สีน้ำมูก สัญญาณเล็กๆ แต่บอกได้หลายโรค

12 ธ.ค. 67  | ศูนย์หู คอ จมูก
แชร์บทความ      

สีน้ำมูก สัญญาณเล็กๆ แต่บอกได้หลายโรค

เคยสงสัยกันไหมว่าน้ำมูกเกิดจากอะไร ? เมื่อไหร่ที่ร่างกายเกิดไม่สบายทำไมต้องมีน้ำมูกออกมา รวมถึงสีน้ำมูกก็ยังมีความแตกต่างกันออกไปอีก ซึ่งความแตกต่างของสีน้ำมูกนี้ยังเป็นสัญญาณที่สามารถบอกโรค หรือภาวะสุขภาพของคุณได้ด้วย! เพื่อให้คุณรู้ทันสัญญาณอันตรายที่แฝงมากับสีของน้ำมูก ลองมาดูกันว่าสีน้ำมูกต่างๆ บอกโรคอะไรได้บ้าง 

น้ำมูกมาจากไหน ทำไมไม่สบายแล้วมักมีน้ำมูก ?

น้ำมูก (Mucus) เป็นสารคัดหลั่งที่ออกมาจากจมูก เพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคออกจากร่างกาย หากร่างกายเกิดการติดเชื้อน้ำมูกจะถูกผลิตออกมามากกว่าปกติ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่สร้างความชุ่มชื้นให้แก่เนื้อเยื่อต่างๆ อยู่ตลอดเวลา ซึ่งถ้าเยื่อบุที่คลุมอวัยวะของระบบทางเดินหายใจแห้งจะเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูงขึ้น 

ชวนสังเกต! สีน้ำมูกบอกอะไรได้บ้าง

สีของน้ำมูกอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อโรคหรืออาการของโรคนั้นๆ ร่วมด้วย โดยส่วนใหญ่แล้วสีของน้ำมูกสามารถแบ่งได้ตามสีต่างๆ ดังนี้ 

สีน้ำมูกบอกอะไรได้บ้าง

  • น้ำมูกสีใส : ถือว่าไม่ได้เป็นสัญญาณของโรคร้ายแรงใดๆ แต่เป็นสีปกติที่ร่างกายของเราผลิตออกมาเพื่อล้างสิ่งสกปรกหรือฝุ่นออกจากจมูก แต่หากมีการผลิตน้ำมูกสีใสออกมามากเกินไปอาจเป็นสัญญาณของอาการภูมิแพ้ได้
  • น้ำมูกสีขาว หรือสีเทา : มีลักษณะเหนียวและขาวขุ่น อาจเนื่องมาจากการที่น้ำมูกถูกขังอยู่ในโพรงจมูกเป็นระยะเวลานานจากเยื่อบุจมูกที่บวม ส่วนใหญ่แล้วมาจากอาการภูมิแพ้จมูก โพรงจมูกบวม หรือเกิดการอักเสบติดเชื้อจากไวรัส
  • น้ำมูกสีเขียว หรือสีเหลือง : ส่วนใหญ่มาจากการติดเชื้อในโพรงจมูก โพรงไซนัสจากไวรัสหรือแบคทีเรีย หรือไซนัสอักเสบ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันจะส่งเซลล์เข้าไปกำจัดแบคทีเรียหรือสิ่งแปลกปลอม เช่น เซลล์เม็ดเลือดขาว รวมทั้งเมือก เอนไซม์ และหนองต่างๆ จะรวมตัวกัน ทำให้น้ำมูกมีสีเหลืองหรือเขียวได้ 
  • น้ำมูกสีแดง : อาจเกิดจากเส้นเลือดฝอยบริเวณนั้นแตก ทำให้มีเลือดปนออกมากับน้ำมูก ซึ่งสาเหตุของเส้นเลือดฝอยแตกอาจมาจากหลายปัจจัย เช่น การระคายเคือง หรือบาดเจ็บบริเวณจมูก, การอักเสบในโพรงจมูก, เนื้องอก, โรคของหลอดเลือดชนิดต่างๆ หรือแม้แต่การที่เยื่อบุจมูกแห้ง
  • น้ำมูกสีดำ : มักพบในผู้ที่สูบบุหรี่ ใช้ยาเสพติดที่ผิดกฎหมาย หรือผู้ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีมลพิษทางอากาศมาก แต่หากเป็นสีดำสนิทให้ระมัดระวังการติดเชื้อราได้ 

มีสีน้ำมูกแบบไหนอันตรายควรไปพบแพทย์

หากสังเกตแล้วพบว่าสีน้ำมูกมีสีเขียว สีเหลือง สีแดง มีเมือกปน มีกลิ่นเหม็น ร่วมกับมีอาการไอ มีเสมหะ มีอาการไข้ ปวดเมื่อยร่างกายและหายใจลำบากควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการติดเชื้อที่รุนแรง ต้องให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด

จะเห็นได้ว่าถึงแม้สีน้ำมูกจะเป็นสัญญาณอาการเพียงเล็กๆ น้อยๆ แต่การสังเกตสีน้ำมูกก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการประเมินความรุนแรงของการเจ็บป่วยเบื้องต้นของร่างกายได้ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รู้ทันอาการผิดปกติ หรือโรคอันตรายที่อาจส่งผลกระทบต่อร่างกายในอนาคต และสามารถเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไปได้   
 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์หู คอ จมูก ชั้น 5 โรงพยาบาลวิมุต 
เวลาทำการ 08:00 - 20:00 น. โทร. 0-2079-0050
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์ 

ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ

ผู้เขียน
ผศ.พญ.กวินญรัตน์ จิตรอรุณฑ์ แพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางหู คอ จมูก

แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
ผศ.พญ.กวินญรัตน์
จิตรอรุณฑ์
โสต ศอ นาสิก (Otolaryngology)
นาสิกวิทยาและโรคภูมิแพ้

เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
เวียนหัว บ้านหมุน เหมือนจะอาเจียน ใช่อาการหินปูนในหูเคลื่อนหรือไม่

โรคหินปูนในหูเคลื่อน อีกหนึ่งสาเหตุยอดฮิตของผู้ที่มักมีอาการวิงเวียนศีรษะ บ้านหมุน เสียการทรงตัว เช็กพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคพร้อมวิธีดูแลเมื่อเกิดอาการที่ถูกต้องได้ที่นี่

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
เปลี่ยนท่านอนให้ถูกต้อง ลดปัญหาสุขภาพ หลับสบาย

การนอนท่านอนที่ถูกต้องช่วยเสริมการนอนหลับให้ดีขึ้น ช่วยลดความเจ็บปวดของร่างกายและทำให้หลับลึก หลับสบาย เพิ่มประสิทธิภาพการพักผ่อนอย่างเต็มที่ เช็กท่านอนที่เหมาะสมพร้อมกันที่นี่

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
ภูมิแพ้อากาศ คันจมูก คันตา จามบ่อย มีวิธีรักษายังไงบ้าง?

ตรวจเช็กอาการภูมิแพ้อากาศต่างจากหวัดยังไง คุณกำลังมีอาการภูมิแพ้อากาศหรือไม่? สิ่งเร้าที่กระตุ้นให้เกิดอาการมีอะไรบ้าง มาหาคำตอบไปพร้อมกันได้ที่นี่

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
บ้านหมุน เวียนหัว คลื่นไส้ พะอืดพะอม วิธีแก้ได้อย่างไร?

บ้านหมุน หรืออาการเวียนหัว คลื่นไส้ พะอืดพะอม ทรงตัวไม่อยู่ มีสาเหตุการเกิดได้หลายปัจจัย แต่จะมีวิธีการดูแลหรือแก้ให้รู้สึกดีขึ้นได้อย่างไรบ้าง เรามีคำตอบ

อ่านเพิ่มเติม

แนะนำแพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง