ปวดส้นเท้า ก้าวแล้วเจ็บจี๊ด คุณอาจกำลังเป็น “โรครองช้ำ”

19 มิ.ย. 67  | ศูนย์กระดูกและข้อ
แชร์บทความ      

โรครองช้ำ

ปวดส้นเท้า ก้าวแล้วเจ็บจี๊ด คุณอาจกำลังเป็น “โรครองช้ำ”

อาการปวดส้นเท้า หรืออาการเจ็บแปล๊บๆ เหมือนโดนเข็มทิ่มที่ส้นเท้า หรือฝ่าเท้า เป็นอาการหลักของโรครองช้ำที่มักพบได้บ่อยในกลุ่มคนที่ต้องยืนนานๆ เดินเยอะๆ คนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน หรือแม้กระทั่งในคนที่อายุ 45 ปีขึ้นไป และแม้ว่าโรคนี้จะไม่น่ากลัวและไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต แต่ก็สามารถสร้างความทรมานและทำให้ใช้ชีวิตอย่างไม่มีความสุขได้เช่นกัน บทความนี้จะพาไปดูกันว่าโรครองช้ำคืออะไร สาเหตุ อาการ การดูแลรักษาและการป้องกันทำได้อย่างไรบ้าง

โรครองช้ำคืออะไร มีสาเหตุเกิดจากอะไรได้บ้าง ?

โรครองช้ำ (Plantar Fasciitis) หรือโรคพังผืดฝ่าเท้าอักเสบ เป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากเส้นเอ็นบริเวณฝ่าเท้าที่ยึดเกาะกับกระดูกบริเวณส้นเท้า ไล่ยาวไปจนถึงกระดูกนิ้วเท้านั้นถูกใช้งานอย่างหนัก หรือถูกกระแทกซ้ำๆ บ่อยๆ ทำให้เส้นเอ็นพังผืดใต้ฝ่าเท้าเกิดการอักเสบ โดยปัจจัยกระตุ้นที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรครองช้ำสามารถเกิดได้จากหลายปัจจัยดังนี้

  • ยืน เดิน วิ่งนานๆ การยืนทำงานทั้งวัน เดินตลอดเวลา นักกีฬา หรือคนที่ชื่นชอบการออกกำลังกายด้วยการวิ่งเป็นประจำ มีโอกาสเป็นรองช้ำหรือเกิดอาการปวดบริเวณส้นเท้าได้ เพราะการใช้งานอย่างหนัก ร่วมกับแรงกดและแรงกระแทก ทำให้เส้นเอ็นพังผืดใต้ฝ่าเท้า เกิดการอักเสบและการบาดเจ็บตามมาได้
  • อายุมากขึ้น อายุที่เพิ่มมากขึ้นทำให้เอ็นพังผืดฝ่าเท้าเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา โดยเส้นเอ็นที่เสื่อมสภาพลงจะมีลักษณะที่ไม่แข็งแรงและไม่ยืดหยุ่น ทำให้อักเสบและบาดเจ็บได้ง่าย
  • น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตราฐาน เพราะน้ำหนักที่มากเกินไป หรือในกลุ่มคนที่เป็นโรคอ้วน ทำให้ฝ่าเท้าจำเป็นจะต้องรองรับน้ำหนักและรับแรงกระแทกมากกว่าปกติ ซึ่งทำให้เส้นเอ็นพังผืดฝ่าเท้าอักเสบและบาดเจ็บ
  • โครงสร้างสรีระฝ่าเท้า ในบางคนมีรูปเท้าที่ผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นอุ้งเท้าแบน อุ้งเท้าสูง ส้นเท้าบิดออกด้านนอก หรืออุ้งเท้าโก่งมากเกินไป เหล่านี้ทำให้เส้นเอ็นพังผืดใต้ฝ่าเท้าตึงหรือยืดมากกว่าปกติ เสี่ยงต่อการเกิดการอักเสบและเป็นโรครองช้ำมากกว่าปกติ
  • รองเท้าที่ไม่ถูกสุขลักษณะ การสวมรองเท้าพื้นแข็ง รองเท้าพื้นบาง หรือรองเท้าส้นสูงเป็นประจำ จะทำให้เส้นเอ็นพังผืดใต้ฝ่าเท้าตึงจนนำไปสู่การอักเสบได้
  • ภาวะกล้ามเนื้อน่องตึง เนื่องจากภาวะดังกล่าวนี้จะทำให้เกิดแรงกระแทกบริเวณปลายเท้า ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บบริเวณเส้นเอ็นพังผืดฝ่าเท้าได้

