มะเร็งกระเพาะอาหาร เนื้อร้ายที่คุณต้องรู้เท่าทัน!
มะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่งที่คร่าชีวิตคนไทยไปไม่น้อย สอดคล้องกับที่อธิบดีกรมการแพทย์ได้ให้ข้อมูลว่า มะเร็งกระเพาะอาหารเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 5 ของมะเร็งที่พบทั้งหมดทั่วโลก และในประเทศไทยมีข้อมูลทะเบียนมะเร็งรายงานผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารรายใหม่ปีละ 3,185 คน ซึ่งในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิต 2,176 คน อีกทั้งยังมีแน้วโน้มเพิ่มมากขึ้นในอนาคต หากเรายังคงใช้ชีวิตด้วยความเร่งรีบ รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา หรือรับประทานอาหารที่ไม่ถูกหลักอนามัย ดังนั้น มารู้จักโรคนี้ให้มากขึ้นเพื่อรู้เท่าทันและเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที
โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร (Gastric cancer) เกิดจากสาเหตุใด?
เกิดจากการที่เซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหารมีการแบ่งจำนวนมากขึ้นอย่างผิดปกติ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนของกระเพาะอาหาร ทำให้กลายเป็นเซลล์มะเร็ง เมื่อมะเร็งมีการพัฒนาและมีขนาดใหญ่ขึ้นจะเกิดการกระจายตัวไปยังต่อมน้ำเหลือง และสามารถกระจายไปสู่อวัยวะอื่นๆ ได้อีก เช่น ตับ ลำไส้ ปอด หรือเยื่อบุช่องท้อง เป็นต้น
ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
มีหลายปัจจัยที่พบว่าสามารถเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคได้ ดังนี้
- อายุ เมื่ออายุมากขึ้นก็จะมีโอกาสเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารมากขึ้น
- เพศ พบว่าผู้ชายมีความเสี่ยงมากกว่าผู้หญิง
- เชื้อชาติ พบโรคมะเร็งกระเพาะอาหารในชาวเอเชียมากกว่าเชื้อชาติอื่นๆ
- การรับประทานอาหารปิ้งย่าง หมักดอง หรืออาหารเค็มจัด อาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคมากขึ้น
- การสูบบุหรี่ ทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้สูงขึ้น
- การติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori (H. Pylori) เป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหาร เมื่อติดเชื้อชนิดนี้แล้วจะทำให้มีอาการอักเสบและเกิดเป็นแผลเรื้อรังในกระเพาะอาหาร ซึ่งเพิ่มโอกาสในการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารมากขึ้น
- กรรมพันธุ์ หากคนในครอบครัวมีประวัติเจ็บป่วยด้วยโรคนี้ ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคสูงขึ้น
โรคมะเร็งกระเพาะอาหารมีอาการอย่างไรบ้าง?
อาการของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารจะมีความรุนแรงขึ้นตามระยะการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ซึ่งสามารถสังเกตได้ดังนี้
1. อาการของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารในระยะแรก
ในระยะแรกอาจไม่มีอาการแสดงเฉพาะหรือชัดเจน และอาจมีอาการคล้ายโรคทางเดินอาหารอื่นๆ เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือกระเพาะอาหารอักเสบ แต่ก็ยังสามารถสังเกตได้ ดังนี้
- รู้สึกอาหารไม่ย่อย หรือปวดท้อง
- รู้สึกไม่สบายท้อง
- ท้องอืดหลังรับประทานอาหาร
- คลื่นไส้เล็กน้อย
- เบื่ออาหาร ไม่อยากรับประทานอาหาร
- มีอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก
2. อาการของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารระยะลุกลาม
ในระยะนี้จะมีการอุดตันของกระเพาะอาหารทำให้เกิดอาการ ดังนี้
- รู้สึกไม่สบายท้อง หรือปวดท้อง
- อาเจียนเป็นเลือด
- อ่อนเพลีย
- รับประทานอาหารไม่ได้
- น้ำหนักลดอย่างรวดเร็วโดยไม่มีสาเหตุ
- มีเลือดปนในอุจจาระ
ในบางรายที่มีการลุกลามไปสู่อวัยวะใกล้เคียงแล้ว เช่น ปอด ตับ กระดูก ทำให้มีอาการอาการไอ เหนื่อย ปวดหลัง ร่วมด้วยได้
การตรวจวินิจฉัยหาโรคมะเร็งกระเพาะอาหารทำอย่างไร?
ปัจจุบันสามารถตรวจวินิจฉัยหารอยโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้หลายวิธี ซึ่งจะขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยและดุลยพินิจของแพทย์ร่วมด้วย โดยจะมีวิธีการตรวจหาเซลล์มะเร็งในทางเดินอาหาร ดังนี้
- การเจาะเลือด เป็นการตรวจหามะเร็งเบื้องต้นที่ใช้เวลาไม่นานก็ทราบผล หากตรวจด้วยวิธีนี้แล้วพบสารบ่งชี้เกี่ยวข้องกับการเกิดโรค แพทย์จะแนะนำให้ทำการตรวจแบบส่องกล้องอย่างละเอียดในขั้นตอนต่อไป
- การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน (Gastroscopy) เป็นวิธีการส่องกล้องเข้าไปในทางเดินอาหาร โดยสอดเข้าทางปาก ผ่านหลอดอาหาร เข้าสู่กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น เพื่อหาบริเวณที่ผิดปกติและตรวจดูตำแหน่ง ขนาด และรูปร่างของเนื้องอกกระเพาะอาหาร นอกจากนั้นยังสามารถตัดชิ้นเนื้อบริเวณที่สงสัยไปตรวจหาเซลล์มะเร็ง
- การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้อง (CT scan) วิธีการนี้จะทำให้เห็นอวัยวะภายในแบบ 3 มิติ โดยจะถ่ายภาพตั้งแต่หน้าอกส่วนล่างถึงบริเวณกระดูกเชิงกราน สามารถตรวจดูการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งได้
- การกลืนแป้งสารทึบแสง (Double-contrast barium swallow) เป็นวิธีการให้ผู้ป่วยกลืนน้ำที่ผสมด้วยสารทึบแสงคล้ายแป้ง ซึ่งจะไปเคลือบอวัยวะต่างๆ ของทางเดินอาหาร เพื่อทำการถ่ายภาพเอกซเรย์และนำมาหาก้อนเนื้อที่มีความผิดปกติ
อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าโรคมะเร็งกระเพาะอาหารในระยะเริ่มแรกมักไม่ค่อยแสดงอาการ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคนี้ จนกระทั่งเข้าสู่ระยะลุกลามไปยังอวัยวะที่ใกล้เคียง ส่งผลเสียต่อทั้งร่างกายและทำให้การรักษายากขึ้นอีกด้วย ดังนั้นการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีจึงเป็นสิ่งสำคัญ ด้วยการตรวจวินิฉัยโรคทางเดินอาหารด้วยการส่องกล้องที่สามารถเห็นภาพคมชัดเพื่อวินิจฉัยความผิดปกติได้อย่างชัดเจน สามารถรับคำปรึกษาและบริการจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่โรงพยาบาลวิมุต และอย่าลืมหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคร่วมด้วย ทั้งการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลาและไม่ถูกหลักอนามัย เพื่อลดโอกาสการเกิดมะเร็งและมีสุขภาพที่ดีในระยะยาว
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์
ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 3 โรงพยาบาลวิมุต
เวลาทำการ 07:00 - 20:00 น. โทร. 0-2079-0030
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์
ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ

แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

อนันตะยา

อนันตะยา

อนันตะยา

อนันตะยา

อนันตะยา

อนันตะยา
เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

หายป่วยลองโควิดได้ หายขาดด้วยโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด
โควิดที่ว่าน่ากลัว ยังไม่เท่าลองโควิด มาตรวจเช็กปอดและร่างกายให้เท่าทันโรค กับโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด เพื่อการฟื้นฟูและการดูแลตัวเองได้อย่างรวดเร็ว

รวมสารพัดเมนูอาหาร เพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ
รวมสารพัดเมนูอาหารเพื่อผู้สูงอายุ ควรกินอะไรดี ใครนึกไม่ออก เรารวมให้แล้วที่นี่ กับเมนูอาหารและโภชนาการเพื่อผู้สูงอายุ ที่ช่วยดูแลสุขภาพและบำรุงร่างกายให้แข็งแรงอย่างยั่งยืน

วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ… จำเป็นแค่ไหน ?
วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ จำเป็นต้องฉีดไหม ฉีดแล้วช่วยป้องกันโรคปอดอักเสบได้จริงหรือไหม มาดูคำตอบได้ที่นี่ว่าทำไมผู้สูงอายุถึงควรฉีดวัคซีนนี้กัน

6 วัคซีนสำหรับผู้สูงอายุ ที่แนะนำให้ลูกหลานพาไปฉีด
เปิดคำแนะนำการฉีดวัคซีนผู้สูงอายุ วัคซีนอะไรบ้างที่ควรฉีดอัปเดตข้อมูลปี 2566 เพื่อลดอัตราเสี่ยงการเสียชีวิตและบรรเทาอาการหนักให้เบาลง กับ 6 วัคซีนนี้เลยที่เรารวมข้อมูลมาให้แล้ว

หายป่วยลองโควิดได้ หายขาดด้วยโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด
โควิดที่ว่าน่ากลัว ยังไม่เท่าลองโควิด มาตรวจเช็กปอดและร่างกายให้เท่าทันโรค กับโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด เพื่อการฟื้นฟูและการดูแลตัวเองได้อย่างรวดเร็ว

รวมสารพัดเมนูอาหาร เพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ
รวมสารพัดเมนูอาหารเพื่อผู้สูงอายุ ควรกินอะไรดี ใครนึกไม่ออก เรารวมให้แล้วที่นี่ กับเมนูอาหารและโภชนาการเพื่อผู้สูงอายุ ที่ช่วยดูแลสุขภาพและบำรุงร่างกายให้แข็งแรงอย่างยั่งยืน

วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ… จำเป็นแค่ไหน ?
วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ จำเป็นต้องฉีดไหม ฉีดแล้วช่วยป้องกันโรคปอดอักเสบได้จริงหรือไหม มาดูคำตอบได้ที่นี่ว่าทำไมผู้สูงอายุถึงควรฉีดวัคซีนนี้กัน

6 วัคซีนสำหรับผู้สูงอายุ ที่แนะนำให้ลูกหลานพาไปฉีด
เปิดคำแนะนำการฉีดวัคซีนผู้สูงอายุ วัคซีนอะไรบ้างที่ควรฉีดอัปเดตข้อมูลปี 2566 เพื่อลดอัตราเสี่ยงการเสียชีวิตและบรรเทาอาการหนักให้เบาลง กับ 6 วัคซีนนี้เลยที่เรารวมข้อมูลมาให้แล้ว

วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ… จำเป็นแค่ไหน ?
วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ จำเป็นต้องฉีดไหม ฉีดแล้วช่วยป้องกันโรคปอดอักเสบได้จริงหรือไหม มาดูคำตอบได้ที่นี่ว่าทำไมผู้สูงอายุถึงควรฉีดวัคซีนนี้กัน

6 วัคซีนสำหรับผู้สูงอายุ ที่แนะนำให้ลูกหลานพาไปฉีด
เปิดคำแนะนำการฉีดวัคซีนผู้สูงอายุ วัคซีนอะไรบ้างที่ควรฉีดอัปเดตข้อมูลปี 2566 เพื่อลดอัตราเสี่ยงการเสียชีวิตและบรรเทาอาการหนักให้เบาลง กับ 6 วัคซีนนี้เลยที่เรารวมข้อมูลมาให้แล้ว

หายป่วยลองโควิดได้ หายขาดด้วยโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด
โควิดที่ว่าน่ากลัว ยังไม่เท่าลองโควิด มาตรวจเช็กปอดและร่างกายให้เท่าทันโรค กับโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด เพื่อการฟื้นฟูและการดูแลตัวเองได้อย่างรวดเร็ว

รวมสารพัดเมนูอาหาร เพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ
รวมสารพัดเมนูอาหารเพื่อผู้สูงอายุ ควรกินอะไรดี ใครนึกไม่ออก เรารวมให้แล้วที่นี่ กับเมนูอาหารและโภชนาการเพื่อผู้สูงอายุ ที่ช่วยดูแลสุขภาพและบำรุงร่างกายให้แข็งแรงอย่างยั่งยืน