โรคมะเร็งทางเดินอาหาร ภัยเงียบที่ต้องรู้ทันก่อนสาย!
ระบบทางเดินอาหารของคนเราประกอบไปด้วยหลายอวัยวะตั้งแต่หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ รวมถึงอวัยวะต่างๆ ที่อยู่ในช่องท้องเองด้วย เช่น ตับ ตับอ่อน และถุงน้ำดี เรียกได้ว่าหากเกิดก้อนมะเร็งทางเดินอาหารโอกาสที่เนื้อร้ายชนิดนี้จะแพร่กระจายออกไปสู่อวัยวะสำคัญนั้นเกิดขึ้นได้ง่ายมาก การสังเกตอาการผิดปกติหรืออาการที่น่าสงสัยตั้งแต่เนิ่นๆ ถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการเกิดโรคได้อย่างปลอดภัย
โรคมะเร็งทางเดินอาหาร เกิดจากสาเหตุใดบ้าง?
มะเร็งทางเดินอาหารเป็นภาวะที่เซลล์เกิดการเจริญเติบโตแบบผิดปกติ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกๆ ตำแหน่งของระบบทางเดินอาหาร ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานได้ว่ามีปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดมะเร็งทางเดินอาหารอยู่ 2 ปัจจัย ดังนี้
- ปัจจัยทางพันธุกรรม หากมีประวัติครอบครัวที่เคยเป็นมะเร็งทางเดินอาหาร เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือมะเร็งกระเพาะอาหาร อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคได้
- ปัจจัยทางสภาพแวดล้อมและพฤติกรรมการกิน การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เนื้อแดง อาหารที่ผ่านการถนอมด้วยเกลือ หรือสารกันบูด รวมถึงพฤติกรรมการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
อาการเตือนจากโรคมะเร็งทางเดินอาหาร
มะเร็งทางเดินอาหารส่งสัญญาณเตือนเป็นอาการที่เราสามารถพบได้ในชีวิตประจำวัน เพื่อรู้เท่าทันและสามารถป้องกันได้ตั้งแต่เนิ่นๆ มาจับสังเกตอาการเตือนเพื่อเฝ้าระวังโรค ดังนี้
- เบื่ออาหาร รับประทานอาหารได้น้อยลง น้ำหนักลด
- เมื่อกลืนอาหารแล้วรู้สึกเจ็บ กลืนอาหารลำบากขึ้น
- มีอาการปวดท้องบ่อยๆ และรู้สึกปวดมากขึ้นเรื่อยๆ
- การขับถ่ายเปลี่ยนแปลง อุจจาระลำเล็กลง ท้องผูกสลับท้องเสีย
- แน่นท้อง ท้องอืด อิ่มเร็ว และอาเจียนเป็นอาหารเก่า
- ตัวเหลือง ตาเหลือง และคลำพบก้อนในท้อง
- น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
- รู้สึกอ่อนเพลีย มีภาวะโลหิตจาง
- ถ่ายเป็นเลือด ถ่ายสีดำ อาเจียนเป็นเลือด
การตรวจวินิจฉัยมะเร็งทางเดินอาหาร
อย่างที่กล่าวไปว่ามะเร็งทางเดินอาหารเป็นก้อนเนื้อร้ายที่สามารถเกิดได้ทุกตำแหน่งของระบบทางเดินอาหาร การวินิจฉัยจึงต้องมีความแม่นยำ สามารถบ่งชี้ตำแหน่งของมะเร็งได้อย่างดี วิธีการตรวจวินิจฉัยขึ้นอยู่กับอาการที่เป็น ซึ่งอาจตรวจได้ด้วยการส่องกล้องทางเดินอาหาร หรือภาพถ่ายทางรังสี เช่น CT Scan (เอกซเรย์คอมพิวเตอร์) หรือ MRI (เอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า) ซึ่งการส่องกล้องเป็นทางเลือกที่แพทย์นิยมใช้ เพราะเป็นวิธีที่ได้ผลแม่นยำ มีความละเอียดสูง และสามารถตรวจพบต้นตอสาเหตุได้ ทั้งยังสามารถนำชิ้นเนื้อออกมาตรวจเพิ่มเติมได้โดยไม่ต้องผ่าตัด
การตรวจวินิจฉัยมะเร็งทางเดินอาหารด้วยการส่องกล้อง แบ่งได้ 3 แบบ
- การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้น (Gastroscopy) เป็นการใช้กล้องขนาดเล็กสอดเข้าไปทางปากผ่านหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น เพื่อตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะในระบบทางเดินอาหาร เช่น แผลในกระเพาะอาหาร เนื้องอก หรือภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น เป็นต้น
- การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) แพทย์จะใช้กล้องขนาดเล็กสอดเข้าทางทวารหนักเพื่อตรวจดูลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ส่วนกลาง และส่วนต้น ผ่านไปจนถึงลำไส้เล็กส่วนปลาย เพื่อหาความผิดปกติของอวัยวะที่อาจเกิดโรคต่างๆ เช่น ลำไส้อักเสบ แผลในลำไส้ ติ่งเนื้อในลำไส้ และมะเร็งลำไส้ใหญ่
- การส่องกล้องตรวจท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (Endoscopic Retrograde Cholangiopancreatography) ใช้การส่องกล้องเข้าไปทางปากผ่านไปยังลำไส้เล็กส่วนต้น มีการใส่สายสวนท่อน้ำดี ซึ่งแพทย์จะต้องทำการฉีดสีเพื่อแสดงภาพการถ่ายรังสี ทำการตรวจหาความผิดปกติของท่อทางเดินน้ำดี ถุงน้ำดี และตับอ่อน รวมถึงการรักษาปัญหาเกี่ยวกับท่อน้ำดี เช่น การเอานิ่วออกจากท่อ
อย่างไรก็ตาม การรักษามะเร็งทางเดินอาหารจะให้ผลลัพธ์ที่ดีมากน้อยแค่ไหนนั้น ยังขึ้นอยู่กับระยะของมะเร็งที่ตรวจพบร่วมด้วย การตรวจหาสาเหตุและตำแหน่งของก้อนมะเร็งจึงสำคัญอย่างยิ่ง หากคุณสงสัยว่าอาการที่กำลังเผชิญอยู่อาจเข้าข่ายมะเร็งทางเดินอาหารสามารถรับบริการตรวจวินิจฉัยระบบทางเดินอาหารด้วยการส่องกล้องได้ที่โรงพยาบาลวิมุต เราพร้อมด้วยศูนย์ส่องกล้องเฉพาะทางการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร และทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์ เพื่อรักษาผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงทีและเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาให้มากขึ้น
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ ชั้น 5 โรงพยาบาลวิมุต
เวลาทำการ 08:00 - 20:00 น. โทร. 0-2079-0054
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์
ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ

แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

จิริยะสิน

จิริยะสิน

จิริยะสิน

จิริยะสิน

จิริยะสิน

จิริยะสิน
เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งลำไส้ใหญ่ อาการแบบไหนต้องระวัง รีบเช็กด่วน!
ปวดท้องบ่อย ท้องผูกบ่อยและมีเลือดออกมาพร้อมอุจจาระ อาการแบบนี้คุณอาจกำลังเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ มาเช็กอาการและสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่กันได้ที่นี่

ปวดท้องบิดเกร็ง อาจะเป็น “ลำไส้แปรปรวน” ที่ทำให้ชีวิตคุณต้องชะงัก
ปวดท้องบิดเกร็ง บริเวณตรงกลางหรือท้องน้อย เป็นๆหายๆ ถ่ายไม่ออก ท้องเสียไม่พัก อาการแบบนี้เสี่ยงเป็นโรคลำไส้แปรปรวนรึเปล่า? เพราะอาการเหล่านี้มักรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ชวนทุกคนมาสังเกตอาการไปพร้อมกับเรา

ไขมันพอกตับ ภาวะอันตรายที่คุณเสี่ยงแค่ไหน? มาเช็กกัน !
ไขมันพอกตับ ภาวะร้ายทำลายตับ ที่อาจทำให้คุณเสี่ยงเป็นตับอักเสบ ตับแข็งและมะเร็งตับได้ ชวนคุณสังเกตอาการได้อย่างไร การตรวจและการรักษาทำอย่างไร เรามีข้อมูลมาให้แล้ว

