ตรวจสุขภาพหัวใจแบบเจาะลึก ด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG

22 มิ.ย. 66  | ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด
แชร์บทความ      

ตรวจสุขภาพหัวใจแบบเจาะลึก ด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG

ทุกคนทราบดีว่าหัวใจเป็นอวัยวะสำคัญมากในร่างกาย โรคหัวใจจึงถือว่าเป็นอีกโรคหนึ่งที่น่ากลัวและไม่มีใครอยากประสบพบเจออย่างแน่นอน เพราะส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจโดยตรง ซึ่งหัวใจเป็นอวัยะที่มีการทำงานซับซ้อนรวมถึงมีส่วนประกอบที่หลากหลายอยู่ภายใน หากหัวใจได้รับความเสียหายจึงเป็นเรื่องยากที่จะแก้ไขเช่นกัน ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขพบว่าคนไทยที่มีโรคประจำตัวเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดจำนวน 229,888 คน เนื่องมาจากพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวันและไม่ใส่ใจในการตรวจสุขภาพประจำปี การตรวจเช็กสุขภาพหัวใจด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ จึงเป็นทางออกในการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตที่ดีอีกทาง

การตรวจสุขภาพหัวใจด้วยเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้า (EKG) คืออะไร ?

การตรวจสอบอัตราการเต้นของหัวใจผ่านคลื่นไฟฟ้าเพื่อหาความผิดปกติด้วยเครื่อง EKG มักเป็นวิธีการตรวจแรกๆ ที่แพทย์เลือกใช้ เมื่อผู้ป่วยมีประวัติหรือมีอาการที่น่าสงสัยว่าอาจจะเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ

ความสามารถของเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)

เป็นการตรวจคลื่นไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในกล้ามเนื้อหัวใจ ในขณะที่หัวใจมีการบีบหรือคลายตัวแสดงอัตราการเต้นของหัวใจ เพื่อตรวจหาความผิดปกติหรือความเสี่ยงของโรคหัวใจที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อวินิจฉัยโรคต่างๆ ที่มีผลต่อหัวใจ เช่น ภาวะหัวใจโต เส้นเลือดหัวใจตีบ หัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดและหาสาเหตุของอาการเจ็บหน้าอก เป็นต้น หากผู้ป่วยท่านใดตรวจพบความผิดปกติแพทย์จะนำเข้าสู่กระบวนการรักษาและป้องกันไม่ให้ความเสียหายแผ่ขยายออกไปมากขึ้น พร้อมทั้งหาแนวทางการรักษาที่ตรงจุดเพื่อประสิทธิภาพที่ดีในการรักษาต่อไป

อย่างไรก็ตาม การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นเพียงการคัดกรองเบื้องต้น ต้องอาศัยลักษณะอาการ ประกอบกับการซักประวัติและตรวจร่างกายโดยแพทย์อย่างละเอียด ทว่าการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจปกติไม่สามารถบอกได้ 100% ว่าไม่เป็นโรคหัวใจ หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมแนะนำให้ตรวจกับแพทย์เฉพาะทางโดยตรง

ขั้นตอนวิธีการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจด้วยเครื่อง (EKG)

ผู้เข้ารับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจสามารถเข้ารับการตรวจได้โดยไม่ต้องงดน้ำหรืออาหาร แต่ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่มากเกินไป และควรแจ้งแพทย์เรื่องโรคประจำตัวหรือยาที่กำลังรับประทานก่อนเพื่อผลลัพธ์การตรวจที่แม่นยำ 

  1. ผู้ที่จะเข้ารับการตรวจต้องนอนหงายอยู่บนเตียง ทำตัวผ่อนคลายมากที่สุดและอยู่ให้นิ่ง 
  2. เจ้าหน้าที่จะทำการติดตัวรับกระแสไฟฟ้าที่มีลักษณะคล้ายสติกเกอร์ลงบนตัวผู้ป่วยบริเวณหน้าอกและแขนขา
  3. ระหว่างการตรวจคลื่นหัวใจไฟฟ้าควรอยู่ให้นิ่งที่สุด ไม่เคลื่อนไหวหรือขยับมากเกินไป 
  4. ใช้เวลาในการตรวจประมาณ 5 - 10 นาที 
  5. ผลการตรวจจะปรากฏบนจอและแพทย์จะนำไปพิจารณาต่อไป 

อาการบ่งชี้ที่ควรพบแพทย์หรือเข้ารับการตรวจคลื่นหัวใจไฟฟ้า (EKG)

แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 

  1. กลุ่มมีอาการ ได้แก่ เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก ใจสั่น มีอาการวูบหน้ามืด
  2. กลุ่มไม่มีอาการ ได้แก่ ผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป และมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือเสียชีวิตไม่ทราบสาเหตุ มีพฤติกรรมความเสี่ยง เช่น สูบบุหรี่ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เป็นโรคอ้วนและเบาหวาน เป็นต้น

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือผลข้างเคียงในการตรวจ และยังมีวิธีการตรวจที่ง่าย สะดวก เป็นประโยชน์ต่อการวินิจฉัยโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ จึงเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งต่อผู้ที่กำลังสังสัยหรือกังวลเกี่ยวกับสุขภาพหัวใจ ต้องการการตรวจสอบโดยละเอียดและได้มาตรฐาน พร้อมทั้งได้ผลการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญประกอบกับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพของคุณอีกด้วย หากสนใจแพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจแบบเจาะลึก สามารถติดต่อและเข้ารับบริการกับทางโรงพยาบาลได้ตลอดเวลาทำการ

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด ชั้น 6  โรงพยาบาลวิมุต 
เวลาทำการ 08.00 - 17.00 น. โทร. 0-2079-0042 
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์

ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ

ผู้เขียน
นพ. ราชรัฐ ปวีณพงศ์ อายุรแพทย์ผู้ชำนาญการโรคหัวใจ

เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
5 โรคหัวใจที่คุณควรรู้ สาเหตุเกิดจากอะไร เช็กอาการเสี่ยงก่อนสาย!

อาการแน่นหน้าอก เจ็บหัวใจ เหนื่อยง่าย อาจเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้ ซึ่งโรคหัวใจต่างก็ถูกแบ่งออกไปได้อีกหลายโรคและเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่จะมีอะไรบ้างไปดูกัน

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
5 ท่าออกกำลังกาย สร้างสุขภาพดี หัวใจแข็งแรงได้ด้วยตัวเอง

มาดูแลหัวใจให้แข็งแรง ด้วย 5 ท่าออกกำลังกายบริหารหัวใจ ที่จะช่วยให้หัวใจของคุณมีสุขภาพแข็งแรง รับรองว่าดีต่อร่างกายและดีต่อใจอย่างแน่นอ

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
ชวนเช็กอาการ เจ็บหน้าอกแบบนี้… อาจเสี่ยงโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ

เจ็บหน้าอก ใจสั่น อย่าวางใจ เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือน “โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือเส้นเลือดหัวใจตีบ” ได้ มาสังเกตอาการพร้อมข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้เพื่อการดูแลและป้องกันอย่างถูกวิธีกัน

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
อย่าปล่อยไขมันในเลือดสูงปรี๊ด ถ้าไม่อยากเสี่ยงสารพัดโรค

ไขมันในเลือดสูง ภาวะอันตรายที่อาจเป็นจุดเริ่มต้นของโรคเรื้อรังได้ในอนาคต มาเริ่มต้นทำความรู้จักและปรับพฤติกรรม เพื่อลดโอกาสเกิดไขมันในเลือดสูงไปพร้อมกันในบทความนี้

อ่านเพิ่มเติม

แนะนำแพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง