“มะเร็งรังไข่” โรคร้ายที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม

18 ก.ย. 67  | ศูนย์สูตินรีเวช
แชร์บทความ      

มะเร็งรังไข่

“มะเร็งรังไข่” โรคร้ายที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม

“มะเร็งรังไข่” หนึ่งในมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งปากมดลูก ซึ่งเป็นโรคมะเร็งที่มีความร้ายแรงและมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมาก จากข้อมูลสถิติขององค์การอนามัยโลกพบว่า ในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยมะเร็งรังไข่รายใหม่เกือบ 3,000 ราย และมีผู้ป่วยมะเร็งรังไข่มากกว่าครึ่งที่ต้องเสียชีวิตในแต่ละปี แต่อย่าพึ่งกังวลไปวันนี้เราจะพาคุณไปรู้จักเพื่อเตรียมตัวรับมือกับโรคนี้ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย มาติดตามไปพร้อมกันที่บทความนี้ !

สัญญาณเตือนของโรคมะเร็งรังไข่…มีอาการอย่างไร?

สำหรับมะเร็งรังไข่นั้นในระยะแรกอาจไม่มีอาการแสดงให้เห็นชัดเจนนัก แต่หากคุณมีอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งรังไข่ได้ 

  • คลำพบก้อนบริเวณท้องน้อย
  • รู้สึกท้องโตขึ้น หรือต้องเปลี่ยนไซซ์กางเกง
  • รู้สึกกินอิ่มไว ท้องอืดเรื้อรัง และอาหารไม่ย่อยเป็นประจำ
  • น้ำหนักขึ้นหรือลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • มีสมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็งรังไข่ มะเร็งเต้านม

โรคมะเร็งรังไข่มีกี่ระยะ

มะเร็งรังไข่ส่วนมากเซลล์มะเร็งจะแพร่กระจายอยู่ในช่องท้อง แต่เรายังสามารถเข้ารับการรักษาและมีโอกาสรักษาหายได้ หากตรวจพบในระยะแรกเริ่ม โดยมะเร็งรังไข่สามารถแบ่งออกได้ 4 ระยะ ดังนี้ 

  • ระยะที่ 1 มะเร็งยังอยู่ที่บริเวณรังไข่ ยังไม่กระจายไปอวัยวะอื่นๆ 
  • ระยะที่ 2 มะเร็งกระจายมาที่ปีกมดลูก และอวัยวะในช่องท้องน้อยบริเวณอุ้งเชิงกราน 
  • ระยะที่ 3 มะเร็งมีการแพร่กระจายเข้าไปในช่องท้อง 
  • ระยะที่ 4 มะเร็งกระจายไปสู่อวัยวะที่อยู่ไกลขึ้น เช่น ปอด ตับ ต่อมน้ำเหลืองที่คอ

โรคมะเร็งรังไข่

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งรังไข่

ในปัจจุบันโรคมะเร็งรังไข่เกิดจากอะไรยังไม่มีใครทราบต้นตอสาเหตุที่แน่ชัด แต่คาดว่ามีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยร่วมกัน ดังนี้

  • ความผิดปกติของยีนที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม 
  • ผู้สูงอายุ โดยพบว่ามะเร็งรังไข่พบได้บ่อยในสตรีที่อายุประมาณ 40 - 50 ปี 
  • มีประวัติครอบครัว หรือญาติสายตรง แม่ พี่สาว น้องสาว เป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ มะเร็งลำไส้ 

วิธีการตรวจวินิจฉัยหาโรคมะเร็งรังไข่ ทำได้อย่างไรบ้าง?

การตรวจวินิจฉัยหามะเร็งรังไข่ในระยะแรกจะเพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งแพทย์จะใช้วิธีการตรวจหลายวิธีร่วมกันเพื่อเพิ่มความแม่นยำ ดังนี้ 

  1. การตรวจภายใน วิธีการนี้สามารถตรวจพบก้อนเนื้อในท้องน้อยได้ เป็นการตรวจประเมินเบื้องต้นนำไปสู่การตรวจอื่นๆ เพิ่มเติม 
  2. การตรวจอัลตร้าซาวน์ (Ultrasound) ตรวจผ่านทางช่องคลอดหรือหน้าท้องจะช่วยให้ตรวจพบก้อนมะเร็งในอุ้งเชิงกรานและรังไข่ได้อย่างแม่นยำ และยังเป็นวิธีที่ไม่สร้างความเจ็บปวดต่อคนไข้อีกด้วย 
  3. การตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็ง (Tumor Marker) สารโปรตีน CA-125 (Cancer Antigen 125) ในกรณีที่ตรวจพบก้อนที่รังไข่ที่สงสัยมะเร็งรังไข่ การตรวจค่า CA-125 จะช่วยในการทำนายว่าก้อนดังกล่าวเป็นมะเร็งหรือไม่ 
  4. การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ช่วยในการตรวจวินิจฉัยและประเมินการแพร่กระจายของมะเร็งได้
  5. การผ่าตัดผ่านกล้องตรวจช่องท้อง (Diagnostic laparoscopy) เป็นการตรวจที่สามารถหาเนื้อเยื่อข้างในอุ้งเชิงกราน และเก็บตัวอย่างออกมาเพื่อวินิจฉัยและรักษาต่อไปได้ 

