ศูนย์สุขภาพใจ ปรึกษาจิตแพทย์

ศูนย์สุขภาพใจ ปรึกษาจิตแพทย์
สถานที่ตั้ง ชั้น 18 โรงพยาบาลวิมุต พหลโยธิน |
เวลาทำการ 08.00-18.00 น. |
เบอร์โทรศัพท์ 02-079-0078 |
ศูนย์สุขภาพใจ (Mental Health Center) โรงพยาบาลวิมุต
แผนกการดูแล รักษา บำบัดและฟื้นฟูสุขภาพจิตใจ โดยจิตแพทย์และนักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญแต่ละช่วงวัย เพื่อสุขภาพจิตและใจที่ดี และต่อยอดถึงสุขภาพร่างกายที่ดีได้ยิ่งขึ้น
“เพราะสุขภาพดีเริ่มต้นที่จิตใจ ศูนย์สุขภาพใจจึงให้บริการดูแลรักษาสุขภาวะด้านจิตใจอย่างเป็นองค์รวม โดยมองให้ครบทุกด้านของความเป็นมนุษย์ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ โดยทีมผู้ชำนาญการจากสหสาขาวิชาชีพ ทั้งจิตแพทย์ พยาบาลจิตเวช นักจิตวิทยา นักกิจกรรมบำบัด นักดนตรีบำบัด ที่จะคอยดูแลรักษาทุกปัญหาสุขภาพจิตใจของแต่ละช่วงวัย ไม่ว่าจะเป็นการปรึกษาสุขภาพจิตในวัยเด็ก วัยรุ่น วัยทำงานและปรึกษาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ เราพร้อมดูแลให้ครบองค์รวม”
- ดูแล รักษาและให้คำปรึกษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ให้คำปรึกษา พร้อมการรักษาสุขภาพจิตใจโดยจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวช และจิตแพทย์ด้านจิตเวชเด็กและวัยรุ่น
- ปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา โดยเน้นการรักษาร่วมกันด้วยการใช้ยาและการรักษาโดยไม่ใช้ยา เช่น การทำจิตบำบัด การให้คำปรึกษา ครอบครัวและคู่สมรสบำบัด กิจกรรมบำบัด ดนตรีบำบัด ศิลปะบำบัด และ การจัดสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
- ให้คำปรึกษาโดยจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ที่ให้การดูแลรักษาครอบคลุมทุกช่วงวัย ตั้งแต่ เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ
- ให้บริการปรึกษาเสริมสร้าง “ภูมิคุ้มกันทางจิตใจ” เพราะเราเชื่อว่า สุขภาพจิตใจ ก็ไม่ต่างจากสุขภาพร่างกาย ที่ไม่จำเป็นต้องรอให้เจ็บป่วยก่อนแล้วจึงค่อยดูแลรักษา
อาการบ่งชี้ปัญหาสุขภาพใจที่ควรพบแพทย์
ผู้ป่วยนอก
กลุ่มผู้ใหญ่
- มีปัญหาการนอน นอนไม่หลับ หรือนอนมากเกินไป
- บ่นเครียด, วิตกกังวล, ไม่สบายใจ, หมกมุ่น, คิดวนเวียนซ้ำๆ, ย้ำคิดย้ำทำอยู่เสมอ
- มีความรู้สึกเศร้า, เสียใจ, เบื่อหน่าย, ท้อแท้, ร้องไห้บ่อย, มีอาการเหงา, เคว้งคว้าง, โดดเดี่ยวมีอาการหงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน
- กลัวสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างรุนแรงโดยไม่มีสาเหตุ
- มีความกระวนกระวายใจ อยู่ไม่นิ่ง กระสับกระส่าย
- บ่นไม่อยากมีชีวิตอยู่ มีความคิดอยากทำร้ายตัวเอง
- มีประวัติไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมตนเองได้
- หลงผิด, หูแว่ว, หวาดระแวง, เห็นภาพหลอน, เพ้อคลั่ง, เอะอะอาละวาด, พูดเพ้อเจ้อ, ฟุ้งซ่าน
- เฉยเมย แยกตัว ไม่สนใจดูแลตัวเอง ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม
- ติดสารเสพติด สุรา การพนัน
- ขาดสมาธิ มีปัญหาด้านความจำ หลงลืม
- กังวล หายใจไม่อิ่ม ใจสั่น หายใจเร็ว มือจีบ ที่ตรวจไม่พบสาเหตุทางกาย
- เบื่ออาหาร หรือกินมากกว่าปกติ น้ำหนักเปลี่ยนแปลง ที่ตรวจไม่พบสาเหตุทางกาย
กลุ่มเด็กและวัยรุ่น
- มีปัญหาด้านเชาว์ปัญญา พัฒนาการล่าช้ากว่าเกณฑ์ ด้านการพูด อ่าน เขียน
- มีพฤติกรรมสมาธิสั้น เช่น วอกแวกตามสิ่งเร้าได้ง่าย ยุกยิก ไม่นั่งนิ่ง วิ่งปีนป่ายเกินควร ไม่ฟังเมื่อมีคนพูดด้วย เล่นตลอดเวลา
- มีพฤติกรรมซ้ำๆ ที่ผิดปกติ เช่น ดูดนิ้ว กัดเล็บ โขกศีรษะกับพื้น ทำร้ายตนเอง
- เด็กที่มีพฤติกรรมเกเรคล้ายอันธพาล ใช้ความรุนแรงเป็นประจำ
- มีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด ร้องไห้ อาละวาด
- มีอาการซึมเศร้า ชอบอยู่คนเดียว ไม่ร่าเริงตามวัย
- มีอาการวิตกกังวลไปทั่ว กลัวคนหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างรุนแรงโดยไม่มีสาเหตุ หรือกลัวจนมีอาการทางกายที่ตรวจไม่พบสาเหตุ เช่น ใจสั่น ปวดหัว ปวดท้อง
- ไม่อยากไปโรงเรียน เช่น ขอร้องให้หยุดเรียน ไปจนกระทั่งถึงก้าวร้าว อาละวาดรุนแรง ต่อต้านขัดขืนไม่ยอม ทำร้ายผู้ปกครอง หรือมีอาการทางกายเฉพาะวันที่ต้องไปโรงเรียนเกือบทุกครั้ง เช่น คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ปวดหัว
- กลุ่มโรคออทิซึมสเปกตรัม ไม่สบตา พูดช้า ขาดปฏิสัมพันธ์ทักษะทางสังคม มีพฤติกรรมซ้ำๆ เช่น เดินเขย่งเท้า ชอบดูของหมุนๆ เช่น ใบพัดพัดลม ล้อรถเด็กเล่น
วีดีโอที่เกี่ยวข้อง - ศูนย์สุขภาพใจ รพ.วิมุต
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่
ศูนย์สุขภาพใจ รพ.วิมุต ชั้น 18
โทรศัพท์ 02-079-0078 ตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น.
ทีมนักบำบัด ศูนย์สุขภาพใจ

ขำสำราญ

สิทธิอำนวย

พัชราพิสิฐกุล

ทวิวรดิลก
ทีมแพทย์ผู้ชำนาญการประจำศูนย์

อติวรรณาพัฒน์

โลดทนงค์

กรุงวงศ์

จันทรรัตโนทัย

สัตกรพรพรหม

ยมดิษฐ์

แก้วพิลา

อรุณรัศมีโสภา

เกษสุวรรณ
ติดต่อสอบถามเกี่ยวกับศูนย์การรักษา
แนะนำแพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง
เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

Eating Disorder โรคทางใจที่ทำให้หลายคนกลัวอ้วน หรือกินไม่หยุด
Eating Disorder คืออะไร ใช่โรคคลั่งผอม หรือโรคกินไม่หยุดไหม อาการของโรคเป็นอย่างไร รักษาได้ไหม ทำความรู้จักภาวะความผิดปกติของพฤติกรรมการกินให้มากขึ้นในบทความนี้

ทำความเข้าใจ “โรคไบโพลาร์” เดี๋ยวร้ายเดี๋ยวดี ที่ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด
เช็กอาการโรคไบโพลาร์ พร้อมแบบทดสอบจากผู้เชี่ยวชาญ ว่าอาการหงุดหงิด เปลี่ยนไปอารมณ์ดี หรืออยู่ๆ ก็เศร้า ไม่อยากมีชีวิตแบบนี้ ใช่อาการโรคไบโพลาร์ หรืออารมณ์สองขั้วไหม

Post-Vacation Blues เมื่อการกลับบ้านกลายเป็นความเศร้า
วันหยุดผ่านไป แต่ทำไมถึงเศร้าสร้อย? ชวนสำรวจสาเหตุจากภาวะซึมเศร้าหลังเที่ยว Post-Vacation Blues พร้อมเรียนรู้วิธีจัดการทางอารมณ์ เพื่อฟื้นฟูจิตใจให้กลับมาเริ่มต้นใหม่ได้อีกครั้ง

ดนตรีบำบัด (Music Therapy) ช่วยฟื้นฟูร่างกาย และสุขภาพใจ
ดนตรีบำบัด หรือ Music Therapy เป็นศาสตร์การบำบัดที่มุ้งเน้นดูแลสุขภาพด้วยเสียงดนตรีโดยนักดนตรีบำบัดวิชาชีพที่จบการศึกษาเฉพาะทางด้านดนตรีบำบัดในการให้บริการ นักดนตรีบำบัดจะประเมินและออกแบบกิจกรรมดนตรีที่มีคุณลักษณะเฉพาะตามเป้าหมายการรักษา ความต้องการ และความแตกต่างของแต่ละคนบนพื้นฐานของงานวิจัย ประโยชน์ของกิจกรรมดนตรีบำบัดที่ผู้รับบริการจะได้รับจะคลอบคลุมด้านร่างกาย จิตใจ ทักษะทางสังคมและการสื่อสาร สติปัญญา และจิตวิญญาณ

Eating Disorder โรคทางใจที่ทำให้หลายคนกลัวอ้วน หรือกินไม่หยุด
Eating Disorder คืออะไร ใช่โรคคลั่งผอม หรือโรคกินไม่หยุดไหม อาการของโรคเป็นอย่างไร รักษาได้ไหม ทำความรู้จักภาวะความผิดปกติของพฤติกรรมการกินให้มากขึ้นในบทความนี้

ทำความเข้าใจ “โรคไบโพลาร์” เดี๋ยวร้ายเดี๋ยวดี ที่ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด
เช็กอาการโรคไบโพลาร์ พร้อมแบบทดสอบจากผู้เชี่ยวชาญ ว่าอาการหงุดหงิด เปลี่ยนไปอารมณ์ดี หรืออยู่ๆ ก็เศร้า ไม่อยากมีชีวิตแบบนี้ ใช่อาการโรคไบโพลาร์ หรืออารมณ์สองขั้วไหม

Post-Vacation Blues เมื่อการกลับบ้านกลายเป็นความเศร้า
วันหยุดผ่านไป แต่ทำไมถึงเศร้าสร้อย? ชวนสำรวจสาเหตุจากภาวะซึมเศร้าหลังเที่ยว Post-Vacation Blues พร้อมเรียนรู้วิธีจัดการทางอารมณ์ เพื่อฟื้นฟูจิตใจให้กลับมาเริ่มต้นใหม่ได้อีกครั้ง

ดนตรีบำบัด (Music Therapy) ช่วยฟื้นฟูร่างกาย และสุขภาพใจ
ดนตรีบำบัด หรือ Music Therapy เป็นศาสตร์การบำบัดที่มุ้งเน้นดูแลสุขภาพด้วยเสียงดนตรีโดยนักดนตรีบำบัดวิชาชีพที่จบการศึกษาเฉพาะทางด้านดนตรีบำบัดในการให้บริการ นักดนตรีบำบัดจะประเมินและออกแบบกิจกรรมดนตรีที่มีคุณลักษณะเฉพาะตามเป้าหมายการรักษา ความต้องการ และความแตกต่างของแต่ละคนบนพื้นฐานของงานวิจัย ประโยชน์ของกิจกรรมดนตรีบำบัดที่ผู้รับบริการจะได้รับจะคลอบคลุมด้านร่างกาย จิตใจ ทักษะทางสังคมและการสื่อสาร สติปัญญา และจิตวิญญาณ

Post-Vacation Blues เมื่อการกลับบ้านกลายเป็นความเศร้า
วันหยุดผ่านไป แต่ทำไมถึงเศร้าสร้อย? ชวนสำรวจสาเหตุจากภาวะซึมเศร้าหลังเที่ยว Post-Vacation Blues พร้อมเรียนรู้วิธีจัดการทางอารมณ์ เพื่อฟื้นฟูจิตใจให้กลับมาเริ่มต้นใหม่ได้อีกครั้ง

ดนตรีบำบัด (Music Therapy) ช่วยฟื้นฟูร่างกาย และสุขภาพใจ
ดนตรีบำบัด หรือ Music Therapy เป็นศาสตร์การบำบัดที่มุ้งเน้นดูแลสุขภาพด้วยเสียงดนตรีโดยนักดนตรีบำบัดวิชาชีพที่จบการศึกษาเฉพาะทางด้านดนตรีบำบัดในการให้บริการ นักดนตรีบำบัดจะประเมินและออกแบบกิจกรรมดนตรีที่มีคุณลักษณะเฉพาะตามเป้าหมายการรักษา ความต้องการ และความแตกต่างของแต่ละคนบนพื้นฐานของงานวิจัย ประโยชน์ของกิจกรรมดนตรีบำบัดที่ผู้รับบริการจะได้รับจะคลอบคลุมด้านร่างกาย จิตใจ ทักษะทางสังคมและการสื่อสาร สติปัญญา และจิตวิญญาณ

Eating Disorder โรคทางใจที่ทำให้หลายคนกลัวอ้วน หรือกินไม่หยุด
Eating Disorder คืออะไร ใช่โรคคลั่งผอม หรือโรคกินไม่หยุดไหม อาการของโรคเป็นอย่างไร รักษาได้ไหม ทำความรู้จักภาวะความผิดปกติของพฤติกรรมการกินให้มากขึ้นในบทความนี้

ทำความเข้าใจ “โรคไบโพลาร์” เดี๋ยวร้ายเดี๋ยวดี ที่ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด
เช็กอาการโรคไบโพลาร์ พร้อมแบบทดสอบจากผู้เชี่ยวชาญ ว่าอาการหงุดหงิด เปลี่ยนไปอารมณ์ดี หรืออยู่ๆ ก็เศร้า ไม่อยากมีชีวิตแบบนี้ ใช่อาการโรคไบโพลาร์ หรืออารมณ์สองขั้วไหม