช้อนชา กาแฟและชาที่มากเกินพอดีเป็นตัวเสริมให้ร่างกายเร่งการขับแคลเซียมมากขึ้นด้วย

อาหารดีกระดูกดี ป้องกันกระดูกพรุนด้วยการเสริมโภชนาการ

แคลเซียมและวิตามินดีเป็นแร่ธาตุสำคัญในการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง ในวันปกติร่างกายเราต้องการวิตามินดี วันละ 400-800 หน่วย และต้องการแคลเซียมแตกต่างกันในแต่ละช่วงวัย การดื่มนมเป็นประจำจึงเป็นการเสริมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายที่ง่ายและได้ปริมาณมาก ขณะเดียวกันยังสามารถหาแคลเซียมได้จากอาหารประเภทอื่นๆ เช่น ปลาที่กินทั้งกระดูก ผักใบเขียว คะน้า กวางตุ้ง ผักกาดเขียว เป็นต้น หากลองเทียบสัดส่วนให้เห็นได้จากนม 1 แก้ว 200 มิลลิลิตร จะมีวิตามินดี 100 หน่วย และแคลเซียม 300 มิลลิกรัม โดยสามารถแบ่งปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายต้องการให้สอดคล้องกับอายุได้ ดังนี้

 

ช่วงวัยและอายุ

(ปี)

 

ปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายต้องการแต่ละวัน

(มิลลิกรัม)

เด็ก (1-9 ปี)
800
วัยรุ่น (10-19 ปี)
1,200
ผู้ใหญ่ (20-60 ปี
800
หญิงมีครรภ์และให้นมบุตร
1,200
หญิงวัยหมดประจำเดือน
1,000
ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป)
800

อาหารเสริมพลังและโภชนาการที่ดีช่วยป้องกันกระดูกพรุนได้ สิ่งสำคัญคือต้องเริ่มสะสมมวลกระดูกตั้งแต่วัยเด็ก เพื่อให้กระดูกสมบูรณ์ที่สุดในช่วงอายุ 20 - 30 ปี และหมั่นเติมแคลเซียมให้เพียงพอต่อความต้องการ ควบคู่กับการออกกำลังกาย บริหารกระดูกและข้อ อย่างการเต้นรำ เดินเร็ว วิ่ง หรือปั่นจักรยาน เพิ่มมวลกล้ามเนื้อและข้อต่อให้หนาแน่นมากขึ้น ร่วมกับการฝึกทรงตัวเพื่อลดโอกาสเสี่ยงในการหกล้มจนเกิดอุบัติเหตุ

ตรวจหาภาวะกระดูกพรุนได้หากถึงวัยและอยู่ในกลุ่มเสี่ยง กับแพ็กเกจการตรวจคัดกรองภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis Screening)

ทุกคนควรตรวจความหนาแน่นและคุณภาพภายในกระดูกเมื่ออายุ 60 ปีขึ้นไป หรือสามารถเข้ารับการตรวจก่อนหน้านั้นได้หากพบว่าตนเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ในแพ็กเกจตรวจคัดกรองภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis Screening) จากโรงพยาบาลวิมุต เราใช้เครื่อง DEXA scan (Dual Energy X-Ray Absorption) ซึ่งเป็นเครื่องตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก โดยเครื่องมือแพทย์ตัวนี้จะใช้ปริมาณรังสีน้อย (เมื่อเทียบกับการเอกซเรย์ปอด) จึงมีความปลอดภัยและให้ความแม่นยำสูง ตามหลัก WHO ในการตรวจวินิจฉัยมาตรฐานของโรคกระดูกพรุน เพื่อวินิจฉัยภาวะกระดูกบาง หรือกระดูกพรุนในระยะตั้งแต่ผู้ป่วยยังไม่มีอาการ ซึ่งแพ็กเกจนี้จะตรวจ 2 ส่วน คือ กระดูกสันหลังส่วนเอว (Lumbar Spine) และกระดูกสะโพก (Hip) แต่ทั้งนี้แพทย์อาจพิจารณาเพิ่มในส่วนกระดูกข้อมือ (Forearm) เพื่อตรวจวินิจฉัยภาวะกระดูกบาง หรือกระดูกพรุนได้ตั้งแต่ผู้ป่วยยังไม่มีอาการ


สนใจซื้อแพ็กเกจตรวจคัดกรองภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis Screening) ออนไลน์ ราคาพิเศษได้ที่นี่

โรคกระดูกพรุนพบได้มากขึ้นตามอัตราผู้สูงวัยในสังคมที่กำลังก้าวสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) และไม่ว่าวันนี้คุณจะอยู่ในช่วงวัยใด เป็นหนุ่มสาววัยสร้างฝันหรือถึงวัยที่โรคกระดูกพรุนเริ่มคืบคลานมาหา การปกป้องสุขภาพกระดูกให้ห่างไกลจากโรคกระดูกพรุนก็จำเป็นต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพิ่มความแข็งแกร่ง ลดความเสี่ยงให้กระดูกตั้งแต่วันนี้ เพื่อชะลอการสูญเสียกระดูกให้ช้าที่สุด

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์กระดูกและข้อ ชั้น 4 โรงพยาบาลวิมุต
เวลา 08.00-20.00 น.โทร.0-2079-0060
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน

ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ

ผู้เขียน
นพ. ปฐมฉัฐ พิสิฐวัฒนาภรณ์ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ ผู้เชี่ยวชาญการผ่าตัดส่องกล้องโรคข้อและการบาดเจ็บทางการกีฬา

เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
ข้อเท้าแพลง รับมืออย่างไร

ข้อเท้าแพลง คือการบาดเจ็บบริเวณข้อเท้า ที่เกิดจากการบิด หมุน หรือพลิกเกินช่วงการเคลื่อนไหวปกติ ทำให้เอ็นบริเวณข้อเท้าเกิดการยืดออกมากจนเกินไป การบาดเจ็บมักเกิดบริเวณข้อเท้าด้านนอก หากรุนแรงมาก อาจส่งผลให้เอ็นเกิดการฉีดขาด มีอาการปวด บวม และสูญเสียความมั่นคงของข้อเท้า

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
5 ปัจจัยทำ ให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม

คุณเคยไหม ที่รู้สึกปวดเข่า เมื่อต้องขึ้นลงบันได หรือ มีเสียงดังก๊อบแก๊บที่เข่าเวลาเดิน นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคข้อเข่าเสื่อม จริง ๆ แล้ว ปัจจัยที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมมีอยู่มากมาย แต่วันนี้ขอนำเอาปัจจัย 5 ข้อสำคัญๆ ที่มีผลมากที่สุด มาให้ความรู้กันครับ

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
ระวังภัยร้ายจาก Work from home syndrome ถามหา

ถึงสถานการณ์จะกลับมาคลี่คลายแล้ว แต่หลายบริษัทยังคงให้ Work From Home อยู่เพื่อความปลอดภัย ซึ่งการทำงานจากบ้านที่ดูเหมือนจะสบายนั้น อาจสร้างปัญหาสุขภาพได้มากกว่าที่คิด

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
ทำอย่างไร เมื่อข้อไหล่ติด รบกวนชีวิตประจำวัน

ข้อไหล่ติด ปวดไหล่ ขยับไหล่แล้วเจ็บ หรือขยับไหล่ได้น้อยลงจนหลายคนใช้ชีวิตลำบาก วันนี้เรามีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับสาเหตุ อาการและวิธีรักษาข้อไหล่ติดโดยไม่ต้องผ่าตัดมาฝากกัน

อ่านเพิ่มเติม

แนะนำแพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง