ลูกไม่เล่นกับเพื่อน พูดช้า รีบเช็กอาการเสี่ยงออทิสติกเทียมที่พ่อแม่ต้องรู้
ลูกไม่เล่นกับเพื่อน พูดช้า รีบเช็กอาการเสี่ยงออทิสติกเทียมที่พ่อแม่ต้อง
“ออทิสติกเทียม” เป็นอีกภาวะหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองอาจยังไม่ทราบเกี่ยวกับภาวะนี้กันมากนัก เพราะส่วนใหญ่เราได้ยินกันเพียงแต่ โรคออทิสติก วันนี้เราจึงอยากพาคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองทุกท่านมาทำความรู้จักออทิสติกเทียมให้มากขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดกับลูกหลานของเรา หากเด็กที่มีภาวะออทิสติกเทียม ได้ตรวจพบเร็วและได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาการจะดีขึ้นและมีพัฒนาการสมตามวัย
พฤติกรรมคล้ายออทิสติก หรือออทิสติกเทียม คืออะไร
พฤติกรรมคล้ายออทิสติก หรือในสื่อสังคมมักเรียกว่า “ออทิสติกเทียม” เป็นภาวะที่เด็กขาด “การกระตุ้น” ในการสื่อสารสองทาง จึงส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางการสื่อสารกับผู้อื่น เนื่องจากพ่อแม่ หรือผู้เลี้ยงดูขาดการมีปฏิสัมพันธ์กับลูก เช่น ไม่พูดคุย ไม่เล่นกับลูก เป็นต้น แต่ให้ลูกเล่นอุปกรณ์สื่อสารอย่างแท็บเล็ตและสมาร์ทโฟน ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบ One – Way Communication หรือการรับสารเพียงทางเดียว จึงส่งผลให้เด็กเกิดความผิดปกติด้านพัฒนาการทางสังคมได้
อาการออทิสติกเทียมเป็นอย่างไร ?
อาการออทิสติกเทียม หรือพฤติกรรมคล้ายออทิสติก เป็นอาการที่เด็กไม่ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการเท่าที่ควร ทำให้พัฒนาการต่างๆ ล่าช้า ไม่เป็นไปตามวัย หากเปรียบเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน โดยลักษณะอาการจะคล้ายกับ “โรคออทิสติก” ซึ่งจะแสดงอาการเด่นชัดโดยเฉพาะด้านสังคมและภาษา ดังนี้
- เกิดความผิดปกติในการสื่อสารกับผู้อื่น เช่น พูดช้า
- เวลาพูดคุยจะไม่สบตาผู้อื่น ไม่ยิ้ม ไม่แสดงอารมณ์
- มีโลกส่วนตัวสูง ไม่สนใจเล่นกับเด็กคนอื่น
- เล่นกับเด็กคนอื่นไม่เป็น ชอบเล่นคนเดียว
- ไม่สนใจสิ่งรอบข้าง หรือเรียกแล้วไม่หัน
เลี้ยงลูกให้ติดจอด้วยสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต เสี่ยงเป็นออทิสติกเทียมด้วยหรือไม่
คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองจำนวนไม่น้อย เข้าใจว่าการให้ลูกได้เรียนรู้การใช้สมาร์ทโฟนตั้งแต่อายุน้อยๆ จะช่วยให้เด็กฉลาด แต่ในความเป็นจริงการปล่อยให้ลูกใช้เวลาอยู่กับจอสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตตามลำพังนั้น ทำให้เด็กมีความเสี่ยงต่อภาวะออทิสติกเทียมได้ โดยอ้างอิงข้อมูลจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ว่าการที่พ่อแม่เลี้ยงลูกด้วยหน้าจอทำให้เด็กถูกทอดทิ้ง และมีการรับสารทางเดียว (One – Way Communication) ส่งผลให้เด็กเกิดความผิดปกติด้านพัฒนาการ ไม่มีการปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง และอาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้เมื่อเติบโตขึ้น
สัญญาณเสี่ยงอาการออทิสติก
อายุ | อาการ |
6 เดือน | ไม่ยิ้ม ไม่สบตา หรือไม่แสดงอารมณ์ เมื่อคุณพ่อคุณแม่คุยด้วย |
9 เดือน | ไม่ส่งเสียง ไม่ยิ้ม ไม่แสดงสีหน้า และไม่มีการตอบโต้ต่อผู้อื่น |
12 เดือน / 1 ขวบ | ไม่หันหาเสียงเรียก มักจะแสดงพฤติกรรมซ้ำๆ เช่น เล่นแบบเดิมๆ ร้องไห้โวยวาย โดยไม่มีสาเหตุ |
18 เดือน / 1 ขวบ ครึ่ง | ไม่มีการใช้ภาษาพูดร่วมกับภาษากาย และไม่มีการเล่นบทบาทสมมติแบบเด็กทั่วไป |
จากข้อมูลในข้างต้น หากคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองท่านใดมีความกังวล ไม่สบายใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของลูกน้อย หรือมีสัญญาณเสี่ยงของออทิสติกหรือออทิสติกเทียม ควรเข้ารับการตรวจกับแพทย์ผู้ชำนาญการด้านพัฒนาการเด็กของโรงพยาบาลวิมุต ที่พร้อมจะให้คำปรึกษาและแนะนำแนวทางการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ
ถึงแม้สมาร์ทโฟนจะมีข้อดีในการใช้งานมากมายเพียงใด การให้เวลากับการเลี้ยงดูลูกด้วยตนเองยังคงสำคัญที่สุดเสมอ เพราะนอกจากได้เห็นพัฒนาการของเขาอย่างใกล้ชิดแล้ว ยังสามารถวางแผนและหาแนวทางเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้งทางร่างกาย การเรียนรู้ ด้านอารมณ์ สติปัญญาอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ลูกได้เติบโตอย่างมีคุณภาพและมีพัฒนาการที่สมตามวัย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์กุมารเวช ชั้น 3 โรงพยาบาลวิมุต
เวลาทำการ 08.00 - 20.00 น. โทร. 0-2079-0038
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์
ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ

แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง
เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

เด็กนอนกรน... อาจไม่ใช่เรื่องเล็กๆ อันตรายที่ต้องรีบเช็กด่วน
ฝันร้ายของลูกน้อย... อาจมาจากเสียงเด็กนอนกรน! ที่อาจเสี่ยงหยุดหายใจขณะหลับ ชวนไขข้อข้องใจเรื่อง "นอนกรนในเด็ก" ที่พ่อแม่ควรรู้! เกิดจากอะไร กำลังบอกอะไรและอันตรายอย่างไร

ส่องสุขภาพเด็กอ้วนที่น่ารัก กับความอันตรายที่แอบแฝง
ในเด็กอ้วนที่ดูน่ารัก อาจกำลังเป็นเด็กที่เสี่ยงกับโรคอ้วนในเด็กได้ ชวนคุณพ่อคุณแม่มาดูอันตรายแฝงที่แอบซ่อนอยู่ในเด็กอ้วน พร้อมแนวทางการรักษากันได้ที่นี่

ลูกของคุณเสี่ยงมีพฤติกรรมคล้าย-ออทิสติกหรือไม่?
พฤติกรรมคล้ายออทิสติกหรือในสื่อสังคมมักเรียกว่า “ออทิสติกเทียม” เป็นภาวะที่เด็กขาด “การกระตุ้น” ในการสื่อสารสองทางโรคออทิสติก เกิดจากความผิดปกติของสมองเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ในขณะที่อาการออทิสติกเทียมจะเกิดจาก "ขาดการกระตุ้น" เป็นหลัก

เตรียมลูกรักให้ Ready เมื่อเปิดเทอมนี้ Covid มาเยือน
ช่วงที่ลูกต้องเรียนออนไลน์คุณพ่อแม่ก็วุ่นวายไปอีกแบบ แต่พอลูกน้อยไปโรงเรียนในสภาวะแบบนี้ความวุ่นวายก็กลับกลายเป็นความกังวล

เด็กนอนกรน... อาจไม่ใช่เรื่องเล็กๆ อันตรายที่ต้องรีบเช็กด่วน
ฝันร้ายของลูกน้อย... อาจมาจากเสียงเด็กนอนกรน! ที่อาจเสี่ยงหยุดหายใจขณะหลับ ชวนไขข้อข้องใจเรื่อง "นอนกรนในเด็ก" ที่พ่อแม่ควรรู้! เกิดจากอะไร กำลังบอกอะไรและอันตรายอย่างไร

ส่องสุขภาพเด็กอ้วนที่น่ารัก กับความอันตรายที่แอบแฝง
ในเด็กอ้วนที่ดูน่ารัก อาจกำลังเป็นเด็กที่เสี่ยงกับโรคอ้วนในเด็กได้ ชวนคุณพ่อคุณแม่มาดูอันตรายแฝงที่แอบซ่อนอยู่ในเด็กอ้วน พร้อมแนวทางการรักษากันได้ที่นี่

ลูกของคุณเสี่ยงมีพฤติกรรมคล้าย-ออทิสติกหรือไม่?
พฤติกรรมคล้ายออทิสติกหรือในสื่อสังคมมักเรียกว่า “ออทิสติกเทียม” เป็นภาวะที่เด็กขาด “การกระตุ้น” ในการสื่อสารสองทางโรคออทิสติก เกิดจากความผิดปกติของสมองเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ในขณะที่อาการออทิสติกเทียมจะเกิดจาก "ขาดการกระตุ้น" เป็นหลัก

เตรียมลูกรักให้ Ready เมื่อเปิดเทอมนี้ Covid มาเยือน
ช่วงที่ลูกต้องเรียนออนไลน์คุณพ่อแม่ก็วุ่นวายไปอีกแบบ แต่พอลูกน้อยไปโรงเรียนในสภาวะแบบนี้ความวุ่นวายก็กลับกลายเป็นความกังวล

ลูกของคุณเสี่ยงมีพฤติกรรมคล้าย-ออทิสติกหรือไม่?
พฤติกรรมคล้ายออทิสติกหรือในสื่อสังคมมักเรียกว่า “ออทิสติกเทียม” เป็นภาวะที่เด็กขาด “การกระตุ้น” ในการสื่อสารสองทางโรคออทิสติก เกิดจากความผิดปกติของสมองเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ในขณะที่อาการออทิสติกเทียมจะเกิดจาก "ขาดการกระตุ้น" เป็นหลัก

เตรียมลูกรักให้ Ready เมื่อเปิดเทอมนี้ Covid มาเยือน
ช่วงที่ลูกต้องเรียนออนไลน์คุณพ่อแม่ก็วุ่นวายไปอีกแบบ แต่พอลูกน้อยไปโรงเรียนในสภาวะแบบนี้ความวุ่นวายก็กลับกลายเป็นความกังวล

เด็กนอนกรน... อาจไม่ใช่เรื่องเล็กๆ อันตรายที่ต้องรีบเช็กด่วน
ฝันร้ายของลูกน้อย... อาจมาจากเสียงเด็กนอนกรน! ที่อาจเสี่ยงหยุดหายใจขณะหลับ ชวนไขข้อข้องใจเรื่อง "นอนกรนในเด็ก" ที่พ่อแม่ควรรู้! เกิดจากอะไร กำลังบอกอะไรและอันตรายอย่างไร

ส่องสุขภาพเด็กอ้วนที่น่ารัก กับความอันตรายที่แอบแฝง
ในเด็กอ้วนที่ดูน่ารัก อาจกำลังเป็นเด็กที่เสี่ยงกับโรคอ้วนในเด็กได้ ชวนคุณพ่อคุณแม่มาดูอันตรายแฝงที่แอบซ่อนอยู่ในเด็กอ้วน พร้อมแนวทางการรักษากันได้ที่นี่