ภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษ จากความสุขในแก้ว…สู่พิษร้ายในร่างกาย - โรงพยาบาลวิมุต

29 เม.ย. 68  | ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ
แชร์บทความ      

ในช่วงเทศกาลหรือการเฉลิมฉลองต่างๆ การดื่มแอลกอฮอล์มักเป็นส่วนหนึ่งของความสนุกสนาน แต่รู้หรือไม่ว่า การดื่มในปริมาณที่มากเกินไปอาจนำไปสู่ภาวะ "แอลกอฮอล์เป็นพิษ" ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างร้ายแรง! บทความนี้จะพาไปรู้จักกับภัยร้ายที่อาจแฝงกายมาในรูปแบบเครื่องดื่มแก้วโปรด พร้อมรู้ทันอาการสำคัญ และวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อลดความเสี่ยงและช่วยเหลือคนรอบข้างได้อย่างทันท่วงที

แอลกอฮอล์เป็นพิษ คืออะไร?

แอลกอฮอล์เป็นพิษ (Alcohol Poisoning) คือภาวะที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเกินไปในระยะเวลาอันสั้น จนร่างกายไม่สามารถกำจัดแอลกอฮอล์ได้ทัน ส่งผลให้ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสูงจนเป็นอันตรายต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ระบบประสาท ระบบการหายใจ และระบบไหลเวียนโลหิต ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะหมดสติหรือร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต

แอลกอฮอล์เป็นพิษมีอาการอย่างไร ?

การสังเกตอาการเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย เพราะหากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการช่วยเหลืออาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงได้ หากพบเห็นคนใกล้ตัวมีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที

  • หมดสติ หรือไม่ตอบสนองต่อสิ่งรอบข้าง
  • หายใจช้า หรือไม่สม่ำเสมอ (น้อยกว่า 8 ครั้งต่อนาที)
  • อาเจียนมากผิดปกติ และอาจสำลัก
  • ผิวซีดหรือเย็น อุณหภูมิร่างกายลดต่ำลง (ภาวะ Hypothermia)
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือเต้นช้าลงจนเป็นอันตราย
  • ชัก หรือมีอาการเกร็งกล้ามเนื้อ

วิธีปฐมพยาบาลผู้ป่วยภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษ

เมื่อพบผู้ที่มีอาการแอลกอฮอล์เป็นพิษเฉียบพลัน การปฐมพยาบาลที่ถูกต้องสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยได้ก่อนที่แพทย์จะมาถึง โดยทำตามคำแนะนำดังนี้

  1. ให้ดื่มน้ำเปล่า (ถ้าผู้ป่วยยังรู้สติ) เพื่อช่วยให้ร่างกายขับแอลกอฮอล์ออกทางปัสสาวะ
  2. จัดท่าผู้ป่วยให้อยู่ในท่าที่ปลอดภัย หากผู้ป่วยยังมีสติ ให้จัดให้นอนตะแคงข้างเพื่อป้องกันการสำลักอาเจียน
  3. รักษาความอบอุ่นของร่างกาย ใช้ผ้าห่มคลุมร่างกายเพื่อป้องกันภาวะ Hypothermia
  4. ห้ามปล่อยให้นอนหลับโดยไม่มีคนดูแล เพราะผู้ป่วยอาจหมดสติหรือหยุดหายใจโดยไม่รู้ตัว
  5. หลีกเลี่ยงการกระตุ้นให้ผู้ป่วยอาเจียน การกระตุ้นให้อาเจียนอาจทำให้สำลักและเกิดอันตรายมากขึ้น

⚠️ โทรแจ้งหน่วยพยาบาลฉุกเฉิน (1669) หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรง

เช่น หมดสติหรือหายใจช้า ควรรีบโทรขอความช่วยเหลือทันที

 

ดื่มอย่างรู้ทัน! เพื่อป้องกันแอลกอฮอล์เป็นพิษ

แม้ว่าการดื่มแอลกอฮอล์จะเป็นเรื่องปกติในงานสังสรรค์ แต่เราสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษได้ด้วยการปฏิบัติตามแนวทางป้องกัน ดังนี้

