มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colorectal cancer) เป็นมะเร็งที่พบมาก และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตจากมะเร็งเป็นลำดับที่ 4 ในประเทศไทย รองจาก มะเร็งตับ, มะเร็งปอด และ มะเร็งเต้านม ตามลำดับ โดยพบว่าอัตราการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่สูงขึ้นทั้งเพศชายและหญิง
มะเร็งลำไส้ใหญ่มีทั้งหมด 5 ระยะ ตั้งแต่ระยะที่ 0 ซึ่งเป็นระยะเริ่มต้นที่ยังไม่ลุกลามจนถึงระยะที่ 4 ซึ่งเป็นมะเร็งระยะแพร่กระจาย โดยมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะเริ่มต้นมักจะไม่มีอาการใดๆ แต่เมื่อผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ มะเร็งมักจะเข้าสู่ระยะลุกลามไปแล้ว
อาการของมะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้แก่
- ถ่ายอุจจาระมีมูกปน หรือมีเลือดออกทางทวารหนัก
- มีอาการปวดท้อง ปวดบีบ ปวดเบ่ง ถ่ายไม่สุด
- ขนาดของอุจจาระเป็นลำเล็กลง หรือเป็นเม็ดกระสุน
- มีลักษณะการถ่ายอุจจาระที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ท้องผูก ท้องเสียที่ไม่หายหลังได้รับการรักษา หรือมีท้องผูกสลับท้องเสีย
- เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
- มีอาการซีด (สำหรับมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนต้น ซึ่งเกิดจากการเสียเลือดโดยที่ไม่มีเลือดออกในอุจจาระให้เห็นได้ด้วยตาเปล่า)
- คลำพบก้อนในช่องท้องได้
- มีอาการของลำไส้อุดตัน ซึ่งจะมีอาการปวดท้อง ท้องอืด อาเจียน ไม่ถ่ายอุจจาระ ไม่ผายลม
มะเร็งลำไส้ใหญ่ ป้องกันได้ อย่ารอจนมีอาการ
การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่อย่างสม่ำเสมอ สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ เนื่องจากหากพบติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ สามารถตัดออกได้ก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็ง หรือหากตรวจพบมะเร็งลำไส้ใหญ่ตั้งแต่ในระยะเริ่มต้นจะสามารถรักษาให้หายขาดได้ ปัจจุบันจึงพบว่า การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่สามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งลำไส้ได้อย่างชัดเจน
บุคคลที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
- โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่พบได้ในทุกอายุ แต่อัตราเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ จะสูงขึ้นในผู้สูงอายุ โดยจะพบได้มากหลังอายุ 45 หรือ 50 ปี
- บุคคลที่มีญาติใกล้ชิดเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ให้เริ่มตรวจที่อายุของญาติเมื่อตอนเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ -10 ปี หรือ เริ่มตรวจที่อายุ 40 ปี เช่น พ่อเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่เมื่ออายุ 45 ปี ลูกควรตรวจเมื่ออายุ 35 ปี
- ผู้ที่เป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Inflammatory bowel disease)
พฤติกรรมที่เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่
- รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์ต่ำ และไขมันสูง หรือรับประทานเนื้อสัตว์จำนวนมาก
- อ้วน
- ขาดการออกกำลังกาย
- มีอาการท้องผูกเป็นประจำ
- สูบบุหรี่ หรือดื่มสุรา
วิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่
- ตรวจหาเม็ดเลือดแดงในอุจจาระ (Fecal Occult Blood Test) ปีละ 1 ครั้ง
- การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) ทุก 5-10 ปี
- การตรวจลำไส้ใหญ่โดยใช้เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed tomography colonoscopy) ทุก 5 ปี
การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)
- การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ เป็นวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อเทียบกับการตรวจวิธีอื่น และแพทย์สามารถดำเนินการรักษาผ่านทางกล้องนี้ไปพร้อมกันได้ เช่น การตัดติ่งเนื้อหรือเนื้องอกโดยไม่ต้องผ่าตัดเพิ่ม, เก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อเพื่อตรวจวิเคราะห์ดูผลทางพยาธิ, การหยุดเลือดที่ออกจากลำไส้ผ่านทางกล้อง
- แพทย์จะใช้กล้องพิเศษที่มีลักษณะเป็นท่อยาวเล็กๆ สอดผ่านทวารหนักเพื่อผ่านเข้าไปตรวจลำไส้ใหญ่โดยตรง ใช้เวลาตรวจไม่นาน และไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ ชั้น 5 โรงพยาบาลวิมุต
เวลาทำการ 08:00 - 20:00 น. โทร. 0-2079-0054
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์
ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ

แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

จิริยะสิน

จิริยะสิน

จิริยะสิน

จิริยะสิน

จิริยะสิน

จิริยะสิน
เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งลำไส้ใหญ่ อาการแบบไหนต้องระวัง รีบเช็กด่วน!
ปวดท้องบ่อย ท้องผูกบ่อยและมีเลือดออกมาพร้อมอุจจาระ อาการแบบนี้คุณอาจกำลังเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ มาเช็กอาการและสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่กันได้ที่นี่

ปวดท้องบิดเกร็ง อาจะเป็น “ลำไส้แปรปรวน” ที่ทำให้ชีวิตคุณต้องชะงัก
ปวดท้องบิดเกร็ง บริเวณตรงกลางหรือท้องน้อย เป็นๆหายๆ ถ่ายไม่ออก ท้องเสียไม่พัก อาการแบบนี้เสี่ยงเป็นโรคลำไส้แปรปรวนรึเปล่า? เพราะอาการเหล่านี้มักรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ชวนทุกคนมาสังเกตอาการไปพร้อมกับเรา

ไขมันพอกตับ ภาวะอันตรายที่คุณเสี่ยงแค่ไหน? มาเช็กกัน !
ไขมันพอกตับ ภาวะร้ายทำลายตับ ที่อาจทำให้คุณเสี่ยงเป็นตับอักเสบ ตับแข็งและมะเร็งตับได้ ชวนคุณสังเกตอาการได้อย่างไร การตรวจและการรักษาทำอย่างไร เรามีข้อมูลมาให้แล้ว

“ท้องผูก” ปวดท้อง ปัญหาการถ่ายที่ไม่ใช่เพียงแค่… ถ่ายไม่ออก!
ถ่ายไม่ออก อุจจาระแข็ง นานๆ จะถ่าย หรือทั้งสัปดาห์ถ่ายครั้งเดียว แบบนี้เป็นโรคท้องผูกไหม เรารวมข้อมูลสาเหตุและวิธีแก้ท้องผูก สำหรับคนที่มีปัญหาการขับถ่ายมาฝากแล้ว

มะเร็งลำไส้ใหญ่ อาการแบบไหนต้องระวัง รีบเช็กด่วน!
ปวดท้องบ่อย ท้องผูกบ่อยและมีเลือดออกมาพร้อมอุจจาระ อาการแบบนี้คุณอาจกำลังเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ มาเช็กอาการและสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่กันได้ที่นี่

ปวดท้องบิดเกร็ง อาจะเป็น “ลำไส้แปรปรวน” ที่ทำให้ชีวิตคุณต้องชะงัก
ปวดท้องบิดเกร็ง บริเวณตรงกลางหรือท้องน้อย เป็นๆหายๆ ถ่ายไม่ออก ท้องเสียไม่พัก อาการแบบนี้เสี่ยงเป็นโรคลำไส้แปรปรวนรึเปล่า? เพราะอาการเหล่านี้มักรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ชวนทุกคนมาสังเกตอาการไปพร้อมกับเรา

ไขมันพอกตับ ภาวะอันตรายที่คุณเสี่ยงแค่ไหน? มาเช็กกัน !
ไขมันพอกตับ ภาวะร้ายทำลายตับ ที่อาจทำให้คุณเสี่ยงเป็นตับอักเสบ ตับแข็งและมะเร็งตับได้ ชวนคุณสังเกตอาการได้อย่างไร การตรวจและการรักษาทำอย่างไร เรามีข้อมูลมาให้แล้ว

“ท้องผูก” ปวดท้อง ปัญหาการถ่ายที่ไม่ใช่เพียงแค่… ถ่ายไม่ออก!
ถ่ายไม่ออก อุจจาระแข็ง นานๆ จะถ่าย หรือทั้งสัปดาห์ถ่ายครั้งเดียว แบบนี้เป็นโรคท้องผูกไหม เรารวมข้อมูลสาเหตุและวิธีแก้ท้องผูก สำหรับคนที่มีปัญหาการขับถ่ายมาฝากแล้ว

ไขมันพอกตับ ภาวะอันตรายที่คุณเสี่ยงแค่ไหน? มาเช็กกัน !
ไขมันพอกตับ ภาวะร้ายทำลายตับ ที่อาจทำให้คุณเสี่ยงเป็นตับอักเสบ ตับแข็งและมะเร็งตับได้ ชวนคุณสังเกตอาการได้อย่างไร การตรวจและการรักษาทำอย่างไร เรามีข้อมูลมาให้แล้ว

“ท้องผูก” ปวดท้อง ปัญหาการถ่ายที่ไม่ใช่เพียงแค่… ถ่ายไม่ออก!
ถ่ายไม่ออก อุจจาระแข็ง นานๆ จะถ่าย หรือทั้งสัปดาห์ถ่ายครั้งเดียว แบบนี้เป็นโรคท้องผูกไหม เรารวมข้อมูลสาเหตุและวิธีแก้ท้องผูก สำหรับคนที่มีปัญหาการขับถ่ายมาฝากแล้ว

มะเร็งลำไส้ใหญ่ อาการแบบไหนต้องระวัง รีบเช็กด่วน!
ปวดท้องบ่อย ท้องผูกบ่อยและมีเลือดออกมาพร้อมอุจจาระ อาการแบบนี้คุณอาจกำลังเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ มาเช็กอาการและสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่กันได้ที่นี่

ปวดท้องบิดเกร็ง อาจะเป็น “ลำไส้แปรปรวน” ที่ทำให้ชีวิตคุณต้องชะงัก
ปวดท้องบิดเกร็ง บริเวณตรงกลางหรือท้องน้อย เป็นๆหายๆ ถ่ายไม่ออก ท้องเสียไม่พัก อาการแบบนี้เสี่ยงเป็นโรคลำไส้แปรปรวนรึเปล่า? เพราะอาการเหล่านี้มักรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ชวนทุกคนมาสังเกตอาการไปพร้อมกับเรา