ส่องกล้องทางเดินอาหารตรวจง่าย ปลอดภัย แค่เตรียมตัวตามนี้ - โรงพยาบาลวิมุต
สัญญาณเตือนภัยในช่องท้อง ! อาการปวดท้อง ท้องอืด แน่นท้อง ท้องผูกบ่อยๆ อาจไม่ใช่เรื่องเล็ก… เพราะนี่อาจเป็นสัญญาณเตือนโรคร้ายอย่างมะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะได้ มาดูแลระบบทางเดินอาหารของคุณวันนี้ได้อย่างทันท่วงทีด้วย ‘การส่องกล้องทางเดินอาหาร’ เพื่อตรวจเช็กความผิดปกติ… ที่พร้อมจะช่วยชีวิตคุณได้ก่อนสายเกินแก้
ชวนคุณมาทำความรู้จักกับ ‘การส่องกล้องทางเดินอาหาร’ ให้ครบทุกด้าน ตั้งแต่การส่องกล้องคืออะไร ตรวจโรคอะไรได้บ้าง กลุ่มเสี่ยง หรือใครบ้างที่ควรตรวจ หากต้องส่องกล้องทางเดินอาหารต้องเตรียมตัวอย่างไร ขั้นตอนเป็นอย่างไร เราหยิบข้อมูลที่คุณอยากรู้เหล่านี้มาให้ครบแล้ว รวมถึงแพ็กเกจส่องกล้องทางเดินอาหารจากโรงพยาบาลวิมุตที่ทั้งสะดวก ปลอดภัย ในราคาที่เข้าถึงได้มาฝากกัน
การส่องกล้องระบบทางเดินอาหารคืออะไร ?
การส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร (Endoscopy) คือ การตรวจวินิจฉัยโรคระบบทางเดินอาหารด้วยการใช้กล้องขนาดเล็กที่มีลักษณะเป็นท่อที่โค้งงอได้ ปลายกล้องมีเลนส์ขยายภาพและแสงไฟ ที่สามารถสอดเข้าไปในระบบทางเดินอาหารเพื่อตรวจดูความผิดปกติภายในอวัยวะต่างๆ ได้ โดยภาพจากกล้องจะถูกส่งมาแสดงผลบนจอภาพที่จะช่วยให้แพทย์สามารถมองเห็นรายละเอียดได้อย่างชัดเจน ซึ่งการส่องกล้องระบบทางเดินอาหารสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้
- การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน (Esophagogastroduodenoscopy - EGD) เป็นการส่องกล้องเพื่อตรวจดูหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น
- การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนล่าง (Colonoscopy) เป็นการส่องกล้องเพื่อตรวจดูลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
การส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร ตรวจหาโรคอะไรได้บ้าง ?
การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน (EGD)
- โรคกรดไหลย้อน (GERD)
- แผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก
- มะเร็งหลอดอาหาร
- มะเร็งกระเพาะอาหาร
- การอักเสบของหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น
- เนื้องอก หรือติ่งเนื้อในระบบทางเดินอาหารส่วนบน
- การตีบตันของหลอดอาหาร
- ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบน
การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนล่าง (Colonoscopy)
- มะเร็งลำไส้ใหญ่
- ติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่
- โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
- ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนล่าง
- อาการท้องผูกเรื้อรัง
- อาการท้องเสียเรื้อรัง
ใครบ้างที่ควรส่องกล้องทางเดินอาหาร ?
- ผู้ที่มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น กลืนลำบาก แสบร้อนกลางอก อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด หรือสีดำ ปวดท้องเรื้อรัง มีการขับถ่ายที่ผิดปกติ ท้องผูกสลับท้องเสีย อุจจาระลำเล็กลง ปวดเบ่งถ่ายไม่สุด น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ เบื่ออาหาร เป็นต้น
- ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป เพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ แม้ไม่มีอาการผิดปกติแต่ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองเป็นประจำ
- ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งทางเดินอาหาร ควรเริ่มตรวจคัดกรองเร็วกว่าคนทั่วไป
- ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย เป็นต้น
ก่อนส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน (EGD)
- งดน้ำและอาหารอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงก่อนการตรวจ เพื่อให้กระเพาะอาหารว่างเปล่า ป้องกันการสำลัก
- แจ้งแพทย์เกี่ยวกับโรคประจำตัว ยาที่ใช้ประจำ และประวัติการแพ้ยา แพทย์จะพิจารณาปรับยาบางชนิดก่อนการตรวจ
- ควรพาญาติมาด้วย เนื่องจากหลังการตรวจอาจมีอาการมึนงงจากยา
การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนล่าง (Colonoscopy)
- รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย ไม่มีกาก 2-3 วัน ก่อนการตรวจ เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ซุปใส เป็นต้น
- รับประทานยาระบายตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อทำความสะอาดลำไส้ใหญ่อย่างหมดจด ซึ่งจะช่วยให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยได้แม่นยำ (สำคัญมาก)
- งดน้ำและอาหารอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง ก่อนการตรวจ
- แจ้งแพทย์เกี่ยวกับโรคประจำตัว ยาที่ใช้ประจำ และประวัติการแพ้ยา โดยแพทย์จะพิจารณาปรับยาบางชนิดก่อนการตรวจ
- ควรพาญาติมาด้วย เนื่องจากหลังการตรวจอาจมีอาการมึนงงจากยา
ขั้นตอนการส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร
การส่องกล้องระบบทางเดินอาหารทั้งส่วนบนและส่วนล่างมีขั้นตอนที่คล้ายกัน ดังนี้
- แพทย์จะให้ยาชาเฉพาะที่บริเวณลำคอ หรืออาจพิจารณาให้ยานอนหลับ เพื่อลดความรู้สึกอึดอัดระหว่างการตรวจสำหรับการส่องกล้องระบบทางเดินอาหารส่วนบน ส่วนการส่องกล้องระบบทางเดินอาหารส่วนล่างแพทย์จะให้ยานอนหลับและอาจให้ยาแก้ปวดร่วมด้วย
- จากนั้นแพทย์จะค่อยๆ สอดกล้องเข้าไปทางปากสำหรับการส่องกล้องระบบทางเดินอาหารทั้งส่วนบน หรือทางทวารหนักสำหรับการส่องกล้องระบบทางเดินอาหารทั้งส่วนล่าง เพื่อตรวจดูความผิดปกติภายใน
- ระหว่างการตรวจแพทย์จะมีการเป่าลมเข้าไปในระบบทางเดินอาหารเล็กน้อย เพื่อขยายช่องทางให้มองเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น ผู้ป่วยจึงอาจรู้สึกแน่นท้อง หรืออึดอัดบ้าง
- จากนั้นแพทย์จะตรวจดูทางเดินอาหารส่วนบนและส่วนล่างอย่างละเอียดผ่านทางจอภาพ
- หากพบติ่งเนื้อ หรือความผิดปกติ แพทย์สามารถตัดชิ้นเนื้อออกมาตรวจทางพยาธิวิทยาได้ทันที
- การตรวจใช้เวลาประมาณ 15-60 นาที ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของหัตถการในครั้งนั้นๆ
การปฏิบัติตัวหลังการส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร
- หลังการตรวจ คุณจะต้องพักฟื้นประมาณ 1-2 ชั่วโมง เพื่อสังเกตอาการ
- หลังทำการส่องกล้องอาจมีอาการท้องอืด แน่นท้อง หรือเจ็บคอเล็กน้อย ซึ่งจะค่อยๆ ดีขึ้นเอง
- งดขับรถ หรือทำงานที่ต้องใช้สมาธิสูงอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
- เริ่มรับประทานอาหารอ่อนๆ ได้หลังการทำหัตถการ 1-2 ชั่วโมง
- ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เช่น การรับประทานยา หรือการนัดหมายติดตามผล เป็นต้น
โรงพยาบาลวิมุตพร้อมให้บริการตรวจส่องกล้องระบบทางเดินอาหารทั้งส่วนบนและส่วนล่าง ด้วยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ปลอดภัย แม่นยำ ในราคาโปรโมชั่นพิเศษ แพ็กเกจการส่องกล้องกระเพาะอาหาร (Gastroscopy) แพ็กเกจส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้นและลำไส้ใหญ่ (EGD+Colonoscopy) |
สำหรับการส่องกล้องทางเดินอาหารถือว่าเป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคระบบทางเดินอาหาร ซึ่งช่วยให้ตรวจพบโรคต่างๆ ได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น เพิ่มโอกาสในการรักษาหายขาด อย่ารอให้อาการหนักจนโรคลุกลาม หากคุณมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร หรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและพิจารณาตรวจส่องกล้อง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ ชั้น 5 โรงพยาบาลวิมุต
เวลาทำการ 08:00 - 20:00 น. โทร. 0-2079-0054
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์
ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ
แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง
เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งลำไส้ใหญ่ อาการแบบไหนต้องระวัง รีบเช็กด่วน!
ปวดท้องบ่อย ท้องผูกบ่อยและมีเลือดออกมาพร้อมอุจจาระ อาการแบบนี้คุณอาจกำลังเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ มาเช็กอาการและสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่กันได้ที่นี่