  1. ดื่มอย่างมีสติ จำกัดปริมาณการดื่มในแต่ละวัน และหลีกเลี่ยงการดื่มติดต่อกันหลายแก้วในเวลาสั้น ๆ
  2. ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ขณะท้องว่าง การรับประทานอาหารก่อนดื่มช่วยชะลอการดูดซึมแอลกอฮอล์เข้าสู่กระแสเลือด
  3. หลีกเลี่ยงการดื่มเพื่อแข่งขันหรือกดดันจากสังคม การดื่มอย่างรีบเร่งหรือดื่มเพื่อโชว์ว่าดื่มเก่ง สามารถดื่มได้ปริมาณมาก อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะเป็นพิษ
  4. รู้ลิมิตของตัวเอง แต่ละคนมีความสามารถในการเผาผลาญแอลกอฮอล์แตกต่างกัน รู้จักขีดจำกัดของตัวเองและหยุดดื่มเมื่อถึงจุดที่เหมาะสม

แอลกอฮอล์เป็นพิษไม่ใช่เรื่องไกลตัว โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลหรือการสังสรรค์ หากคุณหรือคนรอบข้างมีอาการเสี่ยง ควรรีบดำเนินการช่วยเหลือและติดต่อแพทย์ทันที การดื่มอย่างมีสติและรับผิดชอบต่อสุขภาพของตัวเองและผู้อื่นเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพื่อให้การเฉลิมฉลองเต็มไปด้วยความสุขและปลอดภัยสำหรับทุกคน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่

ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ ชั้น 5 โรงพยาบาลวิมุต

เวลาทำการ 08.00-20.00 น. โทร. 0-2079-0054

หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์ 

ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ


แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
พญ.สาวินี
จิริยะสิน
อายุรแพทย์ผู้ชำนาญการโรคระบบทางเดินอาหาร

เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
ไขมันพอกตับ ภาวะอันตรายที่คุณเสี่ยงแค่ไหน? มาเช็กกัน !

ไขมันพอกตับ ภาวะร้ายทำลายตับ ที่อาจทำให้คุณเสี่ยงเป็นตับอักเสบ ตับแข็งและมะเร็งตับได้ ชวนคุณสังเกตอาการได้อย่างไร การตรวจและการรักษาทำอย่างไร เรามีข้อมูลมาให้แล้ว

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
“ท้องผูก” ปวดท้อง ปัญหาการถ่ายที่ไม่ใช่เพียงแค่… ถ่ายไม่ออก!

ถ่ายไม่ออก อุจจาระแข็ง นานๆ จะถ่าย หรือทั้งสัปดาห์ถ่ายครั้งเดียว แบบนี้เป็นโรคท้องผูกไหม เรารวมข้อมูลสาเหตุและวิธีแก้ท้องผูก สำหรับคนที่มีปัญหาการขับถ่ายมาฝากแล้ว

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
มะเร็งลำไส้ใหญ่ อาการแบบไหนต้องระวัง รีบเช็กด่วน!

ปวดท้องบ่อย ท้องผูกบ่อยและมีเลือดออกมาพร้อมอุจจาระ อาการแบบนี้คุณอาจกำลังเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ มาเช็กอาการและสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่กันได้ที่นี่

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
ปวดท้องบิดเกร็ง อาจะเป็น “ลำไส้แปรปรวน” ที่ทำให้ชีวิตคุณต้องชะงัก

ปวดท้องบิดเกร็งเป็นพักๆ ไม่ถ่าย หรือท้องเสียไม่พัก อาการแบบนี้เสี่ยงเป็นโรคลำไส้แปรปรวนรึเปล่า? เพราะอาการเหล่านี้มักรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ชวนทุกคนมาสังเกตอาการไปพร้อมกับเรา

อ่านเพิ่มเติม