“ท้องผูก” ปวดท้อง ปัญหาการถ่ายที่ไม่ใช่เพียงแค่… ถ่ายไม่ออก!
ถ่ายไม่ออก อุจจาระแข็ง นานๆ จะถ่าย หรือทั้งสัปดาห์ถ่ายครั้งเดียว แบบนี้เป็นโรคท้องผูกไหม เรารวมข้อมูลสาเหตุและวิธีแก้ท้องผูก สำหรับคนที่มีปัญหาการขับถ่ายมาฝากแล้ว

มะเร็งลำไส้ใหญ่ อาการแบบไหนต้องระวัง รีบเช็กด่วน!
ปวดท้องบ่อย ท้องผูกบ่อยและมีเลือดออกมาพร้อมอุจจาระ อาการแบบนี้คุณอาจกำลังเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ มาเช็กอาการและสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่กันได้ที่นี่

ปวดท้องบิดเกร็ง อาจะเป็น “ลำไส้แปรปรวน” ที่ทำให้ชีวิตคุณต้องชะงัก
ปวดท้องบิดเกร็ง บริเวณตรงกลางหรือท้องน้อย เป็นๆหายๆ ถ่ายไม่ออก ท้องเสียไม่พัก อาการแบบนี้เสี่ยงเป็นโรคลำไส้แปรปรวนรึเปล่า? เพราะอาการเหล่านี้มักรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ชวนทุกคนมาสังเกตอาการไปพร้อมกับเรา

ไขมันพอกตับ ภาวะอันตรายที่คุณเสี่ยงแค่ไหน? มาเช็กกัน !
ไขมันพอกตับ ภาวะร้ายทำลายตับ ที่อาจทำให้คุณเสี่ยงเป็นตับอักเสบ ตับแข็งและมะเร็งตับได้ ชวนคุณสังเกตอาการได้อย่างไร การตรวจและการรักษาทำอย่างไร เรามีข้อมูลมาให้แล้ว

“ท้องผูก” ปวดท้อง ปัญหาการถ่ายที่ไม่ใช่เพียงแค่… ถ่ายไม่ออก!
ถ่ายไม่ออก อุจจาระแข็ง นานๆ จะถ่าย หรือทั้งสัปดาห์ถ่ายครั้งเดียว แบบนี้เป็นโรคท้องผูกไหม เรารวมข้อมูลสาเหตุและวิธีแก้ท้องผูก สำหรับคนที่มีปัญหาการขับถ่ายมาฝากแล้ว

ไขมันพอกตับ ภาวะอันตรายที่คุณเสี่ยงแค่ไหน? มาเช็กกัน !
ไขมันพอกตับ ภาวะร้ายทำลายตับ ที่อาจทำให้คุณเสี่ยงเป็นตับอักเสบ ตับแข็งและมะเร็งตับได้ ชวนคุณสังเกตอาการได้อย่างไร การตรวจและการรักษาทำอย่างไร เรามีข้อมูลมาให้แล้ว

“ท้องผูก” ปวดท้อง ปัญหาการถ่ายที่ไม่ใช่เพียงแค่… ถ่ายไม่ออก!
ถ่ายไม่ออก อุจจาระแข็ง นานๆ จะถ่าย หรือทั้งสัปดาห์ถ่ายครั้งเดียว แบบนี้เป็นโรคท้องผูกไหม เรารวมข้อมูลสาเหตุและวิธีแก้ท้องผูก สำหรับคนที่มีปัญหาการขับถ่ายมาฝากแล้ว

มะเร็งลำไส้ใหญ่ อาการแบบไหนต้องระวัง รีบเช็กด่วน!
ปวดท้องบ่อย ท้องผูกบ่อยและมีเลือดออกมาพร้อมอุจจาระ อาการแบบนี้คุณอาจกำลังเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ มาเช็กอาการและสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่กันได้ที่นี่

ปวดท้องบิดเกร็ง อาจะเป็น “ลำไส้แปรปรวน” ที่ทำให้ชีวิตคุณต้องชะงัก
ปวดท้องบิดเกร็ง บริเวณตรงกลางหรือท้องน้อย เป็นๆหายๆ ถ่ายไม่ออก ท้องเสียไม่พัก อาการแบบนี้เสี่ยงเป็นโรคลำไส้แปรปรวนรึเปล่า? เพราะอาการเหล่านี้มักรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ชวนทุกคนมาสังเกตอาการไปพร้อมกับเรา