โรครองช้ำ มีอาการเป็นอย่างไร

โรครองช้ำ มีอาการอย่างไร

  • มักเจ็บ หรือปวดบริเวณส้นเท้าในตอนเช้าหลังตื่นนอน โดยอาการสำคัญมักเป็นในช่วงเช้าหลังตื่นนอน (Morning Pain หรือ First Step Pain) เนื่องจากตอนนอนเส้นเอ็นพังผืดใต้ฝ่าเท้าไม่ถูกใช้งานจึงอยู่ในลักษณะหย่อน แต่เมื่อเริ่มเดินก้าวแรกเส้นเอ็นจะยืดตัว ตึงขึ้น ทำให้เจ็บแปล๊บๆ เหมือนเข็มทิ่ม หรือปวดส้นเท้าในบริเวณที่มีการอักเสบได้
  • เจ็บ หรือปวดส้นเท้าหลังนั่งพัก หรือไม่ได้เดินนานๆ โรครองช้ำอาจไม่ได้เกิดขึ้นแค่ตอนเช้าเสมอไป หากไม่ได้เดินนานๆ พักเท้าไว้นานๆ เมื่อกลับมาเดินก็อาจมีอาการเจ็บหรือปวดส้นเท้าได้เช่นกัน
  • เจ็บแปล๊บๆ เจ็บจี๊ดๆ เมื่อลงน้ำหนักเดิน บางรายที่มีการอักเสบมากขึ้นอาจรู้สึกเจ็บได้ทุกครั้งที่ต้องเดินหรือลงน้ำหนักบริเวณฝ่าเท้า

การรักษาโรครองช้ำ

วิธีการรักษาโรครองช้ำ

  • เลี่ยงปัจจัยเสี่ยงและลดการใช้งาน เช่น การสวมรองเท้าที่ไม่ถูกสุขลักษณะ การออกกำลังกายที่ทำให้ฝ่าเท้าได้รับแรงกระแทก และควรงดการใช้หรือลงน้ำหนักกับฝ่าเท้าเพื่อบรรเทาอาการอักเสบ
  • รับประทานยา สำหรับอาการปวดของโรครองช้ำสามารถบรรเทาได้ด้วยพาราเซตามอล หรือยากลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) 
  • ออกกำลังกาย เพราะอาการปวดมาจากเส้นเอ็นพังผืดใต้เท้าตึงเกินไป

การออกกำลังกาย ยืดพังผืดฝ่าเท้าอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้เอ็นมีความยืดหยุ่น ลดแรงกระชาก หรือความตึงของเส้นเอ็นได้ ในรายที่เส้นเอ็นพังผืดใต้เท้าตึงมากๆ แนะนำให้แช่เท้าในน้ำอุ่นก่อนทำการยืดประมาณ 15-20 นาที จะช่วยลดอาการปวดขณะออกกำลังกายได้
- การยืดกล้ามเนื้อน่องช่วยให้อาการรองช้ำดีขึ้น หากทำการออกกำลังกายทั้ง 2 วิธีนี้ร่วมกัน

  • กายภาพบำบัด สำหรับคนที่รับประทานยาและออกกำลังกายแล้วอาการไม่ดีขึ้นเท่าที่ควร สามารถใช้กายภาพบำบัดเข้ามาช่วยได้โดยใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (Electrical Stimulation), เครื่องคลื่นกระแทก (Shock wave), เครื่องคลื่นเหนือเสียง (Ultrasound Therapy), เครื่องเลเซอร์กำลังสูง (High Power Laser) หรือเครื่องคลื่นกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า (Peripheral Magnetic Stimulator) ที่จะช่วยกระตุ้นให้กล้ามเนื้อคลายตัว ลดความตึงและบรรเทาอาการปวดได้
  • ผ่าตัด วิธีนี้จะทำต่อเมื่อรักษาด้วยวิธีอื่นๆ ไม่ได้ผล โดยการผ่าตัดจะทำการเลาะและตัดพังผืดบางส่วนเพื่อลดความตึงให้เส้นเอ็นหย่อนมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม หากรู้สึกเจ็บหรือปวดส้นเท้า และสงสัยว่าเป็นโรครองช้ำ แนะนำให้ลดการใช้งาน หรือปรับพฤติกรรมที่ต้องเดินหรือยืนนานๆ หันมาสวมใส่รองเท้าอยู่เสมอแม้อยู่ในบ้านเพื่อลดแรงกระแทกที่จะทำให้เกิดการอักเสบ รวมถึงปรับเปลี่ยนรองเท้าให้มีความนุ่ม ยืดหยุ่นและรองรับแรงกระแทกได้ดีกว่ารองเท้าพื้นแข็ง รองเท้าพื้นบางและรองเท้าส้นสูง ใช้การประคบเย็นเพื่อลดอาการปวดจากการอักเสบและตามด้วยการประคบร้อนเพื่อให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นคลายตัวลง แต่หากมีอาการปวดมากขึ้นจนไม่สามารถเดินหรือใช้ชีวิตได้อย่างปกติ รักษาเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น ปวดมากขึ้น ไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข ควรเข้าปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาได้อย่างตรงจุด เนื่องจากอาการปวดบริเวณส้นเท้าของท่านอาจไม่ได้เป็นโรครองช้ำก็เป็นได้

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่ 
ศูนย์กระดูกและข้อ ชั้น 4 โรงพยาบาลวิมุต 
เวลาทำการ 08:00 - 20:00  น. โทร. 0-2079-0060 
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์

ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ

ผู้เขียน
นพ.พิสิฏฐ์ บุญมา ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ เฉพาะทางด้านเท้าและข้อเท้า

แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
นพ.พิสิฏฐ์
บุญมา
ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านเท้าและข้อเท้า

เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
ข้อเท้าแพลง รับมืออย่างไร

ข้อเท้าแพลง คือการบาดเจ็บบริเวณข้อเท้า ที่เกิดจากการบิด หมุน หรือพลิกเกินช่วงการเคลื่อนไหวปกติ ทำให้เอ็นบริเวณข้อเท้าเกิดการยืดออกมากจนเกินไป การบาดเจ็บมักเกิดบริเวณข้อเท้าด้านนอก หากรุนแรงมาก อาจส่งผลให้เอ็นเกิดการฉีดขาด มีอาการปวด บวม และสูญเสียความมั่นคงของข้อเท้า

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
5 ปัจจัยทำ ให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม

คุณเคยไหม ที่รู้สึกปวดเข่า เมื่อต้องขึ้นลงบันได หรือ มีเสียงดังก๊อบแก๊บที่เข่าเวลาเดิน นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคข้อเข่าเสื่อม จริง ๆ แล้ว ปัจจัยที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมมีอยู่มากมาย แต่วันนี้ขอนำเอาปัจจัย 5 ข้อสำคัญๆ ที่มีผลมากที่สุด มาให้ความรู้กันครับ

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
ระวังภัยร้ายจาก Work from home syndrome ถามหา

ถึงสถานการณ์จะกลับมาคลี่คลายแล้ว แต่หลายบริษัทยังคงให้ Work From Home อยู่เพื่อความปลอดภัย ซึ่งการทำงานจากบ้านที่ดูเหมือนจะสบายนั้น อาจสร้างปัญหาสุขภาพได้มากกว่าที่คิด

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
ทำอย่างไร เมื่อข้อไหล่ติด รบกวนชีวิตประจำวัน

ข้อไหล่ติด ปวดไหล่ ขยับไหล่แล้วเจ็บ หรือขยับไหล่ได้น้อยลงจนหลายคนใช้ชีวิตลำบาก วันนี้เรามีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับสาเหตุ อาการและวิธีรักษาข้อไหล่ติดโดยไม่ต้องผ่าตัดมาฝากกัน

อ่านเพิ่มเติม