ปวดท้องบิดเกร็ง อาจะเป็น “ลำไส้แปรปรวน” ที่ทำให้ชีวิตคุณต้องชะงัก
ปวดท้องบิดเกร็ง บริเวณตรงกลางหรือท้องน้อย เป็นๆหายๆ ถ่ายไม่ออก ท้องเสียไม่พัก อาการแบบนี้เสี่ยงเป็นโรคลำไส้แปรปรวนรึเปล่า? เพราะอาการเหล่านี้มักรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ชวนทุกคนมาสังเกตอาการไปพร้อมกับเรา

ไขมันพอกตับ ภาวะอันตรายที่คุณเสี่ยงแค่ไหน? มาเช็กกัน !
ไขมันพอกตับ ภาวะร้ายทำลายตับ ที่อาจทำให้คุณเสี่ยงเป็นตับอักเสบ ตับแข็งและมะเร็งตับได้ ชวนคุณสังเกตอาการได้อย่างไร การตรวจและการรักษาทำอย่างไร เรามีข้อมูลมาให้แล้ว

“ท้องผูก” ปวดท้อง ปัญหาการถ่ายที่ไม่ใช่เพียงแค่… ถ่ายไม่ออก!
ถ่ายไม่ออก อุจจาระแข็ง นานๆ จะถ่าย หรือทั้งสัปดาห์ถ่ายครั้งเดียว แบบนี้เป็นโรคท้องผูกไหม เรารวมข้อมูลสาเหตุและวิธีแก้ท้องผูก สำหรับคนที่มีปัญหาการขับถ่ายมาฝากแล้ว

มะเร็งลำไส้ใหญ่ อาการแบบไหนต้องระวัง รีบเช็กด่วน!
ปวดท้องบ่อย ท้องผูกบ่อยและมีเลือดออกมาพร้อมอุจจาระ อาการแบบนี้คุณอาจกำลังเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ มาเช็กอาการและสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่กันได้ที่นี่

ปวดท้องบิดเกร็ง อาจะเป็น “ลำไส้แปรปรวน” ที่ทำให้ชีวิตคุณต้องชะงัก
ปวดท้องบิดเกร็ง บริเวณตรงกลางหรือท้องน้อย เป็นๆหายๆ ถ่ายไม่ออก ท้องเสียไม่พัก อาการแบบนี้เสี่ยงเป็นโรคลำไส้แปรปรวนรึเปล่า? เพราะอาการเหล่านี้มักรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ชวนทุกคนมาสังเกตอาการไปพร้อมกับเรา

ไขมันพอกตับ ภาวะอันตรายที่คุณเสี่ยงแค่ไหน? มาเช็กกัน !
ไขมันพอกตับ ภาวะร้ายทำลายตับ ที่อาจทำให้คุณเสี่ยงเป็นตับอักเสบ ตับแข็งและมะเร็งตับได้ ชวนคุณสังเกตอาการได้อย่างไร การตรวจและการรักษาทำอย่างไร เรามีข้อมูลมาให้แล้ว

“ท้องผูก” ปวดท้อง ปัญหาการถ่ายที่ไม่ใช่เพียงแค่… ถ่ายไม่ออก!
ถ่ายไม่ออก อุจจาระแข็ง นานๆ จะถ่าย หรือทั้งสัปดาห์ถ่ายครั้งเดียว แบบนี้เป็นโรคท้องผูกไหม เรารวมข้อมูลสาเหตุและวิธีแก้ท้องผูก สำหรับคนที่มีปัญหาการขับถ่ายมาฝากแล้ว

ไขมันพอกตับ ภาวะอันตรายที่คุณเสี่ยงแค่ไหน? มาเช็กกัน !
ไขมันพอกตับ ภาวะร้ายทำลายตับ ที่อาจทำให้คุณเสี่ยงเป็นตับอักเสบ ตับแข็งและมะเร็งตับได้ ชวนคุณสังเกตอาการได้อย่างไร การตรวจและการรักษาทำอย่างไร เรามีข้อมูลมาให้แล้ว

“ท้องผูก” ปวดท้อง ปัญหาการถ่ายที่ไม่ใช่เพียงแค่… ถ่ายไม่ออก!
ถ่ายไม่ออก อุจจาระแข็ง นานๆ จะถ่าย หรือทั้งสัปดาห์ถ่ายครั้งเดียว แบบนี้เป็นโรคท้องผูกไหม เรารวมข้อมูลสาเหตุและวิธีแก้ท้องผูก สำหรับคนที่มีปัญหาการขับถ่ายมาฝากแล้ว

มะเร็งลำไส้ใหญ่ อาการแบบไหนต้องระวัง รีบเช็กด่วน!
ปวดท้องบ่อย ท้องผูกบ่อยและมีเลือดออกมาพร้อมอุจจาระ อาการแบบนี้คุณอาจกำลังเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ มาเช็กอาการและสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่กันได้ที่นี่

ปวดท้องบิดเกร็ง อาจะเป็น “ลำไส้แปรปรวน” ที่ทำให้ชีวิตคุณต้องชะงัก
ปวดท้องบิดเกร็ง บริเวณตรงกลางหรือท้องน้อย เป็นๆหายๆ ถ่ายไม่ออก ท้องเสียไม่พัก อาการแบบนี้เสี่ยงเป็นโรคลำไส้แปรปรวนรึเปล่า? เพราะอาการเหล่านี้มักรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ชวนทุกคนมาสังเกตอาการไปพร้อมกับเรา