ทุกเรื่องที่คุณต้องรู้! (ก่อนสาย) เกี่ยวกับโรคอัมพฤกษ์และอัมพาต

17 ต.ค. 67  | ศูนย์สมองและระบบประสาท
แชร์บทความ      

โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นอาการป่วยที่หลายคนรู้สึกกลัวและไม่มีใครอยากประสบอย่างแน่นอน! เพราะนอกจากจะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเอง หรือไม่สามารถขยับตัวได้แล้ว ยังส่งผลต่อคนรอบข้างทั้งทางจิตใจและร่างกายอีกด้วย เพื่อให้รู้เท่าทันอาการเริ่มแรกของโรคร้ายนี้ และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่ก่อให้เกิดโรคได้อย่างถูกต้อง เราพร้อมไขข้อสงสัยทุกเรื่องเกี่ยวกับโรคอัมพฤกษ์ อัมพาตไว้ที่นี่แล้ว

Q&A ตอบคำถามเรื่องของอัมพฤกษ์ อัมพาต!

1.โรคอัมพฤกษ์ อัมพาตเกิดจากอะไร?
เกิดจากการที่เซลล์สมองขาดเลือด หรือเลือดไปเลี้ยงได้น้อยส่งผลให้ออกซิเจนและสารอาหารอื่นๆ ไม่สามารถขึ้นไปเลี้ยงสมองได้เพียงพอ ทำให้เซลล์สมองตาย ซึ่ง 80% เกิดจากภาวะหลอดเลือดสมองตีบและอุดตัน (Ischemic stroke) และ 20% เกิดจากการมีเลือดออกในสมอง (Haemorrhage) 

2.โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต มีอาการสัญญาณเตือนไหม?
5 อาการสัญญาณเตือนจากโรคอัมพฤกษ์ อัมพาตที่พบได้บ่อยและสามารถสังเกตได้ มีดังนี้ 

  • มีอาการหน้าเบี้ยว แขนขาชา หรืออ่อนแรง
  • พูดไม่ชัด พูดไม่ออก หรือไม่เข้าใจคำพูด อย่างทันทีทันใด
  • การมองเห็นผิดปกติ ตาพร่ามัว
  • ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
  • เดินไม่ได้ เดินลำบาก เดินเซ หรือสูญเสียการทรงตัวในการยืนและเดิน

3.โรคอัมพฤกษ์ อัมพาตต่างกันอย่างไร?
อัมพฤกษ์ อัมพาตเป็นกลุ่มโรคเดียวกัน แต่มีความแตกต่างกันที่ระดับความรุนแรงของอาการ ดังนี้

อัมพฤกษ์ (Hemiparesis)

อัมพาต (Hemiplegia)

เป็นภาวะที่ร่างกายมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงครึ่งซีก เช่น แขนหรือขาข้างใดข้างหนึ่ง ซึ่งผู้ป่วยยังสามารถเคลื่อนไหวได้ แต่จะอ่อนแรงและควบคุมการเคลื่อนไหวได้ไม่สมบูรณ์ ซึ่งมักเกิดจากความเสียหายของสมองส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหวเพียงบางส่วนหรือบริเวณเล็ก ทำให้กล้ามเนื้อไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่

เป็นภาวะที่สูญเสียการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้ออย่างสมบูรณ์ในครึ่งซีกของร่างกาย เช่น แขนและขาข้างใดข้างหนึ่งไม่สามารถขยับได้ เนื่องจากสมองส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหวเสียหายอย่างรุนแรง


 

4.โรคอัมพฤกษ์ อัมพาตเป็นแล้วหายไหม?
โรคอัมพฤกษ์และอัมพาตสามารถฟื้นตัวกลับมาหายเป็นปกติได้ในคนไข้บางราย ขึ้นอยู่กับสาเหตุ ความรุนแรง และระยะเวลาที่เข้ารับการรักษา อีกทั้งการฟื้นตัวก็แตกต่างกันไปในแต่ละคน 

5.วิธีการรักษาโรคอัมพฤกษ์ อัมพาตทำได้อย่างไรบ้าง?
การรักษาโรคอัมพฤกษ์และอัมพาตมีหลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของอาการในผู้ป่วยแต่ละราย ดังนี้

