ทางเลือกการรักษาไทรอยด์มีกี่วิธี มีข้อดี VS ข้อควรระวังอย่างไร

19 มิ.ย. 67  | ศูนย์เบาหวาน ต่อมไร้ท่อ และควบคุมน้ำหนัก
แชร์บทความ      

ต่อมไทรอยด์

ทางเลือกการรักษาไทรอยด์มีกี่วิธี มีข้อดี VS ข้อควรระวังอย่างไร

ต่อมไทรอยด์เป็นหนึ่งในอวัยวะสำคัญของร่างกายที่ช่วยผลิตและหลั่งไทรอยด์ฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือด โดยทั่วไปหากเกิดความผิดปกติที่ต่อมไทรอยด์ จะเเบ่งเป็น 2 ประเภทคือ 1.ก้อนเนื้อที่ไทรอยด์ 2. การทำงานของไทรอยด์ที่ผิดปกติ  โดยถ้าเป็นกลุ่มก้อนเนื้อที่ไทรอยด์เริ่มแรกมักจะไม่มีอาการ หรือบางทีอาจจะสังเกตได้ก็ต่อเมื่อเริ่มมีก้อนที่ลำคอ มีอาการกลืนลำบาก จึงต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างแม่นยำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ในส่วนของการรักษาโรคไทรอยด์สามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน เรามาดูกันว่าจะรักษาไทรอยด์ด้วยวิธีใดได้บ้าง 

การรักษาโรคไทรอยด์ (Thyroid disease)

การรักษาโรคไทรอยด์ในปัจจุบันมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงและชนิดของโรคของโรคที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล ซึ่งในปัจจุบันโรคไทรอยด์ที่สามารถพบได้มีหลายชนิด แต่ละชนิดจะต้องได้รับการวินิจฉัยและใช้วิธีการรักษาที่แตกต่างกันออกไป ทั้งการให้ยา กลืนแร่ และการผ่าตัด 

1. วิธีรักษาไทรอยด์ด้วยการให้ยา

เป็นวิธีการที่สามารถใช้ได้กับผู้ป่วยไทรอยด์ในกลุ่มที่เป็นการทำงานของไทรอยด์ผิดปกติ โดยจะเป็นการให้ยาไทรอยด์ฮอร์โมนกลุ่ม Levothyroxine (เลโวไทรอกซิน) เป็นยาฮอร์โมนที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาเพื่อชดเชยปริมาณฮอร์โมนที่ต่อมไทรอยด์ไม่สามารถผลิตได้อย่างเพียงพอ ในผู้ป่วยที่มีภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (Hypothyroidism) แต่จะให้ยาต้านไทรอยด์ในผู้ป่วยที่มีอาการไทรอยด์ทำงานมากเกินไป (Hyperthyroidism)  

ข้อดี : หากฮอร์โมนไทรอยด์กลับมาอยู่ในระดับปกติและตัวโรคสงบแล้ว อาจจะสามารถหยุดยาได้ขึ้นกับสาเหตุของโรคไทรอยด์ที่ผิดปกติ 
ข้อควรระวัง : ไม่ควรหยุดยาเองเพราะจะทำให้อาการกลับมา การควบคุมโรคยากขึ้นและอาจกลับมาเป็นซ้ำได้ 

ใครที่สามารถรักษาไทรอยด์ด้วยการให้ยาได้บ้าง?

ข้อบ่งชี้ที่สามารถพิจารณาให้รับการใช้ยากลุ่มไทรอยด์ได้ มีดังนี้ 

  • ผู้ป่วยที่มีอาการไทรอยด์เป็นพิษ เช่น เหนื่อยง่าย ใจสั่น อ่อนเพลีย ผิวแห้ง หรือตาโปน  หรือ กรณีที่มีภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์  เช่น เชื่องช้า น้ำหนักเพิ่ม บวม โดยต้องไม่มีข้อห้ามของการใช้ยาหรือ ข้อบ่งชี้ของการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ

2. วิธีการกลืนแร่รักษาไทรอยด์

เป็นวิธีการทานสารกัมมันตรังสีไอโอดีน-131 (I 131) ในรูปแบบน้ำหรือแคปซูล ซึ่งสารที่จะได้รับต้องผ่านการคำนวณขนาด ให้พอดีกับแต่ละบุคคล ซึ่งสารนี้จะไปจับกับต่อมไทรอยด์ เพื่อยับยั้งการทำงานที่มากเกินไปของต่อมไทรอยด์ และทำให้ต่อมไทรอยด์ฝ่อลงจนขนาดของต่อมไทรอยด์ลดลงอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับคนปกติ 

ใช้รักษาไทรอยด์ชนิด : ไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism) / มะเร็งไทรอยด์ (Thyroid cancer)
ข้อดี : ผู้ป่วยบางรายสามารถหายขาดโดยไม่ต้องผ่าตัดต่อมไทรอยด์  ไม่ต้องเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด 
ข้อควรระวัง : อาจมีภาวะไทรอยด์ต่ำ (Hypothyroidism) หรือเกิดปัญหาเกี่ยวกับตาเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่สูบบุหรี่ 

ใครบ้างที่สามารถรักษาไทรอยด์ด้วยการกลืนเกลือแร่ได้?

