เรื่องหัวใจเรื่องใหญ่! รักษาได้ด้วยการผ่าตัดบายพาสหัวใจ (CABG)
เรื่องหัวใจเรื่องใหญ่! รักษาได้ด้วยการผ่าตัดบายพาสหัวใจ (CABG)
การผ่าตัดรักษาโรคหัวใจที่เกี่ยวข้องกับหลอดเลือดหัวใจ จำเป็นต้องใช้วิธีการผ่าตัดที่มีประสิทธิภาพพร้อมด้วยความชำนาญของแพทย์ เพราะโครงสร้างภายในของหัวใจนั้นเชื่อมโยงกับทุกส่วนของร่างกายจึงมีความยากและซับซ้อนเป็นพิเศษ วิธีการผ่าตัดบายพาสหัวใจ (Coronary Artery Bypass Grafting: CABG) หรือการผ่าตัดทำทางเบี่ยงเส้นเลือดหัวใจ จึงเป็นการผ่าตัดที่เหมาะสมและทันสมัยต่อการนำมารักษาโรคหลอดเลือดหัวใจเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งวิธีการผ่าตัดจะมีขั้นตอน และการเตรียมตัวอย่างไร ติดตามพร้อมกันได้ในบทความนี้
การผ่าตัดบายพาสหัวใจ (Coronary Artery Bypass Grafting: CABG)
เป็นวิธีการที่ใช้ในการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจที่ตีบหรืออุดตันอันเนื่องมาจากการสะสมของคราบไขมันที่ผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบและแคบ จนการไหลเวียนของเลือดลดลง ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการเจ็บหน้าอก รู้สึกแน่น หนักๆ ที่กลางหน้าอก และเหนื่อยหอบง่ายโดยเฉพาะเวลาออกแรงมาก หรืออาจเกิดขณะทำกิจกรรมเล็กๆ น้อยๆ ถ้าโรคมีความรุนแรงมากขึ้นอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวได้ การผ่าตัดนี้จึงเป็นการทำเส้นทางใหม่เพื่อให้เลือดไหลไปเลี้ยงหัวใจได้ดีขึ้น และหัวใจกลับมาทำงานได้ดีขึ้น ลดอาการเหนื่อยหอบ แน่นหน้าอก และลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะน้ำท่วมปอด
ผ่าตัดบายพาสหัวใจเหมาะกับใคร หรืออาการแบบไหนควรทำ?
การผ่าตัดบายพาสหัวใจ เป็นวิธีการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบรุนแรง โดยทั่วไปแพทย์โรคหัวใจจะเลือกการรักษาด้วยวิธีการนี้ ในกรณีต่างๆ ดังนี้
- มีอาการจากการตีบตันของหลอดเลือดโคโรนารี ที่ไม่สามารถรักษาโดยการใส่ขดลวดค้ำยันได้ เนื่องจากรอยโรคมีหินปูนแคลเซียมสะสมมาก
- มีการตีบของหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีที่รุนแรงหลายเส้น หรือหลายตำแหน่ง หรือมีรอยโรคที่บริเวณต้นขั้วของเส้นเลือดหัวใจด้านซ้าย
- รอยโรคดังกล่าวไม่สามารถทำการรักษาโดยการขยายเส้นเลือดหัวใจที่ตีบด้วยบอลลูนได้ หรือทำบอลลูนแล้วไม่สำเร็จ
- ได้รับการวินิจฉัยโรคลิ้นหัวใจตีบ หรือรั่วในระดับปานกลางถึงรุนแรง ซึ่งต้องอาศัยการรักษาด้วยการผ่าตัดลิ้นหัวใจด้วยเช่นกัน
- ได้รับการวินิจจัยโรคเส้นเลือดใหญ่ในทรวงอกโป่งพอง ซึ่งต้องอาศัยการรักษาด้วยการผ่าตัดเช่นกัน
- ภาวะอื่นๆ ตามการวินิจฉัยของศัลยแพทย์
วิธีการผ่าตัดบายพาสหัวใจ (Coronary Artery Bypass Grafting: CABG) ทำได้กี่วิธี?
การผ่าตัดบายพาสหัวใจแบ่งออกเป็น 2 วิธี โดยศัลยแพทย์หัวใจจะทำการวินิจฉัยและเลือกใช้วิธีการผ่าตัดที่เหมาะสมที่สุดเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้ป่วยแต่ละราย
- การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ โดยใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม (On-Pump Coronary Artery Bypass Grafting: CABG) เป็นวิธีการผ่าตัดที่ศัลยแพทย์จะหยุดการเต้นของหัวใจผู้ป่วยระหว่างการผ่าตัด และใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียมมาช่วยเพื่อคงการไหลเวียนเลือดทั่วร่างกาย
- การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ โดยไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม (Off-Pump Coronary Artery Bypass Grafting: OPCAB) เป็นการผ่าตัดที่ศัลยแพทย์จะไม่หยุดหัวใจผู้ป่วยระหว่างการผ่าตัด ไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม แต่จะใช้เครื่องมือที่ช่วยให้บริเวณที่ผ่าตัดหยุดนิ่งเพื่อให้สามารถทำการผ่าตัดได้สะดวก ซึ่งศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอกจะเป็นผู้พิจารณา
ขั้นตอนการผ่าตัดบายพาสหัวใจ (Coronary Artery Bypass Grafting: CABG)
- ทำความสะอาดร่างกายผู้ป่วยเพื่อป้องกันและลดโอกาสการติดเชื้อจากการผ่าตัด
- แพทย์จะวางยาสลบก่อน จากนั้นจะทำการตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจการเต้นของหัวใจ และใช้เครื่องช่วยหายใจ ใส่สายสวนต่างๆ เข้าสู่ร่างกาย เพื่อใช้ตรวจติดตามสัญญาณชีพของผู้ป่วยระหว่างการผ่าตัด
- ในกรณีที่แพทย์เลือกการผ่าตัดบายพาสแบบหยุดการเต้นของหัวใจ แพทย์จะต่อเครื่องปอดและหัวใจเทียม และนำหลอดเลือดดำ หรือหลอดเลือดแดงมาต่อกับเครื่อง
- ศัลยแพทย์จะเริ่มหาเส้นเลือดตามส่วนต่างๆ ในร่างกาย และเตรียมเส้นเลือดให้พร้อมสำหรับการผ่าตัดบายพาส
- แผลผ่าตัดจะอยู่บริเวณกึ่งกลางหน้าอก แพทย์จะนำเส้นเลือดที่ได้เตรียมไว้มาต่อปลายเข้ากับเส้นเลือดแดงใหญ่เอออร์ตา (Aorta) ที่ออกมาจากขั้วหัวใจ
- จากนั้นแพทย์จะทำทางเบี่ยงข้ามหลอดเลือดแดงส่วนที่ตีบตันเข้ากับเส้นเลือดหัวใจเดิมของผู้ป่วย เพื่อให้เลือดไหลผ่านเส้นเลือดที่ต่อใหม่ได้ ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของหัวใจกลับมาเป็นปกติ
ก่อนผ่าตัดเตรียมตัวอย่างไร
การผ่าตัดบาสพาสหัวใจนับว่าเป็นการผ่าตัดใหญ่ ผู้ป่วยจึงควรปฏิบัติและเตรียมความพร้อมของร่างกายตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ดังนี้
- หยุดการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่
- เข้าพักที่โรงพยาบาลก่อนรับการผ่าตัด เพื่อเตรียมร่างกายให้พร้อม
- รับประทานอาหารและยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
- ทำความเข้าใจและตรวจความพร้อมก่อนผ่าตัด โดยศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก และวิสัญญีแพทย์
ข้อแนะนำในการดูแลร่างกายหลังผ่าตัดบายพาสหัวใจ
- ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะพักในห้อง ไอ.ซี.ยู ประมาณ 2-4 วัน และพักในโรงพยาบาลต่อเนื่องอีกประมาณ 5-7 วันหลังผ่าตัด อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาพักฟื้นอาจใช้เวลานานกว่านี้ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละราย
- รับประทานอาหารจำพวกปลา เนื้อสัตว์ นม ไข่ และอาหารประเภทผัก ผลไม้ เพื่อเสริมร่างกายให้แข็งแรง
- ปกติแผลจะติดประสานกันภายใน 7 วัน แต่แผลผ่าตัดบริเวณหน้าอก กระดูกสันอกจะสมานหรือติดกันสนิทภายใน 4-8 สัปดาห์ ระหว่างนี้ห้ามแกะเกาแผลผ่าตัด และหลังอาบน้ำควรซับแผลให้แห้ง หากมีอาการผิดปกติให้มาพบแพทย์ทันที
- อาการเจ็บแผลผ่าตัดจะค่อยๆ ลดลง ควรรับประทานยาแก้ปวดตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หรือวันละ 6-8 ชั่วโมง
- ฝึกการหายใจภายใต้การดูแลของแพทย์และนักกายภาพบำบัด เพื่อช่วยบริหารปอด เพิ่มความแข็งแรงและสมรรถภาพของปอดและหัวใจ
- การลุกเดินภายใต้การดูแลของแพทย์และนักกายภาพบำบัด จะช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น เป็นการบริหารร่างกายที่ช่วยให้ฟื้นฟูได้เร็วยิ่งขึ้น รวมถึงลดความเครียดได้
ขึ้นชื่อว่าการผ่าตัดหัวใจอาจเป็นเรื่องใหญ่และน่ากังวลสำหรับหลายคน แต่ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น วิธีการผ่าตัดหัวใจในปัจจุบันมีจึงไม่น่าหวาดกลัวเหมือนในอดีตอีกต่อไป อีกทั้งยังสามารถมอบคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ผู้ป่วยและกลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติได้ดีเช่นเดิม
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด ชั้น 6 โรงพยาบาลวิมุต
เวลาทำการ 08.00-17.00 น. โทร. 0-2079-0040
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์
ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ

แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ภิบาลญาติ

ภิบาลญาติ

ภิบาลญาติ

ภิบาลญาติ

ภิบาลญาติ

ภิบาลญาติ
เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

อาการเตือน เจ็บอกรุนแรง..อาจเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
เจ็บกลางอก ใจสั่น เวียนหัว หายใจหอบ สัญญาณเตือน “โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือ เส้นเลือดหัวใจตีบ” มาสังเกตอาการพร้อมข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้เพื่อการดูแลและป้องกันอย่างถูกวิธีกัน

อย่าปล่อยไขมันในเลือดสูงปรี๊ด ถ้าไม่อยากเสี่ยงสารพัดโรค
ไขมันในเลือดสูง ภาวะอันตรายที่อาจเป็นจุดเริ่มต้นของโรคเรื้อรังได้ในอนาคต มาเริ่มต้นทำความรู้จักและปรับพฤติกรรม เพื่อลดโอกาสเกิดไขมันในเลือดสูงไปพร้อมกันในบทความนี้

5 โรคหัวใจที่คุณควรรู้ สาเหตุเกิดจากอะไร เช็กอาการเสี่ยงก่อนสาย!
อาการแน่นหน้าอก เจ็บหัวใจ เหนื่อยง่าย อาจเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้ ซึ่งโรคหัวใจต่างก็ถูกแบ่งออกไปได้อีกหลายโรคและเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่จะมีอะไรบ้างไปดูกัน

5 ท่าออกกำลังกาย สร้างสุขภาพดี หัวใจแข็งแรงได้ด้วยตัวเอง
มาดูแลหัวใจให้แข็งแรง ด้วย 5 ท่าออกกำลังกายบริหารหัวใจ ที่จะช่วยให้หัวใจของคุณมีสุขภาพแข็งแรง รับรองว่าดีต่อร่างกายและดีต่อใจอย่างแน่นอ

อาการเตือน เจ็บอกรุนแรง..อาจเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
เจ็บกลางอก ใจสั่น เวียนหัว หายใจหอบ สัญญาณเตือน “โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือ เส้นเลือดหัวใจตีบ” มาสังเกตอาการพร้อมข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้เพื่อการดูแลและป้องกันอย่างถูกวิธีกัน

อย่าปล่อยไขมันในเลือดสูงปรี๊ด ถ้าไม่อยากเสี่ยงสารพัดโรค
ไขมันในเลือดสูง ภาวะอันตรายที่อาจเป็นจุดเริ่มต้นของโรคเรื้อรังได้ในอนาคต มาเริ่มต้นทำความรู้จักและปรับพฤติกรรม เพื่อลดโอกาสเกิดไขมันในเลือดสูงไปพร้อมกันในบทความนี้

5 โรคหัวใจที่คุณควรรู้ สาเหตุเกิดจากอะไร เช็กอาการเสี่ยงก่อนสาย!
อาการแน่นหน้าอก เจ็บหัวใจ เหนื่อยง่าย อาจเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้ ซึ่งโรคหัวใจต่างก็ถูกแบ่งออกไปได้อีกหลายโรคและเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่จะมีอะไรบ้างไปดูกัน

5 ท่าออกกำลังกาย สร้างสุขภาพดี หัวใจแข็งแรงได้ด้วยตัวเอง
มาดูแลหัวใจให้แข็งแรง ด้วย 5 ท่าออกกำลังกายบริหารหัวใจ ที่จะช่วยให้หัวใจของคุณมีสุขภาพแข็งแรง รับรองว่าดีต่อร่างกายและดีต่อใจอย่างแน่นอ

5 โรคหัวใจที่คุณควรรู้ สาเหตุเกิดจากอะไร เช็กอาการเสี่ยงก่อนสาย!
อาการแน่นหน้าอก เจ็บหัวใจ เหนื่อยง่าย อาจเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้ ซึ่งโรคหัวใจต่างก็ถูกแบ่งออกไปได้อีกหลายโรคและเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่จะมีอะไรบ้างไปดูกัน

5 ท่าออกกำลังกาย สร้างสุขภาพดี หัวใจแข็งแรงได้ด้วยตัวเอง
มาดูแลหัวใจให้แข็งแรง ด้วย 5 ท่าออกกำลังกายบริหารหัวใจ ที่จะช่วยให้หัวใจของคุณมีสุขภาพแข็งแรง รับรองว่าดีต่อร่างกายและดีต่อใจอย่างแน่นอ

อาการเตือน เจ็บอกรุนแรง..อาจเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
เจ็บกลางอก ใจสั่น เวียนหัว หายใจหอบ สัญญาณเตือน “โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือ เส้นเลือดหัวใจตีบ” มาสังเกตอาการพร้อมข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้เพื่อการดูแลและป้องกันอย่างถูกวิธีกัน

อย่าปล่อยไขมันในเลือดสูงปรี๊ด ถ้าไม่อยากเสี่ยงสารพัดโรค
ไขมันในเลือดสูง ภาวะอันตรายที่อาจเป็นจุดเริ่มต้นของโรคเรื้อรังได้ในอนาคต มาเริ่มต้นทำความรู้จักและปรับพฤติกรรม เพื่อลดโอกาสเกิดไขมันในเลือดสูงไปพร้อมกันในบทความนี้
แนะนำแพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

แพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจแบบเจาะลึก Touch Your Heart Special B
4,500 บาท

แพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจแบบเจาะลึก Touch Your Heart Special C
4,500 บาท

แพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจแบบเจาะลึก Touch Your Heart Special D
4,500 บาท

แพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจแบบเจาะลึก Touch Your Heart Special B
4,500 บาท

แพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจแบบเจาะลึก Touch Your Heart Special C
4,500 บาท