  • การทำกายภาพบำบัดฟื้นฟูกล้ามเนื้อแขนขา หรือการฝึกพูดโต้ตอบกัน
  • รักษาด้วยเครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง (Transcranial Magnetic Stimulation) TMS ช่วยกระตุ้นการฟื้นฟูและลดอาการเกร็งของผู้ป่วยโรคเส้นเลือดสมอง 
  • ผ่าตัดสมอง เมื่อเกิดจากหลอดเลือดสมองแตก
  • ใช้ยาสลายลิ่มเลือด เมื่อเกิดจากลิ่มเลือดอุดตัน

6.เป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต จำเป็นต้องทำกายภาพบำบัดไหม?
การทำกายภาพบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยทางสมอง จำเป็นต้องทำการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ โดยนับตั้งแต่เริ่มป่วยจนถึง 3-6 เดือน เป็นระยะที่ดีที่สุดในการฟื้นฟู หรือทำกายภาพบำบัดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและช่วยให้ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาตลดความพิการให้น้อยลง หรือสามารถช่วยเหลือตัวเองเล็กๆ น้อยๆ ได้ 

โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต มักเกิดขึ้นอย่างฉับพลันโดยไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า แต่เราสามารถลดความเสี่ยงได้ด้วยการออกกำลังกาย งดแอลกอฮอล์ เลิกสูบบุหรี่ และรับประทานยารักษาโรคประจำตัวอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันสูง หรือมีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่เพิ่มโอกาสเกิดโรคนี้ได้
 

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่ 
ศูนย์สมองและระบบประสาท ชั้น 6 โรงพยาบาลวิมุต 
เวลาทำการ 08:00 - 17:00  น. โทร. 0-2079-0068 
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์ 

ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ

ผู้เขียน
นพ.กฤตวิทย์ รุ่งแจ้ง อายุรแพทย์ผู้ชำนาญการด้านสมองและระบบประสาท

แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
นพ.กฤตวิทย์
รุ่งแจ้ง
อายุรแพทย์ผู้ชำนาญการด้านสมองและระบบประสาท
ประสาทวิทยา

เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
ระวัง! สัญญาณเตือน สโตรก (Storke) ของหลุดมือบ่อย น้ำลายไหลมุมปาก

สโตรก(stroke) หรือโรคหลอดเลือดสมองตีบ แตก หรืออุดตัน ส่งผลให้เกิดอาการแขนขาไม่มีแรงเฉียบพลัน หน้าเบี้ยว น้ำลายไหลมุมปาก หยิบจับของแล้วหล่น สัญญาณเตือนให้เข้ารับการรักษาด่วนที่สุด เพราะอาจทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
ฝึกสมองให้ฟิตอยู่เสมอกับ 5 เคล็ดลับ ลับสมองให้คม

ไม่อยากเป็นอัลไซเมอร์ สมองเสื่อม ขี้หลงขี้ลืมตั้งแต่ยังหนุ่มสาว มาฝึกสมอง ออกกำลังกายความคิด กระตุ้นให้สมองฟิต สดชื่นปลอดโปร่งกับ 5 วิธีนี้เลย

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
เช็กด่วน! ปวดหัวข้างเดียวแบบนี้ ใช่ไมเกรนหรือไม่

ชวนคุณมารู้ให้ลึกเรื่องของหัวจะปวด กับปวดหัวไมเกรน สาเหตุกระตุ้นเกิดจากอะไร ไมเกรนมีกี่แบบ วิธีบรรเทาอาการปวดอย่างถูกต้อง และคำตอบว่าปวดไมเกรนต่างจากปวดหัวธรรมดาอย่างไร

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
ลืมง่าย จำยาก สัญญาณเตือนโรคอัลไซเมอร์

โรคอัลไซเมอร์ภัยเงียบที่อันตรายมากกว่าการหลงลืม เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง เกี่ยวข้องอย่างไรกับภาวะสมองเสื่อม เช็กอาการบ่งชี้และวิธีการรักษาได้ที่นี่

อ่านเพิ่มเติม