กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ อาการธรรมดาที่ไม่ควรมองข้าม
ใครกำลังประสบปัญหาการเข้าห้องน้ำบ่อยกว่าปกติบ้าง? หลายครั้งที่ต้องวิ่งเข้าห้องน้ำบ่อยทั้งที่ไม่ได้ดื่มน้ำเยอะ ซึ่งหลายคนอาจยังเข้าใจผิดว่าการปัสสาวะบ่อยเป็นเรื่องที่ดี แต่ที่จริงแล้วกระเพาะปัสสาวะของคุณอาจกำลังมีความผิดปกติอยู่ก็ได้ และปัญหานี้อาจไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยเพราะรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันโดยตรง เราจึงอยากชวนคุณทำความรู้จักสาเหตุและอาการของโรคกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ให้มากขึ้น พร้อมแนะนำแนวทางการรักษาและดูแลตัวเอง
สาเหตุของภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เกิดจากอะไร?
ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย พบมากในผู้สูงอายุและพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
- ในเพศหญิง สาเหตุมักมาจากการปิดของหูรูดท่อปัสสาวะทำงานได้ไม่ดี กระเพาะปัสสาวะบีบตัวแรงและเร็วไป หรือระดับเอสโตรเจนที่ลดลงในวัยหมดประจำเดือนก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ได้
- ในเพศชาย สาเหตุมาจากการที่มีภาวะต่อมลูกหมากโตจึงไปขัดขวางทางเดินปัสสาวะ
- ในผู้สูงอายุ ด้วยอายุที่เพิ่มมากขึ้นระบบต่างๆ ของร่างกายเกิดความเสื่อมถอยรวมถึงระบบทางเดินปัสสาวะ ทำให้ความสามารถในการกลั้นปัสสาวะลดลงด้วย
โดยสาเหตุของภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่สามารถเกิดจากปัจจัยเหล่านี้ได้ด้วยเช่นกัน
- หูรูดไม่แข็งแรงหรือเสื่อม
- การอักเสบติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะหรือทางเดินปัสสาวะ
- กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหย่อน
- การใช้ยาบางชนิด
- เยื่อบุรอบท่อปัสสาวะบางฝ่อ
- ดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน
- การบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะไวกว่าปกติ
- ท้องผูกเรื้อรัง
- มีปัญหาเรื่องน้ำหนักตัว
อาการของการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ถึงแม้จะไม่มีอาการอันตรายรุนแรง แต่ก็สร้างความรำคาญอยู่ไม่น้อย เพราะภาวะนี้ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นด้านการทำงาน การเดินทาง หรือในสถานการณ์เร่งด่วนที่ไม่เอื้อให้สามารถเข้าห้องน้ำได้ ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการ ดังนี้
- ปัสสาวะไหลซึมเมื่อเปลี่ยนท่าทาง
- ไอ จาม ปัสสาวะราด ปัสสาวะเล็ด
- ปัสสาวะไหลซึมตลอดเวลา
- ปัสสาวะรดที่นอน
- ปวดปัสสาวะรุนแรงแล้วปัสสาวะราดออกมา
- ปัสสาวะเล็ดราดตามออกมาอีกเล็กน้อยหลังการถ่ายปัสสาวะสุด
ปกติควรปัสสาวะ 5-6 ครั้งต่อวัน โดยแต่ละครั้งจะมีน้ำปัสสาวะออกมาประมาณ 300-400 ซีซี และไม่ควรลุกมาปัสสาวะกลางคืนหลังนอนหลับไปแล้ว |
วิธีแก้ไขและรักษาอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
วิธีการรักษาภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่มีหลากหลายวิธี แต่แพทย์จะต้องวินิจฉัยความรุนแรงของอาการในแต่ละบุคคลและพิจารณาเลือกวิธีที่เหมาะสมที่สุด
- การบริหารฝึกฝนกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน Pelvic Floor Muscle Exercise, PFME โดยเป็นการขมิบรูทวารและกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ช่วยควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ ลม การเคลื่อนไหวของลำไส้ ซึ่งช่วยให้กล้ามเนื้อช่องคลอดแข็งแรงตามไปด้วย
- การใช้ยากลุ่ม Anti-muscarinic และ Beta-3 agonist เพื่อลดการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ
- การผ่าตัดรักษาผ่านบริเวณช่องคลอด ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและเป็นมานาน อาจจะต้องได้รับการผ่าตัดรักษา โดยใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ยกให้ท่อปัสสาวะส่วนต้นและกระเพาะปัสสาวะไม่หย่อนลงไปตามกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
วิธีป้องกันและดูแลตัวเอง
การปัสสาวะบ่อยไม่เพียงส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและการนอนหลับ แต่อาจเป็นสัญญาณของโรคอื่นๆ ได้อีก ป้องกันตัวเองและดูแลร่างกายก่อนที่ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่จะมาถึงคุณ
- เมื่อปวดปัสสาวะไม่ควรกลั้นไว้นานเกินไป เพราะอาจทำให้ติดเชื้อได้
- หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำก่อนนอน
- ปรับการดื่มน้ำ ควรดื่มน้ำ 30 - 50 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
- ควบคุมน้ำหนัก
- รักษาอาการท้องผูก
ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่นี้ไม่ควรละเลยหรือปล่อยทิ้งไว้อย่างยิ่ง เพราะเป็นภาวะที่สามารถรักษาให้หายได้จากการรับประทานยาและปรับพฤติกรรมภายใต้คำแนะนำของแพทย์ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหากลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือมีคนรอบข้างที่มีอาการเข้าข่ายจนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ควรรีบเข้ารับการรักษาเพื่อให้กลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีดังเดิม
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์ระบบทางเดินปัสสาวะ ชั้น 4 โรงพยาบาลวิมุต
เวลา 08.00-20.00 น. หรือ โทร. 0-2079-0040
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์
ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ
แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง
สะระวงษ์
สะระวงษ์
สะระวงษ์
สะระวงษ์
สะระวงษ์
สะระวงษ์
เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคฮิต! มนุษย์ออฟฟิศต้องรู้
ฉี่ไม่ออก แสบขัด กลั้นไม่อยู่ อาการแบบนี้ต้องระวังกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะอักเสบ บทความนี้ชวนคุณมาดูอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ พร้อมวิธีดูแลและป้องกันให้ถูกวิธี
มะเร็งต่อมลูกหมาก ตรวจพบเร็ว ก็รักษาให้หายได้
มะเร็งต่อมลูกหมาก โรคร้ายในคุณผู้ชายที่ตรวจพบเร็วสามารถรักษาให้หายได้! มาทำความเข้าใจและเช็กอาการของมะเร็งต่อมลูกหมากกัน พร้อมแพ็กเกจตรวจหาความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมากในราคาพิเศษได้ที่นี่
ขลิบหนังหุ้มปลายเพศชาย ไม่อันตรายและเจ็บปวดอย่างที่คิด
การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย ทำแล้วมีประโยชน์ยังไง ปลอดภัย เจ็บน้อย ไร้เลือดได้จริงไหม และหลังขลิบปลาย ต้องดูแลตัวเองอย่างไร วันนี้คุณหมอผู้เชี่ยวชาญจะมาให้คำตอบทุกข้อสงสัย
โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ หรือ โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ (Erectile Dysfunction)
จะให้กล่าวถึงสาเหตุของภาวะองคชาติไม่แข็งตัว ส่วนใหญ่สาเหตุการเกิดปัญหาเหล่านี้จะแตกต่างกันในแต่ละช่วงอายุ โดยหากเป็นในช่วงวัยรุ่นหรือวัยทำงาน ส่วนใหญ่เกือบจะ 100%
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคฮิต! มนุษย์ออฟฟิศต้องรู้
ฉี่ไม่ออก แสบขัด กลั้นไม่อยู่ อาการแบบนี้ต้องระวังกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะอักเสบ บทความนี้ชวนคุณมาดูอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ พร้อมวิธีดูแลและป้องกันให้ถูกวิธี
มะเร็งต่อมลูกหมาก ตรวจพบเร็ว ก็รักษาให้หายได้
มะเร็งต่อมลูกหมาก โรคร้ายในคุณผู้ชายที่ตรวจพบเร็วสามารถรักษาให้หายได้! มาทำความเข้าใจและเช็กอาการของมะเร็งต่อมลูกหมากกัน พร้อมแพ็กเกจตรวจหาความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมากในราคาพิเศษได้ที่นี่
ขลิบหนังหุ้มปลายเพศชาย ไม่อันตรายและเจ็บปวดอย่างที่คิด
การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย ทำแล้วมีประโยชน์ยังไง ปลอดภัย เจ็บน้อย ไร้เลือดได้จริงไหม และหลังขลิบปลาย ต้องดูแลตัวเองอย่างไร วันนี้คุณหมอผู้เชี่ยวชาญจะมาให้คำตอบทุกข้อสงสัย
โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ หรือ โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ (Erectile Dysfunction)
จะให้กล่าวถึงสาเหตุของภาวะองคชาติไม่แข็งตัว ส่วนใหญ่สาเหตุการเกิดปัญหาเหล่านี้จะแตกต่างกันในแต่ละช่วงอายุ โดยหากเป็นในช่วงวัยรุ่นหรือวัยทำงาน ส่วนใหญ่เกือบจะ 100%
ขลิบหนังหุ้มปลายเพศชาย ไม่อันตรายและเจ็บปวดอย่างที่คิด
การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย ทำแล้วมีประโยชน์ยังไง ปลอดภัย เจ็บน้อย ไร้เลือดได้จริงไหม และหลังขลิบปลาย ต้องดูแลตัวเองอย่างไร วันนี้คุณหมอผู้เชี่ยวชาญจะมาให้คำตอบทุกข้อสงสัย
โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ หรือ โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ (Erectile Dysfunction)
จะให้กล่าวถึงสาเหตุของภาวะองคชาติไม่แข็งตัว ส่วนใหญ่สาเหตุการเกิดปัญหาเหล่านี้จะแตกต่างกันในแต่ละช่วงอายุ โดยหากเป็นในช่วงวัยรุ่นหรือวัยทำงาน ส่วนใหญ่เกือบจะ 100%
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคฮิต! มนุษย์ออฟฟิศต้องรู้
ฉี่ไม่ออก แสบขัด กลั้นไม่อยู่ อาการแบบนี้ต้องระวังกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะอักเสบ บทความนี้ชวนคุณมาดูอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ พร้อมวิธีดูแลและป้องกันให้ถูกวิธี
มะเร็งต่อมลูกหมาก ตรวจพบเร็ว ก็รักษาให้หายได้
มะเร็งต่อมลูกหมาก โรคร้ายในคุณผู้ชายที่ตรวจพบเร็วสามารถรักษาให้หายได้! มาทำความเข้าใจและเช็กอาการของมะเร็งต่อมลูกหมากกัน พร้อมแพ็กเกจตรวจหาความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมากในราคาพิเศษได้ที่นี่