วิธีการรักษาโรคมะเร็งรังไข่

วิธีการรักษาโรคมะเร็งรังไข่

การรักษามะเร็งรังไข่มีหลายวิธีขึ้นอยู่กับตำแหน่งและระยะของโรค ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้เลือกใช้วิธีการรักษาตามความเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย 

  1. การผ่าตัด (Surgery) เป็นวิธีการรักษาหลักสำหรับมะเร็งรังไข่ ซึ่งรวมถึงการตัดรังไข่ มดลูก ต่อมน้ำเหลืองที่อุ้งเชิงกราน และเนื้อเยื่อที่เกี่ยวข้อง ซึ่งวิธีการผ่าตัดนี้มีจุดประสงค์เพื่อกำจัดเนื้อร้ายออกทั้งหมด หรือทำเพื่อการวินิจฉัยเบื้องต้นก็ได้
  2. เคมีบำบัด (Chemotherapy) ใช้ยาที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเซลล์มะเร็ง โดยการให้ยาเคมีบำบัดมักจะให้ผ่านทางหลอดเลือดดำหรือทางช่องท้อง ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ร่วมกับวิธีการผ่าตัด
  3. รังสีรักษา (Radiation Therapy) ใช้รังสีที่มีพลังงานสูงเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง อาจเป็นการฉายรังสีจากภายนอกร่างกายและฉายตรงเข้าสู่ร่างกาย แต่วิธีนี้ไม่ค่อยถูกใช้ในการรักษามะเร็งรังไข่มากนัก

ถึงแม้ว้าโรคมะเร็งรังไข่จะมีความรุนแรงและสามารถส่งผลอันตรายถึงชีวิต แต่หากตรวจพบมะเร็งรังไข่ได้รวดเร็วก็มีโอกาสที่จะลดทอนความซับซ้อนในการรักษาและเพิ่มโอกาสการรักษาให้หายจากโรคได้ ดังนั้น การเฝ้าสังเกตความผิดปกติของร่างกาย การตรวจสุขภาพประจำปีจึงเป็นสิ่งสำคัญ หากมีอาการผิดปกติควรรีบมาพบสูตินรีแพทย์ทันที 

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์สูตินรีเวช ชั้น 3 โรงพยาบาลวิมุต 
เวลาทำการ 08:00 - 20:00 น. โทร. 0-2079-0066 \
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์ 

ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ

ผู้เขียน
นพ.กษิติ เที่ยงธรรม สูตินรีแพทย์ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านมะเร็งวิทยานรีเวช

แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
นพ.กษิติ
เที่ยงธรรม
สูตินรีแพทย์
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านมะเร็งวิทยานรีเวช

เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
คุณแม่มือใหม่ ต้องเตรียมตัวอย่างไรหลังคลอด ?

ใกล้เวลาได้พบเจอกัน แต่คุณแม่มือใหม่จำนวนไม่น้อยที่ไม่รู้ว่าต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง กับสิ่งที่ต้องเจอหลังคลอดลูก ที่นี่เราได้รวมข้อมูลเพื่อคุณแม่มือใหม่มาให้แล้ว

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
ไขข้อข้องใจ ทำไมผู้หญิงถึงควรฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก ?

วัคซีนมะเร็งปากมดลูก ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งมดลูกได้จริงไหม จำเป็นแค่ไหน ทำไมต้องฉีด

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
4 มะเร็งร้ายที่ผู้หญิงต้องระวัง พร้อมโปรแกรมตรวจสุขภาพผู้หญิง

เช็กให้ชัวร์เพื่อสุขภาพของผู้หญิงทุกคน กับ 4 มะเร็งร้ายทำลายชีวิต ที่สาวๆ ต้องหมั่นสังเกต พร้อมโปรแกรมตรวจสุขภาพผู้หญิงปี 2567 ราคาพิเศษจาก รพ. วิมุต

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
ก้าวสู่ชีวิตคู่อย่างมั่นใจ “ตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน”

เริ่มต้นชีวิตคู่ที่สมบูรณ์แบบพร้อมสุขภาพดีไปด้วยกัน กับการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน หลายคนอาจสงสัยว่าจำเป็นหรือไม่และต้องตรวจอะไรบ้าง เรามีคำตอบมาให้แล้วที่นี่

อ่านเพิ่มเติม