ข้อบ่งชี้ที่สามารถพิจารณาให้เข้ารับการกลืนเกลือแร่มีดังนี้

  • ผู้ป่วยที่เป็นไทรอยด์เป็นพิษที่ไม่ตอบสนองการรักษาด้วยยาชนิดรับประทาน
  • ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งไทรอยด์

รักษาไทรอยด์

3. วิธีการผ่าตัดรักษาไทรอยด์

การรักษาไทรอยด์ด้วยการผ่าตัดจะเริ่มต้นโดยการวางยาสลบ และตัดเนื้อไทรอยด์ส่วนเกินออกให้เหลือเนื้อไทรอยด์อยู่ในระดับใกล้เคียงกับคนปกติ โดยสามารถทำได้ด้วยการผ่าตัดไทรอยด์แบบเปิดบริเวณคอ (Open thyroid surgery) และการผ่าตัดไทรอยด์แบบผ่านกล้อง (Endoscopic thyroid surgery) 

ใช้รักษาไทรอยด์ชนิด : ไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism) จนเกิดเป็นก้อนไทรอยด์บริเวณลำคอกดเบียดอวัยวะใกล้เคียง
ข้อดี : หลังรับการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยจะหายจากอาการไทรอยด์เป็นพิษทันที 
ข้อควรระวัง : อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น เสียงแหบ หรือภาวะแคลเซียมต่ำ

การรักษาด้วยการผ่าตัดไทรอยด์

ใครบ้างที่สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดไทรอยด์ได้?

ข้อบ่งชี้ที่สามารถพิจารณาให้เข้ารับการผ่าตัดรักษา มีดังนี้ 

  • อัลตราซาวด์พบก้อนไทรอยด์ที่มีโอกาสเป็นมะเร็งไทรอยด์ 
  • ตรวจเลือดพบว่ามีระดับฮอร์โมนไทรอยด์สูง หรือไทรอยด์เป็นพิษที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา
  • พบก้อนไทรอยด์ที่มีอาการของการกดเบียดอวัยวะข้างเคียง 

แม้โรคไทรอยด์บางชนิดในระยะเริ่มต้นจะสามารถรักษาหายได้ด้วยการรับประทานยากลุ่มไทรอยด์ แต่สิ่งสำคัญกว่าการรักษาคือการหมั่นใส่ใจดูแลร่างกาย พร้อมทั้งตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ และคอยสังเกตอาการผิดปกติที่คล้ายกลุ่มโรคไทรอยด์ร่วมด้วย หากพบว่าต่อมไทรอยด์โต หรือมีก้อนเนื้องอกที่คออย่านิ่งนอนใจ ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและเข้ารับการรักษาโดยเร็ว เพื่อหลีกเลี่ยงการลุกลามและภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่จะส่งผลเสียต่อร่างกายมากยิ่งขึ้น 

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์เบาหวาน ต่อมไร้ท่อ และควบคุมน้ำหนัก ชั้น 9 โรงพยาบาลวิมุต 
เวลาทำการ 07:00 - 19:00  น. โทร. 0-2079-0070 
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์

ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ


แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
พญ.ธนพร
พุทธานุภาพ
อายุรแพทย์ผู้ชำนาญการโรคเบาหวานและต่อมไร้ท่อ
อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม

เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
13 วิธีดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในยุค COVID-19

เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานเป็นกลุ่มบุคคลที่ถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงในการติดเชื้อ covid-19 โดยโรคเบาหวานนั้นจะทำให้ติดเชื้อ covid -19 ได้ง่ายกว่าบุคคลทั่วไป และหากติดเชื้อแล้วจะมีผลทำให้เกิดพาวะแทรกซ้อนมากกว่าบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
เป็นเบาหวานตั้งครรภ์ได้ไหม ?

เพราะการสร้างครอบครัวคือหนึ่งในความฝันของผู้หญิงหลายๆ คน แต่สำหรับคนที่เป็นเบาหวานคงกังวลไม่น้อยว่าจะมีลูกได้ไหม ปลอดภัยหรือเปล่า เรามาฟังคำตอบกันที่นี่

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
สายกินต้องระวัง โรคอันตรายจากไขมันที่ต้องรู้ !

สายกินต้องระวัง! อาหารไขมันสูง ของทอดแสนอร่อยที่แฝงไปด้วยโรคไขมันตัวร้าย มาดูความลับทั้งประโยชน์และโทษของไขมัน ที่บั่นทอนสุขภาพคุณจนอาจเป็นโรคร้ายแรงได้มากกว่าที่คิด

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
3 สัญญาณที่บอกว่า คุณกำลังลดน้ำหนักผิดวิธี

เชื่อว่าหลายคนยังมีเป้าหมายในการลดน้ำหนัก แต่ปัญหาที่มักพบ คือ ลดน้ำหนักไม่สำเร็จสักที หรืออาจลดได้แค่ช่วงสั้นๆ แล้วกลับมาน้ำหนักเท่าเดิม ซึ่งสาเหตุอาจมาจากการลดน้ำหนักอย่างผิดวิธี

อ่านเพิ่มเติม